ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 80
นพ.ภูวดล ฐิติวราภรณ์
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
เนื่องด้วยโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร เป็นโรงพยาบาลเดียวในสำนักการแพทย์ที่มีศักยภาพในการผ่าตัดหัวใจ ทรวงอก และหลอดเลือด ทั้งในผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ โดยสถิติการผ่าตัดปีพุทธศักราช 2561 ปีการผ่าตัดหัวใจจำนวน 72ราย และผ่าตัดปอดรวม 25ราย และล่าสุดสถิติการผ่าตัดปีพุทธศักราช 2563 แม้ว่าจะมีวิกฤต COVID-19 แต่จำนวนผู้ป่วยที่รอคิวผ่าตัดยังคงมีจำนวนมาก โดยทั้งปีการผ่าตัดหัวใจจำนวน 86 ราย และผ่าตัดปอดรวม 33 รายและมีแนวโน้มสูงขึ้นในปีต่อไป และยังมีแนวโน้มที่จะเป็นศูนย์หัวใจของทางสำนักการแพทย์ ที่จะเป็นศูนย์รับรีเฟอร์จากโรงพยาบาลอื่นๆในสังกัดสำนักการแพทย์ อาทิเช่น โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลกลาง และโรงพยาบาลหลวงพ่อทวศักดิ์ฯ เป็นต้น โดยการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอกของทางโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์นั้นได้มีทำการผ่าตัดที่หลากหลาย ได้มาตรฐาน มีการใช้เทคนิคสมัยใหม่ ทั้งการผ่าตัดแบบใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม การผ่าตัดแบบไม่หยุดหัวใจ การผ่าตัดแบบส่องกล้อง(ทั้งแบบ1-3 แผล) การผ่าตัดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด การผ่าตัดหัวใจเด็กทารกแรกเกิด(น้ำหนัก <2000 กรัม) การผ่าตัดหลอดเลือดด้วยการผ่าเปิด และใส่ขดลวด เป็นต้น โดยการผ่าตัดและตรวจรักษา ได้มีการพัฒนาศักยภาพและวิทยาการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ในปีพุทธศักราช 2563 ทางหน่วยงานศัลยกรรมหัวใจทรวงอกได้เพิ่มขีดความสามารถ โดยการผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นอาทิ Bentall operation, Ascending with Hemiarch aortic replacement และ ventricular septal defect closure เป็นต้น, มีการรักษาโดยการผ่าตัดร่วมกับการใช้ขดลวด hybrid TEVAR, ผ่าตัดแผลเล็ก ministernotomy AVR เป็นต้น นอกจากนี้ทางหน่วยงานศัลยกรรมหัวใจและทรวงอกยังเป็นที่รู้จักทั้งภาคประชาชนและสื่อ ดังจะเห็นได้จากการตอบรับจากการจัดเสวนาเพื่อประชาชนในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ที่มีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก และการได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการประชุมต่างๆ ให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ประชาชนมีความเสมอภาคในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เป็นเลิศในโรคเฉพาะทาง หรือโรคที่มีความซับซ้อนสูง (Service Excellence) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๑.๒ โครงการก่อตั้งศูนย์โรคหัวใจ (รพจ.) ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสำนักการแพทย์ ระยะ ๔ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๓) ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การเสริมฐานรากการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนระดับเชี่ยวชาญให้ครบถ้วนและมั่นคง (Strengthen our foundation) เป้าประสงค์ที่ ๑.๕เพื่อให้มีการนำเทคโนโลยีขั้นสูง และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยมาให้บริการตามแผนยุทธศาสตร์เข็มมุ่งโรงพยาบาลเจริญกรุง ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ผู้ป่วยปลอดภัยจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้ (Engagement for Patient Safety) ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การบริหารจัดการอุปทานให้สอดคล้องกับบทบาทโรงเรียนแพทย์ (Managing Demand) เป้าประสงค์ที่ ๓.๑ เพื่อให้บุคลากรได้รับการพัฒนาตนเองตามแผนหรือเป้าหมายอย่างชัดเจนและเสมอภาค เป้าประสงค์ที่ ๓.๔ เพื่อจัดให้มีสถานที่/สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอนที่เพียงพอ และการบริการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพตามแผนยุทธศาสตร์เข็มมุ่งโรงพยาบาลเจริญกรุง ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ผู้ป่วยปลอดภัยจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้ (Engagement for Patient Safety) ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การสร้างนวัตกรรมและความโดดเด่นสู่ความเป็นเลิศทางการแพทย์ (Leading in Care and Training) เป้าประสงค์ที่ ๔.๒ เพื่อพัฒนาต่อยอดศูนย์ความเป็นเลิศเดิมเป็น Advanced Training Center ทั้งการบริการ การฝึกอบรม และเป็นที่ศึกษาดูงาน เป้าประสงค์ที่ ๔.๓ เพื่อพัฒนาให้เกิดศูนย์ความเป็นเลิศใหม่ เป้าประสงค์ที่ ๔.๔ เพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลผู้ป่วยที่ซับซ้อนโดยการสร้างเครือข่ายกับ รพ.ใกล้เคียงทั้งภาครัฐ เอกชน เป้าประสงค์ที่ ๔.๕ เพื่อให้เกิดงานวิจัยทางการแพทย์และพยาบาลเพิ่มขึ้น ตามแผนยุทธศาสตร์ เข็มมุ่งโรงพยาบาลเจริญกรุง ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) ผู้ป่วยปลอดภัยจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ป้องกันได้ (Engagement for Patient Safety) การดำเนินงานของหน่วยศัลยกรรมหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก ของโรงพยาบาล เจริญกรุงประชารักษ์ ได้รับความพึงพอใจและเป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการเป็นอย่างดียิ่ง โดยวัดจากจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการด้านการตรวจรักษาและผ่าตัดเพิ่มมากขึ้นมาตลอด รวมทั้งผลงานวิจัย การได้รับเป็นวิทยากร ที่ได้นำเสนอทั้งในและต่างประเทศ การได้เตรียมแผนงานด้านการเรียนการสอนและการนักศึกษาแพทย์จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อย่างไรก็ตามปัจจุบันการดูแลผู้ป่วยทั้งก่อนผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และ หลังผ่าตัดยังต้องใช้พื้นที่ เครื่องมือ และบุคลากรจากหน่วยงานอื่น ทั้งแผนกผู้ป่วยทั่วไป และพิเศษ ของศัลยกรรมทั่วไปและอายุรกรรมทั่วไป, หอผู้ป่วยอภิบาลหัวใจ (CCU ชั้น 17), แผนกผู้ป่วยนอกที่ห้อง สวนหัวใจชั้น 5 ทำให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปได้โดยลำบาก ขาดความต่อเนื่อง และความพร้อมในการดูแลรักษา หน่วยงานย่อยของทางศูนย์โรคหัวใจแบ่งเป็น ▪ หอผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ (Cardiac care unit): ปัจจุบันหอผู้ป่วย CCU ซึ่งใช้รวมกันทั้งผู้ป่วยอายุร- กรรมโรคหัวใจ ศัลยกรรมหัวใจ และผู้ป่วยหลังการฉีดสี มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยหนักที่วิกฤต และซับซ้อน แต่มีข้อจำกัดทางด้านกายภาพ กล่าวคือ จำนวนเตียงที่รองรับจำนวนผู้ป่วยมีจำกัดเพียง 8 เตียง แต่ต้องดูแลผู้ป่วยฉีดสีหัวใจ(ประมาณ 800เคส/ปี) ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว (ประมาณ 300 เคส/ปี) และผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจและทรวงอก(72 ราย/ปี) จึงทำให้เป็นข้อจำกัดในการพัฒนาของโรงพยาบาลและประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต ▪ ศัลยกรรมหัวใจ (Cardiac surgery): โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ เป็นโรงพยาบาลแรกและโรงพยาบาลเดียวในสังกัด สำนักการแพทย์ที่มีศักยภาพในการผ่าตัดหัวใจ ทั้งจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็ก และโรคหัวใจในผู้สูงอายุ อาทิเช่น โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจตีบ/รั่ว โรคเส้นเลือดหัวใจเอออร์ตา ทั้งจากการผ่าตัดใหญ่และการผ่าตัดด้วยการใส่ขดลวด โดยหน่วยศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีพ.ศ. 2560 และเริ่มมีศัลยแพทย์หัวใจประจำ (full time) ตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งจะทำให้ขีดความสามารถของหน่วยงานก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว ▪ Heart failure clinic: เริ่มมีการตั้งheart failure clinicในปีพ.ศ.2561 โดยจะดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวโดยการให้ยา ให้ข้อมูลสุขศึกษาและจัดส่งต่อผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือส่งต่อผู้ป่วยไปแผนกศัลยกรรมหัวใจ เพื่อเป็นการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ▪ Clinic warfarin: หน่วยงานเภสัชกรรมได้จัดตั้ง warfarin clinic เพื่อดูแล ให้ข้อมูล ผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด เพื่อให้ระดับยาคงที่อยู่ในค่าการรักษา และเกิดภาวะข้างเคียงจากยาให้ต่ำที่สุด ▪ Cath lab: แผนกสวนหัวใจได้ทำการฉีดสีเส้นเลือดหัวใจ เพื่อการวินิจฉัยและทำการใส่ขดลวดเพื่อการรักษาประมาณ 800เคสต่อปีและมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี จนปัจจุบันศูนย์ฉีดสีหลอดเลือดหัวใจได้ทำการยกระดับการรักษา(ตามข้อกำหนดของสมาคมอายุรแพทย์โรคหัวใจ) และอยู่ในระหว่างการพัฒนาเพื่อให้สามารถรองรับการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดได้ตลอด 24 ชั่วโมง ▪ แผนกกระตุ้นหัวใจ(Electrophysiology study): โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ได้มีการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ด้วยการจี้ไฟฟ้าด้วยเครื่องความถี่สูง และการติดตามบันทึกคลื่นหัวใจ24-48ชั่วโมงเพื่อการวินิจฉัย ▪ Cardiac rehabilitation: มีการตรวจสุขภาพและติดตาม รวมถึงการฟื้นฟู สมรรถภาพหัวใจของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาและการผ่าตัดโดยนักกายภาพและแพทย์กายภาพบำบัดหัวใจ เพื่อให้สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข เนื่องด้วยห้องผ่าตัดหัวใจเดิมนั้นอยู่ในห้องผ่าตัดรวม มีข้อจำกัดทางด้านกายภาพ ทั้งทางด้าน ▪ ขนาดที่เล็ก ไม่เพียงพอต่อเครื่องมือทั้งเครื่องปอดหัวใจเทียม เครื่องพยุงหัวใจ เครื่องอัลตร้าซาวน์หัวใจ(transesophageal echocardiography) เครื่องวัดหลอดเลือดบายพาส และไม่เป็นไปตามมาตรฐานของ สปสช.เป็นต้น ▪ สถานที่ตั้ง โดยตั้งอยู่ที่ชั้น 6 ซึ่งห่างไกลจากหออภิบาลผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ(ชั้น 17) ▪ ขาดความพร้อมในการจัดวางอุปกรณ์สำหรับช่วยผ่าตัดหัวใจเป็นจำนวนมาก อีกทั้งปัจจุบันแนวโน้มของการผ่าตัดหัวใจจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ป่วยเองก็มีอายุสูงมากขึ้น โรคประจำตัวที่มากขึ้น การผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก โดยในปัจจุบันได้มีการใช้ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้หลายการผ่าตัดมีรูปแบบการผ่าตัดที่มีการใช้เครื่องฟลูออโรสโคป(Fluoroscope) เพื่อทำการผ่าตัดการใส่ขดลวด(thoracic endovascular aortic repair (TEVAR, Endovascular abdominal aortic repair (EVAR)) การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ร่วมทั้งแบบผ่าเปิดและใส่ขดลวด (Hybrid aortic surgery) การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกทางขาหนีบ (transcatheter aortic valve replacement, TAVR/TAVI) การผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจไมตรัลทางขาหนีบ (transcatheter mitral repair, annuloplasty, commisuroplasty (Mitraclip) etc.) เป็นต้น ซึ่งการผ่าตัดเหล่านี้จะสามารถผ่าตัดได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากทำการผ่าตัดในห้องผ่าตัดไฮบริด ซึ่งมีความพร้อมรองรับการผ่าตัด หากการทำหัตถการเกิดความผิดพลาดขึ้น อีกทั้งการทำหัตถการในห้องไฮบริดยังมีประสิทธิภาพมากกว่าการผ่าตัดในห้องปกติ มีความสะอาด และได้มาตรฐานการกรองอากาศ (laminar airflow, Hepa filter) เนื่องจากการผ่าตัดหัวใจเป็นการผ่าตัดที่สะอาด และหากเกิดการติดเชื้อจากการผ่าตัด จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงชีวิตตามมาได้ นอกจากนี้ ในปีพ.ศ. 2562 โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ จะขยายขีดความสามารถทางด้านห้องสวนหัวใจ โดยการจัดตั้งห้องสวนหัวใจแบบ 2 หัว (Biplane cath lab) เพื่อที่จะสามารถทำหัตถการทางด้านการสวนหัวใจแบบซับซ้อนได้ ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ใส่อุปกรณ์ปิดหนังกั้นหัวใจรั่วได้ การกรอเส้นเลือดด้วยหัวกรอพิเศษ (Rotablator) เป็นต้น ซึ่งการทำหัตถการที่ซับซ้อนมากขึ้น ย่อมต้องโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้ ดังนั้นการเตรียมห้องผ่าตัดที่สามารถให้บริการได้อย่างทันท่วงที จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งในปัจจุบันทางโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ได้เริ่มทำหัตถการที่ซับซ้อนบ้าง โดยแก้ไขการไม่มีห้องผ่าตัดใกล้เคียงด้วยการเตรียมห้องผ่าตัดใหญ่ไว้ 1 ห้อง (standby OR) ในวันและเวลาที่จะมีการทำหัตถการดังกล่าว เหตุผลและความจำเป็นอีกหนึ่งข้อคือ ชั้น 5 ของพื้นที่ของตึก 72 พรรษามหาราชินีนี้จะเป็นศูนย์รวมของห้องสวนหัวใจ 1ระนาบ และห้องสวนหัวใจ 2 ระนาบ โดยจึงเป็นการดีที่จะมีห้องผ่าตัดหัวใจควบคู่และหออภิบาลผู้ป่วยหนักหลังผ่าตัดหัวใจอยู่ในชั้นและบริเวณใกล้เคียง เพื่อเป็นการรวมศูนย์โรคหัวใจที่ดี และเป็นศูนย์ความเป็นเลิศในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจของทั้งทางโรงพยาบาล และทางสำนักการแพทย์ ในอนาคต ดังนั้นจากเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สำนักการแพทย์ จึงเห็นความจำเป็นในการจัดตั้ง ห้องผ่าตัดหัวใจไฮบริด (Bangkok Metropolitan Excellence Cardiac Surgery: BMECS) เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านการบริการด้านการผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือด และทรวงอกที่เป็นเลิศ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการและการเรียนการสอน ต่อยอดแพทย์ด้านผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือด และทรวงอก ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศต่อไป
07070000/07070000
๒.๑ เพื่อเป็นศูนย์บริการด้านศัลยกรรมหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอกที่ทันสมัย ได้มาตรฐานสากลและมีความเพียงพอกับความต้องการ การใช้บริการของผู้ป่วย ๒.๒ เพื่อเป็นศูนย์การศึกษาฝึกอบรมของบุคลากรการแพทย์ ๒.๓ เพื่อเป็นห้องผ่าตัดที่สามารถทำหัตถการที่ซับซ้อนทางหัวใจ หลอดเลือด ทรวงอก และสาขาอื่น ๆ ได้ ๒.๔ เพื่อเป็นห้องผ่าตัดสำหรับกรณีการทำหัตถการสวนหัวใจแล้วมีภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินได้ ๒.๕ เพื่อส่งเสริมการศึกษาให้กับแพทย์ นักศึกษาแพทย์และบุคลากรที่ร่วมปฏิบัติงานตามหลักสูตรที่กำหนด ณ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ให้ได้ศึกษาด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย และผู้ป่วยที่มีความหลาหลายของโรค ๒.๖ เตรียมพร้อมการเป็นศูนย์หัวใจที่มีศักยภาพเป็นศูนย์รับรีเฟอร์ (cardiac referral center) ๒.๗ เตรียมความพร้อมในการจัดหาเครื่องมือที่มีคุณภาพ ให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งเดิมอุปกรณ์และเครื่องมือหลายชิ้นอยู่ในสภาพชำรุดและไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
๓.๑ เพื่อความเป็นเลิศของสำนักการแพทย์ (Bangkok Metropolitan Excellence Cardiac Surgery: BMECS) ๓.๒ เพื่อรองรับการเป็นโรงเรียนแพทย์ของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ที่มีความพร้อมของศัลยกรรมหัวใจและศูนย์โรคหัวใจที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพจากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล และมีความพร้อมด้านโครงสร้าง คือห้องตรวจ ห้องผ่าตัด และห้องประชุมกลุ่มย่อย ๓.๓ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยด้านโรคหัวใจของโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สามารถดูแลได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การส่งเสริมคุณภาพ การให้ความรู้สุขศึกษา การดูแลรักษาผู้ป่วยนอก การดูแลรักษาผู้ป่วยใน และผู้ป่วยหนัก จนไปถึงการรักษาด้วยการทำคลื่นความถี่สูง การรักษาด้วยการผ่าตัด และการฟื้นฟูหลังการผ่าตัด ๓.๔ เพื่อรองรับการดูแลและรักษาประชาชน ทั้งที่อยู่ และไม่ได้อยู่ในสังกัด กทม และเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงการดูแลรักษาที่เป็นเลิศด้านโรคหัวใจ ๓.๕ เพื่อลดอัตราตายจากความไม่เท่าเทียมของการดูแลรักษา ทั้งการให้ยา ทำหัตถการ และลดคิวผ่าตัดจากโรงเรียนแพทย์ ๓.๖ เพื่อเป็นสถานที่ฝึกอบรมและดูงานสำหรับแพทย์ นักศึกษาและบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-09-12)
12/09/2566 : โครงการจัดตั้งห้องผ่าตัดหลอดเลือดและทรวงอก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1. ปรับปรุง โครงการจัดตั้งห้องผ่าตัดหลอดเลือดและทรวงอก 60,000,000 บาท - 4 กย.66 อยู่ระหว่างขออนุมัติจ้างฯ 2. จัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์ จำนวน 19 รายการ 92,848,090 บาท - 4 กย.66 อยู่ระหว่างเสนอขอความเห็นชอบ ลงร่าง TOR ต่อรอง ผอ.สนพ.
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-08-16)
16/08/2566 : โครงการจัดตั้งห้องผ่าตัดหลอดเลือดและทรวงอก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน 1. ปรับปรุง โครงการจัดตั้งห้องผ่าตัดหลอดเลือดและทรวงอก 60,000,000 บาท - อยู่ระหว่างคกก.พิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ - รายงานผลการพิจารณาเปิดซองเมื่อวันที่ 18 ก.ค.66 2. จัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์ จำนวน 19 รายการ 92,848,090 บาท - อยู่ระหว่างเสนอขอความเห็นชอบ ร่าง TOR
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-07-10)
10/07/2566 : ขณะนี้อยู่ระหว่าง ดำเนินการดังนี้ 9 มิถุนายน 2566 ลงประกาศร่าง TOR ที่ปรับปรุงแล้ว (ครั้งที่ 2) ทางเว็ปไซต์ของกรมบัญชีกลางและกรุงเทพมหานคร (วันที่ 9-14 มิถุนายน 2566 / 3 วันทำการ) 16 มิถุนายน 2566 ลงประกาศประกวดราคาฯ เผยแพร่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง (20 วันทำการ) 17 กรกรฎาคม 2566 ผู้เสนอราคาเข้ายื่นข้อเสนอทางระบบการจัดซื้อจัดจ้างฯ 18 กรกฎาคม 2566 คณะกรรมการฯตรวจสอบเอกสาร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-06-08)
08/06/2566 : 1 สิงหาคม 2565 ประกาศแผนการจัดซื้อจัดจ้าง 30 กันยายน 2565 ขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดรูปแบบรายการงานก่อสร้างและ คณะกรรมการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง 28 กุมภาพันธ์ 2566 คณะกรรมการฯ รายงานผลการกำหนดรูปแบบรายการงานก่อสร้างและ คณะกรรมการกำหนดราคากลางงานก่อสร้าง 27 มีนาคม 2566 ลงประกาศร่าง TOR 3 วันทำการ /มีผู้วิจารณ์ 10 เมษายน 2566 คณะกรรมการ TOR /หัวหน้าฝ่ายพัสดุ ประชุมพิจารณาปรับปรุง/แก้ไข TOR 20 เมษายน 2566 คณะกรรมการ TOR รายงานผลการปรับปรุง/แก้ไข TOR และได้รับความ เห็นชอบแล้ว 7 มิถุนายน 2566 อยู่ระหว่างจัดทำรายงานพร้อมความเห็นและร่างประกาศและร่างเอกสารซื้อหรือจ้าง ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้ปรับปรุงแล้ว เพื่อเสนอ ผว.กทม.เห็นชอบ เมื่อเห็นชอบแล้ว นำร่างประกาศและร่างเอกสารซื้อหรือจ้างฯ เผยแพร่ในระบบ เครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางและหน่วยงานของรัฐอีกครั้ง จำนวน 3 วันทำการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-05-15)
15/05/2566 : ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการ ดังนี้ - ส่วนของการปรับปรุงห้อง อยู่ระหว่างปรับปรุงร่าง TOR - ส่วนของการจัดหาครุภัณฑ์ จำนวน 19 รายการ อยู่ระหว่างขอความเห็นชอบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-04-12)
12/04/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ ดังนี้ - ลงประกาศร่าง TOR (ประกาศตั้งแต่ 27 - 30 มีนาคม 2566)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-03-13)
13/03/2566 : อยู่ระหว่างขั้นตอนที่ 2 รายงานขอความเห็นชอบจัดจ้างและประกาศร่าง TOR
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-02-08)
08/02/2566 :อยู่ระหว่างขั้นตอนที่2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ โดยรายงาน ดังนี้ 1.ส่วนการก่อสร้าง โยธาอนุมัติแบบแล้ว และอยู่ระหว่างจัดส่งเอกสารมาที่รพจ. 2.ส่วนครุภัณฑ์ อยู่ขั้นตอน TOR
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-01-16)
16/01/2566 : ขั้นตอนที่ 1 จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติโครงการ และค่าใช้จ่ายโครงการ ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงราคากลาง ซึ่งในส่วนของการจัดซื้อครุภัณฑ์ รายละเอียดแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างเสนอขอความเห็นชอบ เพื่อลงประกาศลงร่าง TOR โดยอำนาจเป็นของ รอง ผอ.สนพ.
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2022-12-30)
30/12/2565 : ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำโครการ เพื่อเสนอขออนุมัติตามขั้นตอนการดำเนินงาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : จำนวนโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ที่มีการพัฒนาศักยภาพ ในระดับที่สูงขึ้น (ปี 2566)
ค่าเป้าหมาย แห่ง : 3
ผลงานที่ทำได้ แห่ง : 2
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **