ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
โรงพยาบาลกลาง
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
การป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ นับเป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่งของสถานพยาบาล ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ปัญหาการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศในสถานพยาบาลมีมากขึ้น ได้แก่ การเกิดโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อทางอากาศได้นอกจากนั้น ในเรื่องของโครงสร้างอาคารสถานพยาบาลที่ไม่เอื้อต่อการระบายอากาศได้อย่างเพียงพอ การใช้เครื่องปรับอากาศในพื้นที่สำหรับดูแลผู้ป่วยที่มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อ โดยไม่มีการกรองหรือระบายอากาศ ตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างเหมาะสม ก็เป็นส่วนเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อในสถานพยาบาลได้ห้องศัลยกรรมผ่าตัดถือเป็นหน่วยงานสำคัญของโรงพยาบาลกลาง ที่ใช้งานสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วย ทั้งด้านศัลยกรรม ศัลยกรรมกระดูก สูตินรีเวชวิทยา โสต ศอ นาสิก จักษุวิทยา อายุรกรรม ระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร วิสัญญีวิทยาและห้องผ่าตัด โรงพยาบาลกลาง ได้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของทั้งกับบุคลากรและผู้เข้ารับบริการ เนื่องด้วยการตรวจรักษาทางศัลยกรรมมีความแตกต่างจากแพทย์สาขาอื่น คือ ผู้ป่วยและแพทย์ต้องมีการสัมผัสใกล้ชิดในขั้นตอนของการตรวจรักษา ศัลยแพทย์และทีมผ่าตัดต้องสัมผัสกับเนื้อเยื่อ เลือด และสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยตลอดเวลาที่ผ่าตัด การดมยาสลบจะทำให้เกิดละอองฝอยขนาดเล็กลอยในอากาศที่เรียกว่า Aerosol ห้องศัลยกรรมผ่าตัดจึงเพิ่มมาตรการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสโรคทุกขั้นตอนในการตรวจรักษาผู้ป่วยทุกคน และมีมาตรฐานการป้องกันการสัมผัสเชื้อไวรัสตามระดับความเสี่ยงตามแนวปฏิบัติของกรมการแพทย์ ในการทำหัตถการและการผ่าตัดในสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีการออกแบบห้องผ่าตัดเพื่อลดการสะสมเชื้อโรค ให้ได้มาตรฐานใกล้เคียงกับห้องผ่าตัดที่ใช้ผ่าตัดโรคที่มีการแพร่กระจายทางระบบทางเดินหายใจ เช่น วัณโรค อากาศที่ไหลวนกลับเข้ามาใช้ใหม่ในห้องผ่าตัด ควรผ่านแผ่นกรองประสิทธิภาพสูง (High-efficiency particulate air filter, HEPA filter) ในปัจจุบันห้องศัลยกรรมผ่าตัด โรงพยาบาลกลางเปิดใช้อย่างต่อเนื่องมากกว่า 20 ปี ได้รองรับผู้ใช้บริการมากกว่า 200,000 ราย และรับส่งต่อผู้ป่วยในกรุงเทพมหานคร มีจำนวนผู้ป่วยใช้บริการมากกว่า 10,000 ราย/ปี ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อผู้ป่วยและพบว่ามีอัตราการรอคอยการผ่าตัดมากกว่า 3 เดือน จากปัญหาในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ระบบการปรับอากาศและระบายอากาศ ระบบโครงสร้างที่เสื่อมโทรมและชำรุด ทั้งฝ้า เพดาน พื้นห้องผ่าตัด จึงก่อให้เกิดปัญหาตามมา คือ เรื่องการติดเชื้อ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องดำเนินการแก้ไขเรื่อยมา ประกอบกับการอุบัติกาณ์ของโรคไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้โรงพยาบาลมีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุงห้องศัลยกรรมผ่าตัดของโรงพยาบาลในครั้งนี้ เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ/การติดเชื้อในห้องผ่าตัด นอกจากนี้ทางห้องผ่าตัด จะพัฒนาสู่ห้องผ่าตัดแบบผ่าตัดที่ซับซ้อน การผ่าตัดผ่านกล้อง การผ่าตัดแบบแผลเล็ก การผ่าตัดแบบผสมผสานหรือการผ่าตัดแบบไฮบริด เพื่อพัฒนาสู่ศูนย์ความเป็นเลิศในด้านต่างๆ รวมทั้งมีการบริการที่มีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนผู้มารับบริการ
07050000/07050000
2.1 เพื่อให้ผู้ป่วยที่ต้องผ่าตัด ได้รับการบริการอย่างรวดเร็วปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ 2.2 เพื่อลดการติดเชื้อของผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด 2.3 เพื่อพัฒนาสู่ศูนย์ความเป็นเลิศในด้านการผ่าตัดแขนงต่าง ๆ 2.4 เพื่อพัฒนามาตรฐานห้องผ่าตัด ลดการสะสมเชื้อโรคและการแพร่กระจายโรคทางระบบทางเดินหายใจ
ปรับปรุงห้องผ่าตัดชั้น 5 โรงพยาบาลกลาง ให้มีประสิทธิภาพ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรักษาสู่ความเป็นเลิศในด้านการผ่าตัดแขนงต่าง ๆ
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-29)
29/09/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 32.00 (2023-08-27)
27/08/2566 : 1. บริษัท วอล์คเกอร์ เอสเตท จำกัด ได้ส่งมอบงานปรับปรุงห้องผ่าตัดโรงพยาบาลกลาง ครั้งที่ 1 จำนวน 32 งวด เป็นเงินทั้งสิ้น 8,977,376.64 บาท (แปดล้านเก้าแสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันสามร้อยเจ็ดสิบหกบาทหกสิบสี่สตางค์) เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจรับงานดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2566 เบิกจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว 2. บริษัท วอล์คเกอร์ เอสเตท จำกัด ได้ส่งมอบงานปรับปรุงห้องผ่าตัดโรงพยาบาลกลาง ครั้งที่ 2 จำนวน 26 งวด เป็นเงินทั้งสิ้น 7,635,766.11 บาท (เจ็ดล้านหกแสนสามหมื่นห้าพันเจ็ดร้อยหกสิบหกบาทสิบเอ็ดสตางค์) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจรับงานดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 ซึ่งส่งฎีกาเบิกเงิน 4,502,623.36 บาท ส่วนที่เหลือ 3,133,142.75 บาท อยู่ระหว่างจัดสรรเงิน 3. ความก้าวหน้าโครงการงานปรับปรุงห้องผ่าตัดรพ.กลาง (ตามเอกสารแนบ) แผนงาน 54.88 % ผลงาน 32.08 % ช้ากว่าแผน - 22.88 %
** ปัญหาของโครงการ :ต้องหยุดทำงานในบางช่วงโดยรพ.แจ้งให้หยุดทำงานสกัดรื้อถอนผนัง ซึ่งมีเสียงดังทำให้แพทย์ตรวจคนไข้ไม่ได้
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-07-25)
25/07/2566 : 1. บริษัท วอล์คเกอร์ เอสเตท จำกัด ได้ส่งมอบงานปรับปรุงห้องผ่าตัดโรงพยาบาลกลาง ครั้งที่ 1 จำนวน 32 งวด เป็นเงินทั้งสิ้น 8,977,376.64 บาท (แปดล้านเก้าแสนเจ็ดหมื่นเจ็ดพันสามร้อยเจ็ดสิบ- หกบาทหกสิบสี่สตางค์) เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจรับงานดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2566 เบิกจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว 2. บริษัท วอล์คเกอร์ เอสเตท จำกัด ได้ส่งมอบงานปรับปรุงห้องผ่าตัดโรงพยาบาลกลาง ครั้งที่ 2 จำนวน 26 งวด เป็นเงินทั้งสิ้น 7,635,766.11 บาท (เจ็ดล้านหกแสนสามหมื่นห้าพันเจ็ดร้อยหกสิบหกบาทสิบเอ็ดสตางค์) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจรับงานดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 ซึ่งส่งฎีกาเบิกเงิน 4,502,623.36 บาท ส่วนที่เหลือ 3,133,142.75 บาท อยู่ระหว่างจัดสรรเงิน การดำเนินงานตามแผน 46.61 % ผลงานที่ทำได้ 29.24 % ช้า-17.37 %
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-06-26)
26/06/2566 : ผลการดำเนินการโครงการปรับปรุงห้องผ่าตัดโรงพยาบาลกลาง โดยผลการดำเนินการ ผลงานสะสม คิดเป็นร้อยละ 38.88% - การดำเนินการโครงการปรับปรุงห้องผ่าตัดโรงพยาบาลกลาง แผนงานสะสมคิดเป็นร้อยละ 26.88% - การดำเนินการโครงการปรับปรุงห้องผ่าตัดโรงพยาบาลกลาง ช้ากว่าแผนงานที่ตั้งเป้าหมายไว้ คิดเป็นร้อยละ 11.38% นอกจากนี้ ฝ่ายพัสดุ ดำเนินการส่งเอกสาร เพื่อขอเบิกเงินรายจ่ายตามงบประมาณ แหล่งเงิน งบ กทม.ประเภทรายจ่าย ประจำประเภทงบลงทุน ไปยังฝ่ายงบประมาณการเงินและบัญชี อยู่ระหว่างตรวจสอบเอกสารเบิกจ่าย ครั้งที่ 1
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 29.00 (2023-05-27)
27/05/2566 : ผลการดำเนินการโครงการปรับปรุงห้องผ่าตัดโรงพยาบาลกลาง โดยผลการดำเนินการ ผลงานสะสม คิดเป็นร้อยละ 20.93% - การดำเนินการโครงการปรับปรุงห้องผ่าตัดโรงพยาบาลกลาง แผนงานสะสมคิดเป็นร้อยละ 29.64% - การดำเนินการโครงการปรับปรุงห้องผ่าตัดโรงพยาบาลกลาง ช้ากว่าแผนงานที่ตั้งเป้าหมายไว้ คิดเป็นร้อยละ 8.71%
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 27.00 (2023-04-23)
23/04/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุ ห้องผ่าตัด ผลงานสะสม 17.16% แผนงานสะสม 19.38% ช้า 2.22% คิดเป็น 12 วัน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 26.00 (2023-03-28)
28/03/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ 1. ผลการดำเนินงาน 1.1 งานรื้อถอน 44.30 % (พื้นที่โซน 1 แล้วเสร็จ) 1.2 งานสถาปัตย์ ดำเนินการได้ 0.50 % 1.3 งานระบบสุขาภิบาล ดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย ดำเนินการได้ 22.90 % 1.4 งานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร ดำเนินการได้ 16.50 % 1.5 งานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ ดำเนินการได้ 6.75 % 1.6 งานระบบเครื่องกลและระบบพิเศษอื่นๆ ดำเนินการได้ 13.85 %
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : 1.งานที่ทำเสร็จ=ติดตั้งท่อสปริงเกอร์ 2.งานที่กำลังดำเนินการแต่ยังไม่แล้วเสร็จได้แก่ - ติดตั้งสายไฟและระบบsupportไฟฟ้า -ติดตั้งท่อน้ำระบบสุขาภิบาล -ติดตั้งระบบปรับอากาศ(ท่อทองแดง,ท่อน้ำยา,ฉนวนหุ้มท่อลม) -ก่อผนัง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2023-01-29)
29/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการรื้อถอน และดำเนินการติดตั้งท่อสปริงเกอร์ ,ติดตั้งสายไฟ,งานติดตั้งท่อทองแดง ระบบเครื่องปรับอากาศ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2022-12-30)
30/12/2565 : อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงห้องผ่าตัด โดยมีการประชุมหารือร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการโรงพยาบาลกลาง ฝ่ายงานโยธา และผู้จ้างเหมา เพื่อติดตามความก้าวหน้า และวางแผนการทำงานระหว่างกัน ในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : จำนวนโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ที่มีการพัฒนาศักยภาพ ในระดับที่สูงขึ้น (ปี 2566)
ค่าเป้าหมาย แห่ง : 3
ผลงานที่ทำได้ แห่ง : 2
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **