ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ระบบบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่น ความศรัทธา ความปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการว่าได้รับการรักษาพยาบาลที่ดี มีคุณภาพ มีความปลอดภัย เริ่มตั้งแต่การค้นหาความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การควบคุมความเสี่ยงและการประเมินผล เจ้าหน้าที่ต้องสามารถค้นหาความเสี่ยงได้จากหลาย ๆ แหล่ง เช่น จากประสบการณ์ของตนเอง จากของคนอื่น และจากกระบวนการทำงาน สร้างวัฒนธรรมในการรายงานอุบัติการณ์ โดยให้ผู้รายงานรู้สึกสบายใจที่จะรายงาน มีแนวทาง การรายงานที่ชัดเจน มีหลักประกันในการไม่ให้คุณให้โทษแก่ผู้รายงานแต่มุ่งแก้ไขที่ การปรับปรุงระบบ ได้รับการตอบสนองอย่างทันเวลา สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงได้ถูกต้อง จากระดับ ความรุนแรงและความถี่ สามารถหาวิธีการป้องกัน ควบคุมความเสี่ยงและใช้หลักการ PDCA ในการประเมินติดตามได้อย่างเป็นรูปธรรม การบริหารความเสี่ยงเพื่อคุณภาพและความปลอดภัยต้องอาศัย ความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญ และต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากเจ้าหน้าที่ทุกระดับ รวมทั้งผู้บริหารควรให้ การสนับสนุน พร้อมกับร่วมกระตุ้นการค้นหาการรายงาน จัดการความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่ มีการจัดทำทะเบียนความเสี่ยง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาระบบงานทุกส่วน เพื่อนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในโรงพยาบาลต่อไป โรงพยาบาลราชพิพัฒน์มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล จึงจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารความเสี่ยงเพื่อคุณภาพและความปลอดภัย ให้มีการพัฒนาระบบความเสี่ยงเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ
07130000/07130000
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจความหมายของความเสี่ยง กระบวนการบริหารความเสี่ยง ระบบบริหารความเสี่ยง 2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงในหน่วยงานของตนเองได้ 3. เพื่อเพิ่มจำนวนการรายงานความเสี่ยงในระบบ HRMS
จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารความเสี่ยงเพื่อคุณภาพและความปลอดภัย โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น ๑๗0 คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 รุ่น รวม 1๔0 คน ดังนี้ 1) ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน - ชำนาญงาน ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ - ชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งนายแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักรังสีการแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ นักวิชาการสุขาภิบาล นักจัดการงานทั่วไป นักวิชาการพัสดุ นักวิชาการเงินและบัญชี นักโภชนาการ นักทรัพยากรบุคคล นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักเวชนิทัศน์ เจ้าพนักงานธุรการ เจ้าพนักงานพัสดุ เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี โภชนากร พยาบาลเทคนิค เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจ้าพนักงานเภสัชกรรม เจ้าพนักงานสาธารณสุข ผู้ช่วยทันตแพทย์ นายช่างเทคนิค จำนวน 120 คน (รุ่นละ 60 คน) 2) บุคลากรกรุงเทพมหานคร ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ พนักงานรับโทรศัพท์ พนักงานเปล พนักงานช่วยเหลือคนไข้ พนักงานทั่วไป จำนวน 20 คน (รุ่นละ 10 คน) ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน ๓0 คน ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน ๒๘ คน (รุ่นละ 14 คน) 2) วิทยากร จำนวน 2 คน (รุ่นละ 1 คน)
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-07-21)
21/07/2566 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว ในวันที่ 1 – 2 มีนาคม 2566 เวลา 08.00 - 16.00 น. เป็นโครงการประชุม แบบไป - กลับ จำนวน 2 วัน 1 รุ่น ณ ห้องประชุมพระเทพประสิทธิมนต์ 71 ชั้น 9 อาคารภูมิพิพัฒน์ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. ตัวชี้วัดที่ 1 จำนวนบุคลากรเข้ารับการอบรม ไม่น้อยกว่า 80% สรุป จำนวนบุคลากรเข้ารับการอบรม จำนวน 61 คน ร้อยละ 100% 2. ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม มากกว่าร้อยละ 85% สรุป คะแนนความพึงพอใจระดับมากของผู้เข้าอบรม ร้อยละ 95.08% 3. ตัวชี้วัดที่ 3 บุคลากรทางการพยาบาลเข้าร่วมอบรมมีความรู้และความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงทางคลินิก ร้อยละ 80% สรุป แบบทดสอบความรู้ก่อนเข้าร่วมโครงการการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติการพยาบาล ค่าคะแนนคำตอบที่ถูกต้องเฉลี่ย จำนวน 61 คน คิดเป็นร้อยละ 83.60 % สรุป แบบทดสอบความรู้หลังเข้าร่วมโครงการการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติการพยาบาล ค่าคะแนนคำตอบที่ถูกต้องเฉลี่ย จำนวน 61 คน คิดเป็นร้อยละ 86.88 % 4. ตัวชี้วัดที่ 4 ผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้หลักการและแนวคิดในการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกทางการพยาบาลได้ มากกว่าร้อยละ 80 จำนวน 61 คน คิดเป็นร้อยละ 98.2% สรุป ผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้หลักการและแนวคิดในการบริหารความเสี่ยงทางคลินิกทางการพยาบาลได้ คิดเป็นร้อยละ 100%
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-07-20)
20/07/2566 : อยู่ระหว่างการสรุปผลโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-06-21)
21/06/2566 : ดำเนินการจัดโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้อยู่ระหว่างการสรุปผลโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-05-23)
23/05/2566 : - คณะกรรมบริหารความเสี่ยงเตรียมงานในการอบรม - ทำการจัดอบรมโครงการบริหารความเสี่ยงเพื่อคุณภาพ และความปลอดภัยวันที่ 11 -12 พฤษภาคม 2566 จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 1 วัน แบบไปเช้า - เย็นกลับ ณ ห้องประชุมพระเทพประสิทธิมนต์ 71 ชั้น 9 อาคารภูมิพิพัฒน์ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-04-20)
20/04/2566 : - ส่งโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติจากผู้บริหารสำนักการแพทย์ และ กรุงเทพมหานคร เพื่อรอการปรับแก้ไข
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 12.00 (2023-03-22)
- เสนอโครงการแล้ว อยู่ระหว่างรออนุมัติ - อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลการเตรียมงาน การจัดสถานที่
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-21)
- รวบรวมรายชื่อ เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน - รวบรวมรายชื่อผู้เข้าร่วมอบรม - จัดทำรายละเอียดของโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ - จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน - เตรียมจัดประชุมคณะกรรการดำเนินงาน วันที่ 25 ก.พ. 66 เวลา 13.30 น.
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 8.00 (2023-01-26)
ศึกษาการเขียนโครงการ (ต่อ)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 6.00 (2022-12-29)
ศึกษาดำเนินการเขียนโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย (ปี 2566)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **