ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นายธรรม วิทัยวัฒน์ / นางสาวชุลีกร โสอุดร โทร 6902
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและหอบหืดเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยและประชากรโลก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) มีผู้ป่วยทั่วโลกประมาณ 80 ล้านคน และเป็นเหตุของการเสียชีวิตลำดับที่ 5 หรือประมาณปีละ 3 ล้านคน ในประเทศไทยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและหอบหืดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในลำดับต้น ๆ ของคนไทยประมาณปีละ 15,000 คน พบมากในคนที่สูบบุหรี่ถึงร้อยละ 75.4 โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและหอบหืดเป็นโรคที่ป้องกันและรักษาได้ แต่จากข้อมูลการสํารวจการระบาดและผลกระทบจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแห่งเอเชีย(EPICASIA Survey) พบว่ามีผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 50 ที่ยังไม่เคยได้รับการวินิจฉัยโรคมาก่อน จึงมีความจำเป็นที่ทีมสหวิชาชีพควรจะมีความรู้ความเข้าใจในการวินิจฉัยและการวางแผนการดูแลรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการกำเริบเฉียบพลัน ซึ่งนำมาสู่การเสียชีวิตได้ ในปัจจุบันโรงพยาบาลสิรินธร ได้ขยายการให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคผู้ป่วยนอก รวมทั้งผู้ป่วยฉุกเฉิน ในปี 2563 มีผู้รับบริการเป็นจำนวนทั้งสิ้น 584,025 ราย มีการขยายการให้บริการผู้ป่วยในจำนวน 366 เตียงและมีนโยบายในการเพิ่มจำนวนเตียงเพื่อรองรับการขยายการให้บริการแก่ผู้ป่วยจำนวน 400 เตียง ในอนาคต จากสถิติการรับบริการผู้ป่วยนอกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและหอบหืดที่มารับการบริการที่โรงพยาบาลสิรินธรทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นในทุกปี ข้อมูลในปีงบประมาณ 2562 - 2563 มีจำนวนผู้ป่วยนอกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและหอบหืดที่เข้ารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก 4,365 ราย, และ 6,756 รายตามลำดับ และในส่วนของการรับเข้าเป็นผู้ป่วยในในกลุ่มผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองและหอบหืดก็มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น 221 ราย และ 262 รายตามลำดับ ซึ่งทำให้พบว่ามีอัตราเสียชีวิตที่สูงขึ้นตามมาด้วย จากข้อมูลพบว่าอัตราการเสียชีวิตจำนวน 32 รายและ 30 รายตามลำดับ ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง การใช้ยาและการรับการรักษาที่ไม่ต่อเนื่อง และมีการติดเชื้อแทรกซ้อน ในส่วนของการพัฒนาโรงพยาบาลสิรินธรนอกเหนือจากการขยายการให้บริการ โรงพยาบาลสิรินธรมีการพัฒนาเป็นสถาบันร่วมผลิตบัณฑิตแพทย์ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ป่วยมาเข้ารับบริการจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีศูนย์โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและหอบหืด เพื่อให้ความรู้และการปฏิบัติตนที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย การวินิจฉัยแยกโรคระหว่างโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและโรคหอบหืดที่ชัดเจนเพื่อการเลือกใช้ยาที่เหมาะสมและถูกต้อง การฉีดวัคซีนป้องกันการเกิดปอดติดเชื้อ เพื่อป้องกันการกำเริบเฉียบพลัน รวมถึงการให้บริการในการเลิกบุหรี่ ในการดูแลผู้ป่วยในเชิงรุกเพื่อการป้องกัน ก่อนที่ผู้ป่วยจะเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งการดูแลที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพจะส่งผลให้มีจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการหอบเฉียบพลันที่ต้องมารับบริการที่ห้องฉุกเฉินและนอนโรงพยาบาลด้วยอาการหอบลดลง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาลดลงและผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
07140000/07140000
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-19)
19/09/2566 : เข้ารับการตรวจประเมินศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ของกรุงเทพมหานคร (Medical Service Department, BMA Excellent Center) เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมสิรินธร ชั้น 4 โรงพยาบาลสิรินธร เวลา 14.00 - 16.00 น. สถิติผู้ป่วยโรคระบทางเดินหายใจ 3,071 คน โดยแบ่งเป็นรับบริการใน คลินิกทางเดินหายใจ จำนวน 1,915 ราย คลินิกพิเศษทางเดินหายใจ จำนวน 929 ราย รับบริการคลินิกเลิกบุหรี่ 14 ราย รับบริการตรวจสมรรถภาพปอด 205 ราย รับบริการส่องกล้องระบบทางเดินหายใจ 8 ราย *1 ต.ค.- 30 ส.ค. 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-08-17)
17/08/2566 : 2. ให้บริการผู้ป่วยโรค Asthma และ COPD แบบครบวงจร โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัดและนักโภชนาการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-07-19)
19/07/2566 : ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจในคลินิกคลินิกพิเศษเฉพาะทางอายุรกรรม ชั้น 2 อาคารบริการ ตามแผนการดำเนินงาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-06-26)
26/06/2566 : บุคลากรได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจสมรรถภาพปอดสไปโรเมตรีย์ เปิดให้บริการตรวจสมรรถภาพปอดทุกวัน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-05-19)
19/05/2566 : จัดประชุมคณะกรรมการศูนย์โรคระบบทางเดินหายใจ หารือเรื่องสถานที่และการดำเนินงานในศูนย์โรคระบบทางเดินหายใจ การรับการตรวจประเมินจากสำนักการแพทย์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-04-20)
20/04/2566 : ให้บริการตรวจส่องกล้องตรวจระบบทางเดินหายใจห้องผ่าตัด ชั้น 3 อาคารบริการ โรงพยาบาลสิริธร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-03-22)
22/03/2566 : เตรียมสถานที่ตรวจรักษาผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจในคลินิกพิเศษเฉพาะทางอายุรกรรม ชั้น 2 อาคารบริการ โรงพยาบาลสิรินธร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-21)
21/02/2566 : วางแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากร โดยส่งพยาบาลวิชาชีพสมัครศึกษาต่อการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่โรคระบบหายใจและการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการตรวจสมรรถภาพปอดสไปโรเมตรีย์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-20)
20/01/2566 : จัดตั้งคณะกรรมการศูนย์โรคระบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลสิรินธร และวางแผนการประชุมเพื่อหารือ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-29)
29/12/2565 : เดินสำรวจ ณ บริเวณห้องตรวจผู้ป่วยนอกอายุรกรรมชั้น 1, ห้องตรวจผู้ป่วยนอกอายุรกรรมชั้น 2, ARI Clinic และ TB Clinic อาคารบริการ โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : จำนวนโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ที่มีการพัฒนาศักยภาพ ในระดับที่สูงขึ้น (ปี 2566)
ค่าเป้าหมาย แห่ง : 3
ผลงานที่ทำได้ แห่ง : 2
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **