ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 7
นายทัศไนย ลิ้มเจียมรังษี 0 2220 7592
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครได้เปิดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร โดยระบบเครือข่ายซึ่งจัดบริการมาตั้งแต่ 8 สิงหาคม 2550 โดยมีศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) เป็นหน่วยงานศูนย์ประสานงานและสั่งการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ปัจจุบันมีหน่วยงานที่เข้าร่วมในระบบปฏิบัติการจำนวน 62 หน่วยงานประกอบด้วยส่วนราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร 8 แห่ง ภาครัฐบาลในพื้นที่ 12 แห่งเอกชน 32 แห่งและมูลนิธิองค์กรไม่หวังผลกำไร 8 แห่ง ซึ่งบุคลากรผู้ปฏิบัติการในระบบฯ จึงเป็นทรัพยากรสำคัญที่มีต่อประสิทธิภาพและคุณภาพของงาน การปฏิบัติงานในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ต้องอาศัยองค์ความรู้ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน ตลอดจนคุณภาพการทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อให้บริการความช่วยเหลือให้แก่ผู้เจ็บป่วย ด้วยระบบเครือข่ายชุดปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้เจ็บป่วยจะได้รับบริการความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพสูงสุดแต่ด้วยบุคลากรที่ปฏิบัติงานในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานครประกอบด้วยบุคลากรจากหน่วยงานที่หลากหลายสังกัดปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งมีนโยบายแนวทางปฏิบัติงานที่อาจจะมีความแตกต่างกันออกไป ทำให้บางครั้งเกิดความไม่เข้าใจอาจส่งผลให้ไม่ได้รับความร่วมมือในการทำงานกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการบริหารประสิทธิภาพของการให้บริการดังกล่าว จึงควรเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเข้าใจในนโยบายและแนวทางในการบริหารจัดการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินของกรุงเทพมหานครซึ่งกรุงเทพมหานครกำหนดไว้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ย่อมเกิดความเข้าใจในหน้าที่ บทบาทและข้อจำกัดกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และเจตคติของบุคลากรในการทำงานร่วมกันตลอดจนสามารถรักษาเครือข่ายให้ยังปฏิบัติงานในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร ดังนั้น ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) สำนักการแพทย์จึงได้จัดทำโครงการสัมมนาพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานครขึ้นเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ส่งเสริมให้เกิดความเป็นเอกภาพในระบบปฏิบัติการของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร
07150000/07150000
3.1 เพื่อเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร 3.2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันมีการสื่อสารทำความเข้าใจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับนโยบายในการพัฒนาและแนวทางการดำเนินงานการแพทย์ฉุกเฉินของกรุงเทพมหานครร่วมกันระหว่างเครือข่ายในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร
การจัดการสัมมนาพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 259 คน กลุ่มเป้าหมาย 1. ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ระดับปฏิบัติงาน - ชำนาญงาน ระดับปฏิบัติการ– ชำนาญการพิเศษจำนวน 32 คน (จำนวน 2 รุ่น รุ่นที่ 1 จำนวน 16 คน และรุ่นที่ 2 จำนวน 16 คน)ประกอบด้วยตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข นักจัดการงานทั่วไป นักวิชาการเงินและบัญชี นิติกร นักทรัพยากรบุคคล พยาบาลเทคนิค เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี เจ้าพนักงานธุรการ 2. บุคลากรกรุงเทพมหานคร จำนวน 29 คน (จำนวน 2 รุ่น รุ่นที่ 1 จำนวน 14 คน และรุ่นที่ 2 จำนวน 15 คน) ประกอบด้วยตำแหน่ง พนักงานช่วยเหลือคนไข้ พนักงานขับรถยนต์ นายท้ายเรือ พนักงานรับโทรศัพท์ พนักงานสถานที่ พนักงานทั่วไป 3. บุคคลภายนอกตามเป้าหมายโครงการที่ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักการแพทย์ และเครือข่ายระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน จำนวน 158 คน (จำนวน 2 รุ่น รุ่นที่ 1 จำนวน 83 คน และรุ่นที่ 2 จำนวน 75 คน) ผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน ๔0 คน 1. เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน จำนวน 30 คน รุ่นละ 15 คน 2. วิทยากร จำนวน 10 คน รุ่นละ 5 คน
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๓ - การบริหารทรัพยากรบุคคล |
๗.๓.๑ บุคลากรกรุงเทพมหานครเป็นผู้ปฏิบัติงานแบบมืออาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นที่เชื่% |
๗.๓.๑.๑ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ มีความเป็นมืออาชีพ |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 7.00 (2021-06-18)
18/06/2564 : ยกเลิกโครงการ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 7.00 (2021-05-21)
21/05/2564 : อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติ ยกเลิกโครงการ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 7.00 (2021-04-22)
22/04/2564 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ศึกษารายละเอียดและจัดทำข้อมูลโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2021-03-22)
22/03/2564 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ศึกษารายละเอียดและจัดทำข้อมูลโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2021-02-24)
24/02/2564 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ศึกษารายละเอียดและจัดทำข้อมูลโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2021-01-22)
22/01/2564 : ศึกษารายละเอียดและจัดทำข้อมูลโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-12-23)
12/23/2020 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ศึกษารายละเอียดและจัดทำข้อมูลโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-11-23)
23/11/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ศึกษารายละเอียดและจัดทำข้อมูลโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-26)
26/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ศึกษารายละเอียดและจัดทำข้อมูลโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 22.81
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **