ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

อบรมจริยธรรมการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข : 07000000-7186

สำนักการแพทย์ : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

ด้วยสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมการวิจัยเพื่อให้ได้ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ มาให้บริการด้านการรักษาผู้ป่วย การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งที่มีความจำเป็นจะต้องดำเนินการในคน เนื่องจากคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อน แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ไม่อาจจะนำข้อมูลจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือจากการศึกษาทดลองมาทดแทนได้ เพื่อให้อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัยได้รับการพิทักษ์สิทธิและสวัสดิภาพ ซึ่งแสดงถึงความเคารพในความเป็นมนุษย์ ด้วยการวางแผนการวิจัยอย่างรัดกุม เพื่อให้ การวิจัยนั้นมีความเสี่ยงน้อยที่สุด และให้ความช่วยเหลือดูแลแก้ไขเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการวิจัย หน้าที่เหล่านี้เป็นสิ่งที่นักวิจัยจะต้องตระหนักและปฏิบัติ เพื่อให้สังคมมั่นใจว่าอาสาสมัครที่เข้าร่วมการวิจัย จะได้รับการพิทักษ์สิทธิ์และสวัสดิภาพตามหลักเกณฑ์จริยธรรมการวิจัยในคน นักวิจัยที่จะดำเนินการวิจัย คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน และผู้ที่เกี่ยวข้อง จะต้องได้รับการอบรมหลักจริยธรรมการวิจัย ก่อนดำเนินการวิจัย จากเหตุผลข้างต้น สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้ตระหนักถึงความสำคัญจึงมีแผนดำเนินการที่จะจัดโครงการอบรมเรื่อง “จริยธรรมการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข” ให้แก่คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการส่งเสริมการวิจัย สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย นักวิจัย และบุคลากรที่เกี่ยวข้องที่ทำงานวิจัย เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับการวางรูปแบบการดำเนินการ การปฏิบัติ การกำกับดูแล การตรวจสอบ การบันทึก การวิเคราะห์และการรายงานการวิจัย รวมไปถึงการให้การสนับสนุนด้านการทำวิจัยในคนของบุคลากรกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ให้ปฏิบัติตามหลักการทำวิจัยที่ดี โดยคำนึงถึงสิทธิ ความปลอดภัย ความเป็นอยู่ที่ดีของอาสาสมัคร สอดคล้องกับคำประกาศเฮลซิงกิ (Declaration of Helsinki) และเพื่อเป็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านการทำวิจัยให้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน จำเป็นต้องมีทีมวิทยากรเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการทำวิจัย โดยเฉพาะการทำวิจัยในกลุ่มเปราะบาง กระบวนการขอความยินยอม การแชร์ข้อมูล ตลอดจนการรักษาความลับของผู้ร่วมการวิจัย สำนักการแพทย์จึงได้เชิญวิทยากรจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาร่วมดำเนินการบรรยาย และการเดินทางของวิทยากร จำเป็นต้องเดินทางมาก่อนวันจัดโครงการ 1 วัน

07020000/07020000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยในคนและการปฏิบัติการวิจัยที่ดี 2.2 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานวิจัยตามกฎเกณฑ์มาตรฐานในการวิจัย

เป้าหมายของโครงการ

จัดโครงการอบรมจริยธรรมการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 136 คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คน ดังนี้ 1) ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ – เชี่ยวชาญ ประเภทอำนวยการระดับต้น – สูง ประเภทบริหารระดับต้น ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการส่วน นายแพทย์ ทันตแพทย์ แพทย์แผนไทย นักวิชาการสาธารณสุข เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการสถิติ นักกายภาพบำบัด นักจัดการงานทั่วไป พยาบาล-เทคนิค จำนวน 80 คน 2) บุคคลภายนอกซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการได้แก่ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน กรุงเทพมหานคร ข้าราชการนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร นักวิจัยและบุคลากรที่เกี่ยวข้องที่ทำงานวิจัย จำนวน 20 คน ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 36 คน ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 20 คน 2) วิทยากร จำนวน 6 คน 3) ผู้สังเกตการณ์ จำนวน 10 คน (บุคลากรที่สนใจงานวิจัย)

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-07-24)

100.00

24/07/2566 : ดำเนินการจัดโครงการอบรมฯ เป็นทีเรียบร้อยแล้วในวันที่ 15 มิ.ย.2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-06-23)

100.00

23/06/2566 : ดำเนินการจัดโครงการอบรมฯ เป็นทีเรียบร้อยแล้วในวันที่ 15 มิ.ย.2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 59.00 (2023-05-29)

59.00

29/05/2566 : จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติโครงการ ขอใช้เงินงบประมาณ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-24)

50.00

24/04/2566 : รวบรวมรายชื่อผู้เข้าอบรมฯ จัดทำโครงการเสนอกลุ่มงานคลังเพื่อตรวจสอบค่าใช้จ่ายของโครงการ จัดทำคำสั่ง คณะกรรมการอำนวยการ / คณะกรรมการรับ – ส่งและเก็บรักษาเงิน /คำสั่งผู้เข้าอบรม/จัดทำหนังสือเชิญวิทยากร/จัดทำหนังสือเชิญบุคคลภายนอกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายโครงการเข้าร่วมการอบรมฯ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-03-25)

40.00

25/03/2566 : ได้รับการตอบรับจากทีมวิทยากร กำหนดวันอบรม เป็นวันที่ 15 มิถุนายน 2566 กำหนดหัวข้อในการอบรม หัวข้อในการอบรม เรื่อง วิธีดำเนินการมาตรฐาน คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน กรุงเทพมหานคร จัดทำหนังสือเวียนขอรายชื่อผู้เข้าร่วมการอบรมฯ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-02-28)

30.00

28/02/2566 : ประชุมกำหนดหัวข้อการอบรมติดต่อประสานงานกับทีมวิทยากรจาก ชมรมจริยธรรมการวิจัยในคนในประเทศไทย (fercit) และขณะนี้รอการยืนยันกำหนดวันการอบรมฯ ในเดือน มิ.ย.2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-27)

20.00

27/01/2566 : 1.ประชุมวางแผนการดำเนินการจัดทำโครงการอบรมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2.ติดต่อประสานงานกับทีมวิทยากรจาก จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และขณะนี้รอการยืนยันกำหนดการอบรมฯ 3.จัดทำหนังสือเวียนขอรายชื่อผู้เข้าร่วมการอบรมฯ ในหน่วยงานสังกัดสำนักการแพทย์ 4. กำหนดวันอบรมประมาณเดือน พ.ค. / มิ.ย. 66 ติดตอประสานงานทีมวิทยากร

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-30)

10.00

30/12/2565 : ประชุมวางแผนการดำเนินการจัดทำโครงการอบรมจริยธรรมการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุข

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. วางแผนการจัดโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. ขอรายชื่อ จากส่วนราชากรในสังกัดกรุงเทพมหานครและคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนกรุงเทพมหานคร
:15.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. ประสานวิทยากร และสถานที่ดำเนินโครงการ
:15.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. ดำเนินการขออนุมัติโครงการ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ และคำสั่งผู้เข้ารับ
:15.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. ดำเนินการจัดอบรมตามกำหนดการ
:30.00%
เริ่มต้น :2023-03-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6. จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการและรายงานตามแบบ สพข.2/59 ต่อผู้บริหารสำนักการแพทย์
:15.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 07000000-7186

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 07000000-7186

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0700-919

ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย (ปี 2566)

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

100 / 100
2
7.69

0 / 0
3
17.95

0 / 0
4
100.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **