ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ส่วนแผนงานและส่งเสริมศักยภาพของเมือง
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สังคม วัฒนธรรม การศึกษา การเมืองและการปกครองของประเทศไทย ทำให้กรุงเทพมหานครมีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องมาโดยตลอด และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะในด้านการติดต่อสื่อสารและการคมนาคมในปัจจุบันได้นำไปสู่การรวมกลุ่มหรือเครือข่ายความร่วมมือด้านต่าง ๆ ทั้งในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และระดับเมือง เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพทางการแข่งขันและเจริญก้าวหน้าของสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือดังกล่าว อาทิ การพัฒนาตามกรอบประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) การดำเนินความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ และการพัฒนาเพื่อการเป็นเมืองที่น่าอยู่อย่างยั่งยืนสำหรับทุกคนตามกรอบวาระการพัฒนาเมืองใหม่ (New Urban Agenda) ขององค์การ UN-Habitat เป็นต้น ในการนี้ทำให้กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำเป็นต้องมีการเร่งพัฒนาบทบาทและส่งเสริมสมรรถภาพทางการแข่งขันของเมืองเพื่อก้าวทันเมืองชั้นนำต่างๆ ในเวทีระดับโลก รวมถึงการพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ อันจะนำไปสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยวและน่าลงทุนอย่างยั่งยืน ที่สอดคล้อง กับเป้าหมายการพัฒนาตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561-2565) รวมถึงการดำเนินการตามแนวนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
04160200/04160200
1. ส่งเสริมศักยภาพและบทบาทของกรุงเทพมหานครให้เป็นที่ยอมรับและทัดเทียมกับเมืองชั้นนำในระดับโลก 2. เพิ่มพูนสมรรถภาพทางการแข่งขันของกรุงเทพมหานครในด้านการลงทุน การท่องเที่ยวและการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคและการเป็นเมืองมหานครแห่งเอเชีย 3. เพื่อพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยวและน่าลงทุนอย่างยั่งยืนสำหรับทุกคนตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) วาระการพัฒนาเมืองใหม่ (New Urban Agenda-NUA) การพัฒนาตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561-2565) รวมถึงการดำเนินการตามแนวนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครและแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี
1. ผู้บริหารและข้าราชการกรุงเทพมหานครเข้าร่วมการประชุม/กิจกรรมที่จัดโดยองค์การระหว่างประเทศและเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่มีความสำคัญในระดับสากล เช่น การประชุมขององค์การสหประชาชาติ การประชุมนายกเทศมนตรีโลก และกิจกรรมที่จัดโดยเมืองมหานครระดับโลก เป็นต้น 2. ผู้บริหารและข้าราชการกรุงเทพมหานครเข้าร่วมและ/หรือจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ศักยภาพของเมืองในต่างประเทศชั้นนำที่เป็นเวทีสำคัญในระดับสากลในสาขาการพัฒนาเมืองด้านต่าง ๆ เช่น การจัดการเมือง การค้า การลงทุน เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว เป็นต้น รวมถึงการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ของต่างประเทศ อาทิ สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร เป็นต้น
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-29)
29/09/2566 : ดำเนินการในปีงบปนะมาณ พ.ศ. 2566 แล้วเสร็จ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-09-19)
19/09/2566 : สำนักงานการต่างประเทศส่งผู้แทนจำนวน 2 คน เข้าร่วมโครงการ Smart Change ระหว่างกรุงเทพมหานคร กรุงเบอร์ลิน และกรุงจาการ์ตา ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดทำรายงานการประชุมและการเบิกจ่ายงบประมาณ / รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (รองศาสตราจารย์ทวิดา กมลเวชช) เดินทางเข้าร่วมการประชุม International Disaster Resilience Leaders Forum Incheon 2023 ณ เมืองอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 16 - 19 กันยายน 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-08-21)
21/08/2566 : - ASEMWater ขอเชิญผู้แทนกรุงเทพมหานครเข้าร่วมการประชุม Forum on Sustainable Utilization of Water Resources and Green Development (International) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 12-16 กันยายน 2566 ณ มณฑลหูหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยปลัดกรุงเทพมหานครได้เห็นชอบให้ผู้แทนสำนักการระบายน้ำและสำนักงานการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุม ขณะนี้ อยู่ระหว่างการประสานสำนักการระบายน้ำพิจารณาส่งรายชื่อผู้แทนเข้าร่วมประชุมฯ - สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction) เชิญรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (รองศาสตราจารย์ทวิดา กมลเวชช) เข้าร่วมการประชุม International Disaster Resilience Leaders Forum Incheon 2023 ระหว่างวันที่ 18-19 กันยายน 2566 ณ นครอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี ขณะนี้ อยู่ระหว่างการนำเสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพื่อให้ความเห็นชอบ - กรุงเบอร์ลินและกรุงจาการ์ตาประสานแจ้งกำหนดการเชิญผู้แทนสำนักงานการต่างประเทศเข้าร่วมพิธีเปิดศูนย์เมืองอนาคตจาการ์ตา (Jakarta Future City Hub) ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 68.00 (2023-07-24)
24/07/2566 : อยู่ระหว่างการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับกำหนดการจัดกิจกรรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-06-27)
27/06/2566 : ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแจ้งงดการเข้าร่วมการกล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุม The 14th World Economic Forum Annual Meeting of the New Champions ระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2566 ณ นครเทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคำเชิญของสภาเศรษฐกิจโลก / ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และโฆษกของกรุงเทพมหานคร (นายเอกวรัญญู อัมระปาล) พร้อมข้าราชการจากสำนักงานประชาสัมพันธ์ 1 คน และสำนักงานการต่างประเทศ 1 คน เดินทางเข้าร่วมงาน TikTok Southeast Asia Impact Forum ระหว่างวันที่ 14 – 16 มิถุนายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-05-30)
30/05/2566 : - การให้การต้อนรับคณะรองนายกเทศมนตรีเมืองอินชอน สาธารณรัฐเกาหลีเข้าเยี่ยมคารวะผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 19 พฤษภาาคม 2566 - การเข้าร่วมงานส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองอินชอน (Incheon Tourism Session) - การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการเข้าร่วมเครือข่ายเมืองสุขภาวะระดับภูมิภาคของกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2/2566 (Healthy Cities Network : HCN) - การรวบรวมข้อมูลเพื่อสมัครเข้าร่วมสมาชิกเครือข่ายระดับโลกด้านเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก (Global Network of Learning Cities : GNLC) - สภาเศรษฐกิจโลกเชิญผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุม The 14th World Economic Forum Annual Meeting of the New Champions ณ นครเทียนจิน สาธารณรัฐประชาชนจีน ขณะอยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-21)
21/04/2566 : การประชุมทวิภาคีและการประชุมเชิงปฎิบัติการ Training of Trainers on Urban Resilience and Making Cities Resilient ณ เมืองอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 20-25 มีนาคม 2566 วันที่ 20 เม.ย. 2566 ผู้อำนวยการเขตบางกอกน้อย ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตบางกอกน้อย ผู้แทนสำนักงานการพัฒนาชุมชน สำนักพัฒนาสังคม ข้าราชการจากฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตบางกอกน้อย และสำนักงานการต่างประเทศ ได้ให้การต้อนรับคณะผู้แทนนายกเทศมนตรีท้องถิ่นของสาธารณรัฐโคลอมเบีย เข้าศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายเกี่ยวกับนโยบายการจัดการอาหารของเมืองและการดำเนินโครงการพัฒนาต้นแบบ BKK Food Bank ระบบส่งต่ออาหารให้กลุ่มเปราะบางอย่างเป็นรูปธรรมในพื้นที่เขตบางกอกน้อย โดยคณะฯ ได้รับฟังการบรรยายจากผู้แทนกรุงเทพมหานคร พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน หลังจากนั้น คณะฯ ได้เยี่ยมชมการส่งต่ออาหารส่วนเกินสู่กลุ่มเปราะบางในชุมชน ณ จุดแจกจ่ายในพื้นที่เขตบางกอกน้อย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-03-21)
21/03/2566 : นายพรพรหม ณ.ส. วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และข้าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน เข้าร่วมการประชุมระดับสูงด้าน 3R และเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 11 (The 11th Regional 3R and Circular Economy Forum in Asia and the Pacific) ระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2566 ณ จังหวัดเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา โดยเป็นผู้แทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามในปฏิญญา 3R อินดอร์ของนายกเทศมนตรีเอเชียว่าด้วยการบรรลุเป้าหมายน้ำสะอาด พื้นดินสะอาด และอากาศสะอาดในเมือง (Indore 3R Declaration of Asian Mayors on Achieving Clean Water, Clean Land and Clean Air in Cities) ซึ่งปฏิญญาฯ ได้มีการรับรองขึ้นในการประชุมระดับสูงด้าน 3R และเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2561 ณ เมืองอินดอร์ รัฐมัธยประเทศ สาธารณรัฐอินเดีย ปัจจุบันมีผู้แทนเมืองในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกลงนามในปฏิญญาฉบับนี้แล้วจำนวน 51 เมือง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-24)
24/01/2566 : - การเข้าร่วมงาน The 61st International Congress and Convention Association Congress 2022 ระหว่างวันที่ 5-11 พ.ย. 65 - การต้อนรับคณผู้แทนจากกรุงเบอร์ลิน และกรุงจาการ์ตา ตามโครงการความร่วมมือ Smart change ระหว่างกรุงเบอร์ลินและกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 7-11 พ.ย. 65
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 2.4 จำนวนกิจกรรมที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก และการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม วัฒนธรรม (ด้านการศึกษา ด้านศิลปวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ ด้านองค์ความรู้สากล)
ค่าเป้าหมาย กิจกรรม/ปี : 3
ผลงานที่ทำได้ กิจกรรม/ปี : 11
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **