ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
1. ร่วมประชุมรับทราบแนวทางบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนตัวชี้วัด และจัดทา แผนปฏิบัติการปรับภูมิทัศน์คลองลาดพร้าว (คลองสอง) ตามกรอบภารกิจของ หน่วยงาน
2. กิจกรรมลงพื้นที่สารวจและบารุงรักษาอุปกรณ์และพื้นที่โดยรอบ
จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักงานเขต ส่งสำนักการระบายน้ำ ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่ในความรับผิดชอบ บริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) บริเวณสะพานข้ามคลอง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน คัดเลือกอย่างน้อย 1 พื้นที่ บริเวณคลองสายหลักหรือคลองสาขา โดยเป็นพื้นที่ริมคลอง สะพานข้ามคลอง หรือพื้นที่อื่น ๆ ที่มีความเหมาะสม ซึ่งเป็นพื้นที่เดิม (คลองเป้าหมายที่ได้ดำเนินการในปีที่ผ่านมา)
1. คัดเลือกพื้นที่เพื่อสร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่น 2. กิจกรรมการนัดทิ้ง – นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ 3. กิจกรรมการตั้งจุด “ทิ้งจับปรับ” 4. กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง 5. สร้างภาคีเครือข่าย และส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการ พัฒนาคลอง ผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ (social network) 6. รายงานผลการดำเนินการส่งสำนักการระบายน้ำ
การปรับภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลองเป้าหมายโดยมีเป้าหมายให้คลองและพื้นที่ริมคลองมีความสวยงาม สะอาด ปลอดภัย สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ สร้างความโดดเด่นเป็น อัตลักษณ์ ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติหรือสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น รวมถึงการบำรุงรักษาให้เกิดความยั่งยืนและพัฒนาต่อยอดเชิงพื้นที่เพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ (สามารถสร้างใหม่หรือเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาให้ดีขึ้นได้) เช่น การประดับ ตกแต่งต่าง ๆ สร้างพื้นที่ให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่โดยใช้แนวทางการพัฒนาในรูปแบบ Tactical Urbanism, Urban Renewal เป็นต้น คลองเป้าหมาย หมายถึง คลองเป้าหมายตามบัญชีคลอง ของกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ 50 เขต (เอกสารแนบ 1) Tactical Urbanism หมายถึง การพัฒนาเมืองหรือชุมชนโดยการเปลี่ยนแปลงบริเวณรกร้างหรือมีบรรยากาศแห้งแล้งเช่น ถนน ทางเท้า กำแพง สนามเด็กเล่น แหล่งเสื่อมโทรม ให้กลายเป็นพื้นที่หรือย่านสร้างสรรค์ มีชีวิตชีวา และน่าอยู่มากขึ้นโดยการตกแต่งหรือก่อสร้างในต้นทุนต่ำ เน้นการมีส่วนร่วมและใช้แรงงานสองมือของคนในชุมชนเป็นหลัก การฟื้นฟูเมือง (Urban Renewal) เป็นการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองหรือส่วน ของเมืองที่เสื่อมโทรมด้วยกาลเวลาหรือปัจจัยอื่นให้มีชีวิตชีวาขึ้นใหม่โดยดำเนินการด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ให้สอดคล้องกัน ซึ่งการดำเนินการ มีผลต่อการสร้างงานและทำให้สภาพแวดล้อมของเมืองดีขึ้น
นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงานตามภารกิจ ส่วนที่ 1 - 2 โดยแบ่งเป็น 1. ภารกิจส่วนที่ 1 คะแนนร้อยละ 80 2. ภารกิจส่วนที่ 2 คะแนนร้อยละ 20 รวม คะแนนร้อยละ 100 (ยกเว้น สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองวัดผลฯ เฉพาะส่วนภารกิจที่ 1 เท่านั้น)
1. แผนการปรับภูมิทัศน์คลองภาพรวมของกรุงเทพมหานคร 2. Action Plan ของแต่ละหน่วยงาน 3. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม 4. รายงานผลการดำเนินงานปรับภูมิทัศน์คลองภาพรวมของกรุงเทพมหานคร 5. รายงานผลการดำเนินงานปรับภูมิทัศน์คลองของแต่ละหน่วยงาน 6. ผลสรุปคะแนนรายหน่วยงานและคะแนนภาพรวม 7. รายละเอียดและข้อเสนอการพัฒนาเพิ่มเติมของแต่ละหน่วยงาน
:ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ |
:๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน |
:๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร% |
:๔.๓.๑.๓ อนุรักษ์และฟื้นฟูย่าน (Districts) ตามผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคตที่มีอัตลักษณ์และ พัฒนาพื้นที่ชุมชนอันมีความเป็นเอกลักษณ์ของในพื้นที่กรุงเทพมหานคร |