ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
โรงพยาบาลบางขุนเทียน
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานครได้มีนโยบายให้โรงพยาบาลในสังกัด สำนักการแพทย์ ได้มีการจัดบริการสุขภาพรูปแบบพิเศษให้ครอบคลุมทุกระดับของบริการทางการแพทย์ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มผู้รับบริการทุกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมเหมาะสม เพิ่มทางเลือกและโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เทียบเท่ากับโรงพยาบาลเอกชน สำหรับผู้รับบริการที่ไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉินในหน่วยบริการที่มีความพร้อมและมีศักยภาพ เพื่อให้บริการที่มีลักษณะเฉพาะทางอันนำมาซึ่งความ พึงพอใจของผู้รับบริการ ตลอดจนเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรทุกด้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด ธำรงบุคลากรสาธารณสุขไว้ในระบบบริการสุขภาพ เพิ่มความมั่นคงด้านการเงินการคลังสุขภาพให้กับหน่วยบริการ โดยประกาศระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยอัตราค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการทางการแพทย์รูปแบบพิเศษและหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการยกเว้นหรือลดหย่อนค่าบริการ พ.ศ. 2562 รองรับการจัดบริการ โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลมุ่งเป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิ เป็นเลิศด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ การให้บริการคลินิกผู้สูงอายุ ตั้งแต่เปิดโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียนเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2555 จนถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 มีผู้รับบริการรวม 966 ครั้ง หลังจากนั้นได้มีการเปิดศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียนอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จนถึงปัจจุบัน (วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2564) นับเป็นเวลา 10 เดือนแต่มีผู้รับบริการรวมถึง 1,720 ครั้ง ซึ่งนับได้ว่ามีผู้เข้ารับบริการมากกว่าช่วงที่ยังไม่มีศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุและผู้เข้ารับบริการก็จะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ปัญหาสำคัญที่พบมากขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุในปัจจุบันนั่นคือ โรคสมองเสื่อม ซึ่งมีการรายงานความชุก (prevalence) โดยองค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ.2563 อยู่ที่ร้อยละ 5-8 ของประชากรทั้งหมด โดยที่ในปี พ.ศ.2543 มีรายงานอยู่เพียงร้อยละ 1.5-2.5 การศึกษาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2543 พบว่าความชุกของโรคสมองเสื่อมอยู่ที่ร้อยละ 2.6-3.3 และหลังจากนั้นยังไม่มีการศึกษาความชุกของผู้ป่วยในประเทศไทยที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์อีกเลย แต่คาดการณ์ว่าแนวโน้มจะมากขึ้นตามการรายงานขององค์การอนามัยโลก เนื่องจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม และวิทยาการในการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมที่ดีขึ้น ส่งผลให้การรักษาเป็นไปในทางที่ดีขึ้นโดยเฉพาะเรื่องการกระตุ้นความสามารถสมองของผู้สูงอายุปกติ และผู้ที่มีสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้น (early dementia) และผู้ป่วยก่อนสมองเสื่อม (mild cognitive impairment) พบว่าการกระตุ้นความจำในผู้ป่วยสูงอายุ ช่วยกระตุ้นความจำแบบทวนข้อมูลทันที (immediate recall) และ ความจำหลังจากเวลาผ่านไป (delayed recall) ให้ดีขึ้นได้อย่างนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับ กลุ่มที่ไม่ได้ให้การรักษา จากการศึกษาที่ผ่านมาส่วนมากจะ เป็นการกระตุ้นความสามารถสมองในผู้ป่วยโรคสมอง เสื่อม ซึ่งนำมาเทียบเคียงประยุกต์ใช้ในผู้ป่วย MCI ได้อยู่ 3 แบบ คือ การกระตุ้นสมองด้านปริชานปัญญา (cognitive stimulation) การฝึกทักษะของสมองด้านปริชานปัญญา (cognitive training) และฟื้นฟูความสามารถของสมองด้านปริชานปัญญา (cognitive rehabilitation) ซึ่งเน้นการกระตุ้นสมองในลักษณะที่ต่างกัน คือ cognitive stimulation จะเน้นการทำกิจกรรมเพื่อกระตุ้นความสามารถของ สมองในภาพรวม เช่น ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด เย็บปักผ้า ในขณะที่ cognitive training ออกแบบมา เพื่อกระตุ้นความสามารถของสมองที่เฉพาะเจาะจง เช่น ด้านความใส่ใจ (complex attention) ความจำ(memory) ทักษะการจัดการ (executive function) และการรับรู้ระยะและทิศทาง (visuospatial) แต่ละด้านแยกกันตามวัตถุประสงค์ของแต่ละการศึกษา ซึ่งพบว่าได้ผลดีในกลุ่มผู้ที่มีสมรรถภาพสมองบกพร่องระยะต้น และ cognitive rehabilitation เป็นการฟื้นฟูความสามารถของสมองด้านปริชานปัญญา โดยครอบคลุมทั้งด้าน กายภาพ จิตใจ และสังคม ซึ่งได้ประโยชน์กับผู้ป่วยมาก อีกทั้งยังมีเครื่องมือที่นำสมัยในการเพิ่มสมรรถภาพสมองโดยเฉพาะในด้านความใส่ใจ ความจำ ทักษะการจัดการ และการรับรู้ระยะและทิศทาง เครื่องมือที่นำเสนอในครั้งนี้ สามารถฟื้นฟูกำลังแขนขาให้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาแขนขาอ่อนแรงจากภาวะเส้นเลือดสมองตีบแตกตัน (stroke) และผู้ป่วยที่ความบกพร่องของการเคลื่อนไหว อาทิเช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson disease) โรคน้ำคั่งในโพรงสมอง (normal pressure hydrocephalous) หรือผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นตัวจากการผ่าตัดสมอง (post brain surgery) ได้อีกด้วย ดังนั้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาสมองเสื่อมได้อย่างครอบคลุมเหมาะสม ศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียนมีความประสงค์ในการเพิ่มศักยภาพการบริการทางการแพทย์ในปี 2566 โดยการจัดหาเครื่องมือที่ทันสมัยในการฟื้นฟูความสามารถสมองแบบองค์รวมของผู้ป่วยสมองเสื่อม เครื่องมือการตรวจและฟื้นฟูเหล่านี้สามารถสร้างความมั่นคงด้านการเงินการคลังให้กับโรงพยาบาลได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพในการตอบสนองกับจำนวนผู้รับบริการที่มากขึ้นเนื่องจากเครื่องมือเหล่านี้สามารถให้ผู้ป่วยทำโดยอิสระ และแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด มีเวลาที่จะประเมินและตรวจรักษาผู้ป่วยรายอื่นๆ ได้มากขึ้นอีกด้วย
07160000/07160000
2.1 เพิ่มศักยภาพการบริการของกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาสมองเสื่อม ผู้ป่วยก่อนสมองเสื่อม และผู้ป่วยที่ความบกพร่องของการเคลื่อนไหว อาทิเช่น โรคเส้นเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน โรคน้ำคั่งในโพรงสมอง หรือผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นตัวจากการผ่าตัดสมองได้อย่างครอบคลุมเหมาะสม เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการรักษาที่ทันสมัย เทียบเคียงโรงพยาบาลเอกชน หรือรักษาได้ตามมาตรฐานสากล 2.2 ลดความแออัดของผู้รับบริการ ลดขั้นตอน และระยะเวลาในการรอคอย รวมทั้งความสูญเปล่าของเวลาในการให้บริการ 2.3 พัฒนาศักยภาพการให้บริการและพัฒนาบุคลากรทางด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดบริการที่มีคุณภาพ 2.4 บริหารจัดการทรัพยากรภาครัฐให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2.5 สร้างความมั่นคงด้านการเงินการคลังสุขภาพให้กับโรงพยาบาล
3.1 เปิดบริการคลินิกผู้สูงอายุโดยมีการดูแล รักษา ฟื้นฟูและป้องกันโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ และมีเครื่องมือที่ผ่านมาตรฐานสากลและทันสมัยในการรักษา รวมถึงฟื้นฟูการทำงานของสมองและการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยสมองเสื่อม ผู้ป่วยก่อนสมองเสื่อม และผู้ป่วยที่ความบกพร่องของการเคลื่อนไหว อาทิเช่น โรคเส้นเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน โรคน้ำคั่งในโพรงสมอง หรือผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นตัวจากการผ่าตัดสมอง 3.2 ระบบบริการสุขภาพ สภาพแวดล้อมการบริการของ โรงพยาบาล มีความสะดวก ทันสมัย รวดเร็ว เป็นที่พึงพอใจ และประทับใจของผู้ใช้บริการ 3.3 โรงพยาบาลประสบความสำเร็จในการเปิดการบริการยกระดับการดูแลผู้สูงอายุด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านปริชานปัญญาและการเคลื่อนไหวของร่างกายที่บกพร่อง ที่มีคุณภาพ และเสริมสร้างความ มั่นคงทางการเงินแก่โรงพยาบาล
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-05-29)
29/05/2566 : ดำเนินการโครงการ มีการรายงานผลการดำเนินงานทุกเดือน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-04-28)
28/04/2566 : ดำเนินการจัดบริการในการฟื้นฟูและติดตามผลการดำเนินงานทุกเดือน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-03-26)
26/03/2566 : จัดหาบุคลากร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการจัดการบริการตรวจรักษาผู้ป่วย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เตรียมบุคลากรในการดำเนินงาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-01-27)
27/01/2566 : อยูในช่วงเตรียมสถานที่ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ โดยมีรายละเอียดดังนี้ เครื่องประเมินการทรงตัวและความสมมาตรของการลงน้ำหนักของร่างกายพร้อมโปรแกรมฝึก 1 เครื่อง ราคา 900,000 บาท อุปกรณ์ฝึกความสามารถในการทำงานของมือและนี้วมือ แบบชุุดกระดานหมุนอัจฉริยะ (Smart Peg Board) 1 ชุด ราคา 250,000 บาท อุปกรณ์ฝึกความคิดความเข้าใจระบบดิจิทัลแบบสัมผัส 1 ชุด ราคา 550,000 บาท อยู่ในช่วงดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2022-12-30)
30/12/2565 : อยู่ระหว่างจัดทำโครงการเพื่อขออนมุติจากผู้บริหารโรงพยาบาล
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : จำนวนโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ที่มีการพัฒนาศักยภาพ ในระดับที่สูงขึ้น (ปี 2566)
ค่าเป้าหมาย แห่ง : 3
ผลงานที่ทำได้ แห่ง : 2
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **