รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ร้อยละความสำเร็จในการพัฒนาและจัดเก็บฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ : 5047-0950

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1: 100

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
20.00
100
100 / 100
2
40.00
0
0 / 0
3
80.00
0
0 / 0
4
100.00
100
100 / 100

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

- จัดทำคำสั่งสำนักงานเขตบางนาที่ 432/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงานของสำนักงานเขตบางนา ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 - เปลี่ยนแปลงและแต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลข้อมูลระดับหน่วยงานของสำนักงานเขตบางนาเพิ่มเติม - จัดทำบัญชีรายการข้อมูล (แบบ สยป.4.1(2)) ประจำปี 2563 และ 2564 - เสนอการพัฒนาฐานข้อมูลใหม่ จำนวน 1 เรื่อง คือ มูลนิธิและสมาคม และพัฒนาฐานข้อมูลเดิม จำนวน 1 เรื่อง คือ Sport_ (เพิ่มจำนวนอาสาสมัครลานกีฬา) - จัดส่งผลการดำเนินงาน ในขั้นตอนที่ 1 ให้ สยป. ตามหนังสือ ที่ กท 8401/5658 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2563

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

1. สร้างตารางใหม่และตารางที่ปรับปรุงในปี 64 เข้าระบบ 5.2 เรียบร้อยแล้ว 2. จัดทำคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัล (Metadata) ตามเอกสารหมายเลข 5 และจัดทำพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ตามเอกสารหมายเลข 6 เรียบร้อยแล้ว ดังนี้ - ตารางที่จัดทำในปี 63 จำนวน 22 ตาราง - ตารางใหม่และตารางที่ปรับปรุง ที่จัดทำในปี 64 จำนวน 2 ตาราง 3. กรอกรายละเอียดข้อมูล Data Catalog และ Metadata ในระบบ 5.2 เรียบร้อยแล้ว แต่ในส่วนของ Data Dictionary ยังไม่สามารถบันทึกข้อมูลในระบบ 5.2 ได้ 4. อัพโหลดไฟล์เอกสาร Metadata และ Data Dictionary เข้าระบบ 5.2 เรียบร้อยแล้ว 5. จัดส่งเอกสาร Metadata และ Data Dictionary ให้ สยป. เรียบร้อยแล้ว ตามหนังสือสำนักงานเขตบางนา ที่ กท 8401/1392 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2564

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

1. นำเข้าข้อมูลและปรับปรุงช้อมูลให้มีคุณภาพเป็นปัจจุบัน อย่างสม่ำเสมอ 2. สำนักงานเขตบางนาได้เสนอการพัฒนาฐานข้อมูลใหม่ คือ ข้อมูลมูลนิธิและสมาคม และได้พัฒนาฐานข้อมูลเดิม คือ ข้อมูลลานกีฬา เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดเป็นศูนย์ข้อมูลกลางในสำนักงานเขต สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ข้อมูลมีความทันสมัย ง่ายต่อจัดการข้อมูลและการนำไปใช้ มีเครื่องมือสำหรับบริหารจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการเผยแพร่ นำเสนอหรือประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างรวดเร็วด้วย Dashboard บนระบบ GIS Portal โดยจัดทำในรูปแบบ Dashboard สำนักงานเขตบางนาประกอบด้วยข้อมูล - มูลนิธิและสมาคม - ลานกีฬา รายละเอียดตามลิงค์ : https://bmagis.bangkok.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#/a7d2280898c044a7bf9ae64a6aa08724 หรือ https://bit.ly/3qc0K6Z 3. รายงานผลการดำเนินการในขั้นตอนที่ 4 การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน ให้ สยป. ทราบตามหนังสือสำนักงานเขตบางนา ที่ กท 8401/2695 ลว.23 มิถุนายน 2564

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

1. นำเข้าข้อมูลและปรับปรุงช้อมูลให้มีคุณภาพเป็นปัจจุบัน อย่างสม่ำเสมอ 2. ปรับปรุงข้อมูลลานกีฬา จำนวนผู้ใช้บริการต่อเดือนใน GIS Portal ผ่าน Link : https://bmagis.bangkok.go.th/portal/apps/webappviewer/index.html?id=ddc7cb900aac40c4b82c7bc66c83c644 3. เพิ่มเติมข้อมูลมูลนิธิและสมาคมใน GIS Portal ผ่าน Link : https://bmagis.bangkok.go.th/portal/apps/webappviewer/index.html?id=5cd6d9bfcda541139e7d061d9384f086 4. ดำเนินการในขั้นตอนที่ 5 การให้บริการหรือเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร และ/หรือหน่วยงานภายนอกด้วยระบบออนไลน์ และ/หรือมีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ โดยเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลทางระบบข้อมูลเปิดภาครัฐกรุงเทพมหานคร (http://data.bangkok.go.th) และเว็บไซต์ของสำนักงานเขตบางนา (http://www.bangkok.go.th/bangna) ในหัวข้อ “Dashboard สำนักงานเขตบางนา” พร้อมรายงานผลให้สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลทราบตามหนังสือ สำนักงานเขตบางนา ที่ กท 8401/3448 ลว. 19 ส.ค. 2564

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

ข้อมูล หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริงหรือเรื่องอื่นใด ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพถ่ายดาวเทียมฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือตรวจวัด การสำรวจระยะไกล หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฎได้ ชุดข้อมูล หมายความว่า การนำข้อมูลจากหลายแหล่งมารวบรวม เพื่อจัดเป็นชุดให้ตรงตามลักษณะโครงสร้างของข้อมูล บัญชีรายการข้อมูล หมายความว่า เอกสารแสดงบรรดารายการของชุดข้อมูล ที่จำแนกแยกแยะโดยการจัดกลุ่มหรือจัดประเภทข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของหน่วยงาน ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูล (Data File) เดียวกันหรือแยกเก็บหลายๆ แฟ้มข้อมูล (Data File) คำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูล โดยระบุรายละเอียดแหล่งข้อมูล หรือคำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ข้อมูลทราบว่าข้อมูลมาจากแหล่งใด มีรูปแบบอย่างไร เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และใช้ประโยชน์ในการจัดทำบัญชีรายการข้อมูล (Data Catalog) ความสำเร็จในการพัฒนาฐานข้อมูล หมายถึง การพัฒนาและการจัดการฐานข้อมูล โดยการนำเข้าข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว ทันสมัย และมีการแบ่งปันการใช้งานข้อมูล ตามแผนการพัฒนาฐานข้อมูลของหน่วยงานและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการปฏิบัติงานตามภารกิจหลักของหน่วยงาน และภาพรวมของกรุงเทพมหานคร โดยสอดคล้องกับมาตรฐานและกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ) แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ - ส่วนที่ 1 รักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - ส่วนที่ 2 พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

1. เกณฑ์การให้คะแนน แบ่งเป็น 2 ส่วนประกอบด้วย ส่วนที่ 1 การรักษาสถานภาพฐานข้อมูลของหน่วยงานปี พ.ศ. 2563 คือ ความสมบูรณ์ของการนำเข้าข้อมูล และเชื่อมโยงระบบย่อยของหน่วยงาน ส่วนที่ 2 พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ การพิจารณาให้คะแนนจะพิจารณาจากผลการดำเนินงานทั้งส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 รวมกัน ทั้งนี้ หน่วยงานต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดไว้ โดยไม่ข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง 2. การคำนวณคะแนนตามกรอบการประเมิน คะแนนที่จะได้รับ = น้ำหนักคะแนน หาร 100 คูณ ร้อยละของคะแนนที่ได้รับ

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

1. ระบบการบริหารจัดการแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร (BMA Digital Plans) และ BMA Monitor Application โดยหน่วยงานต้องรายงานข้อมูลอย่างชัดเจน 2. เอกสารและหลักฐานที่ใช้ประกอบของโครงการ/กิจกรรม 3. ตัวชี้วัดในการประเมินผลการฏิบัติราชการของหน่วยงานปลายปีงบประมาณ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง