ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 20
สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
“งานเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ” ( Central Sterile Service Department : CSSD ) มีหน้าที่ในการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อให้พร้อมใช้ สำหรับทุกหน่วยงานของโรงพยาบาล ทั้งในด้านการตรวจรักษา การวินิจฉัยโรค และการผ่าตัด รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้กับผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาล โดยการจัดตั้งหน่วยเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานสากลนั้น มีองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้ 2.1 ห้องปฏิบัติงานที่มีการควบคุมอากาศแบบระบบปิด 2.2 ระบบควบคุมคุณภาพน้ำให้ได้ตามมาตรฐาน 2.3 เครื่องจักรและอุปกรณ์ในงานเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล 2.4 ระบบควบคุมติดตามการทำงานแบบสอบย้อนกลับได้ 2.5 บุคลากรผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะทางด้านงานเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ จากองค์ประกอบข้างต้น จะเห็นว่าในการจัดตั้งหน่วยเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีมาตรฐานสากล จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้ในการควบคุมคุณภาพการดำเนินงาน การพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบงานเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ เพื่อยกระดับและเพิ่มศักยภาพการให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งคืองานเวชภัณฑ์ปราศจากเชื้อ โดยเป็นการปรับปรุงพื้นที่การปฏิบัติงาน ลงเครื่องจักร อบรมบุคลากร พร้อมทั้งระบบสารสนเทศในการปฏิบัติการบริหารเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ตลอดจนการขนส่งเครื่องมือและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ พร้อมกันนั้นยังมีการวางระบบการปฏิบัติงานทางด้านสารสนเทศการจัดการงานเวชภัณฑ์ปราศจากเชื้อ ในหน่วยเวชภัณฑ์ปราศจากเชื้อของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เพื่อที่จะได้มีมาตรฐานในการดำเนินงาน การทำให้ปราศจากเชื้อ และยังเป็นการเชื่อมข้อมูลที่เป็น Big Data เพื่อนำข้อมูลที่ได้นั้นใช้ประโยชน์ต่อไป ทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินงานของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ให้เข้มแข็ง และมั่นคง ด้วยการใช้ระบบบริหารจัดการภายในหน่วยเวชภัณฑ์ปราศจากเชื้อ ทำให้เกิดการรวมศูนย์ข้อมูล (Centralized Data) พร้อมกันนั้นยังทำให้การทำงานเป็นในรูปแบบ Digital Organization ทำให้สามารถเห็นภาพรวมในการทำงานทั้งหมด คือ 1. ศูนย์เวชภัณฑ์กลางโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ และโรงพยาบาลในสังกัดโซนตะวันตก (Western Medical Hub) ซึ่งจะรองรับการให้บริการ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ และโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน 2. ศูนย์เวชภัณฑ์กลางโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการให้บริการภายในโรงพยาบาลเองซึ่งแต่ละศูนย์จะมีการให้บริการที่มีการใช้ระบบการปฏิบัติงานทางด้านสารสนเทศการจัดการงานเวชภัณฑ์ปราศจากเชื้อที่เป็นระบบเดียวกันทั้ง 2 ศูนย์ 4 โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โดยการเก็บข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นประโยชน์สำหรับคนไข้ บุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนโรงพยาบาลเพื่อสามารถจัดการเวชภัณฑ์ปราศจากเชื้อ ได้อย่างถูกต้อง ครบครัน และยังสามารถทวนสอบกระบวนการทำงาน ตลอดจนคุณภาพของเวชภัณฑ์ดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นการให้บริการทางการแพทย์ (Best Service ) และวิธีการทำงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) ส่งผลให้เกิดบริการทางการแพทย์ (Service Special)ที่มีคุณภาพไปยังผู้รับบริการ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและการบริหารจัดการด้านงบประมาณว่าการลงทุนกับหน่วยเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ แม้จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูง แต่ก็มีความจำเป็นในการลงทุน เนื่องจากมีความเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลโดยตรง ในขณะเดียวกันเพื่อให้งบประมาณในการเบิกจ่ายและการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด จึงเกิดการรวมศูนย์งานเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ เพื่อลดงบประมาณในการลงทุนและทำให้ประสิทธิภาพในการทำงาน ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย และนำประโยชน์จากข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด
07020000/07020000
2.1 เพื่อยกระดับงานเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครให้เป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาคและสากล สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) 2.2 เพื่อลดภาระด้านงบประมาณสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบงานเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ 2.3 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้เกิดประสิทธิผลสูงที่สุด 2.4 เพื่อสอดรับกับนโยบายการบริหารงานของสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เพื่อทำให้เกิดการทำงานในรูปแบบ Digital Organization 2.5 เพื่อลดอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล ซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาล
จัดตั้งศูนย์การให้บริการการให้บริการในการทำงานเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ โดยแต่ละศูนย์จะมีการให้บริการการขนส่งเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ (Medical Logistic) และแต่ละโรงพยาบาลจะมีการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เข้าสู่ Cloud System เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลส่วนกลาง (Centralized Data) โดยแบ่งเป็น 2 ศูนย์ ดังนี้ 3.1 ศูนย์เวชภัณฑ์กลางโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ โซนตะวันตก (Western Medical Hub) รองรับ การให้บริการ โรงพยาบาลรพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ฯและรพ.ผู้สูงอายุบางขุนเทียน 3.2 ศูนย์เวชภัณฑ์กลางโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ดำเนินการภายในโรงพยาบาล ซึ่งแต่ละศูนย์จะมีการให้บริการ ดังนี้ - ระบบการขนส่ง (Logistic) ที่เป็นไปตามมาตรฐานการให้บริการตามมาตรฐานสากล OSHA ซึ่งสามารถมั่นใจได้ว่าการให้บริการในทุกศูนย์ และทุกโรงพยาบาลนั้นเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน - มาตรฐานหน่วยงานเวชภัณฑ์ปราศจากเชื้อ ที่เป็นไปมาตรฐาน HBN13 Sterile Services Department, ANSI/ASHRAE 170-2013 Ventilation for Healthcare Facilities, มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) พ.ศ.2559 - เครื่องจักรที่ใช้ในการปฏิบัติงานที่ได้รับมาตรฐานสากล อาทิเช่น EN ISO 13485, European Pressure Equipment Directive 2014/68/EC (PED), EN285 Steam Sterilizer, EN ISO 15883 Washer Disinfector เป็นต้น - การปฏิบัติงานที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ได้แก่ WFHSS World Federation for Hospital Sterilization Sciences, AAMI/ANSI ST79, ISO9001, ISO13485 รวมทั้งงานศูนย์กลางงานปราศจากเชื้อแห่งประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้บริการที่เป็นเลิศ (Service Excellent) - บุคลากรในการปฏิบัติสามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นให้มี ความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญในด้านงานเวชภัณฑ์ปราศจากเชื้อ มุ่งสู่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการทำให้ปราศจากเชื้อ (Sterile Service Technician) การปรับปรุง พัฒนา และยกระดับคุณภาพการให้บริการที่เป็นสากล พร้อมทั้งทำให้ศักยภาพการให้บริการในภาพรวมของสำนักการแพทย์ก้าวเข้าสู่การให้บริการที่เป็นดิจิตอล เพื่อตอบโจทย์การดำเนินงานในอนาคตที่เป็นสังคม 5G พร้อมทั้งยกระดับ Infrastructure ในการปฏิบัติงานในหน่วยงานปราศจากเชื้อ และยกระดับความรู้เชี่ยวชาญบุคลากรในขั้นตอนวิธีการทำงานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อการทำงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) และส่งต่องานที่มีคุณภาพเพื่อให้บริการกับผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่เป็นเลิศ (Best Service)
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-09-30)
30/09/2566 : อยู่ระหว่างจัดทำรายงานขอความเห็นชอบ จัดจ้างโครงการดังกล่าว เนื่องจากเป็นโครงการใหม่และมีวงเงินที่สูง ซึ่งยังไม่มีหน่วยงานใดของกรุงเทพมหานครดำเนินการมาก่อน สำนักการแพทย์จำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลตลอดจนรายละเอียดเพื่อใช้ประกอบการจัดทำร่าง TOR โดยการตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ที่มีลักษณะโครงการใกล้เคียงกันมาประกอบการพิจารณา ซึ่งแต่ละแห่งเพิ่งเริ่มดำเนินการประมาณ 1 - 2 ปี ประกอบกับได้ขอคำปรึกษากรมบัญชีกลางและหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ได้ร่าง TOR ที่เหมาะสม ถูกต้อง เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกรุงเทพมหานคร จึงทำให้ต้องกำหนดร่าง TOR ด้วยความละเอียดรอบคอบ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลามากในการกำหนดร่าง TOR
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-08-27)
27/08/2566 : อยู่ระหว่างการขอความเห็นชอบร่างขอบเขตงาน (TOR) และราคากลาง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 18.00 (2023-07-23)
23/07/2566 :อยู่ระหว่างพิจารณาร่าง TOR
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 18.00 (2023-06-22)
22/06/2566 : อยู่ระหว่างพิจารณาร่าง TOR
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 18.00 (2023-05-27)
27/05/2566 : อยู่ระหว่างพิจารณาร่าง TOR
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 18.00 (2023-04-28)
28/04/2566 : อยู่ระหว่างพิจารณาร่าง TOR
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-03-25)
25/03/2566 : อยู่ระหว่างพิจารณาร่าง TOR
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : อยู่ระหว่างพิจารณาร่าง TOR
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-23)
23/01/2566 : อยู่ระหว่างพิจารณาร่าง TOR
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-29)
29/12/2565 : อยู่ระหว่างการแต่งตั้งคณะกรรมการและดำเนินการพิจารณาขอบเขตงาน (TOR) ของโครงการฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : จำนวนโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ที่มีการพัฒนาศักยภาพ ในระดับที่สูงขึ้น (ปี 2566)
ค่าเป้าหมาย แห่ง : 3
ผลงานที่ทำได้ แห่ง : 2
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **