ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กลุ่มงานส่งเสริมศักยภาพของเมือง
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานคร ในฐานะเมืองหลวงของประเทศและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว สังคม วัฒนธรรม การศึกษา การเมืองและการปกครอง ทำให้กรุงเทพมหานครมีความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องมาโดยตลอด และความเจริญก้าวหน้านี้ทำให้กรุงเทพมหานครต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่เมืองใหญ่ต้อง ประสบ อาทิ ปัญหาด้านการจัดการเมือง สิ่งแวดล้อม ระบบสาธารณูปโภค ที่อยู่อาศัย การใช้ที่ดิน สาธารณสุข และปัญหาสังคมต่างๆ ดังนั้น กรุงเทพมหานครในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่และประชาชนโดยตรงจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจและดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธีและทันท่วงทีการแสวงหาความร่วมมือกับเมืองต่างๆ ผ่านองค์การระหว่างประเทศในระดับเมือง เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมบทบาทและภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานครในเวทีนานาชาติพร้อมทั้งเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการจัดการและพัฒนาเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอาศัยเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเมืองสมาชิกเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์รวมถึงการแลกเปลี่ยนความร่วมมือในด้านต่างๆ อันจะนำไปสู่ประโยชน์และการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนและเพื่อบรรลุเป้าหมายของแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี รวมถึงการดำเนินการตามแนวนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในมิติที่ 3 สร้างสรรค์ดี มิติที่ 5 บริหารจัดการดี มิติที่ 6 เรียนดี และมิติที่ ๘ เศรษฐกิจดี กรุงเทพมหานครมีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับเมืองต่าง ๆ ผ่านทางองค์การระหว่างประเทศในระดับเมืองที่กรุงเทพมหานครเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการและที่เป็นสมาชิกเครือข่ายอย่างไม่เป็นทางการ รวมถึงให้ความร่วมมือผ่านเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับเมืองอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นไปอย่างบูรณาการ ทั้งนี้ เมื่อกรุงเทพมหานครและนานาประเทศได้ประสบปัญหากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะด้านสาธารณสุข และเศรษฐกิจเมือง โครงการความร่วมมือด้านต่างประเทศได้ปรับเปลี่ยนและเตรียมพร้อมกับสถานการณ์เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาเมืองหลังการระบาดของโรค และรับมีอกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นอย่างฉับพนได้อย่างเหมาะสม ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการประชุมนานาชาติ การประชุมรูปแบบออนไลน์ให้สอดคล้องกับวิธีการปฏิบัติบนความปกติใหม่ (New Normal) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ นำมาปรับใช้ในการดำเนินงานและพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานและบุคลากรต่อไป
04160200/04160200
เพิ่มบทบาทของกรุงเทพมหานครด้านการต่างประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความร่วมมือระหว่างเมืองผ่านการเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศในระดับเมืองและเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเมืองต่าง ๆ
ผู้บริหารกรุงเทพมหานครร่วมประชุม เข้าร่วมหรือจัดกิจกรรมที่จัดโดยเมืองหรือองค์การระหว่างประเทศในระดับเมือง ณ กรุงเทพมหานครและในต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ จำนวนตามกรอบที่ผู้จัดฯ กำหนดหรือตามนโยบายผู้บริหาร
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๒ - การบริหารแผนและประเมินผล |
๗.๒.๒ กรุงเทพมหานครมีระบบการติดตามและรายงานความก้าวหน้าผลการดำาเนินงานตามแผนพัฒนากรุงเทพ% |
๗.๒.๑.๑ การสร้างความร่วมมือในการบริหารแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร และแผนแม่บทต่างๆ และแผนเฉพาะด้าน |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-29)
29/09/2566 : ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แล้วเสร็จ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 99.00 (2023-09-19)
19/09/2566 : ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณจากการเดินทางเข้าร่วมการประชุมผู้นำเมืองหลวงอาเซียน (The Meeting of Governors/Mayors of ASEAN Capitals : MGMAC) และการประชุมนายกเทศมนตรีอาเซียน (ASEAN Mayors Forum : AMF) ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-08-21)
21/08/2566 : รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (รองศาสตราจารย์ทวิดา กมลเวชช) พร้อมด้วยผู้บริหารและข้าราชการกรุงเทพมหานคร 4 คน จำนวนรวมทั้งสิ้น 5 คน เข้าร่วมการประชุมผู้นำเมืองหลวงอาเซียน (The Meeting of Governors/Mayors of ASEAN Capitals : MGMAC) และการประชุมนายกเทศมนตรีอาเซียน (ASEAN Mayors Forum : AMF) ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดทำรายงานการประชุมและการเบิกจ่ายงบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-21)
21/07/2566 : ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมายให้รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (รองศาสตราจารย์ทวิดา กมลเวชช) เข้าร่วมการประชุมผู้นำเมืองหลวงอาเซียน (The Meeting of Governors/Mayors of ASEAN Capitals : MGMAC) และการประชุมนายกเทศมนตรีอาเซียน (ASEAN Mayors Forum : AMF) ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-06-27)
27/06/2566 : รองศาสตราจารย์ ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมเสวนาในหัวข้อ “ Building Urban Climate Resilience: From Response to Anticipatory Action ” ในการประชุมด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ครั้งที่ 42 ซึ่งได้จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 15-17 มิถุนายน 2566 ณ เมืองดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อเป็นการแบ่งปันประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติขอบกรุงเทพมหานครในสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลแนวทางการบริหารจัดการไปสู่การปฏิบัติเพื่อลดความเสียหายและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น โดยมีนางสาวจุฬณี สังเกตชน รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และผู้แทนจากสถาบันพัฒนาทรัพยากรบุคคลกรุงเทพมหานคร สำนักงาน ก.ก. และสำนักงานการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมกลุ่มย่อย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลแนวทางการปฏิบัติการเชิงคาดการณ์ (Anticipatory Approach) ที่เน้นไปที่การดำเนินงานในพื้นที่เขตเมือง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-06-13)
13/06/2566 : กรุงจาการ์ตา ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเมืองหลวงอาเซียนประจำปี พ.ศ. 2566 ประสานแจ้งกำหนดการส่งหนังสือเชิญผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเข้าร่วมการประชุมฯ ระหว่างวันที่ 1-2 สิงหาคม 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2566
** ปัญหาของโครงการ :สถานการณ์โรคระบาดและภัยพิบัติอาจทำให้เจ้าภาพเลื่อนหรือยกเลิกการจัดประชุมได้
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 78.00 (2023-05-30)
30/05/2566 : กรุงจาการ์ตา ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมเมืองหลวงอาเซียน ประจำปี พ.ศ. 2566 ได้ประสานแจ้งกำหนดการจัดการประชุม เป็นระหว่างวันที่ 1-2 สิงหาคม 2566 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการออกหนังสือเชิญผู้นำเมืองอาเซียนเข้าร่วมการประชุม
** ปัญหาของโครงการ :สถานการณ์โรคระบาดหรือภัยธรรมชาติอาจจะทำให้เจ้าภาพไม่สามารถจัดการประชุมผู้นำเมืองหลวงอาเซียน ประจำปี พ.ศ. 2566 ได้
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-04-21)
21/04/2566 : อยู่ในระหว่างการประสานงานกับกรุงจาการ์ตา ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเมืองหลวงอาเซียน ประจำปี พ.ศ. 2566 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2566 / เยาวชนกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 คน เดินทางเข้าร่วมโครงการ Jakarta International Youth Program ระหว่างวันที่ 10-16 เมษายน 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดทำรายงานการเดินทาง
** ปัญหาของโครงการ :สถานการณ์โรคระบาดหรือภัยธรรมชาติอาจจะทำให้เจ้าภาพไม่สามารถจัดการประชุมผู้นำเมืองหลวงอาเซียน ประจำปี พ.ศ. 2566 ได้
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-03-21)
21/03/2566 : อยู่ในระหว่างการประสานงานกับกรุงจาการ์ตา ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเมืองหลวงอาเซียน ประจำปี พ.ศ. 2566 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :สถานการณ์โรคระบาดหรือภัยธรรมชาติอาจจะทำให้เจ้าภาพไม่สามารถจัดการประชุมได้
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 61.00 (2023-01-25)
เพิ่มงบประมาณที่ใช้ไป (MGMAC 2022 พนมเปญ)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : 2.8 ระดับความสำเร็จในการส่งเสริมผลงานที่โดดเด่นของกรุงเทพมหานครสู่แพลตฟอร์มต่างประเทศ หรือเวทีระดับโลก
ค่าเป้าหมาย ระดับ : 1
ผลงานที่ทำได้ ระดับ : 1
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **