ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ประชาชนที่เกิดภาวะการเจ็บป่วยวิกฤตฉุกเฉินขึ้นนอกสถานพยาบาลมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางการแพทย์ฉุกเฉิน การที่ผู้เจ็บป่วยวิกฤตฉุกเฉินสามารถเข้าถึงช่องทางการได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว มีคุณภาพและมาตรฐานจะทำให้โอกาสการเสียชีวิตและทุพพลภาพของผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินลดลง จากสถิติการให้บริการในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในช่วงเวลาที่มีผู้ขอใช้บริการหนาแน่นส่งผลให้ประชาชนต้องรอสายจำนวนมากขึ้น โดยมีสถิติผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่ได้รับบริการการแพทย์ฉุกเฉินตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 -2564 5 ปีย้อนหลัง ดังนี้ ปีงบประมาณ 2560 จำนวน 72,011 ราย ปีงบประมาณ 2561 จำนวน 78,534 ราย ปีงบประมาณ 2562 จำนวน 80,247 ราย ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 90,186 ราย และปีงบประมาณ 2564 จำนวน 97,732 ราย ด้วยจำนวนหน่วยปฏิบัติการและบุคลากรที่ปฏิบัติงานคงเดิม แต่จำนวนผู้รับบริการเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับปัญหาการจราจรที่ติดขัดในกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยากลำบาก และสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ทำให้การเข้าถึงผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินต้องใช้เวลามากขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2563 ผลการดำเนินงานมีของชุดปฏิบัติการระดับสูง ที่มี response time ภายใน ๑๐ นาที เท่ากับ 6,209 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.66 และชุดปฏิบัติการระดับพื้นฐานที่มี response time ภายใน 15 นาที เท่ากับ 19,261 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.61
07150000/07150000
2.1 เพื่อให้ประชาชนที่เจ็บป่วยวิกฤตฉุกเฉินได้รับการช่วยเหลือ ณ ที่เกิดเหตุจากบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2.2 ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานครมีจำนวนบุคลากรปฏิบัติงานที่สามารถรองรับความต้องการการขอรับบริการของประชาชนผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินอย่างเพียงพอ 2.3 เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้กับประชาชนผู้ขอความช่วยเหลือผ่านหมายเลข 1669, 1646
เพื่อจัดให้มีชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (Advanced Life Support) หรือชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นฐาน (Basic Life Support) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 13 จุด (เดิม 12 จุด เพิ่มใหม่ 1 จุด) โดยชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินประกอบด้วยบุคลากร ดังนี้ 1. พยาบาลวิชาชีพหรือนักฉุกเฉินการแพทย์ จำนวน 1 คน ต่อผลัด สำหรับชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินระดับสูง (Advanced Life Support) 2. เวชกรฉุกเฉินระดับพื้นฐานหรือพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ หรือพนักงานช่วยเหลือคนไข้ หรือลูกจ้างที่ผ่านการอบรมเวชกรฉุกเฉินระดับพื้นฐานหรือหลักสูตรพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ จำนวน 2 คน ต่อผลัด 3. พนักงานขับรถยนต์ หรือเจ้าหน้าที่เวชกรฉุกเฉินระดับพื้นฐานทำหน้าที่พนักงานขับรถยนต์ หรือพนักงานขับรถยนต์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเวชกรฉุกเฉินระดับพื้นฐานหรือหลักสูตรปฏิบัติการแพทย์ขั้นพื้นฐาน และช่วยปฏิบัติการแพทย์ขั้นสูง จำนวน 1 คน ต่อผลัด โดยปฏิบัติงานเป็นผลัดๆ ละ 8 ชั่วโมง รวมวันละ 3 ผลัด (รายละเอียดตามเอกสารแนบ)
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-15)
15/09/2566 : โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร สถิติการออกปฏิบัติการแยกตามจุดจอด (จำนวนครั้ง) 1. จุดจอดโยธา 179 ครั้ง 2. จุดจอดตลิ่งชัน 136 ครั้ง 3. จุดจอดรามอินทรา 194 ครั้ง 4. จุดจอดลาดพร้าว 181 ครั้ง 5. จุดจอดบางนา 115 ครั้ง 6. จุดจอดวังทองหลาง 131 ครั้ง 7. จุดจอดทุ่งครุ 115 ครั้ง 8. จุดจอดคลองสามวา 126 ครั้ง 9. จุดจอดบางขุนเทียน 89 ครั้ง 10. จุดจอดวัดวิมุตยาราม 111 ครั้ง 11. จุดจอดบางบอน (เปิด 11 ม.ค.65) 111 ครั้ง 12. จุดจอดสะพานสูง (เปิด 11 ก.พ.65) 110 ครั้ง 13. จุดจอดบึงหนองบอน (เปิด 19 ธ.ค.65) 82 ครั้ง เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร ประจำเดือน สิงหาคม 2566 (2,724,500 บาท)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 88.00 (2023-08-21)
21/08/2566 : โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร สถิติการออกปฏิบัติการแยกตามจุดจอด (จำนวนครั้ง) 1. จุดจอดโยธา 139 ครั้ง 2. จุดจอดตลิ่งชัน 143 ครั้ง 3. จุดจอดรามอินทรา 159 ครั้ง 4. จุดจอดลาดพร้าว 107 ครั้ง 5. จุดจอดบางนา 164 ครั้ง 6. จุดจอดวังทองหลาง 103 ครั้ง 7. จุดจอดทุ่งครุ 108 ครั้ง 8. จุดจอดคลองสามวา 111 ครั้ง 9. จุดจอดบางขุนเทียน 77 ครั้ง 10. จุดจอดวัดวิมุตยาราม 110 ครั้ง 11. จุดจอดบางบอน (เปิด 11 ม.ค.65) 91 ครั้ง 12. จุดจอดสะพานสูง (เปิด 11 ก.พ.65) 97 ครั้ง 13. จุดจอดบึงหนองบอน (เปิด 19 ธ.ค.65) 59 ครั้ง เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร ประจำเดือน มิถุนายน 2566 (257,010 บาท) อยู่ระหว่างเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร ประจำเดือน กรกฎาคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 86.00 (2023-07-24)
24/07/2566 : โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร สถิติการออกปฏิบัติการแยกตามจุดจอด (จำนวนครั้ง) 1. จุดจอดโยธา 165 ครั้ง 2. จุดจอดตลิ่งชัน 147 ครั้ง 3. จุดจอดรามอินทรา 208 ครั้ง 4. จุดจอดลาดพร้าว 163 ครั้ง 5. จุดจอดบางนา 116 ครั้ง 6. จุดจอดวังทองหลาง 128 ครั้ง 7. จุดจอดทุ่งครุ 108 ครั้ง 8. จุดจอดคลองสามวา 102 ครั้ง 9. จุดจอดบางขุนเทียน 99 ครั้ง 10. จุดจอดวัดวิมุตยาราม 116 ครั้ง 11. จุดจอดบางบอน (เปิด 11 ม.ค.65) 117 ครั้ง 12. จุดจอดสะพานสูง (เปิด 11 ก.พ.65) 121 ครั้ง 13. จุดจอดบึงหนองบอน (เปิด 19 ธ.ค.65) 91 ครั้ง เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร ประจำเดือน เมษายน 2566 (198,450 บาท) อยู่ระหว่างเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร ประจำเดือน พฤษภาคม - มิถุนายน 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 87.00 (2023-06-22)
22/06/2566 : โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร สถิติการออกปฏิบัติการแยกตามจุดจอด (จำนวนครั้ง) 1. จุดจอดโยธา 218 ครั้ง 2. จุดจอดตลิ่งชัน 178 ครั้ง 3. จุดจอดรามอินทรา 208 ครั้ง 4. จุดจอดลาดพร้าว 191 ครั้ง 5. จุดจอดบางนา 156 ครั้ง 6. จุดจอดวังทองหลาง 137 ครั้ง 7. จุดจอดทุ่งครุ 136 ครั้ง 8. จุดจอดคลองสามวา 139 ครั้ง 9. จุดจอดบางขุนเทียน 119 ครั้ง 10. จุดจอดวัดวิมุตยาราม 158 ครั้ง 11. จุดจอดบางบอน (เปิด 11 ม.ค.65) 166 ครั้ง 12. จุดจอดสะพานสูง (เปิด 11 ก.พ.65) 131 ครั้ง 13. จุดจอดบึงหนองบอน (เปิด 19 ธ.ค.65) 115 ครั้ง เบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร ประจำเดือน เมษายน 2566 (198,450 บาท) อยู่ระหว่างเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร ประจำเดือน พฤษภาคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-05-23)
23/05/2566 : โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร สถิติการออกปฏิบัติการแยกตามจุดจอด (จำนวนครั้ง) 1. จุดจอดโยธา 196 ครั้ง 2. จุดจอดตลิ่งชัน 130 ครั้ง 3. จุดจอดรามอินทรา 188 ครั้ง 4. จุดจอดลาดพร้าว 144 ครั้ง 5. จุดจอดบางนา 141 ครั้ง 6. จุดจอดวังทองหลาง 110 ครั้ง 7. จุดจอดทุ่งครุ 114 ครั้ง 8. จุดจอดคลองสามวา 103 ครั้ง 9. จุดจอดบางขุนเทียน 85 ครั้ง 10. จุดจอดวัดวิมุตยาราม 109 ครั้ง 11. จุดจอดบางบอน (เปิด 11 ม.ค.65) 130 ครั้ง 12. จุดจอดสะพานสูง (เปิด 11 ก.พ.65) 100 ครั้ง 13. จุดจอดบึงหนองบอน (เปิด 19 ธ.ค.65) 103 ครั้ง อยู่ระหว่างเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร ประจำเดือน มีนาคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 82.00 (2023-04-24)
24/04/2566 : โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร สถิติการออกปฏิบัติการแยกตามจุดจอด (จำนวนครั้ง) 1. จุดจอดโยธา 157 ครั้ง 2. จุดจอดตลิ่งชัน 136 ครั้ง 3. จุดจอดรามอินทรา 181 ครั้ง 4. จุดจอดลาดพร้าว 120 ครั้ง 5. จุดจอดบางนา 126 ครั้ง 6. จุดจอดวังทองหลาง 110 ครั้ง 7. จุดจอดทุ่งครุ 102 ครั้ง 8. จุดจอดคลองสามวา 98 ครั้ง 9. จุดจอดบางขุนเทียน 80 ครั้ง 10. จุดจอดวัดวิมุตยาราม 116 ครั้ง 11. จุดจอดบางบอน (เปิด 11 ม.ค.65) 95 ครั้ง 12. จุดจอดสะพานสูง (เปิด 11 ก.พ.65) 119 ครั้ง 13. จุดจอดบึงหนองบอน (เปิด 19 ธ.ค.65) 106 ครั้ง *ค่าเบิกจ่ายตอบแทนบุคลากร (ประจำเดือน ก.พ.66) ยอด 2,364,460 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-03-23)
23/03/2566 : โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร สถิติการออกปฏิบัติการแยกตามจุดจอด (จำนวนครั้ง) 1. จุดจอดโยธา 142 ครั้ง 2. จุดจอดตลิ่งชัน 132 ครั้ง 3. จุดจอดรามอินทรา 130 ครั้ง 4. จุดจอดลาดพร้าว 120 ครั้ง 5. จุดจอดบางนา 150 ครั้ง 6. จุดจอดวังทองหลาง 95 ครั้ง 7. จุดจอดทุ่งครุ 89 ครั้ง 8. จุดจอดคลองสามวา 99 ครั้ง 9. จุดจอดบางขุนเทียน 76 ครั้ง 10. จุดจอดวัดวิมุตยาราม 109 ครั้ง 11. จุดจอดบางบอน (เปิด 11 ม.ค.65) 92 ครั้ง 12. จุดจอดสะพานสูง (เปิด 11 ก.พ.65) 86 ครั้ง 13. จุดจอดบึงหนองบอน (เปิด 19 ธ.ค.65) 81 ครั้ง อยู่ระหว่างเบิกจ่ายค่าตอบแทนบุคลากร ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 76.00 (2023-02-23)
23/02/2566 : เบิกจ่ายค่าตอบแทนให้แก่บุคลากร ประจำเดือน มกราคม 2566 ยอด 2,611,890 บาท
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-01-26)
26/01/2566 : เบิกจ่ายค่าตอบแทนให้แก่บุคลากร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2022-12-29)
20/10/2565 : เบิกจ่ายค่าตอบแทนให้แก่บุคลากรทุกเดือน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉินที่ขอรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินขั้นสูง (Advance) สามารถได้รับบริการภายใน ๑๐ นาที และส่วนของขั้นพื้นฐาน (Basic) สามารถได้รับบริการภายใน ๑๕ นาที (ปี 2566)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 0
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 21.54
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **