ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

การตรวจคัดกรองสุขภาพและส่งเสริมภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ (Geriatric Syndrome) : 07000000-7170

สำนักการแพทย์ : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

การเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ มีผลกระทบโดยตรงต่อนโยบายและแผนงานด้านสาธารณสุขของประเทศ เพราะผู้สูงอายุจะมีปัญหาด้านสุขภาพมาก เนื่องจากมีความเสื่อมและความเจ็บป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ บุคลิกภาพ รวมถึงการสูญเสียบทบาทและสถานภาพทางสังคม จากรายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 พบว่า กลุ่มประชากรสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) มีสัดส่วนของ ผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัวสูงกว่าทุกกลุ่มอายุ และยังพบโรคและกลุ่มอาการที่เกิดในผู้สูงอายุ เรียกว่า Geriatric Syndrome ซึ่งโรคที่สำคัญในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 31.7 โรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 13.3 โรคหัวใจและหลอดเลือด คิดเป็นร้อยละ 7.0 จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโรคที่พบในผู้สูงอายุมักจะเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากสภาพร่างกายและความเสื่อมตามวัย เมื่อพิจารณา ถึงสาเหตุของการเกิดโรคแล้วพบว่าโรคส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตหรือพฤติกรรมการดูแล ตนเอง และเป็นโรคที่สามารถหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาความรุนแรงได้ รวมทั้งโรคที่มาจากความชราและส่งผลต่อ คุณภาพการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ จากรายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยของ สำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ.2557 ยังพบว่าผู้สูงอายุเป็นโรคชรา คือ สมองเสื่อม คิดเป็นร้อยละ 7.8 กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ คิดเป็นร้อยละ 11.2 เดินลำบากและเสี่ยงต่อการหกล้มบ่อยคิดเป็นร้อยละ 12.3 มีภาวะเครียด และขาดคุณค่าในตนเอง และสังคม ถ้าบุคคลนั้นสนใจดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้องและเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 6.3 และถ้าระบบสามารถสืบค้นและให้การดูแลที่เหมาะสม จะทำให้ผู้สูงอายุได้รับประโยชน์สูงสุด กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการบริการด้านสาธารณสุขของประชากรในกรุงเทพมหานคร มีนโยบายที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในกรุงเทพมหานครให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมให้แข็งแรงสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุให้มีการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพให้สามารถพึ่งตนเอง และช่วยเหลือสังคมได้ ให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสประกอบกิจกรรมร่วมกันและสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม สร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ตระหนักถึงคุณค่าของตนเอง ทั้งยังมีคุณค่าต่อสังคมและมีคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานครจึงได้จัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพของโรงพยาบาลขึ้น ซึ่งเป็น ก้าวแรกของการพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้สูงอายุในโรงพยาบาล โดยอาศัยการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม (Comprehensive Geriatric Assessment) จากทีมสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลครบทุกมิติสุขภาพ ส่งผลให้ผู้สูงอายุฟื้นคืนสภาพได้รวดเร็วขึ้น และนำผู้สูงอายุกลับเข้าสู่สังคมได้อีกครั้ง และหากได้รับความร่วมมือจากสถานพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานครในการพัฒนาการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุ จะช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครดีขึ้น ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม สำนักการแพทย์โดยโรงพยาบาลในสังกัด 11 แห่งจึงจัดโครงการตรวจคัดกรองและส่งเสริมสุขภาวะสุขภาพผู้สูงอายุของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ขึ้น เพื่อคัดกรองและส่งเสริมภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์

07020000/07020000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการค้นพบโรคเรื้อรังในระยะเริ่มแรกของผู้สูงอายุ 2 เพื่อส่งเสริมภาวะสุขภาพผู้สูงอายุในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์

เป้าหมายของโครงการ

ผู้สูงอายุที่มารับบริการในคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ได้รับการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการที่มีในผู้สูงอายุ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-30)

100.00

30/09/2566 : ผู้สูงอายุที่รับบริการในคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพทั้งหมด จำนวน 12,718 ราย ผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองสุขภาพ จำนวน 11,003 ราย คิดเป็นร้อยละ 86.52

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 89.00 (2023-08-27)

89.00

27/08/2566 : อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ และกำหนดจัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สำนักการแพทย์

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-07-24)

80.00

24/07/2566 : อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ และกำหนดจัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สำนักการแพทย์ ในเดือนสิงหาคม 2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 68.00 (2023-06-22)

68.00

22/06/2566 : อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-05-30)

60.00

30/05/2566 : อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-24)

50.00

24/04/2566 : ได้ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ - อยู่ระหว่างเตรียมการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สำนักการแพทย์ ครั้งที่ 1/2566 เพื่อติดตามการดำเนินงาน และกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-03-27)

40.00

27/03/2566 : ได้ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-02-28)

30.00

28/02/2566 : สำนักการแพทย์ ได้ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ไตรมาสที่ 1-2 - อยู่ระหว่างเตรียมการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สำนักการแพทย์ ครั้งที่ 1/2566 ในเดือนมีนาคม 2566 เพื่อติดตามการดำเนินงาน และกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-27)

20.00

27/01/2566 : ได้ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ไตรมาสที่ 1-2 - อยู่ระหว่างเตรียมการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สำนักการแพทย์ ครั้งที่ 1/2566 เพื่อติดตามการดำเนินงาน และกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-29)

10.00

29/12/2565 : สำนักการแพทย์ได้มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สำนักการแพทย์ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2565 เวลา 09.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมแพทยพัฒน์ ชั้น 5 สำนักการแพทย์ เพื่อวางแผน ติดตามการดำเนินงาน และกำหนดแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สำนักการแพทย์ รวมถึงชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามตัวชี้วัดดังกล่าว ปัจจุบันอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ไตรมาสที่ 1

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:ประชุมคณะกรรมการโครงการตรวจคัดกรองกลุ่มโรคที่พบในผู้สูงอายุ (Geriatric Syndrome) เพื่อร่วมกันวางแผนดำเนินการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:รวบรวมข้อมูลผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ เพื่อวางแผนจัดกิจกรรมการบริการที่ครอบคลุมและตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพผู้สูงอายุ โดยกระบวนการที่เหมาะสม ภายใต้บริบทของโรงพยาบาล
:30.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:นำข้อมูลเสนอคณะกรรมการผู้สูงอายุและผู้บริหารเพื่อขยายพื้นที่บริการด้วยทีมสหวิชาชีพ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:ประชุมทีมสหวิชาชีพเพื่อวางแผนและสร้างตัวชี้วัดร่วมกันในการดำเนินการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:ดำเนินการตรวจรักษาในคลินิกผู้สูงอายุ
:30.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:สรุปประเมินผลการดำเนินงานทุก 3 เดือน
:2.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:สรุปประเมินผลการดำเนินงานทุก 3 เดือน
:2.00%
เริ่มต้น :2023-03-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:สรุปประเมินผลการดำเนินงานทุก 3 เดือน
:3.00%
เริ่มต้น :2023-06-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-06-01 00:00:00
ขั้นตอน 9
:สรุปประเมินผลการดำเนินงานทุก 3 เดือน
:3.00%
เริ่มต้น :2023-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-11-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 07000000-7170

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 07000000-7170

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0700-898

ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองสุขภาพ (Geriatric Syndrome) (ปี 2566)

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 0

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 86.52

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

100 / 100
2
62.06

0 / 0
3
66.64

0 / 0
4
86.52

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **