ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
องค์การอนามัยโลกจะกำหนดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในแต่ละปีที่มีสายพันธุ์แตกต่างกันไป ตามแต่การคาดการณ์ในปีนั้นๆ ในปี2560 จากการตรวจของศูนย์ไวรัส จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 6,655 ตัวอย่าง พบว่าการระบาดของไข้หวัดใหญ่แตกต่างจากสายพันธุ์ที่มีอยู่ในวัคซีน สายพันธุ์ A H1N1 มิชิแกน ยังเป็นไปตามคาดการณ์ แต่ที่ผิดไปจากการคาดการณ์คือ สายพันธุ์ A H3N2 ซึ่งในวัคซีนเป็นสายพันธุ์ฮ่องกง แต่ช่วงต้นปี 2560 ส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์ลอนดอน และช่วงครึ่งปีหลังเปลี่ยนเป็นสายพันธุ์สิงคโปร์ ทำให้องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในปี 2561 เป็นสายพันธุ์ A H3N2 สิงคโปร์ ส่วนสายพันธุ์ B ในวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นสายพันธุ์วิกตอเรีย เพราะมีการคาดการณ์ว่าจะระบาดมาก ซึ่งต้นปีก็มีการระบาดจริง แต่ช่วงครึ่งปีหลังก็มีการเปลี่ยนแปลงเป็นยามากาตะ สายพันธุ์ภูเก็ต แต่อย่างไรก็ตาม การที่สายพันธุ์ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงถือเป็นเรื่องปกติ แม้จะส่งผลให้ประสิทธิภาพของการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ลดลง คืออาจพบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น แต่ความรุนแรงของโรคไม่ได้มากขึ้น ดังนั้นประชาชนต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคได้ จากการรณรงค์ของภาครัฐและเอกชน ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้ารับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ตามฤดูกาลก่อนเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้มีผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนฯ เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งการผลิตวัคซีนในแต่ละปีมีจำนวนไม่เพียงพอต่อประชาชนทั่วไป ทางคณะอนุกรรมการฯ เล็งเห็นความสำคัญในข้อนี้ จึงได้กำหนดและจัดสรรวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ฯ ให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเป็นหลัก และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนกลุ่มที่มีสุขภาพดีเข้าใจ ว่าวัคซีนฯ สามารถป้องกันรักษาโรคได้เพียงร้อยละ 20-30 แต่จะได้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ที่มีความเสี่ยงหรือกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยที่รุนแรงได้ ผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มเป้าหมาย มีภูมิคุ้มกันจากไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่สามารถ ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน
07020000/07020000
1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับภูมิคุ้มกันจากไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล 2. ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและลดความรุนแรงของโรคในกลุ่มเป้าหมาย 3. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฯ ได้ทันตามกำหนดเวลารณรงค์
ให้บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แก่กลุ่มเป้าหมาย ณ โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-30)
30/09/2566 : สำนักการแพทย์ได้ดำเนินการให้บริการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ ซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยงจำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดที่ได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จำนวน 27,054 ราย จำนวนวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข และสปสช. จำนวน 29,945 Dose คิดเป็นร้อยละ 90.35
** ปัญหาของโครงการ :1. การจัดสรรวัคซีนมีความล่าช้า โดยมีการแบ่งการจัดส่งเป็นรอบๆได้มาไม่ครบในรอบเดียว 2. ผู้รับบริการกลุ่มเสี่ยงในคลินิกของโรงพยาบาลและผู้รับบริการกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ติดต่อขอฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมาก แต่วัคซีนที่ได้รับเพียงร้อยละ 50 ของวัคซีนที่ขอจัดสรร 3. การจัดสรรวัคซีนในรอบที่สองมีความล่าช้า ทำให้เหลือระยะเวลาในการรณรงค์น้อยลง และผู้ป่วยมีการไปรับวัคซีนที่สถานพยาบาลอื่นระหว่างรอวัคซีน
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-27)
27/08/2566 : อยู่ระหว่างการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กับบุคลากรและประชาชนกลุ่มเสี่ยง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-07-24)
24/07/2566 : อยู่ระหว่างการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ให้กับบุคลากรและประชาชนกลุ่มเสี่ยง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-23)
23/06/2566 : โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ได้รับการจัดสรรวัคซีนไข้หวัดใหญ่จากกรมควบคุมโรคในล้อตที่ 1 แล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการให้บริการตามกลุ่มเป้าหมาย และรอจัดสรรวัคซีนรอบที่ 2 ภายในเดือนมิถุนายน 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-05-27)
27/05/2566 : โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ได้รับการจัดสรรวัคซีนไข้หวัดใหญ่จากกรมควบคุมโรคในล้อตที่ 1 แล้ว อยู่ระหว่างดำเนินการให้บริการตามกลุ่มเป้าหมาย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-28)
28/04/2566 : อยู่ระหว่างรอการจัดสรรวัคซีนไข้หวัดใหญ่จากรมควบคุมโรคและสปสช.
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-03-25)
25/03/2566 : อยู่ระหว่างรอการจัดสรรวัคซีนไข้หวัดใหญ่จากรมควบคุมโรคและสปสช.
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : อยู่ระหว่างรอการจัดสรรวัคซีนไข้หวัดใหญ่จากรมควบคุมโรคและสปสช.
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2023-01-23)
23/01/2566 : สำนักการแพทย์ได้จัดหนังสือไปยังโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์เพื่อสำรวจจำนวนบุลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขกลุ่มเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่ เพื่อการบริหารจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ปี2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี่
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2022-12-29)
29/12/2565 : สำนักการแพทย์ ได้มีการส่งแบบสำรวจความต้องการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ของบุคลากรประจำปี 2566 ไปยังสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง เพื่อรอรับการจัดสรร และในส่วนของประชาชนจะมีจัดสรรจากกรมควบคุมโรคในช่วงการรณรงค์ประมาณเดือนพฤษภาคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (ปี 2566)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 0
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 90.35
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **