รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จของคลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้รับการปรับภูมิทัศน์ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้กับพื้นที่ : 5046-2035

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
0.00

0 / 0
3
40.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

ยังไม่มีคำรับรอง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

ยังไม่มีคำรับรอง

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

1. เข้าร่วมประชุมและกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุม ชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง สำนักงานเขตคลองสามวา มีนายธนัฐจ์กร ภิรัฐพงศ์ธนากร เข้าร่วมประชุมดังกล่าว 2. จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักงานเขต ส่งสำนักการระบายน้ำ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1. มีการตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่ในความรับผิดชอบบริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) บริเวณสะพานข้ามคลอง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ฝ่ายโยธา และฝ่ายเทศกิจ 2. สำนักงานเขตคลองสามวาได้มีการคัดเลือกพื้นที่เดิมของปีที่ผ่านมา คือบริเวณพื้นที่บริเวณสุเหร่าสามวาได้รับการพัฒนาเป็นพื้นที่อัตลักษณ์ที่โดดเด่น และพัฒนาเป็นสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์ จุดเช็คอิน (Check in) 3. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะพร้อมกับฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการชุมชนบริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลองเพื่อไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงคลอง การกำหนดจุดทิ้งขยะ นัดทิ้ง - นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ การเก็บขนขยะ และการตั้งจุด “ทิ้ง จับ ปรับ” ของฝ่ายเทศกิจด้วย 4. รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง อย่างน้อยครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้ 1) การคัดแยกขยะมูลฝอยตามแนวทาง “ไม่เทรวม” 2) การนำขยะเศษอาหารทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ 3) การนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Reuse and Recycle) 4) การจัดการน้ำเสียชุมชน 5) การกำจัดไขมันก่อนทิ้งลงท่อระบายน้ำ 6) การสร้างความเข้าใจในการเตรียมการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียและค่าธรรมเนียมการเก็บขนมูลฝอย ประกอบด้วย จำนวน 7 ชุมชน ได้แก่ 1) ชุมชนมีนทองพัฒนา 2) ชุมชนพร้อมใจพัฒนา 3) ชุนชนหมู่ 3 สามวาตะวันออก 4) ชุมชนวัดบัวแก้ว 5) ชุมชนบึงไผ่ 6) มัสยิดดารุ้สอีบาดะห์ (คลองสามวา) 7) ชุมชนมัสยิดฮีดาย่าตุ้ลอิสลามิยะห์ (สามวา) 5. สร้างภาคีเครือข่าย และส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลองผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) จำนวน 1 เครือข่าย ได้แก่ รักคลองสามวา กลุ่มไลน์ (Line Group) มีสมาชิกเครือข่าย จำนวน 156 ราย 6. สำนักงานเขตคลองสามวาได้จัดทำข้อเสนอแนะการพัฒนาเพิ่มเติมจากการดำเนินงานพร้อมเสนอโครงการ/กิจกรรม ปี 2567 เพื่อการพัฒนาในส่วนภารกิจที่รับผิดชอบ และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการปรับภูมิทัศน์คลองตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ส่งให้สำนักการระบายน้ำเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 พร้อมโครงการแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่องในปีงปบระมาณ พ.ศ. 2567 7. สำนักงานเขตคลองสามวา โดยฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะได้ประสานหารือฝ่ายโยธาและประชาชนบริเวณวัดบัวแก้วได้ข้อสรุปในการตกลงพัฒนาจุดเช็คอินเพิ่มเติม ณ สะพานวัดบัวแก้ว

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

นิยาม การปรับภูมิทัศน์คลอง หมายถึง การฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวคลองเป้าหมายโดยมีเป้าหมายให้คลองและพื้นที่ริมคลองมีความสวยงาม สะอาด ปลอดภัย สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ สร้างความโดดเด่นเป็น อัตลักษณ์ ทั้งภูมิทัศน์ที่เป็นแหล่งธรรมชาติหรือสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้น รวมถึงการบำรุงรักษาให้เกิดความยั่งยืนและพัฒนาต่อยอดเชิงพื้นที่เพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน อัตลักษณ์ หมายถึง ผลรวมของลักษณะเฉพาะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่โดดเด่น ซึ่งทำให้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้จักหรือจำได้ (สามารถสร้างใหม่หรือเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาให้ดีขึ้นได้) เช่น การประดับ ตกแต่งต่าง ๆ สร้างพื้นที่ให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่โดยใช้แนวทางการพัฒนาในรูปแบบ Tactical Urbanism, Urban Renewal เป็นต้น คลองเป้าหมาย หมายถึง คลองเป้าหมายตามบัญชีคลอง ของกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ 50 เขต (เอกสารแนบ 1) Tactical Urbanism หมายถึง การพัฒนาเมืองหรือชุมชนโดยการเปลี่ยนแปลงบริเวณรกร้างหรือมีบรรยากาศแห้งแล้งเช่น ถนน ทางเท้า กำแพง สนามเด็กเล่น แหล่งเสื่อมโทรม ให้กลายเป็นพื้นที่หรือย่านสร้างสรรค์ มีชีวิตชีวา และน่าอยู่มากขึ้นโดยการตกแต่งหรือก่อสร้างในต้นทุนต่ำ เน้นการมีส่วนร่วมและใช้แรงงานสองมือของคนในชุมชนเป็นหลัก การฟื้นฟูเมือง (Urban Renewal) เป็นการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองหรือส่วน ของเมืองที่เสื่อมโทรมด้วยกาลเวลาหรือปัจจัยอื่นให้มีชีวิตชีวาขึ้นใหม่โดยดำเนินการด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ให้สอดคล้องกัน ซึ่งการดำเนินการ มีผลต่อการสร้างงานและทำให้สภาพแวดล้อมของเมืองดีขึ้น ทั้งนี้ขอบเขตการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

ภารกิจของหน่วยงาน/ส่วนราชการฯ ที่เกี่ยวข้อง ภารกิจส่วนที่ 1 จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองของหน่วยงาน และดำเนินงานตามแผนฯ (คะแนนร้อยละ 80) 1. สำนักการระบายน้ำ 1.1 จัดประชุมหารือร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสร้างช่องทางการประสานงานสำหรับผู้รับผิดชอบหลัก/ผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.2 ทบทวนแผนการปรับภูมิทัศน์คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยระบุค่าเป้าหมายและโครง/กิจกรรมที่จะดำเนินการในแต่ละปี 1.3 จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองภาพรวมในพื้นที่กรุงเทพมหานครในปีที่ประเมิน 1.4 จัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการสำรวจและตรวจสอบพื้นที่คลอง และให้การสนับสนุนเครื่องจักรกลต่าง ๆ แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.5 ฟื้นฟู บำรุงรักษาสภาพคลอง ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และสิ่งปลูกสร้างในความรับผิดชอบตามแนวคลองให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าดำเนินการกรณีอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่น 1.6 คัดเลือกพื้นที่หรือย่านสำคัญริมคลองพัฒนาต่อยอดเชิงพื้นที่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการพัฒนาสถานที่ จัดทำข้อมูล และจัดกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจและเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีคลอง อย่างน้อย 1 พื้นที่ โดยประสานสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว จัดให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว วัฒนธรรม กีฬา และนันทนาการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตคลอง 1.7 จัดลำดับความสำคัญของโครงการ/กิจกรรมที่หน่วยงานระดับสำนักและสำนักงานเขตได้นำเสนอเพื่อการพัฒนาเพิ่มเติมเชิงพื้นที่ในการปรับภูมิทัศน์คลอง เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันโครงการ/กิจกรรมสู่การปฏิบัติ 1.8 ให้คะแนนผลการดำเนินงานตามภารกิจส่วนที่ 1 ของหน่วยงานตามตัวชี้วัดที่กำหนด 1.9 จัดทำหลักเกณฑ์การประเมินผลและให้คะแนนการปรับภูมิทัศน์คลองในภาพรวมของภารกิจส่วนที่ 2 (ร้อยละ 20) อย่างน้อยตามหลักเกณฑ์ (เอกสารแนบ 2) โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้คะแนน ดังนี้ 1) แต่งตั้งคณะกรรมการลงพื้นที่ตรวจสอบและให้คะแนน (ร้อยละ 10) 2) ความพึงพอใจของประชาชน (ร้อยละ 10) โดยประสานสำนักงานประชาสัมพันธ์ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรมการปรับภูมิทัศน์คลองผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เช่น YouTube, Facebook เป็นต้น เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนรับรู้การดำเนินกิจกรรมของกรุงเทพมหานครเป็นรายพื้นที่เป้าหมายของแต่ละสำนักงานเขต และประเมินผลความพึงพอใจของประชาชนต่อผลของกิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย 1.10 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ(Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พร้อมจัดทำสรุปโครงการ/กิจกรรมตามข้อเสนอแนะการพัฒนาเพิ่มเติม เสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานครรับทราบ และสรุปผลคะแนนส่งสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล ภายในวันที่ 30 กันยายน 2566 2. สำนักการโยธา 2.1 เข้าร่วมประชุมและกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 2.2 จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักการโยธา ส่งสำนักการระบายน้ำ 2.3 สำรวจและออกแบบตามหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design)และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามแนวคลอง พื้นที่หรือย่านริมคลอง และสะพานข้ามคลอง (เพิ่มเติม) ตามแนวคลองเป้าหมาย ได้แก่ 1) สะพานข้ามคลองลำผักชี ถนนเทพรักษ์ พื้นที่เขตบางเขน 2) สะพานข้ามคลองบางซื่อ ถนนรัชดาภิเษก พื้นที่เขตห้วยขวาง 3) สะพานข้ามคลองสามเสนใน ถนนเพชรอุทัย พื้นที่เขตห้วยขวาง กรณีใช้งบประมาณให้ระบุโครงการ/กิจกรรมพร้อมรายละเอียดของรูปแบบและแบบประมาณราคาเตรียมขอจัดสรรงบประมาณในปีถัดไป 2.4 ดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามที่ได้นำเสนอเพื่อการพัฒนาเพิ่มเติมเชิงพื้นที่ในการปรับภูมิทัศน์คลอง เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 กรณีไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการจัดทำคำของบประมาณของหน่วยงานในปีถัดไป 2.5 ปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางสัญจรเข้าสู่ท่าเทียบเรือตามนโยบายกรุงเทพเดินได้พัฒนาทางเท้า 1,000 กม.(P026), เลียบคลองเดินได้ปั่นปลอดภัย (P028) 2.6 ร่วมดำเนินการพัฒนาพื้นที่ตาม ข้อ 1.5 2.7 ตรวจสอบและบำรุงรักษาสะพานข้ามคลองให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน กรณีใช้งบประมาณให้ระบุโครงการ/กิจกรรมพร้อมรายละเอียดของรูปแบบและแบบประมาณราคาเตรียมขอจัดสรรงบประมาณ 2.8 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานการปรับภูมิทัศน์คลองตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และจัดทำข้อเสนอแนะการพัฒนาเพิ่มเติมจากการดำเนินงานพร้อมเสนอโครงการ/กิจกรรมเพื่อการพัฒนาในส่วนภารกิจที่รับผิดชอบส่งให้สำนักการระบายน้ำภายในวันที่ 15กันยายน 2566 3. สำนักการจราจรและขนส่ง 3.1 เข้าร่วมประชุมและกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 3.2 จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักการจราจรและขนส่ง ส่งสำนักการระบายน้ำ 3.3 จัดทำแผนและพัฒนาเส้นทางการสัญจร (ทางเท้า ทางจักรยาน เส้นทางเดินเรือ) จุดเชื่อมต่อการเดินทาง ติดตั้งระบบกล้อง CCTV ป้ายบอกทาง และเครื่องหมายจราจร (เพิ่มเติม) ตามแนวคลองเป้าหมาย กรณีใช้งบประมาณให้ระบุโครงการ/กิจกรรมพร้อมรายละเอียดของรูปแบบและแบบประมาณราคาเตรียมขอจัดสรรงบประมาณ 3.4 ดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมตามที่ได้นำเสนอเพื่อการพัฒนาเพิ่มเติมเชิงพื้นที่ในการปรับภูมิทัศน์คลอง เมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 กรณีไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการจัดทำคำของบประมาณของหน่วยงานในปีถัดไป 3.5 ร่วมดำเนินการพัฒนาพื้นที่ตาม ข้อ 1.5 3.6 ตรวจสอบ และบำรุงรักษาอุปกรณ์ในความรับผิดชอบ (สายสาธารณูปโภค กล้อง CCTV และป้ายบอกทาง) บริเวณท่าเทียบเรือ ทางจักรยานและทางเดินริมคลองให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 3.7 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานการปรับภูมิทัศน์คลองตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ส่งให้สำนักการระบายน้ำภายในวันที่ 15 กันยายน 2566 4. สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง 4.1 ร่วมกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 4.2 จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ส่งสำนักการระบายน้ำ 4.3 ศึกษา พิจารณาคัดเลือกพื้นที่หรือย่านที่มีความสำคัญตามแนวคลอง เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ที่มีความสำคัญเช่น พื้นที่ทางประวัติศาสตร์และ/หรือพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม เป็นต้น โดยไม่ซ้ำกับพื้นที่/ย่านเดิมในปี พ.ศ. 2565 อย่างน้อย 1 แห่ง พร้อมจัดทำรายละเอียด ดังนี้ 4.3.1 จัดทำข้อเสนอแนะชี้นำแนวทางการพัฒนาพื้นที่เพื่อการนำพื้นที่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเรียนรู้ อย่างน้อยมีเนื้อหาประกอบด้วย Design Guideline 4.3.2 จัดทำรายละเอียดแผนที่มรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่หรือย่านที่สำคัญตามที่ได้รับการศึกษา เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้พัฒนาต่อยอดในการจัดกิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจและการเรียนรู้หรือเพื่อการพัฒนาเมืองต่อไป 4.4 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานการปรับภูมิทัศน์คลองตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ส่งให้สำนักการระบายน้ำภายในวันที่ 15 กันยายน 2566 5. สำนักงานเขต 5.1 เข้าร่วมประชุมและกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด 5.2 จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักงานเขต ส่งสำนักการระบายน้ำ 5.3 ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่ในความรับผิดชอบบริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) บริเวณสะพานข้ามคลอง ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่น ป้ายอำนวยความสะดวก (ชื่อแหล่งน้ำ,ประวัติศาสตร์พื้นที่ ฯลฯ) ป้ายประดับต่าง ๆ ไม้ดอกไม้ประดับ ไฟฟ้าส่องสว่าง ราวกันตกริมคลอง สะพานข้ามคลอง และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 5.4 คัดเลือกอย่างน้อย 1 พื้นที่ บริเวณคลองสายหลักหรือคลองสาขา โดยเป็นพื้นที่ริมคลอง สะพานข้ามคลอง หรือพื้นที่อื่น ๆ ที่มีความเหมาะสม ซึ่งเป็นพื้นที่เดิม (คลองเป้าหมายที่ได้ดำเนินการในปีที่ ผ่านมา) หรือพื้นที่ใหม่ เพื่อดำเนินการพัฒนาให้เกิดความเป็นอัตลักษณ์ที่ โดดเด่น และพัฒนาเป็นสถานที่พักผ่อนริมคลอง จุดชมวิวทิวทัศน์ จุดเช็คอิน (Check in) 5.5 บริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลองเพื่อไม่ให้ประชาชนทิ้งขยะลงคลอง เช่น การกำหนดจุดทิ้งขยะ นัดทิ้ง - นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ การเก็บขนขยะ และการตั้งจุด “ทิ้ง จับ ปรับ” เป็นต้น 5.6 รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง อย่างน้อยครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้ 1) การคัดแยกขยะมูลฝอยตามแนวทาง “ไม่เทรวม” 2) การนำขยะเศษอาหารทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ 3) การนำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Reuse and Recycle) 4) การจัดการน้ำเสียชุมชน 5) การกำจัดไขมันก่อนทิ้งลงท่อระบายน้ำ 6) การสร้างความเข้าใจในการเตรียมการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสียและค่าธรรมเนียมการเก็บขนมูลฝอย 5.7 สร้างภาคีเครือข่าย และส่งเสริมกิจกรรมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคลอง ผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) 5.8 จัดทำข้อเสนอแนะการพัฒนาเพิ่มเติมจากการดำเนินงานพร้อมเสนอโครงการ/กิจกรรมเพื่อการพัฒนาในส่วนภารกิจที่รับผิดชอบ และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานการปรับภูมิทัศน์คลองตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ส่งให้สำนักการระบายน้ำภายในวันที่ 15 กันยายน 2566 ภารกิจส่วนที่ 2 ผลการประเมินภาพรวม (คะแนนร้อยละ 20) สำนักการระบายน้ำประเมินผลภาพรวม ประกอบด้วย 1. ผลการประเมินในรูปแบบคณะกรรมการ โดยให้คะแนนตามหลักเกณฑ์ขององค์ประกอบภาพรวมการปรับภูมิทัศน์คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 10) 2. ผลคะแนนเฉลี่ยจากความคิดเห็นของภาคประชาสังคม ต่อการปรับภูมิทัศน์คลองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 10) วิธีคำนวณ/วัดผลการดำเนินงาน/สูตรคำนวณ นับจากผลรวมของความสำเร็จการดำเนินงานตามภารกิจ ส่วนที่ 1 - 2 โดยแบ่งเป็น 1. ภารกิจส่วนที่ 1 คะแนนร้อยละ 80 2. ภารกิจส่วนที่ 2 คะแนนร้อยละ 20 รวม คะแนนร้อยละ 100 (ยกเว้น สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองวัดผลฯ เฉพาะส่วนภารกิจที่ 1 เท่านั้น)

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

วิธีเก็บข้อมูล/หลักฐาน 1. แผนการปรับภูมิทัศน์คลองภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ๒. Action Plan ของแต่ละหน่วยงาน ๓. รายละเอียดโครงการ/กิจกรรม ๔. รายงานผลการดำเนินงานปรับภูมิทัศน์คลองภาพรวมของกรุงเทพมหานคร 5. รายงานผลการดำเนินงานปรับภูมิทัศน์คลองของแต่ละหน่วยงาน ๕. ผลสรุปคะแนนรายหน่วยงานและคะแนนภาพรวม 6. รายละเอียดและข้อเสนอการพัฒนาเพิ่มเติมของแต่ละหน่วยงาน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:ยุทธศาสตร์ที่ ๔ –การเชื่อมโยงเมืองที่มีความคล่องตัวและระบบบริการสาธารณะแบบบูรณาการ
:๔.๓ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีรูปแบบการจัดการภูมิทัศน์เมืองอย่างยั่งยืน
:๔.๓.๑ กรุงเทพมหานครมีการปรับปรุงองค์ประกอบทางภูมิทัศน์เมืองและส่งเสริมอัตลักษณ์และทัศนียภาพในการรับร%
:๔.๓.๑.๓ อนุรักษ์และฟื้นฟูย่าน (Districts) ตามผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะที่สอดคล้องกับผังเมืองรวม หรือพิจารณาเพิ่มเติมในอนาคตที่มีอัตลักษณ์และ พัฒนาพื้นที่ชุมชนอันมีความเป็นเอกลักษณ์ของในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง