ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome))
รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:
ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนเขตบางนา (ศปถ.เขตบางนา) มีหน้าที่ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นได้รับการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (Black Spot) ในพื้นที่เขตบางนา จำนวน 1 จุด ได้แก่ ถนนลาซาล (สุขุมวิท 105) ตัดถนนลาซาล 21 และถนนลาซาล 23 ได้รับการดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง ตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร (ศปถ.กทม.) กำหนด ไตรมาสที่ 1 มีการดำเนินการประจำเดือน ต.ค.-ธ.ค.2566 ดังนี้ 1. ฝ่ายเทศกิจ มีภารกิจที่ต้องดำเนินการเข้าร่วมประชุมนำจุดเสี่ยงฯ ที่รับผิดชอบ มาทบทวนและวิเคราะห์ เพื่อจัดทำโครงการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (Black Spot) ในพื้นที่เขตบางนา และจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในการลดอุบัติเหตุตามบัญชีจุดเสี่ยงและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สำนักการจราจรและขนส่งได้กำหนด 2. ฝ่ายโยธา มีภารกิจที่ต้องดำเนินการเข้าร่วมประชุมและส่งแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ภายในระยะเวลาที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนดดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงฯ ในส่วนที่รับผิดชอบ 3. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ มีภารกิจที่ต้องดำเนินการเข้าร่วมประชุมและส่งแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ดำเนินการหรือประสานหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการปรับปรุงทัศนวิสัยการขับขี่ยานพาหนะเพื่อลดปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุในส่วนที่รับผิดชอบ
ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนเขตบางนา (ศปถ.เขตบางนา) มีหน้าที่ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นได้รับการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (Black Spot) ในพื้นที่เขตบางนา จำนวน 1 จุด ได้แก่ ถนนลาซาล (สุขุมวิท 105) ตัดถนนลาซาล 21 และถนนลาซาล 23 ได้รับการดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง ตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร (ศปถ.กทม.) กำหนด ไตรมาสที่ 2 มีการดำเนินการประจำเดือน ม.ค.-มี.ค.2566 ดังนี้ 1. ฝ่ายเทศกิจ มีภารกิจที่ต้องดำเนินการเข้าร่วมประชุมนำจุดเสี่ยงฯ ที่รับผิดชอบ มาทบทวนและวิเคราะห์ เพื่อจัดทำแผนงาน/แนวทางการปฏิบัติงานกวดขันวินัยจราจรและ/หรืออำนวยความสะดวกด้านการจราจรและผู้สัญจร จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในการลดอุบัติเหตุตามบัญชีจุดเสี่ยงและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สำนักการจราจรและขนส่งได้กำหนด และจัดส่งให้ สจส. พร้อมเก็บหลักฐาน ภาพถ่าย ก่อน - หลังและผลการดำเนินงาน จัดทำรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินงาน และดำเนินการตามภารกิจอื่น ๆ ตามที่หน่วยงานรองระดับสำนักในตัวชี้วัดนี้ร้องขอ 2. ฝ่ายโยธา มีภารกิจที่ต้องดำเนินการเข้าร่วมประชุมและส่งแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ภายในระยะเวลาที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนดดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงฯ ในส่วนที่รับผิดชอบ เช่น - บูรณะ/ปรับปรุง/ซ่อมแซม และบำรุงรักษาทาง พื้นผิวจราจร ไหล่ทาง เกาะกลาง ทางเท้าและองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้สัญจร - แก้ไข/ปรับปรุงทัศนวิสัยขับขี่ยานพาหนะเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การติดตั้ง/ซ่อมแซม/ซ่อมบำรุงไฟฟ้าส่องสว่าง ติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างอัจฉริยะ (Smart Light) การควบคุมการติดตั้งป้ายต่าง ๆ ในส่วนที่รับผิดชอบ ฯลฯ รายงานผลการดำเนินงานการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงฯ ภายในระยะเวลาตามที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนด ทั้งนี้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้เป็นไปตามสำนักการจราจรและขนส่งกำหนด 2. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ มีภารกิจที่ต้องดำเนินการเข้าร่วมประชุมและส่งแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ดำเนินการหรือประสานหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการปรับปรุงทัศนวิสัยการขับขี่ยานพาหนะเพื่อลดปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุในส่วนที่รับผิดชอบ ดังนี้ - การตัดแต่งต้นไม้ไม่ให้บดบังทัศนวิสัยการมองเห็นป้ายต่าง ๆ และสัญลักษณ์จราจรในพื้นที่จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ - ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่จุดเสี่ยงอุบัติเหตุและบริเวณใกล้เคียง - รายงานผลการดำเนินงานการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (แบบ ๒) ส่งให้ฝ่ายเทศกิจภายในวันที่ 2 ของเดือนถัดไป
ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนเขตบางนา (ศปถ.เขตบางนา) มีหน้าที่ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นได้รับการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (Black Spot) ในพื้นที่เขตบางนา จำนวน 1 จุด ได้แก่ ถนนลาซาล (สุขุมวิท 105) ตัดถนนลาซาล 21 และถนนลาซาล 23 ได้รับการดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง ตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร (ศปถ.กทม.) กำหนด ไตรมาสที่ 3 มีการดำเนินการประจำเดือน เม.ย.-มิ.ย. 2566 ดังนี้ 1. ฝ่ายเทศกิจ มีภารกิจที่ต้องดำเนินการเข้าร่วมประชุมนำจุดเสี่ยงฯ ที่รับผิดชอบ กวดขันวินัยจราจรและอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและผู้สัญจร จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในการลดอุบัติเหตุตามบัญชีจุดเสี่ยงและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สำนักการจราจรและขนส่งได้กำหนด และจัดส่งให้ สจส. พร้อมเก็บหลักฐาน ภาพถ่าย ก่อน - หลังและผลการดำเนินงาน จัดทำรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินงาน 2. ฝ่ายโยธา มีภารกิจที่ต้องดำเนินการเข้าร่วมประชุมและส่งแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ภายในระยะเวลาที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนดดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงฯ ในส่วนที่รับผิดชอบ ดังนี้ - บูรณะ/ปรับปรุง/ซ่อมแซม และบำรุงรักษาทาง พื้นผิวจราจร ไหล่ทาง เกาะกลาง ทางเท้า - แก้ไข/ปรับปรุงทัศนวิสัยขับขี่ยานพาหนะเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ การติดตั้ง/ซ่อมแซม/ซ่อมบำรุงไฟฟ้าส่องสว่าง ในส่วนที่รับผิดชอบ ฯลฯ รายงานผลการดำเนินงานการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงฯ ภายในระยะเวลาตามที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนด (แบบ 1) 2. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ มีภารกิจที่ต้องดำเนินการเข้าร่วมประชุมและส่งแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ดำเนินการหรือประสานหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการปรับปรุงทัศนวิสัยการขับขี่ยานพาหนะในส่วนที่รับผิดชอบ ดังนี้ - การตัดแต่งต้นไม้ไม่ให้บดบังทัศนวิสัยการมองเห็นป้ายต่าง ๆ และสัญลักษณ์จราจรในพื้นที่จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ - ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่จุดเสี่ยงอุบัติเหตุและบริเวณใกล้เคียง - รายงานผลการดำเนินงานการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (แบบ 2)
ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนเขตบางนา (ศปถ.เขตบางนา) มีหน้าที่ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นได้รับการแก้ไขปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (Black Spot) ในพื้นที่เขตบางนา จำนวน 1 จุด ได้แก่ ถนนลาซาล (สุขุมวิท 105) ตัดถนนลาซาล 21 และถนนลาซาล 23 ได้รับการดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง ตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนกรุงเทพมหานคร (ศปถ.กทม.) กำหนด ไตรมาสที่ 4 มีการดำเนินการประจำเดือน ก.ค.-ก.ย. 2566 ดังนี้ 1. ฝ่ายเทศกิจ มีภารกิจที่ต้องดำเนินการเข้าร่วมประชุมนำจุดเสี่ยงฯ ที่รับผิดชอบ ดังนี้ - กวดขันวินัยจราจรและอำนวยความสะดวกด้านการจราจรและผู้สัญจร - จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในการลดอุบัติเหตุตามบัญชีจุดเสี่ยงและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่สำนักการจราจรและขนส่งได้กำหนด -จัดส่งให้ สจส. พร้อมเก็บหลักฐาน ภาพถ่าย ก่อน - หลังและผลการดำเนินงาน - จัดทำรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินงาน - จัดประชุมศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนเขตบางนา(ศปถ.เขตบางนา) ครั้งที่ 1/2566 วันพุธที่ 9 สิงหาคม 2566 2. ฝ่ายโยธา มีภารกิจที่ต้องดำเนินการเข้าร่วมประชุมและส่งแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ภายในระยะเวลาที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนดดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงฯ ในส่วนที่รับผิดชอบ ดังนี้ - บูรณะ/ปรับปรุง/ซ่อมแซม และบำรุงรักษาทาง พื้นผิวจราจร ไหล่ทาง เกาะกลาง ทางเท้า - แก้ไข/ปรับปรุงทัศนวิสัยขับขี่ยานพาหนะเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ การติดตั้ง/ซ่อมแซม/ซ่อมบำรุงไฟฟ้าส่องสว่าง ในส่วนที่รับผิดชอบ ฯลฯ รายงานผลการดำเนินงานการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงฯ ภายในระยะเวลาตามที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนด (แบบ 1) 2. ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ มีภารกิจที่ต้องดำเนินการเข้าร่วมประชุมและส่งแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ดำเนินการหรือประสานหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการปรับปรุงทัศนวิสัยการขับขี่ยานพาหนะในส่วนที่รับผิดชอบ ดังนี้ - การตัดแต่งต้นไม้ไม่ให้บดบังทัศนวิสัยการมองเห็นป้ายต่าง ๆ และสัญลักษณ์จราจรในพื้นที่จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ - ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่จุดเสี่ยงอุบัติเหตุและบริเวณใกล้เคียง - รายงานผลการดำเนินงานการแก้ไข/ปรับปรุงจุดเสี่ยงอุบัติเหตุ (แบบ 2)
ผู้เสียชีวิต หมายถึง ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ทั้งการเสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุ ระหว่างนำส่งจนถึงโรงพยาบาล และที่โรงพยาบาล อัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อประชากรแสนคน หมายถึง จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนหารด้วยจำนวนประชากรกลางปีตามทะเบียนราษฎร์กรุงเทพมหานครรายปีปัจจุบัน+ด้วยประชากรแฝงและคูณด้วย 100,000 คน Heat Map คือ แผนที่แสดงความหนาแน่นของจุดหรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุบนแผนที่ Longdo Map ซึ่งดูได้จาก https://traffic.longdo.com/bkk-accidents/ โดยข้อมูลใน Heat Map เก็บรวบรวมจาก มูลนิธิศูนย์ข้อมูลจราจรอัจฉริยไทย (iTic) และบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (ThaiRSC) Risk Map คือ แผนที่แสดงจุดหรือบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ และมีผู้บาดเจ็บ (หมุดสีส้ม) ผู้เสียชีวิต(หมุดสีแดง) ดูได้จาก www.ThaiRSC.com ข้อมูลใน Risk Map เก็บรวบรวมจากบริษัทประกันภัย,สำนักงานตำรวจแห่งชาติ,โรงพยาบาล และมูลนิธิช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ หมายถึง จุดเกิดอุบัติเหตุที่มีความถี่การเกิดไม่น้อยกว่า 3 ครั้งในรอบ 1 ปี โดยมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยพิจารณาคัดเลือกจุดเสี่ยงจากฐานข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุ กำหนดให้เป็นจุดดำเนินการในปีงบประมาณที่ประเมิน ดังนี้ 1.จุดเสี่ยงอุบัติเหตุจาก Heat Map ใน 100 ลำดับแรกของคลัสเตอร์ตามความหนาแน่นของจุดเกิดอุบัติเหตุ โดยใช้ข้อมูลของ ThaiRSC และ iTIC ประกอบกัน (จำนวน100จุด) 2.จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ ในสำนักงานเขตที่ไม่อยู่ใน 100 คลัสเตอร์ จำนวน 16 เขต โดยกำหนดจุดเสี่ยงจากฐานข้อมูล Risk map ของ ThaiRSC สำนักงานเขตละ 1 จุด (จำนวน 16 จุด) จุดดำเนินการ หมายถึง จุดเสี่ยงอุบัติเหตุที่กำหนดก่อนดำเนินการแก้ไข/ปรับปรุง ในปีงบประมาณที่ประเมิน แผนปฏิบัติการ (Action Plan) หมายถึง แผนซึ่งหน่วยงานจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานหรือกิจกรรมที่ส่งผลต่อความสำเร็จของตัวชี้วัด โดยบรรจุรายละเอียดถึงกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ พร้อมระยะเวลาดำเนินการแต่ละขั้นตอน ทั้งนี้ให้หมายรวมถึง แผนที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนกวดขันวินัยจราจรและ/หรืออำนวยการจราจรและผู้สัญจร เป็นต้น บันทึกส่งมอบผลผลิต หมายถึง เอกสารที่กำหนดให้หน่วยงานร่วมจะต้องดำเนินการส่งผลผลิตสนับสนุนตัวชี้วัด ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ ผลผลิต หมายถึง หน่วยผลผลิตที่เกิดขึ้นจากกระบวนการและกิจกรรมตามภารกิจของหน่วยงานซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ เพื่อสนับสนุนตัวชี้วัดนี้ หน่วยงาน หมายรวมถึง ดังนี้ - หน่วยงานหลัก หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครที่เป็นเจ้าของตัวชี้วัด และมีอำนาจในการบริหารจัดการในภาพรวม - หน่วยงานรอง หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีภารกิจและตัวชี้วัดเฉพาะ ที่สนับสนุนการขับเคลื่อนตัวชี้วัดนี้ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ - หน่วยงานสนับสนุน หมายถึง หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ไม่ได้นำตัวชี้วัดนี้ไปประเมินผลการปฏิบัติราชการ แต่มีภารกิจสนับสนุนการดำเนินงานตัวชี้วัด - หน่วยงานอื่น หมายถึง หน่วยงานที่ไม่ได้สังกัดกรุงเทพมหานคร แต่มีภารกิจที่ต้องสนับสนุนการขับเคลื่อนตัวชี้วัดนี้ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ เช่น ตำรวจ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท บริษัทกลาง มูลนิธิต่าง ๆ เป็นต้น คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน หมายถึง คณะอนุกรรมการ/คณะทำงานที่ถูกจัดตั้งขึ้นขับเคลื่อนให้เป็นไปตามตัวชี้วัดนี้ กฎเกณฑ์โดยทั่วไป 1) หน่วยงานหลัก มีหน้าที่ในการบริหารจัดการภาพรวมของกระบวนการดำเนินการตามตัวชี้วัดและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบริหารจัดการสู่ความสำเร็จในตัวชี้วัดนี้ 2) หน่วยงานรอง และหน่วยงานอื่น จะต้องทำหน้าที่ในการสนับสนุน ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่และภารกิจของตนเองเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามผลผลิตที่กำหนดร่วมกันกับหน่วยงานหลัก 3) หน่วยงานหลัก และหน่วยงานรองระดับสำนักที่ต้องทำงานร่วมกับสำนักงานเขต จะต้องจัดส่งเอกสารการมอบหมายงาน ให้สำนักการจราจรและขนส่ง และสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลเพื่อทราบ ภายในเดือนมกราคม 2566 4) สำนักงานเขต จะต้องจัดทำบันทึกได้รับมอบหมายจากหน่วยงานระดับสำนัก สำนักงานเขต 1. เข้าร่วมประชุมจากสำนักการจราจรและขนส่ง 2. ดำเนินการการปรับปรุงจุดเสี่ยงฯ ตามที่สำนักการจราจรและขนส่งกำหนด 3. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามข้อ 2 และส่งให้สำนักการจราจรและขนส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด 4. ดำเนินการตามภารกิจอื่น ๆ ตามที่หน่วยงานรองระดับสำนักในตัวชี้วัดนี้ร้องขอ
วัดผลจากร้อยละความสำเร็จในการดำเนินการตามภารกิจตามที่หน่วยงานหลัก/หน่วยงานรองระดับสำนักมอบหมาย โดยคำนวณจาก จำนวนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานหลักฯและรองดำเนินการสำเร็จ หารด้วยจำนวนกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานทั้งหมด คูณด้วย 100 จากนั้นนำไปเทียบกับเกณฑ์วัดผลความสำเร็จ
1) เอกสารที่แสดงถึงภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานรองระดับสำนัก (แบบฟอร์ม ปถ.2) 2) หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติตามการมอบหมายจากหน่วยงานรองระดับสำนัก เช่น เอกสาร ภาพถ่าย เป็นต้น 3) รายงานผลการดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานรองระดับสำนัก