ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 47
โรงพยาบาลกลาง
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการให้บริการตรวจรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน การจัดการศึกษา ฝึกอบรมและพัฒนาทางวิชาการแพทย์และการพยาบาล โดยมีโรงพยาบาลในสังกัดทั้งสิ้น 11 แห่ง ให้บริการด้านการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ทำหน้าที่บริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน และให้บริการสายด่วนทางการแพทย์ เป็นศูนย์กลางประสานงานและพัฒนาเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งในสถานการณ์ปกติและกรณีสาธารณภัย อุบัติเหตุ อุบัติภัย และวินาศกรรม รวมถึงภัยจากการก่อการร้าย ศึกษา วิจัย จัดทำสถิติข้อมูลและสารสนเทศ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยในปีงบประมาณพ.ศ.2562 มีสถิติการให้ความช่วยเหลือรวมทั้งสิ้น จำนวน 80,247 ครั้ง (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2562) รวมถึงหน่วยงานสนับสนุน คือ สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ และสำนักงานเลขานุการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน จัดทำแผนโครงการและงบประมาณของสำนักการแพทย์ กำกับติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาสาธารณสุข สร้างระบบเครือข่ายสาธารณสุข กำหนดนโยบายและบริหารจัดการเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ตลอดจนการสรรหาและพัฒนาบุคคลทั้งในและนอกสังกัดสำนักการแพทย์ ให้บริการ พิจารณาโครงการและผลงานทางวิชาการ ค้นคว้า เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีอัตรากำลังข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราว รวมทั้งสิ้น 7,472 คน ในปีงบประมาณ 2562 โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร มีหน้าที่ดูแลประชาชนในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ และเขตวัฒนา ได้ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคผู้ป่วยนอก รวมทั้งผู้ป่วยฉุกเฉิน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 677,308 ครั้ง คิดเป็น ผู้ป่วยชายร้อยละ 39.28 ผู้ป่วยหญิงร้อยละ 60.72 จำแนกเป็นผู้ป่วยเก่าร้อยละ 85.81 ผู้ป่วยใหม่ร้อยละ 14.19 จำแนกการให้บริการผู้ป่วยในเขตกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 78.28 และอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 21.72 โดยเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในเขตป้อมปราบฯ มีจำนวนมากที่สุด ผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำนวน 144,687 คน สิทธิประกันสังคม จำนวน 62,473 คน สิทธิเบิกจ่ายตรง จำนวน 109,898 คน ทั้งนี้ สถิติการให้บริการผู้ป่วยนอก พบว่า ปี พ.ศ. 2560 จำนวน 655,100 คน พ.ศ.2561 จำนวน 681,995 คน พ.ศ.2562 จำนวน 677,308 คน และสถิติการให้บริการผู้ป่วยใน ปี พ.ศ. 2560 จำนวน 15,426 คน พ.ศ. 2561 จำนวน 16,637 คน พ.ศ. 2562 จำนวน 15,851 คน โดยเป็นผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนของโรคเพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น โรงพยาบาลกลางได้เพิ่มศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล ทั้งศักยภาพในด้านการดูแลรักษาคนไข้ ด้านวิทยาการความก้าวหน้าทางการแพทย์ใหม่ๆ อีกทั้งแผนการให้บริการที่เป็นเลิศ สะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ อาทิ การเพิ่มจำนวนห้องตรวจ การลดขั้นตอนการรับบริการเป็นจุดบริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) จากแนวโน้มจำนวนผู้รับบริการทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาที่ผ่านมา ประกอบกับผู้บริหารกรุงเทพมหานครได้เห็นความสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาความเป็นเลิศทางการแพทย์ในระดับสากล เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเล็งเห็นถึงการขยายศักยภาพการให้บริการของโรงพยาบาลเพื่อลดความแออัด ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ รวมถึงได้รับบริการการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทันท่วงที ระยะเวลาที่ผ่านมา โรงพยาบาลกลางได้สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ของสำนักการแพทย์มาโดยตลอด ซึ่งประกอบด้วย 1.) ศูนย์จักษุวิทยา 2.) ศูนย์โรคกระดูกและข้อ 3.) ศูนย์รักษาและผ่าตัดผ่านกล้อง และ 4.) ศูนย์ส่องกล้องและผ่าตัดผ่านกล้องระบบทางเดินอาหาร ปัจจุบันได้มีการประเมินศักยภาพของศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการติดตามการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการให้บริการอันเป็นหลักประกันให้กับประชาชนผู้มารับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขว่าได้รับบริการที่ดีจากหน่วยงานที่ได้มาตรฐานเทียบได้กับสถาบันชั้นนำระดับประเทศ ปัจจุบันที่ตั้งสำนักการแพทย์ ซึ่งบริเวณโดยรอบประกอบด้วยอาคารสำนักการแพทย์ ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) อาคารหอพักพยาบาล รวมถึงตึกเอื้อประชาในความดูแลของโรงพยาบาลกลาง มีพื้นที่ในการปฏิบัติงานจำกัด พื้นที่การใช้งานส่วนรวมคับแคบ ส่งผลต่อการมาติดต่อราชการจากส่วนราชการต่าง ๆ รวมถึงประชาชนผู้รับบริการ อีกทั้งโครงสร้างอาคารเดิมไม่เหมาะสมต่อบริบทงานที่มีเพิ่มมากขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปในการแก้ไขปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่ให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงอาคารตึกเอื้อประชา เป็นอาคารหอพักพยาบาล ก่อสร้างมานาน สภาพพื้นที่แออัด คับแคบ ไม่สะดวก สภาพโครงสร้างชำรุด มีความเสื่อมสภาพของระบบสาธารณูปโภคในอาคาร และนอกจากนี้พื้นที่การให้บริการยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญ ซึ่งปัจจุบันอาคารอนุสรณ์ 100 ปี โรงพยาบาลกลางได้ให้บริการเต็มพื้นที่ ไม่สามารถพัฒนาเพื่อให้บริการมากขึ้น อาทิศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ Laparoscopic and endoscopic ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จมะเร็ง ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จโรคทางจักษุและหู คอ จมูก มีสภาพพื้นที่ให้บริการที่แออัด คับแคบ ไม่ได้รับความสะดวกและไม่สอดคล้องกับปริมาณผู้มาใช้บริการที่เพิ่มมากขึ้น การให้ความสำคัญกับคุณภาพอากาศ (Indoor Air Quality: IAQ) ตลอดจนระบบระบายอากาศภายในอาคาร โดยเฉพาะการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การบริการมีขีดจำกัด เกิดการชะลอตัวและไม่ลื่นไหล ผู้ใช้บริการไม่ได้รับความพึงพอใจ เกิดข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสถานที่การให้บริการเสมอ ทำให้ผู้ใช้บริการและบุคลากรขาดความเชื่อมั่นศักยภาพโรงพยาบาล ด้วยเหตุผลความจำเป็นดังกล่าว โรงพยาบาลกลางจึงได้วางแผนพัฒนาศักยภาพพื้นที่ใช้สอยเพื่อให้เกิดอรรถประโยชน์อย่างคุ้มค่า โดยการก่อสร้างอาคารศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกลาง หอพักบุคลากร อาคารสำนักการแพทย์ ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานสำนักการแพทย์ สำนักงานเลขานุการ สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ พร้อมที่จอดรถรองรับการให้บริการที่ครอบคลุม สามารถขยายงานบริการและพัฒนาขีดความสามารถและการตรวจรักษาอย่างมีมาตรฐาน และเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน อาคารมีความมั่นคงปลอดภัยได้มาตรฐาน สะดวกทั้งในด้านการใช้สอยและรวมไปถึงสาธารณูปโภคที่มีคุณภาพและมีความถูกต้อง ตามลักษณะ ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจหนึ่งที่สร้างความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของประชาชนในการให้บริการเพิ่มขึ้น บุคลากรเกิดความภาคภูมิใจต่อศักยภาพของโรงพยาบาลที่เพิ่มขึ้น ทันสมัย มีประสิทธิภาพและก่อประโยชน์อย่างแท้จริง และเป็นไปตามเป้าหมายของกรุงเทพมหานครที่มุ่งสู่มหานครแห่งเอเชีย ในขณะเดียวกับการยกระดับศักยภาพศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ส่วนกลางของกรุงเทพมหานคร ทำให้มีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ซึ่งถือเป็นโอกาสในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมให้เป็นศูนย์กลางอำนวยการรับอุบัติภัยและพัฒนา “ศูนย์อุบัติเหตุ” (Trauma center) ขึ้นควบคู่กับการพัฒนา “ศูนย์บริการฉุกเฉิน” (Emergency center) เพื่อเตรียมรับสถานการณ์อุบัติภัยและสาธารณภัย อีกทั้งเพื่อการบริหารงานควบคุมและสั่งการโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ รวมทั้งมีแผนการพัฒนาระบบให้มีการจัดการเชิงรุกในด้านอุบัติเหตุ อุบัติภัย การพัฒนาระบบส่งต่อ ทำให้มีการรับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลใกล้เคียง ทั้งในและนอกเครือข่าย รวมทั้งศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อให้การบริการการแพทย์ฉุกเฉินเป็นศูนย์ความเป็นเลิศระดับประเทศ และเป็นศูนย์ฝึกอบรมในสาขาการแพทย์ฉุกเฉิน กรุงเทพมหานคร จึงมีความจำเป็นที่โรงพยาบาลกลางจะเสนอโครงการในการเพิ่มพื้นที่เพื่อรองรับการให้บริการ
07050000/07050000
2.1 เพื่อพัฒนาการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบและพื้นที่ใกล้เคียง โดยเพิ่มศักยภาพในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ห้องตรวจผู้ป่วยนอกแยกตามสาขาต่าง ๆ เป็นสัดส่วน มีสถานที่ให้บริการที่เหมาะสมและเพียงพอต่อจำนวนผู้มารับบริการ 2.1 ส่งเสริมและพัฒนาขอบเขตการให้บริการทางการแพทย์ให้มากขึ้น 2.2 พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านการแพทย์ฉุกเฉิน 2.4 เพื่อพัฒนาการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนของโรงพยาบาลให้ได้อย่างครบวงจรทั้งด้านการป้องกันโรค การส่งเสริม การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ 2.5 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรโรงพยาบาลกลางในการปฏิบัติงาน มีสถานที่ที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน ส่งผลให้เกิดขวัญและกำลังใจ เกิดความภาคภูมิใจ ความเชื่อมั่นศักยภาพของโรงพยาบาล
3.1 จัดทำเอกสาร ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับก่อสร้าง โดยจ้างออกแบบ พร้อมประมาณราคาการก่อสร้าง (ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน) มีรายละเอียดเบื้องต้น ดังนี้ - การออกแบบงานสถาปัตยกรรม คำนวณโครงสร้าง รวมถึงงานระบบประกอบอาคาร พร้อมเขียนแบบสำหรับใช้ในการก่อสร้าง และการเขียนแบบในระบบ BIM (Building Information Modeling) - ไม่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข - การออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 3.2 ก่อสร้างศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกลาง อาคารสำนักการแพทย์ หอพักของบุคลากร ที่สามารถเปิดให้บริการในปี พ.ศ.2571 พื้นที่ใช้สอยโดยรวมทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 125,953 ตารางเมตร พร้อมงานระบบประกอบอาคาร งานครุภัณฑ์จัดซื้อ-จัดจ้าง และปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบอาคาร (ระยะเวลาในการก่อสร้าง 1,600 วัน) มีรายละเอียดพื้นที่ใช้สอยเบื้องต้น ดังนี้ - ส่วนบริการทางการแพทย์ระดับตติยภูมิขั้นสูง พื้นที่ไม่น้อยกว่า 79,778 ตารางเมตร - ห้องพักเวร พื้นที่ไม่น้อยกว่า 10,930 ตารางเมตร - ที่ทำการของสำนักการแพทย์ สำนักงานเลขานุการ และสำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์ พื้นที่ไม่น้อยกว่า 30,185 ตารางเมตร - ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ ) พื้นที่ไม่น้อยกว่า 5,060 ตารางเมตร - ที่จอดรถ ทั้งหมดไม่น้อยกว่า 600 คัน ประกอบด้วย ที่จอดรถสำหรับส่วนสำนักงานและเจ้าหน้าที่ รวมถึงที่จอดรถของบุคคลที่มาใช้บริการ
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 47.00 (2023-09-29)
29/09/2566 : - โรงพยาบาลกลางส่งหนังสือเหตุผลความจำเป็นของโครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกลางและอาคารสำนักการแพทย์ ตามบันทึก กท 0605/8468 ลว 18 ก.ค. 66 ไปยังสำนักการแพทย์ (ตามข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการกลั่นและพิจารณาแผนการดำเนินงานในกรุงรัตนโกสินทร์ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) - สำนักการแพทย์ส่งหนังสือไปยัง ผู้อำนวยการกลุ่มงานอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า (ตามบันทึก กท 0601/2222 ลว 11 ส.ค. 66) - สำนักการแพทย์ส่งหนังสือไปยัง อธิบดีกรมศิลปากร เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเห็นชอบต่อการดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดี เพื่อนำข้อมูลนำเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาแผนการดำเนินงานในกรุงรัตนโกสินทร์ ในลำดับต่อไป (ตามบันทึก กท 0601/2461 ลว 4 ก.ย. 66)
** ปัญหาของโครงการ :เนื่องจากกการออกแบบโรงพยาบาลมีฟังชันการทำงานที่ซับซ้อน มีงานระบบที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของการออกแบบสูง ทำให้การดำเนินการแบบก่อสร้างมีหลายกระบวนการและขั้นตอน ในการเสนอความเห็นจากหลายฝ่าย ทำให้การออบแบบอาคารเกิดความล้าช้าออกไป
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 46.00 (2023-08-27)
27/08/2566 : ดำเนินการประสานกับสำนักงานโยธา เรื่องการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองความเหมาะสมการก่อสร้างอาคาร ของกรุงเทพมหานคร สำนักการโยธาได้ปรับรูปแบบภายนอกตัวอาคารศูนย์การแพทย์และสำนักการแพทย์ นอกจากนี้สำนักงานโยธาได้ประสานงานมายังโรงพยาบาลกลาง เรื่องทำหนังสือไปยังคณะกรรมการกรุง รัตนโกสินทร์เพื่อนำแบบแปลนใหม่เข้าพิจารณา ดังกล่าว โรงพยาบาลกลาง เข้าร่วมประชุมเพื่อให้รายละเอียดข้อมูลต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาแผนการดำเนินงานในกรุงรัตนโกสินทร์
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2023-07-25)
25/07/2566 : ดำเนินการประสานกับสำนักงานโยธา เรื่องการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองความเหมาะสมการก่อสร้างอาคาร ของกรุงเทพมหานคร สำนักการโยธาได้ปรับรูปแบบภายนอกตัวอาคารศูนย์การแพทย์และสำนักการแพทย์ นอกจากนี้สำนักงานโยธาได้ประสานงานมายังโรงพยาบาลกลาง เรื่องทำหนังสือไปยังคณะกรรมการกรุง รัตนโกสินทร์เพื่อนำแบบแปลนใหม่เข้าพิจารณา ดังกล่าว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 41.00 (2023-06-27)
27/06/2566 : อยู่ระหว่างสำนักงานโยธา ประสานงานเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกลางและอาคารสำนักการแพทย์ สำนักงานโยธา อยู่ระหว่างการออกแบบ โครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกลางและอาคารสำนักการแพทย์ ซึ่งมีรายละเอียดที่ซับซ้อน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-05-24)
24/05/2566 : อยู่ระหว่างสำนักงานโยธา ประสานงานเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกลางและอาคารสำนักการแพทย์ เพื่อดำเนินการในส่วนการของบประมาณจ้างออกแบบในลำดับต่อไป
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 39.00 (2023-04-23)
23/04/2566 : ในวันที่ 20 มีนาคม 2566 รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และคณะ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ /ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกลาง พร้อมด้วยคณะผู้บริหารโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่บริเวณโรงพยาบาลกลาง เข้าร่วมหารือรูปแบบโครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์และสำนักการแพทย์ (Master Plan) กับสำนักงานออกแบบ สำนักงานโยธา
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 38.00 (2023-03-28)
28/03/2566 : ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ /ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกลาง พร้อมด้วยคณะผู้บริหารโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมหารือรูปแบบโครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์และสำนักการแพทย์ (Master Plan) กับสำนักงานออกแบบ สำนักงานโยธา ณ ห้องประชุมหลวงนิตย์เวชชวิศิษฎ์ ชั้น 19 โรงพยาบาลกลาง โดยประสานงานในส่วนของสำนักการแพทย์ เพื่อปรึกษา หารือ รายละเอียดของพื้นที่ของโครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์และสำนักการแพทย์ (Master Plan) ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2566 และได้ติดตามหนังสือขอความอนุเคราะห์รับโอนงบประมาณโครงการก่อสร้างฯ จำนวน 2 โครงการ ตามบันทึกที่ กท 0602/13011 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2565 และหนังสือขอความอนุเคราะห์ข้อมูล ตามบันทึกที่ กท 0605/9680 ลงวันที่ 23 กันยายน 2565
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกลาง พร้อมด้วยคณะผู้บริหารโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมหารือรูปแบบโครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์และสำนักการแพทย์ (Master Plan) กับสำนักงานออกแบบ นำโดย นายพินิจ ค่ายสงคราม ผู้อำนวยการสำนักงานออกแบบ ณ ห้องประชุมชั้น 6 สำนักงานออกแบบ อาคารสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) โดยประสานงานในส่วนของศูนย์เอราวัณ และสำนักการแพทย์ เพื่อปรึกษาหารือ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2023-01-27)
27/01/2566 : ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกลาง พร้อมด้วยคณะผู้บริหารโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมหารือรูปแบบโครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์และสำนักการแพทย์ (Master Plan) กับสำนักงานออกแบบ นำโดย นายพินิจ ค่ายสงคราม ผู้อำนวยการสำนักงานออกแบบ ณ ห้องประชุมชั้น 6 สำนักงานออกแบบ อาคารสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-30)
30/12/2565 : สำนักการแพทย์จัดส่งหนังสือแจ้งขอเรื่องโอนงบประมาณการก่อสร้างโครงการฯ ไปยังสำนักการโยธา โดยอยู่ระหว่างการตอบกลับ และดำเนินการในส่วนต่อไป
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : จำนวนโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ที่มีการพัฒนาศักยภาพ ในระดับที่สูงขึ้น (ปี 2566)
ค่าเป้าหมาย แห่ง : 3
ผลงานที่ทำได้ แห่ง : 2
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **