ค่าเป้าหมาย จุดเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน : 0
ผลงานที่ทำได้ จุดเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
ได้ประสานกับสำนักการจราจรและขนส่งแล้ว รอหนังสือแจ้งจุดที่จะต้องดำเนินการปรับปรุง/แกไข 24/02/2566 : มีการประชุมกับสำนักการจราจรและขนส่งเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ และได้รับบัญชีจุดเสี่ยงประจำปี ๒๕๖๖ เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง คือ บริเวณปากซอยเพิ่มสิน ๖๔ ถนนเพิ่มสิน แขวงออเงิน 27/03/2566 : ได้ประสานสำนักการจราจรและขนส่ง ขอความอนุเคราะห์ตีเส้นแบ่งช่องจราจรให้ชัดเจน ตามหนังสือที่ กท ๗๙๐๙/๑๐๒๘ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ และได้ประสานกับตำรวจ สน.ในพื้นที่ ขอความอนุเคราะห์กวดขันวินัยจราจร ตามหนังสือที่ กท ๗๙๐๙/๑๐๒๗ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖
-ได้มีการประชุม ศปถ.เขต.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือในการลดอุบัติเหตุ เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2566 - ได้รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนปฏิบัติตามกฎหมายวินัยจราจร และประสานสถานีตำรวจนครบาลสายไหม กวดขันวินัยจราจร - ฝ่ายโยธา ได้ปรับปรุงซ่อมแซมทางเท้า ผิวจราจร มีการขีดสี ตีเส้น ชะลอความเร็ว และติดตั้งป้ายสัญลักษณ์ลดความเร็ว เรียบร้อย
จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ หมายถึง จุดเกิดอุบัติเหตุที่มีความถี่การเกิดไม่น้อยกว่า ๓ ครั้งในรอบ ๑ ปี โดยมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยพิจารณาคัดเลือกจุดจากฐานข้อมูลสถิติจากการเกิดอุบัติเหตุกำหนดให้เป็นจุดดำเนินการในปีงบประมาณที่ประเมิน ดังนี้ ๑. จุดเสี่ยงอุบัติเหตุจาก Heat Map ใน ๑๐๐ ลำดับแรก ของคลัสเตอร์ตามความหนาแน่นของจุดเกิดอุบัติเหตุ โดยใช้ข้อมูลของ ThaiRSC และ iTIC ประกอบกัน (จำนวน ๑๐๐ จุด) ๒. จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ ในสำนักงานเขที่ไม่อยู่ใน ๑๐๐ คลัสเตอร์ จำนวน ๑๕ เขต โดยกำหนดจุดเสี่ยงจากข้อมูลจุดเสี่ยงของสำนักงานเขตที่เคยส่งในตัวชี้วัดเจรจาตกลงฯ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ที่ยังไม่ได้ดำเนินการ สำนักงานเขตละ ๑ จุด (จำนวน ๑๕ จุด) - จุดดำเนินการ หมายถึง จุดเสี่ยงอุบัติเหตุที่กำหนดก่อนดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง ในปีงบประมาณที่ประเมิน - แผนปฏิบัติการ (Action Plan) หมายถึง แผน ซึ่งหน่วยงานจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานหรือกิจกรรมที่ส่งผลต่อความสำเร็จของตัวชี้วัด โดยบรรจุรายละเอียดที่ต้องดำเนินการ พร้อมระยะเวลาดำเนินการแต่ละขั้นตอน ทั้งนี้ให้หมายรวมถึง แผนที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนกวดขันวินัยจราจรและ/หรืออำนวยการจราจรและผู้สัญจรเป็นต้น - บันทึกส่งมอบผลผลิต หมายถึง เอกสารที่กำหนดให้หน่วยงานร่วมจะต้องดำเนินการส่งผลผลิตสนับสนุนตัวชี้วัด ตามขอบเหตุอำนาจหน้าที่ - ผลผลิต หมายถึง หน่วยผลผลิตที่เกิดขึ้นจากระบวนการและกิจกรรมตามภารกิจของหน่วยงานซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ เพื่อสนับสนุนตัวชี้วัดนี้ - หน่วยงาน หมายรวมถึง ดังนี้ หน่วยงานหลัก หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครที่เป็นเจ้าของตัวชี้วัด และมีอำนาจในการบริหารจัดการในภาพรวม ได้แก่ สำนักการจราจรและขนส่ง หน่วยงานรอง หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีภารกิจและตัวชี้วัดเฉพาะ ที่สนับสนุนขับเคลื่อนชี้วัดนี้ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ หมายถึง สำนักการโยธา สำนักเทศกิจ สำนักงานเขต สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร หน่วยงานสนับสนุน หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ไม่ได้นำตัวชี้วัดนี้ไปประเมินผลการปฏิบัติราชการแต่มีภารกิจสนับสนุน หน่วยงานอื่น หมายถึง หน่วยงานที่ไม่ได้สังกัดกรุงเทพมหานคร แต่มีภารกิจที่ต้องสนับสนุนการขับเคลื่อนตัวชี้วัด เช่น ตำรวจ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท บริษัทกลาง มูลนิธิต่าง ๆ เป็นต้น คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน หมายถึง คณะอนุกรรมการ/คณะทำงานที่ถูกจัดตั้งขึ้นขับเคลื่อนให้เป็นไปตามตัวชี้วัดนี้
สำนักงานเขต -วัดผลร้อยละความสำเร็จในการดำเนินการตามภารกิจตามที่หน่วยงานหลัก/หน่วยงานรองระดับสำนักมอบหมายโดยคำนวณจาก จำนวนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานหลักฯและรอง ดำเนินการสำเร็จหารด้วยจำนวนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน ทั้งหมดคูณด้วย ๑๐๐ จากนั้นนำไปเทียบกับเกณฑ์วัดผลความสำเร็จ
สำนักงานเขต ๑) รายงานการประชุม ศปถ.เขต ๒) เอกสารที่แสดงถึงภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก ๓) หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติตามการมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก เช่นเอกสาร ภาพถ่าย เป็นต้น ๔) หลักฐานการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ๕) รายงานผลการดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก
:ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
:๑.๒ - ปลอดอุบัติเหตุ |
:๑.๒.๒ ลดอุบัติเหตุทางถนน% |
:๑.๒.๒.๒ การตรวจสอบสภาพถนนและปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย (Black Spot) |