ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 80
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
ประชุมการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองตามตัวชี้วัดเจรจาตกลงการประเมินการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2566 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 - กรอบการประเมินผลฯ ของหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร - แนวทางการดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองฯ
1. จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแสนแสบในพื้นที่เขตสะพานสูง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ส่งสำนักการระบายน้ำ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 2. ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่ บริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) บริเวณสะพานข้ามคลอง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน จำนวน 1 ครั้ง/เดือน - ดำเนินการทาสีสัญลักษณ์ทางจักรยาน บริเวณทางเดินริมคลองแสนแสบ - บำรุงรักษาป้ายอำนวยความสะดวก/ป้ายประดับต่างๆ - ดูแลรักษารดน้ำต้นไม้ ไม้ประดับ บริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดเช็คอิน (Check in) ริมคลองแสนแสบหลังโรงเรียนโสมาภานุสสรณ์ และตลอดทางเดินริมคลอง - ทำความสะอาดทางเดินริมคลอง/ทางจักรยาน/สะพานข้ามคลอง - จัดเจ้าหน้าที่สำรวจตรวจสอบไฟฟ้าส่องสว่างทางเดินริมคลอง พร้อมทำหนังสือประสานการไฟฟ้านครหลวงเขตลาดกระบัง พิจารณาดำเนินการประมาณราคาซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่างที่ขัดข้องชำรุด ตามหนังสือ ที่ กท 8103/2948 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 - จัดเก็บวัชพืช ผักตบชวาบริเวณแสนแสบ และคลองสาขา ได้แก่ คลองสะพานสูง และคลองเจ็ก 3. สำนักงานเขตสะพานสูงพัฒนาจุดเช็คอิน (Check in) บริเวณด้านหลังโรงเรียนโสมาภานุสรณ์ และติดตั้งป้ายประดับ ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม - มีการสำรวจและประชาสัมพันธ์แหล่งกำเนิดน้ำเสียและขอความร่วมมือร่วมใจกับผู้พักอาศัยแนวริมคลองให้มีการทำบ่อพักนำน้ำเสียก่อนจะปล่อยลงคลอง - มีการประชาสัมพันธ์รณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงคลอง และร่วมกันดูแลรักษาคลองให้สะอาด สวยงาม - เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2566 จัดเจ้าหน้าที่ โซนรามคำแหงเข้าจัดเก็บขยะชิ้นใหญ่สิ่งของเหลือใช้เช่น ตู้ เตียง ที่นอน เครื่องใช้ไฟฟ้า และอื่นๆในซอยรามคำแหง 156 และประชาสัมพันธ์ในการคัดแยกขยะก่อนนำมาทิ้ง - กิจกรรมทำความสะอาดทางเดินริมฝั่งคลองแสนแสบ เดือนละ 8 ครั้ง - กิจกรรมตัดแต่งต้นไม้ริมฝั่งคลองแสนแสบ เดือนละ 2 ครั้ง - ตรวจสอบความเรียบร้อยความปลอดภัยและซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างตลอดแนวคลอง(ราวกันตก)ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 4. บริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลองเพื่อไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงคลอง 5. รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง 6. สร้างภาคีเครือข่าย และส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลอง ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) จำนวน 2 ช่องทาง ได้แก่ Facebook และ ไลน์กลุ่ม 7. จัดทำข้อเสนอแนะการพัฒนาเพิ่มเติมจากการดำเนินงานพร้อมเสนอโครงการ/กิจกรรม เพื่อการพัฒนาในส่วนภารกิจที่รับผิดชอบ และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการปรับภูมิทัศน์คลองตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ส่งให้สำนักการระบายน้ำ ตามหนังสือที่ 8103/4118 ลงวันที่ 15 กันยายน 2566
นิยาม การปรับภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การปรับภูมิทัศน์ของพื้นที่ตลอดแนวคลองเป้าหมายให้มีความสวยงาม สะอาด ปลอดภัย สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของพื้นที่และมีความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติและสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น และเกิดความยั่งยืน รวมถึงพัฒนาต่อยอดเชิงพื้นที่เพื่อส่งเสริม การท่องเที่ยวตามแนวคลอง เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะเด่นของท้องถิ่น/พื้นที่ที่แสดงให้เห็นความแตกต่างจากท้องถิ่นอื่น ขึ้นอยู่กับสภาพตามธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เศรษฐกิจ และสังคม (เป็นสิ่งตายตัวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้) เช่นสภาพภูมิศาสตร์ พืชพันธุ์ไม้ สัตว์ ภาษาถิ่น ประเพณีท้องถิ่นศิลปะหัตถกรรม อาหารการกิน เทคโนโลยี แฟชั่น ฯลฯ อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทําให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจําได้ (สามารถเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาให้ดีขึ้นได้) เช่น การตกแต่งสิ่งประดับต่าง ๆ ที่บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ หรือการพัฒนาในรูปแบบ Tactical Urbanism ฯลฯ Tactical Urbanism หมายถึง การพัฒนาเมืองหรือชุมชนโดยการเปลี่ยนแปลงบริเวณรกร้างหรือมีบรรยากาศแห้งแล้ง เช่น ถนน ทางเท้า กำแพง สนามเด็กเล่น แหล่งเสื่อมโทรม ให้กลายเป็นพื้นที่หรือย่านสร้างสรรค์ มีชีวิตชีวา และน่าอยู่มากขึ้น โดยการตกแต่งหรือก่อสร้างในต้นทุนต่ำ เน้นการมีส่วนร่วมและใช้แรงงานสองมืองของคนในชุมชนเป็นหลัก คลอง หมายถึง ทางนํ้าหรือลํานํ้าที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามบัญชีคลอง ลำราง ลำกระโดงของกรุงเทพมหานคร คลองเป้าหมาย หมายถึง คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ดำเนินการปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม สะอาดและปลอดภัย จำนวน 20 แนวคลอง หรือ 39 คลอง เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เอกสารแนบ 1) และคลองสาขาที่เกี่ยวข้อง
วิธีคำนวณ นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงานตามภารกิจ ของทุกหน่วยงานตามภารกิจที่ 1 - 3 โดยแบ่งเป็น 1. ภารกิจส่วนที่ 1 ร้อยละ 40 2. ภารกิจส่วนที่ 2 ร้อยละ 10 3. ภารกิจส่วนที่ 3 ร้อยละ 50 รวม ร้อยละ 100
วิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน 1. แผนการปรับภูมิทัศน์คลองของกรุงเทพมหานคร 2. แผนปฏิบัติการปรับภูมิทัศน์คลองของแต่ละหน่วยงาน 3. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม 4. รายงานผลการดำเนินงานปรับภูมิทัศน์คลองของกรุงเทพมหานคร 5. ผลสรุปคะแนนรายด้านและคะแนนภาพรวม 6. รายละเอียดและข้อเสนอการพัฒนาเพิ่มเติมของแต่ละหน่วยงานจากกรณีปัญหาที่ตรวจพบในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565
:ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
:๑.๓ - ปลอดภัยพิบัติ |
:๑.๓.๑ กรุงเทพมหานครสามารถลดความเสี่ยงและฟื้นคืนจากภัยพิบัติ% |
:๑.๓.๑.๑ การสร้างศักยภาพและความสามารถในการจัดการสาธารณภัยและลดความเสี่ยงอุทกภัย |