ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 10
นางสาวอินทิรา อุทัยวัฒนานนท์/นางสาวจิราภรณ์ แพรต่วน โทร.023286901 ต่อ 6903
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บแบบครบวงจรด้วยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Service : EMS) เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ประสบภัยรอดชีวิตและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนั้น จำเป็นที่ผู้ให้ความช่วยเหลือต้องมีความรู้ ความสามารถในการประเมินและให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุ และเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและผู้ประสบภัยอย่างถูกหลักวิธีทางการแพทย์ ตลอดจนส่งต่อไปยังโรงพยาบาลปลายทางอย่างรวดเร็วและปลอดภัย นอกจากนี้ผู้ให้ความช่วยเหลือยังต้องมีการคัดกรองประเมินอาการป่วยและการบาดเจ็บ เพื่อให้การดูแลอย่างถูกต้องเหมาะสม ดังนั้นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่ต้องให้ความช่วยเหลือทั้งก่อนนำส่งโรงพยาบาล (Pre - hospital care) และในโรงพยาบาล จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถอย่างต่อเนื่อง เพื่อสามารถให้การดูแลผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บตามแนวทางการปฏิบัติในการช่วยชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยแพทย์กู้ชีวิตโรงพยาบาลสิรินธร จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บในที่เกิดเหตุ โดยจัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถให้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และเนื่องจากจำนวนบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลมีน้อย แต่ปริมาณผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บที่ต้องการความช่วยเหลือมีเพิ่มขึ้นจึงจำเป็นที่บุคลากรทุกหน่วยงานในโรงพยาบาลต้องมีความรู้ และความสามารถในการประเมิน ตลอดจนให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และปลอดภัย โรงพยาบาลสิรินธร ได้มีนโยบายพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านสุขภาพในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน และผู้บาดเจ็บให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นให้กับเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรโรงพยาบาลในการให้ความช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาภาวะคุกคามชีวิตของผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บอย่างมีประสิทธิภาพ
07140000/07140000
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความสามารถประเมินสภาพ ให้ความช่วยเหลือ และเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง 3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง 4. เพื่อให้บุคลากรของโรงพยาบาลมีการพัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 292 คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 240 คน ดังนี้ 1) ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน – ชำนาญงาน และประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ - เชี่ยวชาญ ตำแหน่งนักกายภาพบำบัด เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักรังสีการแพทย์ ผู้ช่วยทันตแพทย์ เจ้าพนักงานเภสัชกรรม เจ้าพนักงานเวชสถิติ เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ จำนวน 4 รุ่น รุ่นละ 35 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 140 คน 2) บุคลากรกรุงเทพมหานคร จำนวน 100 คน จำนวน 4 รุ่น รุ่นละ 25 คน ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 52 คน ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 32 คน รุ่นละ 8 คน จำนวน 4 รุ่น 2) วิทยากร จำนวน 20 คน รุ่นละ 5 คน จำนวน 4 รุ่น
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล |
๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่% |
๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-06-24)
24/06/2564 : ตามที่ โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ ได้รับอนุมัติจัดโครงการ/กิจกรรมการฝึกอบรมของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID - 19) ภายในประเทศไทยมีการระบาดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางโรงพยาบาลสิรินธรได้พิจารณาทบทวนความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดโครงการดังกล่าวฯ เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อ นั้น ในการนี้ ทางโรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ จึงขอแจ้งยกเลิกโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น ดังเอกสารแนบ
** ปัญหาของโครงการ :การจัดโครงการฯ ดังกล่าว จำเป็นต้องมีการรวมกลุ่มเป็นจำนวนมากและต้องลงมือปฏิบัติจริง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ Covid-19
** อุปสรรคของโครงการ :การจัดโครงการฯ ดังกล่าว จำเป็นต้องมีการรวมกลุ่มเป็นจำนวนมากและต้องลงมือปฏิบัติจริง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ Covid-19
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-05-25)
25/05/2564 : อยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนความจำเป็นในการจัดโครงการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID - 19) ภายในประเทศไทยมีการระบาดอย่างรวดเร็ว
** ปัญหาของโครงการ :เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID - 19) ภายในประเทศไทยมีการระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องมีการพิจารณาการจัดโครงการอย่างละเอียด
** อุปสรรคของโครงการ :เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID - 19) ภายในประเทศไทยมีการระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องมีการพิจารณาการจัดโครงการอย่างละเอียด
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-04-26)
26/04/2564 : จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ระบาดระลอกใหม่ โดยพบผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการเป็นจำนวนมากและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้จัดต้องเลื่อนการจัดโครงการออกไปก่อน
** ปัญหาของโครงการ :จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ระบาดระลอกใหม่ ทำให้ผู้จัดต้องเลื่อนการจัดโครงการออกไปก่อน
** อุปสรรคของโครงการ :จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ระบาดระลอกใหม่ ทำให้ผู้จัดต้องเลื่อนการจัดโครงการออกไปก่อน
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2021-03-24)
24/03/2564 : อยู่ระหว่างกำหนดวันจัดโครงการ แก้ไขโครงการและรอการอนุมัติใหม่ เนื่องจากเลื่อนการจัดโครงการจากสถานการณ์ Covid-19
** ปัญหาของโครงการ :เลื่อนการจัดโครงการจากสถานการณ์ Covid-19
** อุปสรรคของโครงการ :เลื่อนการจัดโครงการจากสถานการณ์ Covid-19
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-02-25)
25/02/2564 : อยู่ระหว่างเสนอโครงการและรอการอนุมัติใหม่ เนื่องจากเลื่อนการจัดโครงการจากสถานการณ์ Covid-19
** ปัญหาของโครงการ :ช่วงที่ต้องเสนอโครงการเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาด Covid กลับมาอีกรอบ และยังไม่มีมาตรการใดมารองรับ ทำให้เสนออนุมัติช้า
** อุปสรรคของโครงการ :ช่วงที่ต้องเสนอโครงการเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาด Covid กลับมาอีกรอบ และยังไม่มีมาตรการใดมารองรับ ทำให้เสนออนุมัติช้า
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2021-01-25)
25/01/2564 : อยู่ระหว่างการเขียนโครงการ แผนการดำเนินงานเพิ่อให้รัดกุมและทันต่อสถานะการณ์การแพร่ระบาด COVID19
** ปัญหาของโครงการ :เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้การดำเนินการล่าช้า
** อุปสรรคของโครงการ :เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้การดำเนินการล่าช้า
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-12-25)
25/12/2563 : อยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูลเพื่อวางแผนการดำเนินงานให้รัดกุมและทันต่อสถานะการณ์การแพร่ระบาด COVID19
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-11-26)
26/11/2563 : อยู่ระหว่างการหารือเรื่องการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยมากขึ้น
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-27)
27/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร ให้มีความสอดคล้องและทันสมัย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 22.81
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **