รายละเอียดตัวชี้วัด

Back Home

ระดับความสำเร็จของคลองในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้รับการปรับภูมิทัศน์ให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของพื้นที่ : 5050-833

ค่าเป้าหมาย : 0

ผลงานที่ทำได้ : 5

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
(ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output))

0

รายละเอียดตัวชี้วัดฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ตรวจประเมินตัวชี้วัด : ไตรมาสที่ 1:

ผลงานเทียบกับเป้าหมายรายไตรมาส

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
()
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
1.00

0 / 0
3
4.00

0 / 0
4
5.00

0 / 0

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 1

อยู่ระหว่างรอนิยามตัวชี้วัด

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 2

เข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินการฯกับสำนักการระบายน้ำ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 3

-เข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินการฯกับสำนักการระบายน้ำ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 -จัดส่งAction plan การปรับปรุงภูมิทัศน์คลองให้สำนักการระบายน้ำ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 -จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาคลองรางไผ่ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566

รายงานผลฯ ไตรมาสที่ 4

-จัดทำแผนปฏิบัติการฟื้นฟูและบำรุงรักษาคลองรางไผ่ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 -ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดแนวคลองรางไผ่ โดยจัดเก็บวัชพืช ตัดแต่งกิ่งไม้ จัดเก็บขยะในคลองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คลอง รางไผ่มีความสะอาด สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย เลือกพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับให้เหมาะสมเป็นอัตลักษณ์ของคลอง และดำเนินการซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างตลอดแนวคลอง -ดำเนินการตามภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ๑. การเข้าร่วมประชุมและร่วมกิจกรรมตามที่สำนักการระบายน้ำกำหนด เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง ประเด็นสาระสำคัญที่ได้จากการเข้าร่วมประชุม คือ แนวทางการดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองตามตัวชี้วัดเจรจาตกลงการประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 2. จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การปรับภูมิทัศน์คลองในส่วนภารกิจของสำนักงานเขตมีการระบุค่าเป้าหมาย Output และ Outcome ส่งสำนักการระบายน้ำ เมื่อวันที่10 เมษายน 2566 ตามหนังสือที่ กท 8901/2271 ลงวันที่ 10 เมษายน 2566 3. ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์และสถานที่ในความรับผิดชอบบริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลองจุดชมวิวทิวทัศน์/จุดเช็คอิน (Check in) บริเวณสะพานข้ามคลอง เช่น ป้ายอำนวยความสะดวก (ชื่อแหล่งน้ำ,ประวัติศาสตร์พื้นที่ ฯลฯ) ป้ายประดับต่าง ๆ ไม้ดอกไม้ประดับ ไฟฟ้าส่องสว่าง ราวกันตกริมคลอง สะพานข้ามคลอง และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องการบำรุง รักษาอุปกรณ์ในความรับผิดชอบบริเวณสถานที่พักผ่อนริมคลองอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ดังนี้ 3.1 ฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ จัดทำและซ่อมป้ายอำนวยความสะดวก และป้ายประดับต่าง ๆ ให้มีความชัดเจน สวยงาม 3.2 ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ ออกแบบเลือกพันธุ์ไม้ที่เหมาะสม จัดตกแต่งต้นไม้ในพื้นที่ดำเนินการ โดยดูแลทัศนียภาพ ตัดแต่งกิ่งไม้ ดูแลรักษาไม้ดอกไม้ประดับให้เจริญงอกงาม และดำเนินการจัดเก็บวัชพืชบริเวณจุดเช็คอิน และทางเดินริมคลอง ประชาสัมพันธ์ขอ ความร่วมมือประชาชนที่พักอาศัยบริเวณ ริมคลองร่วมกันรักษาสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ริมคลองรางไผ่ให้สวยงาม 3.3 ฝ่ายโยธา ดำเนินการสำรวจและประสานการไฟฟ้านครหลวง เพื่อติดตั้ง/ซ่อมแซมไฟฟ้าบริเวณทางเดินริมคลอง ดำเนินการซ่อมแซม ทางเดินริมคลอง ทาสีราวกันตก สำรวจและซ่อมแซมสะพานข้ามคลองให้ มีความปลอดภัย พร้อมใช้งาน 4. ดำเนินการคัดเลือกพื้นที่เพื่อสร้าง อัตลักษณ์ที่โดดเด่น จำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่ 4.1 พื้นที่บริเวณทางเดินริมคลองหลังหมู่บ้านกานดาคลาสิควิลล์ โดยพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าว ให้เป็นสถานที่พักผ่อน จุดชมวิว และจุดเช็คอิน อัตลักษณ์ คือ ภาพวาดบนกำแพงที่แสดงถึงอาชีพความเป็นอยู่ ของประชาชนพื้นถิ่นของเขตบางบอน 4.2 พื้นที่ว่างบริเวณทางเดินริมคลองหลังหมู่บ้านวรารมย์ คือเพื่อเป็นจุดพักผ่อน ชมวิว และจุดเช็คอินพัฒนาพื้นที่ ดำเนินการกำจัดวัชพืช ปรับปรุงบริเวณดังกล่าวให้เป็นสวนหย่อม ปลูกไม้ดอกไม้ประดับให้สวยงาม อัตลักษณ์ คือ ภาพวาดระบายสี บนกำแพงที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบางบอน รวมถึงสถานที่สำคัญในพื้นที่เขตบางบอน 4.3 พื้นที่ว่างบริเวณทางเดินเลียบคลองด้านถนนบางบอน 5 โดยจัดทำป้ายแสดงประวัติความเป็นมาของคลองรางไผ่ การฟื้นฟูเปลี่ยนแปลงพื้นที่รกร้างให้มีชีวิตชีวา และน่าอยู่ยิ่งขึ้น อัตลักษณ์ คือ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ริมคลองให้เกิดประโยชน์และเป็นที่จดจำสำหรับประชาชนที่พบเห็นคลองรางไผ่ ภายใต้แนวคิด “คลองสวย น้ำใส ยลศิลป์ กินผลไม้ แบบวิถีชีวิตชายคลอง” 5 บริหารจัดการขยะอย่างเป็นระบบในพื้นที่ตามแนวคลองเพื่อไม่ให้ประชาชน ทิ้งขยะลงคลอง 5.1 การกำหนดจุดทิ้งขยะ โดยจัดวางถังขยะแยกประเภทเพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม และจัดเจ้าหน้าที่เข้าจัดเก็บขยะ ริมคลองโดยทางเรือ จำนวน 2 ครั้ง/สัปดาห์ 5.2 การนัดทิ้ง-นัดเก็บขยะชิ้นใหญ่ จะมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมคลองรางไผ่ได้ทราบล่วงหน้าก่อนเข้าดำเนินการจัดเก็บ 1 สัปดาห์ 5.3 การปรับสถานที่ในการจัดวางถังขยะที่เหมาะสม(ขยะไม่ร่วงหล่นลงคลอง) จำนวน 1 แห่งโดยการปรับพื้นที่ และจัดวางถังขนาดใหญ่ แยกประเภทขยะให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการนำขยะมาทิ้ง 6. รณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญและให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและสถานประกอบการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามแนวคลอง โดยประชาสัมพันธ์แจกแผ่นพับแนะนำการคัดแยกขยะมูลฝอยตามแนวทาง “ไม่เทรวม” ติดป้ายรณรงค์การช่วยกันรักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขยะลงคลอง และให้ความรู้แก่ประชาชนที่พักอาศัยริมคลองรางไผ่ ในเรื่องการคัดแยกขยะ และการติดตั้งบ่อดักไขมัน

** สรุปผลการดำเนินงาน **

นิยาม หรือความหมายของตัวชี้วัด

วิธีการคำนวณ หรือ เกณฑ์การประเมิน

วิธีการการเก็บข้อมูล/แหล่งข้อมูล

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

:**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****%
: **** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****

โครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนตัวชี้วัด

ฐานข้อมูลประกอบตัวชี้วัดการพัฒนาเมือง