ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี (OSCC : 07000000-7171

สำนักการแพทย์ : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น จนกลายเป็นปัญหาและส่งผลเสียต่อสภาพของสังคม ทั้งในเรื่องของสุขภาพกาย สุขภาพจิต เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในเด็กและสตรี ซึ่งเป็นกระแสที่ทั่วโลกตื่นตัวหาทางป้องกันแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทยได้ออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองเด็กและสตรี โดยบัญญัติ ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2540) มาตรา 53 กำหนดไว้ว่า “เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐ จากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม” ด้วยเหตุนี้คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2542 กำหนดมาตรฐานการแก้ปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี โดยให้ความเห็นชอบจัดให้มีศูนย์ช่วยเหลือเด็กและสตรี ในภาวะวิกฤตแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลภาครัฐ เพื่อให้ผู้ถูกกระทำความรุนแรงได้รับการดูแลทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ภายใน 24 ชั่วโมง จากบุคลากรทางการแพทย์ ผู้บริหารกรุงเทพมหานครได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวจึงได้กำหนดนโยบายที่ชัดเจน ให้โรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์ “One Stop Crisis Center” และศูนย์ดังกล่าว ได้เปิดดำเนินการในโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ทุกแห่ง ในการให้บริการ ตลอด 24 ชั่วโมง มีสถานที่ บุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ พร้อมในการให้บริการ และมีผู้มารับบริการประจำปีงบประมาณ 2559 – 2563 จำนวน 1,604 1,452 1,771, 1,444 และ 1,368 ราย ตามลำดับ อีกทั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2550 ยังได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ขึ้น และกำหนดให้หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักคือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดทำรายงานประจำปีแสดงจำนวนคดีการกระทำความรุนแรงในครอบครัว รายงานต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา แสดงให้เห็นว่าปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว เป็นปัญหาทางสังคมที่หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรภาคเอกชน ให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นประเด็นซึ่งนำไปสู่ปัญหาทางสังคมอื่น ๆ เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของผู้บริหาร และขยายผลการบริการที่ครอบคลุมแก่ผู้ประสบเหตุในพื้นที่ต่าง ๆ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จึงได้ดำเนินการโครงการจ้างนักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติงานในศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี ตลอด 24 ชั่วโมง ขึ้นในโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ โดยมีคณะกรรมการดำเนินการในแต่ละโรงพยาบาล ได้แก่ แพทย์สาขาต่าง ๆ พยาบาล นักจิตวิทยา และ นักสังคมสงเคราะห์ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เด็กและสตรีที่ถูกทำร้ายร่างกาย จิตใจ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ และการใช้ความรุนแรงในครอบครัว

07020000/07020000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อให้บริการและช่วยเหลือเด็ก และสตรี ทั้งด้านสุขภาพกาย ใจ และจิตสังคม ภายใน 24 ชั่วโมง แบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ 2. เพื่อให้ผู้รับบริการมีทางเลือกในการใช้บริการมากขึ้น และสามารถมีหลักฐานทางการแพทย์เพื่อใช้ในการดำเนินคดี 3. ให้คำปรึกษา แนะนำแก่ผู้มารับบริการเพื่อเป็นแนวทางป้องกันการถูกกระทำซ้ำและให้ผู้มารับบริการสามารถใช้ชีวิตที่เป็นปกติสุขได้ 4. เพื่อให้มีการสร้างเครือข่ายประสานงานและส่งต่อให้ผู้รับบริการได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนแบบครบวงจร 5. ให้ความรู้แก่ประชาชนและบุคลากรในหน่วยงานเพื่อให้เกิดความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี 6. เพื่อเป็นแหล่งความรู้ และฐานข้อมูลในการศึกษาวิจัย และเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนช่วยเหลือเด็กและสตรีในระดับนโยบายของรัฐ

เป้าหมายของโครงการ

1. ให้บริการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ประสบปัญหาด้านความรุนแรงที่มารับบริการทางด้านการบำบัดรักษา การตรวจหลักฐานทางนิติเวช การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ การให้คำปรึกษาแนะนำ รวมถึงการดูแลทางด้านสังคมตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้มารับบริการพ้นอันตรายจากภาวะวิกฤตได้ทันท่วงที และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข 2. จ้างเจ้าหน้าที่วุฒิปริญญาตรี สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต ปฏิบัติงานที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรีในโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ และโรงพยาบาลสิรินธร แห่งละไม่เกิน 4 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565– 30 กันยายน 2566

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-30)

100.00

30/09/2566 :สำนักการแพทย์ได้เปิดให้บริการศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรีในโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ทั้ง 8 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ และโรงพยาบาลสิรินธร เพื่อให้บริการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ประสบปัญหาด้านความรุนแรงที่มารับบริการทางด้านการบำบัดรักษา การตรวจหลักฐานทางนิติเวช การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ การให้คำปรึกษาแนะนำ รวมถึงการดูแลทางด้านสังคมตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้มารับบริการพ้นอันตรายจากภาวะวิกฤตได้ทันท่วงที และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยมีจำนวนผู้รับบริการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – สิงหาคม 2566 มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ - ผู้รับบริการ จำนวน 770 ครั้ง - ได้รับความช่วยเหลือเบื้องต้นหรือส่งต่อไปยังหน่วยงานอื่น จำนวน 770 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100

** ปัญหาของโครงการ :1. การดำเนินการจำเป็นต้องมีการติดตามในพื้นที่ แต่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำอยู่จำนวนจำกัดเพียงแต่ดูแลได้ภายในโรงพยาบาล(ผลัดเวรเท่านั้น) จำเป็นต้องจ้างเจ้าหน้าที่มาดูแลเพิ่มจำนวน 1 ราย เพื่อให้เจ้าหน้าที่เจ้าของไข้ สามารถออกไปติดตาม/ดูแล/ติดตามผู้ป่วยได้ในพื้นที่ 2. ยังไม่มีห้องสำหรับการสัมภาษณ์ดูแลผู้ใช้บริการที่มีความเป็นส่วนตัวและเป็นสัดส่วน การพูดคุยไม่เป็นส่วนตัวส่งผลให้ผู้ใช้บริการรู้สึกไม่ปลอดภัย/อึดอัดที่มีการเปิดเผยเรื่องราว

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-27)

90.00

27/08/2566 : สำนักการแพทย์ ได้มีการจัดตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี (One Stop Crisis Center) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ โดยให้บริการครอบคลุมทั้งด้านการบำบัดรักษา การตรวจหลักฐานทางการแพทย์เพื่อดำเนินคดี การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมแบบองค์รวม การป้องกัน และติดตามผลโดยปฏิบัติงาน ตลอด 24 ชั่วโมง และอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อส่งมายังสพ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-07-23)

80.00

23/07/2566 : สำนักการแพทย์ ได้มีการจัดตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี (One Stop Crisis Center) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ โดยให้บริการครอบคลุมทั้งด้านการบำบัดรักษา การตรวจหลักฐานทางการแพทย์เพื่อดำเนินคดี การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมแบบองค์รวม การป้องกัน และติดตามผลโดยปฏิบัติงาน ตลอด 24 ชั่วโมง และอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อส่งมายังสพบ.

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-22)

70.00

22/06/2566 : สำนักการแพทย์ ได้มีการจัดตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี (One Stop Crisis Center) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ โดยให้บริการครอบคลุมทั้งด้านการบำบัดรักษา การตรวจหลักฐานทางการแพทย์เพื่อดำเนินคดี การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมแบบองค์รวม การป้องกัน และติดตามผลโดยปฏิบัติงาน ตลอด 24 ชั่วโมง และอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อส่งมายังสพบ.

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-05-26)

60.00

26/05/2566 : สำนักการแพทย์ ได้มีการจัดตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี (One Stop Crisis Center) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ โดยให้บริการครอบคลุมทั้งด้านการบำบัดรักษา การตรวจหลักฐานทางการแพทย์เพื่อดำเนินคดี การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมแบบองค์รวม การป้องกัน และติดตามผลโดยปฏิบัติงาน ตลอด 24 ชั่วโมง และอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อส่งมายังสพบ.

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-28)

50.00

28/04/2566 : สำนักการแพทย์ ได้มีการจัดตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี (One Stop Crisis Center) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ โดยให้บริการครอบคลุมทั้งด้านการบำบัดรักษา การตรวจหลักฐานทางการแพทย์เพื่อดำเนินคดี การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมแบบองค์รวม การป้องกัน และติดตามผลโดยปฏิบัติงาน ตลอด 24 ชั่วโมง และอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูละเพื่อส่งมายังสพบ.

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-03-25)

40.00

สำนักการแพทย์ ได้มีการจัดตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี (One Stop Crisis Center) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ โดยให้บริการครอบคลุมทั้งด้านการบำบัดรักษา การตรวจหลักฐานทางการแพทย์เพื่อดำเนินคดี การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมแบบองค์รวม การป้องกัน และติดตามผลโดยปฏิบัติงาน ตลอด 24 ชั่วโมง และอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูละเพื่อส่งมายังสพบ.

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-02-28)

30.00

28/02/2566 : สำนักการแพทย์ ได้มีการจัดตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี (One Stop Crisis Center) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ โดยให้บริการครอบคลุมทั้งด้านการบำบัดรักษา การตรวจหลักฐานทางการแพทย์เพื่อดำเนินคดี การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมแบบองค์รวม การป้องกัน และติดตามผลโดยปฏิบัติงาน ตลอด 24 ชั่วโมง และอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูละเพื่อส่งมายังสพบ.

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-23)

20.00

23/01/2566 : สำนักการแพทย์ ได้มีการจัดตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี (One Stop Crisis Center) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ โดยให้บริการครอบคลุมทั้งด้านการบำบัดรักษา การตรวจหลักฐานทางการแพทย์เพื่อดำเนินคดี การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมแบบองค์รวม การป้องกัน และติดตามผลโดยปฏิบัติงาน ตลอด 24 ชั่วโมง และอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูละเพื่อส่งมายังสพบ.

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-30)

10.00

สำนักการแพทย์ ได้มีการจัดตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี (One Stop Crisis Center) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ โดยให้บริการครอบคลุมทั้งด้านการบำบัดรักษา การตรวจหลักฐานทางการแพทย์เพื่อดำเนินคดี การฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจ และสังคมแบบองค์รวม การป้องกัน และติดตามผลโดยปฏิบัติงาน ตลอด 24 ชั่วโมง และในปีงบประมาณ 2566 (ต.ค. - พ.ย. 2565) มีผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวทั้งหมด 158 ราย ได้รับความช่วยเหลือและฟื้นฟูเบื้องต้นหรือส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 158 ราย คิดเป็นร้อยละ 100.00

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติจากผู้บริหาร
:10.00%
เริ่มต้น :2022-08-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-08-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอัตรากำลัง
:10.00%
เริ่มต้น :2022-08-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-08-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อพิจารณาอัตรากำลังบุคคล ภายนอกที่จะดำเนินการจ้างและค่าตอบแทน
:10.00%
เริ่มต้น :2022-08-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-08-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:จัดการอบรมและฝึกทักษะการปฏิบัติงาน / ดูงานแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
:20.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:ดำเนินการตามแผนของศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี
:30.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:ประเมินผลการปฏิบัติงานโครงการเสนอผู้บริหารโรงพยาบาล และผู้บริหารสำนักการแพทย์
:20.00%
เริ่มต้น :2023-08-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-08-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 07000000-7171

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 07000000-7171

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0700-909

ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวตามกฎหมายได้รับความช่วยเหลือและฟื้นฟูเบื้องต้นหรือส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ฐานจากจำนวนผู้ที่เข้าสู่ระบบการช่วยเหลือของโรงพยาบาลตามสภาพปัญหาและความต้องการ) (ปี 2566)

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 0

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
100.00

100 / 100
2
100.00

0 / 0
3
100.00

0 / 0
4
100.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **