ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการศูนย์ โสต ศอ นาสิก พื้นที่กรุงเทพตะวันออก : 07000000-7228

สำนักการแพทย์ : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

นางสาววนศรี ไพศาลตันติวงศ์ โทร 10253

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน พ.ศ. 2564 ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (aged society) แล้วซึ่งโครงสร้างของประชากรมีแนวโน้มแสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามรายงานกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งพบว่าจำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2563 ทั้งสิ้นมากกว่า ๑๒ ล้านคนเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.24 ของประชากรทั้งหมด และจะเพิ่มเป็นร้อยละ ๒๐ ของประชากรทั้งหมดในพ.ศ. 2564 โดยคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2574 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด คือมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้ผลการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ทั้งสิ้น 10,014,705 คน เป็นสัดส่วนร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งหมดเป็นผู้สูงอายุที่มีการบกพร่องการได้ยินโดยได้ยินชัดเจนเมื่อต้องใส่เครื่องช่วยฟัง ร้อยละ 2.8 ได้ยินไม่ชัดเจน ร้อยละ 11.7 และไม่ได้ยินเสียงเลย ร้อยละ 0.3 ของผู้สูงอายุทั้งหมด โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ได้เปิดบริการคลินิกตรวจการได้ยิน ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 มีจำนวนผู้รับบริการตรวจการได้ยินโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2556 – 2559 เป็น 719.0 ราย (ปี 2556 จำนวน 665 ราย ปี 2557 จำนวน 631 ราย ปี 2558 จำนวน 861 ราย) และพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจแล้วได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้มีความพิการทางการได้ยินซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟังโดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2556 – 2559 เป็น 69.67 ราย (ปี 2556 จำนวน 96 ราย ปี 2557 จำนวน 46 ราย ปี 2558 จำนวน 67 ราย) โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ทั้งนี้มีแนวโน้มที่จะตรวจพบผู้สูงอายุที่เป็นผู้มีความพิการทางการได้ยินซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟังเพิ่มขึ้นในอนาคต จากนโยบายการพัฒนาของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 ซึ่งประกอบด้วยการทำให้กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งความสุขมากขึ้น โดยดำเนินการทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีมากขึ้นซึ่งรวมถึงการดูแลผู้สูงอายุครบวงจรด้วย นอกจากนี้นโยบายการบริหารงานสำนักการแพทย์ ปี 2559 ยังรวมถึงการเพิ่มศักยภาพโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ให้เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูงและตติยภูมิด้วย ตลอดจนพันธกิจของสำนักการแพทย์ในการเป็นผู้นำในการจัดเครือข่ายบริการทางการแทพย์และสาธารณสุขที่มีมาตรฐานระดับสากลโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งรวมถึงการฟื้นฟูสุขภาพด้วย ดังที่กล่าวมาในข้างต้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะต้องมีการพัฒนางานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินในผู้สูงอายุของโรงพยาบาลสิรินธรซึ่งแต่เดิมมีการเปิดให้บริการตรวจระดับการได้ยิน (audiogram) ในผู้ป่วยที่มีภาวะการได้ยินที่ผิดปกติและตรวจการตอบสนองการได้ยินระดับก้านสมอง (auditory brainstem response: ABR) โดยนักเวชศาสตร์สื่อความหมายทั้งตำแหน่งข้าราชการและบุคคลภายนอก ตลอดจนการให้การวินิจฉัยโดยโสต ศอ นาสิกแพทย์ และรับการส่งต่อจากโรงพยาบาลใกล้เคียง โดยนอกจากนี้ยังมีความจำเป็นที่จะต้องดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการการวินิจฉัยว่าเป็นผู้มีความพิการทางการได้ยินที่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟังให้เป็นไปตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์การเบิกจ่าย ทั้งนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟังจะต้องส่งต่อผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินไปยังสถานพยาบาลอื่น ๆ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจะต้องมีการพัฒนางานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดให้บริการผู้ป่วยผู้สูงอายุที่เป็นผู้มีความพิการทางการได้ยินซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟังให้สามารถรับเครื่องช่วยฟังและรับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินอย่างเหมาะสม โดยปัจจุบันในแถบกรุงเทพตะวันออก จำนวนโรงพยาบาลของรัฐที่ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินยังคงมีน้อยทำให้ผู้ป่วยต้องเดินทางเข้าไปทำการรักษากับโรงพยาบาลที่มีศักยภาพในตัวเมืองกรุงเทพมหานคร ทำให้มีระยะเวลารอคอยการรักษาที่นาน เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์และสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ในอนาคตอันใกล้และเป็นไปตามนโยบายการพัฒนาของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 และนโยบายการบริหารงานสำนักการแพทย์และพันธกิจของสำนักการแพทย์ต่อไป นอกจากนี้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในประเทศจีน และมีการแพร่ระบาดใหญ่ไปในหลายประเทศทั่วโลก (Pandemic) (ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก, 11 มีนาคม 2563) ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงในประเทศไทยตามมา โดยอาการของโรค คือ มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งถือเป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (Emerging infectious disease) ของระบบทางเดินหายใจที่มีการแพร่กระจายเชื้อผ่านฝอยละอองขนาดเล็ก การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศในสถานพยาบาลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการ โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ เป็นสถานพยาบาลที่ต้องให้การดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) นับเป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่งของโรงพยาบาล และในสถานการณ์ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และห้องตรวจผู้ป่วยนอกโสต ศอ นาสิก มีภารกิจในการให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาและทำหัตถการของผู้ป่วยทางโสต ศอ นาสิก โดยการตรวจรักษาดังกล่าวมีการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยและมีลักษณะเป็นหัตถการที่ก่อให้เกิดละอองฝอย (aerosol generating procedures) ดังนั้นกลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลสิรินธรได้เล็งเห็นความสำคัญของการเพิ่มศักยภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน ปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้ป่วยและบุคลากรภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) โดยการเพิ่มเครื่องมือตรวจวินิจฉัยและทำหัตถการทางการแพทย์ ได้แก่ กล้องส่องตรวจและถ่ายทอดสัญญาณภาพสำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคทางเดินหายใจส่วนต้นพร้อมกล้องส่องตรวจชนิดเคลื่อนย้ายได้ เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาถูกเป็นไปตามมาตรฐานและถูกต้องตามหลักการป้องกันการติดเชื้อสู่ผู้ป่วยและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานทั้งจากการแพร่กระจายทางการสัมผัสสารคัดหลั่งและทางอากาศ

07140000/07140000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เป้าหมายของโครงการ

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
๑.๕ - สิ่งก่อสร้างปลอดภัย
๑.๕.๑ กรุงเทพมหานครมีความปลอดภัยต่อการใช้งานอาคารสาธารณะ ปลอดจากอุบัติภัยจาก สิ่งปลูกส%
๑.๕.๑.๑ ลดจำนวนอุบัติภัยอันเกิดจากสิ่งก่อสร้างประเภทอาคาร

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-19)

100.00

19/09/2566 : รับส่งต่อผู้ป่วยจากสถานพยาบาลอื่นๆ 1 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2566 ร้อยละ 8.86 ของผู้ป่วยทางโสต ศอ นาสิกทั้งหมด โดยยอดผู้ป่วยรับส่งต่อ 223 ราย (ยอดผู้ป่วยทั้งหมด 2,518 ราย)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-08-17)

50.00

17/08/2566 : รับส่งต่อผู้ป่วยจากสถานพยาบาลอื่นๆ เมษายน - มิถุนายน 2566 ร้อยละ 9.45 ของผู้ป่วยทางโสต ศอ นาสิกทั้งหมด โดยยอดผู้ป่วยรับส่งต่อ 446 ราย (ยอดผู้ป่วยทั้งหมด 4,719 ราย)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-07-19)

50.00

19/07/2566 : 1. เข้าร่วมโครงการการนัดหมายผู้ป่วยจากศูนย์บริการสาธารณสุขและคลินิกส่งต่อ 2. ประสานการส่งต่อผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้วมีอาการคงที่เพื่อรับการรักษาต่อสถานพยาบาลตามสิทธิใกล้ภูมิลำเนาผู้ป่วย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-06-26)

50.00

26/06/2566 : รับส่งต่อผู้ป่วยจากสถานพยาบาลอื่นๆ มกราคม - มีนาคม 2566 ร้อยละ 9.38 ของผู้ป่วยทางโสต ศอ นาสิกทั้งหมด โดยยอดผู้ป่วยรับส่งต่อ 372 ราย (ยอดผู้ป่วยทั้งหมด 3,966 ราย)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-05-19)

50.00

19/05/2566 : 1. เข้าร่วมโครงการการนัดหมายผู้ป่วยจากศูนย์บริการสาธารณสุขและคลินิกส่งต่อ 2. ประสานการส่งต่อผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้วมีอาการคงที่เพื่อรับการรักษาต่อสถานพยาบาลตามสิทธิใกล้ภูมิลำเนาผู้ป่วย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-19)

50.00

19/04/2566 : รับส่งต่อผู้ป่วยจากสถานพยาบาลอื่นๆ ตุลาคม - ธันวาคม 2566 ร้อยละ 6.95 ของผู้ป่วยทางโสต ศอ นาสิกทั้งหมด โดยยอดผู้ป่วยรับส่งต่อ 300 ราย (ยอดผู้ป่วยทั้งหมด 4,316 ราย)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-03-22)

50.00

เปิดให้บริการวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.00 -16.00 น. ณ คลินิกโสต ศอ นาสิก ชั้น 2 อาคารบริการ โรงพยาบาลสิรินธร

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-21)

10.00

21/02/2566 : ประสานการส่งต่อผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแล้วมีอาการคงที่เพื่อรับการรักษาต่อสถานพยาบาลตามสิทธิใกล้ภูมิลำเนาผู้ป่วย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-20)

20.00

20/01/2566 : เข้าร่วมโครงการการนัดหมายผู้ป่วยจากศูนย์บริการสาธารณสุขและคลินิกส่งต่อ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2022-12-29)

20.00

อยู่ระหว่างการหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อจัดทำแผนการดำเนินโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:เสนอขออนุมัติโครงการจัดประชุมคณะกรรมการ
:20.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:ดำเนินการจัดซื้อตามระเบียบพัสดุ
:10.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:ดำเนินการอย่างมีระบบ
:50.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:สรุปผลการดำเนินงานเสนอต่อผู้บริหาร
:20.00%
เริ่มต้น :2023-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 07000000-7228

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 07000000-7228

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0700-910

ตัวชี้วัด : จำนวนศูนย์/โครงการที่ดำเนินการสำเร็จ (ปี 2566)

ค่าเป้าหมาย ศูนย์/โครงการ : 3

ผลงานที่ทำได้ ศูนย์/โครงการ : 10

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
( ศูนย์/โครงการ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
2.00

100 / 100
2
2.00

0 / 0
3
5.00

0 / 0
4
10.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **