รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน : 5046-2033

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
0.00

0 / 0
3
41.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ยังไม่มีคำรับรองฯ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ยังไม่มีคำรับรองฯ

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

- จัดรายการ จำนวน 9 เทป คือ เทปที่ 1 - 9

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

- จัดรายการ จำนวน 13 เทป คือ เทปที่ 10 - 22 ดำเนินการครบถ้วนตามตัวชี้วัดโครงการ ทั้ง 3 ข้อ ครบร้อยละ 100 - จำนวนเทปที่ออกอากาศ ครบถ้วน 22 เทป - ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าชม เกินเป้าหมาย 80 % อยู่ที่ระดับมากที่สุด สูงถึงร้อยละ 98.75 (ค่าเฉลี่ย 4.938) (5 ระดับ) - ทุกเทป มียอดผู้เข้าชม มากกว่า 1,000 วิว

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

คำอธิบาย : นวัตกรรม หมายถึง แนวคิด วิธี และรูปแบบใหม่ๆ ในการจัดการองค์กร การดำเนินงาน และการให้บริการ อันเป็นผลมาจากการสร้าง พัฒนา เพิ่มพูน ต่อยอด หรือประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และแนวปฏิบัติต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพประสิทธิผล หรือคุณภาพของการปฏิบัติงานของหน่วยงาน (ที่มา : ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาระบบราชการไทย สำนักงาน ก.พ.ร.) การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน หมายถึง การปรับปรุง แก้ไข และหรือเพิ่มความสามารถ หรือทักษะในการปฏิบัติงานของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และคุณภาพ เพื่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับบริการ รูปแบบการพัฒนานวัตกรรม : หน่วยงานพัฒนานวัตกรรมรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ดังนี้ นวัตกรรมเชิงนโยบาย (Policy Innovation) เป็นการคิดริเริ่มนโยบาย กฎหมายและกฎใหม่ๆ ให้ทันสมัย เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของกรุงเทพมหานคร นวัตกรรมการบริการ (Service Innovation) การพัฒนาหรือปรับปรุงรูปแบบการให้บริการด้วยการนำแนวคิด องค์ความรู้ ประสบการณ์ หรือเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงรูปแบบการให้บริการใหม่ๆ ที่สอดคล้อง และทันต่อความต้องการของประชาชน/ผู้รับบริการ นวัตกรรมการบริหาร/องค์กร (Administrative or Organizational Innovation) การพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนงานใหม่ (New Process) รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพการบริหารงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงาน หรือกระบวนการจัดโครงสร้างหน่วยงานรูปแบบใหม่ ที่ส่งผลต่อระบบการทำงานขององค์กร

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนน : พิจารณาจากรายละเอียดการประเมินเชิงประจักษ์ โดยกำหนดค่าคะแนนและวิธีวัดผลเป็น 3 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 : การค้นหาและคัดเลือกแนวคิด ขั้นตอนการดำเนินการ คะแนน เอกสาร/หลักฐานประกอบการพิจารณา การค้นหาแนวคิดและการคัดเลือกแนวคิด 1. แบบเสนอแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมฯ (แบบฟอร์ม 1) โดยไม่จำกัดแนวคิด แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 3 แนวคิด 2. เอกสาร/หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการมีส่วนร่วมให้ได้มาซึ่งแนวคิดแต่ละแนวคิด เช่น รายงานการประชุม หลักฐานการระดมความคิดเห็น หรือการสร้างการมีส่วนร่วม ภาพถ่ายการจัดกิจกรรม เป็นต้น 3. แบบสรุปผลการคัดเลือกแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมฯ (แบบฟอร์ม 2) จำนวน 1 แนวคิด 4. เอกสาร/หลักฐานที่แสดงให้เห็นกระบวนการ หรือรูปแบบในการคัดเลือกแต่ละแนวคิด ส่วนที่ 2 : การกลั่นกรองนวัตกรรม ขั้นตอนการดำเนินการ คะแนน เอกสาร/หลักฐานประกอบการพิจารณา คณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมกรุงเทพมหานคร พิจารณากลั่นกรองโครงการพัฒนานวัตกรรมฯ 1. แบบนำเสนอโครงการพัฒนานวัตกรรมฯ (แบบฟอร์ม 3) จำนวน 1 แนวคิด พร้อมแผนการดำเนินการ 2. โครงการพัฒนานวัตกรรมฯ (แบบฟอร์ม 4) ส่วนที่ 3 : ผลการดำเนินการ ขั้นตอนการดำเนินการ คะแนน เอกสาร/หลักฐานประกอบการพิจารณา 1. การพัฒนานวัตกรรม ความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรม จำนวน 1 ชิ้น เอกสาร/หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าพัฒนานวัตกรรมที่เสนอได้สำเร็จ 2. การนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ 2.1 มีการนำนวัตกรรมไปใช้ภายในปีงบประมาณ 2.2 ประโยชน์ของนวัตกรรม 2.2.1 ความพึงพอใจของผู้ใช้นวัตกรรม 2.2.2 นวัตกรรมที่พัฒนาสามารถแก้ไขปัญหา/พัฒนางานได้จริง (ตัวชี้วัดผลลัพธ์) เอกสาร/หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า มีการนำนวัตกรรมไปใช้ ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้นวัตกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เอกสาร หลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าสามารถแก้ไขปัญหา/พัฒนางานได้จริง ตามตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ในโครงการ คะแนนรวม 100 วิธีการคำนวณ : คะแนนรวม = ส่วนที่ 1 + ส่วนที่ 2 + ส่วนที่ 3

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

แนวทางการพิจารณาความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน 1. การส่งเอกสารประกอบการพิจารณาโครงการ ส่วนที่ 1 : การค้นหาและคัดเลือกแนวคิด หน่วยงานต้องส่งข้อมูลการเสนอแนวคิด ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงานตามแบบฟอร์ม 1 และการสรุปผลการคัดเลือกแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงานตามแบบฟอร์ม 2 และเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 ให้สำนักงาน ก.ก. ภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อประกอบการพิจารณาให้คะแนนตามเกณฑ์การให้คะแนนในส่วนที่ 1 (10 คะแนน) ส่วนที่ 2 : การนำเสนอโครงการพัฒนานวัตกรรมฯ หน่วยงานส่งแบบแสนอโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ตามแบบฟอร์ม 3 และร่างโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ตามแบบฟอร์ม 4 จำนวน 1 ชุด ในขั้นตอนที่ 3 ให้สำนักงาน ก.ก. อย่างเป็นทางการพร้อมไฟล์ข้อมูล ภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อนำเสนอคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมกรุงเทพมหานครพิจารณากลั่นกรองและให้คะแนนในส่วนที่ 2 เมื่อคณะกรรมการฯ พิจารณาอนุมัติแล้ว ให้หน่วยงานนำร่างโครงการที่ได้รับอนุมัติ เสนอหัวหน้าหน่วยงาน/ส่วนราชการฯ ลงนาม และส่งให้สำนักงาน ก.ก. (30 คะแนน) ส่วนที่ 3 : ผลการดำเนินการ สำนักงาน ก.ก. จะประเมินผลการดำเนินการในช่วง สิ้นปีงบประมาณจากความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรม มีการนำนวัตกรรมไปใช้ภายในปีงบประมาณ ผลความพึงพอใจของผู้ใช้นวัตกรรม และผลลัพธ์ที่เกิดจากการพัฒนานวัตกรรม (60 คะแนน)

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง