ค่าเป้าหมาย ระดับ : 5
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 5
ประเภทตัวชี้วัด :
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
จัดทำแบบสำรวจคลอง, โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองและแผนปฏิบัติการ การปรับปรุงภูมิทัศน์คลองในพื้นที่เขตวังทองหลาง (คลองลาดพร้าวและคลองแสนแสบ) ให้สำนักการระบายน้ำเรียบร้อยแล้ว
อยู่ระหว่างการดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนดไว้ โดยการดำเนินงานเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ 1. ออกปรับปรุงภูมิทัศน์ริมฝั่งคลอง / จัดทำจุด Check in 2. ตรวจสอบความปลอดภัยของสิ่งปลูกสร้าง 3. ออกตรวจตราความปลอดภัย
อยู่ระหว่างดำเนินการตามแผนงาน ดังนี้ 1. ดำเนินการประสานสำนักการโยธา / การไฟฟ้านครหลวง / สำนักการระบายน้ำ ให้ดำเนินการตรวจสอบไฟฟ้สส่องสว่างที่อยู่ในความรับผิดชอบ ให้ดำเนินการซ่อมแซมและสำรวจเพื่อติดตั้งเพิ่มเติมในจุดที่ไม่เพียงพอ 2. ดำเนินการประสานสำนักการจราจรและการขนส่ง ให้สำรวจจุดติดตั้งกล้อง CCTV เพิ่มในจุดที่ยังไม่เพียงพอ 3. ดำเนินการติดป้ายเตือนราวกันกันตกชำรุด 4. ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ทางเดินริมเขื่อน 5. ออกประชาสัมพันธ์รณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงคลอง 6. จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจตราความปลอดภัย 7. ดำเนินการจัดทำจุด Check In ทั้ง 2 คลอง (คลองลาดพร้าว - คลองแสนแสบ)
- ดำเนินการได้ครบถ้วนตามแผนการปฏิบัติการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแสนแสบและคลองลาดพร้าว โดยมีรายละเอียดดำเนินการโดยย่อดังนี้ 1. ดำเนินการประสานสำนักการโยธา / การไฟฟ้านครหลวง / สำนักการระบายน้ำ ให้ดำเนินการตรวจสอบไฟฟ้สส่องสว่างที่อยู่ในความรับผิดชอบ ให้ดำเนินการซ่อมแซมและสำรวจเพื่อติดตั้งเพิ่มเติมในจุดที่ไม่เพียงพอ 2. ดำเนินการประสานสำนักการจราจรและการขนส่ง ให้สำรวจจุดติดตั้งกล้อง CCTV เพิ่มในจุดที่ยังไม่เพียงพอ 3. ดำเนินการติดป้ายเตือนราวกันกันตกชำรุด 4. ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ทางเดินริมเขื่อน 5. ออกประชาสัมพันธ์รณรงค์ไม่ทิ้งขยะลงคลอง 6. จัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกตรวจตราความปลอดภัย 7. ดำเนินการจัดทำจุด Check In ทั้ง 2 คลอง (คลองลาดพร้าว - คลองแสนแสบ)
การปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดแนวคลองให้มีความสวยงาม สะอาด และปลอดภัยสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ วิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ และสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ คลอง หมายถึง คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นคลองเป้าหมายที่กำหนด ตามเอกสารแนบ 1 การดำเนินการของแต่ละหน่วยงานประกอบด้วย ๑. สำนักการระบายน้ำ ๑.๑ ดำเนินการจัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนการปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2563 ๑.2 ตรวจวัดคุณภาพน้ำในคลองสายหลักตามแผนที่กำหนด คลองละ 2 จุด ทั้งก่อนและหลังดำเนินการกิจกรรมด้านการรักษาความสะอาด เพื่อหาค่าออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen : DO) ค่าปริมาณความสกปรกในรูปสารอินทรีย์ (Biochemical Oxygen Demand : BOD) และค่าแอมโมเนียไนโตรเจน (Ammonia Nitrogen : NH3N) ๑.๓ เก็บขยะในคลองและทางเดินริมคลองและขัดล้างทำความสะอาดเขื่อนผนังกั้นน้ำบริเวณคลองสายหลักของกรุงเทพมหานคร ๑.๔ ขุดลอกคู คลอง และเปิดทางน้ำไหลหรือดูดตะกอนดินเลน ๑.5 ตรวจสอบและซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในความรับผิดชอบตลอดแนวคลองให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น เช่น ราวกันตกริมคลองสถานีสูบน้ำ ประตูระบายน้ำ ฯลฯ ๒. สำนักสิ่งแวดล้อม จัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่สีเขียวตามแนวคลองโดยมีรายละเอียดของโครงการ/กิจกรรม เพื่อดำเนินการ สร้างความร่มรื่นหรือตกแต่งไม้ดอกไม้ประดับ ให้มีความสวยงามและเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ 3. สำนักการโยธา จัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ สำรวจตรวจสอบและซ่อมแซมสะพานข้ามคลองโดยจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมายเพื่อซ่อมแซม สิ่งปลูกสร้างตลอดแนวคลองที่อยู่ในความรับผิดชอบ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น 4. สำนักการจราจรและขนส่ง จัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ ตรวจสอบและซ่อมแซมท่าเทียบเรือและติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV โดยจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อติดตั้งกล้องวงจรปิด CCTV ติดตั้งป้ายบอกทาง ตรวจสอบและซ่อมแซมท่าเทียบเรือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น 5. สำนักเทศกิจ จัดทำแผนการตรวจและพัฒนาพื้นที่ ตลอดแนวคลอง เพื่อเสนอแนะโครงการ/กิจกรรม ในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อใช้เป็นมาตรการดูแล ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ป้องกันการเกิดพื้นที่เสี่ยงอาชญากรรม 6. สำนักงานเขต 6.1 จัดทำแผนและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลองตามความรับผิดชอบของเขตโดยจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย 6.2 บริหารจัดการขยะริมคลอง รณรงค์ให้ประชาชนดูแลรักษาแหล่งน้ำไม่ให้ทิ้งขยะและของเสียลงคลองผ่านช่องทางการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น การเดินรณรงค์ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ การกระจายเสียง ฯลฯ และให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องการคัดแยกขยะ การจัดทำถังหรือบ่อดักไขมันสำหรับบ้านเรือน 6.3 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนในพื้นที่ ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงภูมิทัศน์คลอง เช่น ท่าน้ำของตนเอง สะพานทางเดินข้ามคลองที่เชื่อมระหว่างบ้านกับชุมชน ฯลฯ 6.4 สำรวจและประสานการไฟฟ้านครหลวงเพื่อติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างให้พร้อมใช้งาน 6.5 สำรวจ ตรวจสอบและซ่อมแซมสะพานข้ามคลองในความรับผิดชอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือสภาพที่ดีขึ้น 6.6พัฒนาพื้นที่ริมคลองให้เป็นสถานที่พักผ่อน จุดชมวิวทิวทัศน์ สร้างจุดเช็คอิน Check inติดตั้งป้ายอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาเยือน และป้ายประดับต่าง ๆ ให้มีความสวยงามและเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่ อย่างน้อยเขตละ 1 จุดต่อคลอง สัดส่วนความสำเร็จในการบูรณาการการดำเนินการ ประกอบด้วย 1. ความสำเร็จตามภารกิจเฉพาะหน่วยงาน หมายถึง ความสำเร็จซึ่งเป็นไปตามแผนฯ ที่หน่วยงานนำเสนอ คิดเป็นร้อยละ 60 2.ความสำเร็จในภาพรวมหมายถึง ความสำเร็จซึ่งเกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามข้อ 1. ของทุกหน่วยงาน และส่งผลให้สภาพของคลอง มีความสวยงาม สะอาด และปลอดภัย สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ โดยพิจารณาจากสภาพภูมิทัศน์ของคลองซึ่งเป็นไปตามที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 40 ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการกับคลองเป้าหมาย ตามเอกสารแนบ 1 โดยจัดทำแผนการดำเนินงานตามภารกิจที่รับผิดชอบ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2563 และรายงานผลผ่านระบบการบริหารจัดการ แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA digital plans)
- นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงานตามภารกิจเฉพาะหน่วยงาน และความสำเร็จของการดำเนินงานในภาพรวม
1. เอกสารประกอบการดำเนินการ 2. ระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA digitalplans) หลักฐาน 1. แผนการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม 3. ภาพถ่ายกิจกรรมก่อน - หลัง ดำเนินการ ฯลฯ
:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |