ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
โรงพยาบาลคลองสามวา
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
การควบคุมคุณภาพและการบริการเป็นเป้าหมายสำคัญของการนำโรงพยาบาลเข้าสู่โรงพยาบาลคุณภาพ บุคลากรทางการพยาบาลเป็นผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ในโรงพยาบาล แบ่งเป็นระดับต่าง ๆ กัน แต่ละคนจะปฏิบัติกิจกรรมหลักในหน่วยงานที่มีความแตกต่างกันในการบริการ แต่กิจกรรมการพยาบาลหลักที่บุคลากรทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติได้นั้น คือ การช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardio Pulmonary Resuscitation; CPR) โอกาสรอดของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการปฏิบัติกิจกรรม หากทำอย่างรวดเร็วถูกต้อง โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยจะสูงขึ้น และเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลการปฏิบัติการพยาบาลช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ACLS ถือเป็นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตจากภาวะวิกฤติได้ การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง เป็นทักษะที่จำเป็นต้องมีการฝึกฝน ทบทวนการปฏิบัติอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความรู้และทักษะในการปฏิบัติ ดังนั้นโรงพยาบาลคลองสามวา จึงได้กำหนดหลักสูตรการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องไว้ในแผนปฏิบัติราชการโรงพยาบาลคลองสามวา เพื่อให้ผู้ปฏิบัติ ได้นำความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้มาใช้บริการในโอกาสต่อไป
07170000/07170000
๒.๑ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประเมินอาการผู้ป่วยและการใช้แผนปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นสูงสำหรับ ทีมบุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด ๒.๒ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการช่วยฟื้นคืนชีพได้อย่างมีประสิทธิผล ๒.๓ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และสามารถปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ลูกจ้างกรุงเทพมหานครและบุคคลภายนอก โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 60 คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน ดังนี้ 1) ข้าราชการกรุงเทพมหานครระดับปฏิบัติงาน – ชำนาญงาน ระดับปฏิบัติการ-เชี่ยวชาญ ประกอบด้วยข้าราชการตำแหน่ง นายแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ เภสัชกร นักวิชาการเงินและบัญชี นักจัดการงานทั่วไป ผู้ช่วยทันตแพทย์ เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ เจ้าพนักงานเภสัชกร เจ้าพนักงานพัสดุ จำนวน 24 คน 2) บุคลากรกรุงเทพมหานคร จำนวน 16 คน (จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 30 คน) ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 28 คน 1. เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวนทั้งสิ้น 10 คน (รุ่นละ 5 คน) 2. วิทยากร จำนวนทั้งสิ้น 4 คน (รุ่นละ 2 คน)
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-07-24)
24/07/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-06-28)
28/06/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-05-23)
23/05/2566 : นำเสนอผลสรุปการอบรมต่อผู้บริหารสำนักการแพทย์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-04-28)
28/04/2566 : ประเมินผลการอบรมและอยู่ในช่วงดำเนินการเสนอผลสรุปการอบรมต่อผู้บริหารสำนักการแพทย์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-03-28)
28/03/2566 : ดำเนินการจัดทำโครงการอบรมตามกำหนด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :เนื่องจากโครงมีการปรับเปลี่ยนวันอบรมจึงทำให้ล่าช้าต่อการปฏิบัติงาน
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : ดำเนินการจัดทำโครงการอบรมตามกำหนด
** ปัญหาของโครงการ :(อยู่ระหว่างแก้ไขโครง และมีการเลื่อนวันการอบรม)
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-26)
26/01/2566 : ประสานวิทยากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2022-12-30)
30/12/2565 : ประสานหน่วยงานในสังกัดสำนักการแพทย์ เรื่องอุปกรณ์ที่ในโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2022-12-29)
29/12/2565 : ประสานงานหน่วยงานในสังกัดสำนักการแพทย์เรื่อง อุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย (ปี 2566)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **