ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการศูนย์ความเชี่ยวชาญการดูแลผู้สูงอายุครบวงจรอย่างเป็นองค์รวมในกรุงเทพมหานคร : 07000000-7192

สำนักการแพทย์ : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

โรงพยาบาลราชพิพัฒน์

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

สถานการณ์สังคมสูงอายุในปัจจุบัน เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร ซึ่งพบการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (Chronic Illness) เพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษา ฟื้นฟู ให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ จะทำให้เกิดภาวะพึ่งพิง อันเป็นภาระของสังคม ร่วมกับ สถานการณ์ด้านข้อจำกัดของทรัพยากรและจำนวนเตียงที่ไม่เพียงพอในโรงพยาบาล ทำให้ระบบบริการสุขภาพจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้ป่วยได้อย่างแท้จริง และลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล ในการรักษาพยาบาล โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในโรงพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ ลดความแออัดและลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยภาวะแทรกซ้อนต่างๆ รวมถึงลดจำนวนวันนอนโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น และขับเคลื่อนบูรณาการระหว่างบริการสุขภาพ และบริการสังคมด้วยกัน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนผลักดันให้ระบบบริการสุขภาพเกิดความจำเป็นและต้องการรูปแบบบริการต่อผู้สูงอายุอย่างครบวงจร ตั้งแต่การค้นหาความเสื่อมของ Geriatric syndrome การบำบัดฟื้นฟูทั้งก่อนเกิดโรค และ การฟื้นฟูระยะกลางภายหลังการเจ็บป่วยเฉียบพลัน เพื่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ครอบครัว และสังคม สืบไป โดยจากสถิติผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาทั้งระบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร มีร้อยละ 30 ถึงร้อยละ 40 ซึ่งมีระยะเวลานอนโรงพยาบาลโดยประมาณ 7-14 วัน เมื่อพ้นระยะเฉียบพลันอาจพบปัญหาบางประการ เกิดภาวะการกำเริบของโรค (Acute exacerbation) ภาวะแทรกซ้อน การดูแลฟื้นฟูไม่เพียงพอ และค่าใช้จ่ายในการดูแลที่สูงขึ้น หรือยังไม่พร้อมกลับไปรับการดูแลต่อที่บ้าน เนื่องจากยังมีความบกพร่องที่ต้องได้รับการดูแลโดยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่มีความสามารถ ด้วยวิธีการและเครื่องมือซึ่งไม่สามารถจัดหาไว้ที่บ้านได้ และปัญหาสำคัญคือขาดผู้ดูแล หรือผู้ดูแลที่บ้านยังไม่พร้อมให้การดูแลต่อเนื่อง ดังนั้น โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สังกัดสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานครจึงได้จัดโครงการศูนย์ความเชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุครบวงจรอย่างเป็นองค์รวมที่ประกอบด้วย รูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุตั้งแต่ การคัดกรอง Geriatric syndrome ก่อนเริ่มป่วยหรือแสดงอาการจากตัวโรค, การบำบัดรักษากลุ่มโรคของผู้สูงอายุเฉพาะทางในโรคที่พบบ่อย และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา คือ Dementia, Falling prevention, Sarcopenia prevention, ระบบการฟื้นฟูระยะกลางของผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่ต้องรับการฟื้นฟู ในกรุงเทพมหานครเพื่อให้ผู้ป่วยสูงอายุได้รับการดูแลต่อเนื่องหลังจากให้การรักษาพยาบาลจนกระทั่งพ้นระยะเฉียบพลัน ซึ่งเรียกโดยรวมว่าPost-acute Care ได้อย่างมีคุณภาพ ได้รับการดูแลฟื้นฟูอย่างเหมาะสม โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อลดภาวะบกพร่องการทำกิจวัตรประจำวัน ลดภาวะพึ่งพิงและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้สูงอายุระยะยาว

07130000/07130000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อให้เกิดรูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครที่เริ่มตั้งแต่การคัดกรองก่อนเกิดโรค การบำบัดฟื้นฟูป้องกันการดำเนินไปสู่ภาวะแทรกซ้อน และการดูแลฟื้นฟูระยะกลางของผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่ต้องรับการฟื้นฟู เมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยเฉพาะหลังเข้ารับ การรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล กลุ่มผู้ป่วยที่มีความจำเป็น อาทิ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บทางไขสันหลัง และ ผู้สูงอายุที่มี ADL ลดลง หรือมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ 2. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ที่อาจนำไปสู่ความพิการและพัฒนาความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยให้ดีขึ้น จนผู้ป่วยส่วนหนึ่งสามารถช่วยเหลือตนเอง กลับมาทำงาน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ 3. เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง ผู้ป่วยบาดเจ็บทางไขสันหลัง และผู้สูงอายุที่มี ADL ลดลง กระจายสู่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ ระดับปฐมภูมิ และชุมชนของกรุงเทพมหานคร ซึ่งนับเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่

เป้าหมายของโครงการ

1. กรุงเทพมหานครมีรูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวม และระบบ การดูแลระยะกลางของผู้ป่วยที่ต้องรับการฟื้นฟู อย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลจนถึงชุมชน 2. โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ลดความแออัด สามารถให้บริการในกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินได้เพิ่มขึ้น 3. ผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่เข้ารับการฟื้นฟู มีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น 4. ลดจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงในอนาคต

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-29)

100.00

- มีการทำ KM ให้ความรู้ หรือเคสกรณีศึกษาที่หาสนใจ มาวิเคราะห์เพื่อพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุม โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ - ประชุมคณะกรรมการประจำเดือน ติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค เพื่อวางแผนในการพัฒนาการให้บริการผู้สูงอายุแบบองค์รวมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ - มีผู้มารับบริการรวมทั้งหมดจำนวน 120 คน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-08-22)

95.00

22/08/2566 : 1. มีการทำ KM ให้ความรู้ หรือเคสกรณีศึกษาที่หาสนใจ มาวิเคราะห์เพื่อพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุม โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ 2. ส่งบุคลากรประชุมวิชาการ ประจำปี 2566 เรื่อง “Balance and Gait Rehabilitation in elderly from Basic to Advance”ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2566 เวลา 8.00-16.00 น. ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 3. จัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นในการฟื้นฟูเป็นที่เรียบร้อย 4. มีผู้มารับบริการรวมทั้งหมดจำนวน 110 คน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-20)

90.00

20/07/2566 : 1. มีสถานที่ชัดเจนเป็นสัดส่วนในรูปแบบการให้บริการผู้ป่วยใน - ศูนย์เวชศาสตร์เขตเมืองราชพิพัฒน์เพื่อการฟื้นฟู - เปิดให้บริการทุกวันจันทร์-วันอาทิตย์ เวลา 8.00 น.- 16.00 น. 2. มีสถานที่ชัดเจนเป็นสัดส่วนในรูปแบบการให้บริการผู้ป่วยนอก - จัดสถานที่ ณ อาคารอายุบวร - เปิดให้บริการทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 8.00 น.- 16.00 3. มีทีมสหสาขาร่วมดูแลผู้ป่วย(แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบบำบัด นักกิจกรรมบำบัด แพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน นักจิตวิทยา นักโภชนาการ นักสังคมสงเคราะห์ ) 4. ทำการจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นในการฟื้นฟูเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 5. มีผู้มารับบริการทั้งหมดจำนวน 86 คน 6. มีการประสานงานวางแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยไปยังศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-06-21)

50.00

21/06/2566 : - ติดตามการจัดซื้ออุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วยในปีงบประมาน 2566 จำนวน 2 เครื่อง ได้แก่ เครื่องรักษาด้วยการเคลื่อนไหวทั้งมือและเท้าพร้อมโปรแกรมฝึกการเคลื่อนไหวพร้อมซอฟต์แวร์ 1 ชุด รอการส่งมอบเครื่องในวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 และเครื่องฝึกการทรงตัวพร้อมอุปกรณ์ช่วยยกผู้ป่วยจากท่านั่งสู่ท่ายืนพร้อมซอฟต์แวร์ในการฝึก 1 ชุด ได้รับเครื่องเรียบร้อยแล้ว - มีการทำ KM ให้ความรู้ หรือเคสกรณีศึกษาที่หาสนใจ มาวิเคราะห์เพื่อพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุม โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ - ส่งบบุคลากรประชุมวิชาการ ประจำปี 2566 เรื่อง “Well-being Across Lifespan”ระหว่างวันที่ 7-8 มิถุนายน 2566 เวลา 8.00-16.00 น. ณ ไอคอนสยาม - มีการจ้างบุคลากรเพิ่ม ในตำแหน่งแพทย์แผนไทย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-05-23)

30.00

23/05/2566 : - ส่งบุคลากรอบรมโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยระยะกลางเขตสุขภาพที่ 13 กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 20-22 มีนาคม 2566 เพื่อมาพัฒนางานการบริการดูแลผู้สูงอายุ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น - ประชุมคณะกรรมการประจำเดือน ติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค เพื่อวางแผนในการพัฒนาการให้บริการผู้สูงอายุแบบองค์รวมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2023-04-20)

25.00

20/04/2566 : - ติดตามความก้าวหน้าในการซื้ออุปกรณ์เครื่องมือเพื่อการฟื้นฟู อยู่ในขั้นตอนรอเงินงวดในการจัดซื้อ - ขยายพื้นที่ในการตรวจผู้ป่วยเพิ่มเติมเพื่อรองรับจำนวนผู้มารับบริการที่เพิ่มมากขึ้น - ประชุมคณะกรรมการ ติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค ร่วมกันวางแผนมาตรฐานการบริการผู้ป่วยให้เป็นทิศทางเดียวกัน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 22.00 (2023-03-22)

22.00

- ติดตามความก้าวหน้าในการซื้ออุปกรณ์เพื่อการฟื้นฟู - จ้างนักกายภาพบำบัดเพิ่มอีก 1 คน เพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะฟื้นฟูและผู้ป่วยแบบประคับประคอง - ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานระดับโรงพยาบาล ติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค ร่วมกันวางแผนมาตรฐานการบริการผู้ป่วยให้เป็นทิศทางเดียวกัน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-02-21)

20.00

- การจัดซื้ออุปกรณ์อยู่ในช่วงดำเนินการจัดซื้อตามงบประมาน - มีการส่งบุคลากรอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในการดูแลและป้องกันผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก อบรมเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-26)

10.00

-จ้างนักกิจกรรมบำบัดเพิ่มอีก 1 คน เพื่อให้เพียงพอต่อการให้บริการผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะฟื้นฟูและผู้ป่วยแบบประคับประคอง -ติดตามความก้าวหน้าในการซื้ออุปกรณ์เครื่องมือเพื่อการฟื้นฟู

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 6.00 (2022-12-29)

6.00

ศึกษาดำเนินการเขียนโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1.ปรับพื้นที่
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. จัดหาอุปกรณ์การฟื้นฟู
:20.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. ดำเนินการอบรมบุคลากรและประเมินผล
:20.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. เริ่มดำเนินการรับผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการฟื้นฟู จากโรงพยาบาลราชพิพัฒน์
:10.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. ประสานงานเครือข่าย ในการรับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลอื่น ๆ
:20.00%
เริ่มต้น :2023-03-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6 ประเมินผลการเปิดบริการเสนอต่อผู้บริหารทุก 3 เดือน
:20.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 07000000-7192

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 07000000-7192

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0700-891

ตัวชี้วัด : จำนวนโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ที่มีการพัฒนาศักยภาพ ในระดับที่สูงขึ้น (ปี 2566)

ค่าเป้าหมาย แห่ง : 3

ผลงานที่ทำได้ แห่ง : 2

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(แห่ง)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

100 / 100
2
0.00

0 / 0
3
0.00

0 / 0
4
2.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **