ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

พัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาวัณโรคของโรงพยาบาล : 07000000-7164

สำนักการแพทย์ : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

วัณโรคถือเป็นปัญหาที่สำคัญของระบบสาธารณสุขของประเทศไทยและในระดับโลก สถานการณ์วัณโรคของโลกในปัจจุบัน จากรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่า ๑ ใน ๓ ของประชากรทั่วโลกติดเชื้อวัณโรค โดยมีความชุกของผู้ป่วยวัณโรคประมาณ ๑๔ – ๑๕ ล้านคนแต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ ๙.๒ ล้านคน ร้อยละ ๙๕ อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา สำหรับสถานการณ์วัณโรคในประเทศไทยองค์การอนามัยโลกจัดให้อยู่ ๑ ใน ๑๔ ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงเนื่องจากพบผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ปีละ ๑๒๐,๐๐๐ ราย ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตมากกว่า ๑๒,๐๐๐ รายต่อปี ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานมากกว่า ๔๗,๐๐๐ รายต่อปี ซึ่งมากกว่าร้อยละ ๕o ของผู้ป่วยวัณโรคอาศัยอยู่ในเขตเมืองใหญ่ซึ่งมีจำนวนประชากรมากแออัดมีการเคลื่อนย้ายของประชากรสูง ปัญหาวัณโรคในเขตกรุงเทพมหานครมีความคล้ายคลึงกับเมืองขนาดใหญ่ทั่วโลกโดยพบว่าในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีผู้ป่วยวัณโรคประมาณ ๑๒,๐๐๐ รายต่อปีนอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มแรงงานข้ามชาติเพิ่มขึ้นซึ่งมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่บ่อยเป็นปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมที่มีผลต่อการควบคุมวัณโรควัณโรคปอด การติดต่อของโรคมักจะรับเชื้อเข้าไปในปอดโดยตรงจากการหายใจ การไอ การจาม หรือการพูดคุยกับผู้ป่วยวัณโรค ดังนั้นผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี นอกจากจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพแล้ว ยังสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ การแพร่กระจายเชื้อมักจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้ป่วยบางส่วนยังไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อวัณโรคและยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการรักษา ปัจจุบันพบการติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่นโรคเอดส์โรคเบาหวานและโรคเรื้อรังอื่นๆ และปัญหาการดื้อยาในผู้ป่วยวัณโรคก็เพิ่มจำนวนสูงขึ้นข้อจำกัดสำคัญของการแก้ไขปัญหาวัณโรคของประเทศไทย คือ ขีดความสามารถในการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในประชากรกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยวัณโรคที่เข้าสู่ระบบบริการเพียงร้อยละ 60 เท่านั้น นอกจากนี้ปัญหาด้านภาระค่าใช้จ่ายในผู้ป่วยวัณโรคดื้อยารุนแรงมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 1.2 ล้านบาทต่อคน จึงมีความจำเป็นต้องเร่งรัดมาตรการสำคัญเพื่อตัดวงจรการระบาดในประชากรกลุ่มเสี่ยง และยุติปัญหาวัณโรค

07020000/07020000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

๒.๑ เพื่อค้นหาและรักษาผู้ป่วยได้ทันท่วงที ๒.๒ เพื่อลดอัตราผู้ป่วยวัณโรค

เป้าหมายของโครงการ

3.1 ค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มเสี่ยงที่อยู่ร่วมบ้านกับผู้ป่วย ผู้ที่มีอาการไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเอชไอวี ผู้สูงอายุ 3.2 ผลสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ร้อยละ 86

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-27)

100.00

27/08/2566 : สำนักการแพทย์ ได้มีการตรวจประเมินคลินิกวัณโรคในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ 8 แห่ง เรียบร้อยแล้ว รวมทั้ง ประเมินความพร้อมการดำเนินงานคลินิกวัณโรคของโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-07-24)

70.00

24/07/2566 : ดำเนินการตรวจประเมินคลินิกวัณโรค ดังนี้ วันที่ 27 มิถุนายน 2566 รพ.กลาง วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 รพ.ลาดกระะบังฯ วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 รพ.เจริญกรุงฯ วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 รพ.ตากสิน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-06-22)

60.00

22/06/2566 : อยู่ระหว่างการตรวจประเมินคลินิกวัณโรคของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ วันที่ 16 มิถุนายน 2566 รพ.สิรินธร วันที่ 23 มิถุนายน 2566 รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ วันที่ 27 มิถุนายน 2566 รพ.กลาง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-05-26)

50.00

26/05/2566 : สำนักการแพทย์ได้กำหนดเกณฑ์การตรวจประเมินคลินิกวัณโรคเรียบร้อยแล้ว และจะเริ่มดำเนินการตรวจในช่วงเดือนมิถุนายน 2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-04-28)

40.00

28/04/2566 : อยู่ระหว่างการกำหนดเกณฑ์การประเมินคลินิกวัณโรคของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-03-27)

20.00

27/03/2566 : คณะกรรมการฯ ได้มีการกำหนดการตรวจประเมินคลินิกวัณโรคคุณภาพในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-03-25)

30.00

25/03/2566 : อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลภาพรวมสำนักการแพทย์ ไตรมาสที่ 2

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-02-28)

20.00

28/02/2566 : สำนักการแพทย์ จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาวัณโรคของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานและพิจารณาการดำเนินงานด้านการรักษาวัณโรคของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครในปีงบประมาณ 2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-01-23)

15.00

23/01/2566 : ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาวัณโรคของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อเป็นการกำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาวัณโรค ติดตามและประเมินผลการรักษาผู้ป่วย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-29)

10.00

29/12/2565 : อยู่ระหว่างการรวบรวมผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่มารับบริการในไตรมาสที่ 1

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. จัดทำโครงการพัฒนาระบบให้บริการผู้ป่วยวัณโรคเพื่อเสนอขออนุมัติต่อผู้บริหาร
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. ประชุมกรรมการและประชุมพัฒนาปรับปรุงทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยวัณโรค
:20.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. รวบรวมคู่มือเอกสารดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติ
:20.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. อบรมผู้ดูแลผู้ป่วย (Care giver)
:20.00%
เริ่มต้น :2023-02-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-02-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. การค้นหาวัณโรคในผู้สัมผัสโรค (เสมหะบวก)
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6 .การประเมินผลความพึงพอใจในการใช้บริการ- สำรวจความพึงพอใจในการใช้บริการ หน่วยให้คำปรึกษา- ประเมินผลทุกไตรมาส- นำผลการประเมินมาปรับปรุง (QI)
:15.00%
เริ่มต้น :2023-06-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-06-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:7. ประเมินผลโครงการและสรุปผลการให้บริการ
:5.00%
เริ่มต้น :2023-07-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-07-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 07000000-7164

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 07000000-7164

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0700-902

ตัวชี้วัด : อัตราความสำเร็จของการรักษาปอดรายใหม่ (ปี 2566)

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 0

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 87.49

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

100 / 100
2
0.00

0 / 0
3
87.20

0 / 0
4
87.49

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **