ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวริลฎากาญจ์ อุทัยวัฒนานนท์ / นางสาวอุทัยวรรณ ปัทมานุช โทร 6903
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง (ACLS : Advanced Cardiac Life Support) เป็นการทำหัตถการ ที่มีความสำคัญมากในการให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน และผู้บาดเจ็บ ในปัจจุบันที่มีผู้ประสบอุบัติเหตุ และผู้ป่วยฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้นทุกปีจนเป็นปัญหาของทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบ เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจ มีความสำคัญมากต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย และหากจะดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ ต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญซึ่ง ได้แก่ ทีมงานที่มีความเชื่อมั่นตั้งใจ มีความศรัทธาในการให้บริการผู้ป่วยอย่างเต็มที่ องค์ความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพ อุปกรณ์การช่วยชีวิตที่จำเป็นทุกชนิด ที่สำคัญที่สุด คือ เครื่อง defibrillator ที่มีคุณภาพและมีความพร้อมใช้งานตลอดเวลา เวชภัณฑ์ อันได้แก่ สารน้ำ และยาต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นสูง และข้อสุดท้ายคือเวลาที่เหมาะสมที่ต้องเริ่มต้นการช่วยชีวิตให้เร็วที่สุดหลังจากที่ผู้ป่วยเกิดภาวะ cardiac arrest ทุกองค์ประกอบที่ได้กล่าวมาข้างต้นนับว่ามีความสำคัญมากต่อการช่วยชีวิตผู้ป่วย และถ้าขาดองค์ประกอบใด องค์ประกอบหนึ่ง ก็จะมีผลให้การช่วยชีวิตผู้ป่วยไม่ประสบผลสำเร็จ การสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัยให้กับทีมงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกคน จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งนอกจากจะทำให้ทีมงานสามารถดำเนินขั้นตอนต่าง ๆ ในการช่วยชีวิตได้อย่างถูกต้องแล้ว ความรู้ยังนำไปสู่การสร้างความมั่นใจในการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน ตลอดจนสร้างทัศนคติที่ดีให้กับบุคลากร และนำไปสู่การจัดเตรียม ดูแล และบำรุงรักษา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือที่ต้องใช้ได้อย่างถูกต้อง โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ ได้เปิดให้บริการกับประชาชนของกรุงเทพมหานคร ฝั่งตะวันออก และประสบกับปัญหาผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปีแต่ทางโรงพยาบาลยังขาดแคลนบุคลากรด้านการแพทย์และพยาบาล ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ความสามารถ ในการให้การดูแลผู้ป่วยในภาวะวิกฤต และเพื่อให้บุคลากรสามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยในภาวะหัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งสามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องปลอดภัย จำเป็นต้องมีการพัฒนาบุคลากรแพทย์และพยาบาลให้สามารถประเมินสภาพตลอดจนให้การช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะหัวใจหยุดเต้น และหยุดหายใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ กลุ่มงานบริการการแพทย์ฉุกเฉินและรับส่งต่อ ร่วมกับฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสิรินธร จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง (ACLS : Advanced Cardiac Life Support) เพื่อให้บุคคลากรทางการพยาบาลที่ได้รับการอบรมมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง สามารถจัดเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาถ่ายทอดให้กับบุคลากรอื่น ๆ ในหน่วยงาน อีกทั้งสามารถประเมินอาการผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง ปลอดภัย เป็นการช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยฉุกเฉิน/ผู้บาดเจ็บลงได้
07140000/07140000
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-19)
19/09/2566 : ตามที่โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการจัดโครงการอบรม เชิงปฏิบัติการการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ให้แก่ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ - ชำนาญการพิเศษ จำนวน 298 คน และบุคคลภายนอกซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการ จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 305 คน รูปแบบของการอบรมเป็นแบบ ไป - กลับ จำนวน 5 รุ่น ณ ห้องประชุมคุณหญิงหรั่ง กันตารัติ ชั้น 2 โรงพยาบาลสิรินธร เวลา 08.00 น. - 16.00 น. ดังรายละเอียดต่อไปนี้ - รุ่นที่ 1 วันที่ 10 พฤษภาคม 2566 ผู้เข้ารับการอบรมประกอบด้วยข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ จำนวน 58 คน บุคคลภายนอกซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการ จำนวน 2 คน คณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 6 คน และวิทยากร จำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้น 72 คน - รุ่นที่ 2 วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ผู้เข้ารับการอบรมประกอบด้วยข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ จำนวน 61 คน บุคคลภายนอกซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการ จำนวน 3 คน คณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 6 คน และวิทยากร จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 75 คน - รุ่นที่ 3 วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 ผู้เข้ารับการอบรมประกอบด้วยข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ จำนวน 62 คน คณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 6 คน และวิทยากร จำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้น 74 คน - รุ่นที่ 4 วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ผู้เข้ารับการอบรมประกอบด้วยข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ จำนวน 59 คน บุคคลภายนอกซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการ จำนวน 1 คน คณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 6 คน และวิทยากร จำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้น 72 คน รุ่นที่ 5 วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 ผู้เข้ารับการอบรมประกอบด้วยข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ จำนวน 57 คน บุคคลภายนอกซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการ จำนวน 1 คน คณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 6 คน และวิทยากร จำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้น 70 คน บัดนี้ ทางโรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินโครงการดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :1. ได้องค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์จากการอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้ 2. ควรมีการจัดอบรมโครงการนี้ต่อเนื่องทุกปี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-08-17)
17/08/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำสรุปผลโครงการเสนอต่อผู้บริหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-07-19)
19/07/2566 : ประเมินผลการฝึกอบรม เพื่อเตรียมนำเสนอผู้บริหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-06-26)
26/06/2566 : จัดประชุมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง วันที่ 10, 15 - 16, 18 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมคุณหญิงหรั่ง กันตารัติ ชั้น 2 โรงพยาบาลสิรินธร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-05-19)
19/05/2566 : จัดประชุมคณะทำงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง เพื่อวางแผนการดำเนินงาน มอบหมายงาน และจัดตารางการฝึกอบรม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-04-20)
20/04/2566 : ประสานกับหน่วยงานต่างๆในโรงพยาบาล เพื่อขอรายชื่อผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมรับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-03-22)
22/03/2566 : เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อผู้บริหารสำนักการแพทย์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-21)
21/02/2566 : เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อผู้บริหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-20)
20/01/2566 : อยู่ระหว่างเขียนโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติต่อผู้บริหาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2022-12-29)
29/12/2565 : อยู่ระหว่างรวบรวมรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย (ปี 2566)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **