ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ปัจจุบันผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ เช่น โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อ้วนลงพุง ไขมันในเลือดสูง ยังคงเป็นภัยเงียบคุกคามบั่นทอนคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างไม่รู้ตัว มีภาวะโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงและเรื้อรัง รวมทั้งทวีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งจากสถิติของโรงพยาบาลสิรินธร พบว่าจำนวนทั้งผู้ป่วยเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และภาวะ NCDs เพิ่มมากขึ้นทุกปี และถือเป็นกลุ่มโรคที่ติดอันดับ 1 ใน ๓ โรคแรกตลอดทุกปี สาเหตุสำคัญจากปัญหาด้านพฤติกรรมการดำรงชีวิต ความรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพที่สาเหตุจาก ภาวะNCDs โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง การดูแลสุขภาพตนเองที่ยังไม่ถูกต้อง ปัญหาสภาพสังคม เศรษฐกิจ รวมถึงปัญหาการเข้าถึงบริการ การคัดกรองภาวะสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่ยังไม่ทั่วถึง ซึ่งส่งผลต่อการป้องกันการเจ็บป่วย การเข้าถึงบริการรักษาดูแลล่าช้า ทำให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญในการส่งเสริมป้องกัน โดยเฉพาะปัญหาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งถือเป็นโรคที่มีภัยคุกคามอย่างเงียบ และมีภาวะแทรกซ้อนที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งการพัฒนาระบบบริการ จัดทำแนวทางการดูแล มีระบบการคัดกรองภาวะสุขภาพเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง และทำให้ประชาชนสามารถถึงระบบบริการการดูแลได้ง่ายและเพิ่มขึ้น สำนักการแพทย์โดยโรงพยาบาลในสังกัด 9 แห่ง จึงจัดโครงการ“พัฒนาคุณภาพระบบบริการประชาชนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง” ขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการดูแลที่ได้มาตรฐาน มีการคัดกรองภาวะแทรกซ้อน เพื่อลดปัญหาและปัจจัยต่างๆที่จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติ รวมทังสังคมและเศรษฐกิจของชาติ
07020000/07020000
๒.๑ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงได้รับการเฝ้าระวังติดตามและได้รับคำแนะนำตามแนวทางปฏิบัติ ๒.๒ เพื่อให้ประชาชนป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง ๒.๓ เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันภาวะการเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง
เชิงปริมาณ ๑.พัฒนาและจัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ( CLINICAL GUIDLINE) ๒.พัฒนาและจัดทำคู่มือการส่งเสริมและป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ๓.จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในคลินิกอายุรกรรม คลินิกความดันโลหิตสูง ๔.ประเมินภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ๕.จัดกิจกรรมวันความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลในเครือสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เชิงคุณภาพ ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ ร้อยละ 36
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-30)
30/09/2566 : ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์และมารับบริการทั้งหมด จำนวน 126,112 ราย และมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 66,317 ราย คิดเป็นร้อยละ 52.59
** ปัญหาของโครงการ :1. จำนวนบุคลากรผู้ดูแลเรื่องเบาหวานความดันโลหิตสูงไม่มีกลุ่มงานเฉพาะ ดูแลในภาพรวมของแผนกผู้ป่วยนอกตามสิทธิ์ 2. การจัดกิจกรรมเป็นรูปแบบคณะกรรมการดำเนินงาน มีข้อจำกัดเรื่องงานประจำของหน่วยงาน ไม่สามารถดำเนินการตามแผนงาน 3. จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวานความดันโลหิตสูงมีจำนวนมากการจัดบริการไม่ทั่วถึง 4. คลินิกพิเศษเบาหวานความดันโลหิตสูง ผู้รับบริการไม่สะดวกในช่วงตอนเย็น จึงมีการเข้าถึงบริการวันละ 10 – 20 ราย ผู้รับบริการสะดวกในช่วงเวลาราชการ ทำให้มีจำนวนวันละ 70 – 100 รายต่อวัน ในคลินิกประกันสุขภาพและคลินิกอายุรกรรม
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-08-27)
27/08/2566 : โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ดำเนินการคัดกรองผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกความดันโลหิตสูงหรือคลินิกอายุรกรรมที่เข้าเกณฑ์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-07-23)
23/07/2566 : โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ดำเนินการคัดกรองผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกความดันโลหิตสูงหรือคลินิกอายุรกรรมที่เข้าเกณฑ์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-06-22)
22/06/2566 : โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ดำเนินการคัดกรองผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกความดันโลหิตสูงหรือคลินิกอายุรกรรมที่เข้าเกณฑ์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-05-26)
26/05/2566 : โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ดำเนินการคัดกรองผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกความดันโลหิตสูงหรือคลินิกอายุรกรรมที่เข้าเกณฑ์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 39.00 (2023-04-28)
28/04/2566 : โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ดำเนินการคัดกรองผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกความดันโลหิตสูงหรือคลินิกอายุรกรรมที่เข้าเกณฑ์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-03-25)
25/03/2566 : โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ดำเนินการคัดกรองผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกความดันโลหิตสูงหรือคลินิกอายุรกรรมที่เข้าเกณฑ์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ดำเนินการคัดกรองผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกความดันโลหิตสูงหรือคลินิกอายุรกรรมที่เข้าเกณฑ์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-01-23)
23/01/2566 : โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ดำเนินการคัดกรองผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกความดันโลหิตสูงหรือคลินิกอายุรกรรมที่เข้าเกณฑ์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-29)
29/12/2565 : ประชุมคณะกรรมการฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ (ปี 2566)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 0
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 52.59
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **