ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
สำนักงานพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคทางระบบประสาท โรคหัวใจและหลอดเลือดกลุ่มโรคปอด และโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งมีอัตราการมาโรงพยาบาลสูงเนื่องจากต้องมีการรักษาและติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศโรคดังกล่าวให้เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ จึงจำเป็นต้องมีการลดการไปโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่ไม่มีความเร่งด่วนเพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาล ลดการรับและแพร่เชื้อของผู้ป่วยในโรงพยาบาล และเป็นการเตรียมความพร้อมของทรัพยากรต่าง ๆ ให้พร้อมรับสถานการณ์การระบาดที่อาจรุนแรงขึ้น สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานให้บริการทางสุขภาพในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีโรงพยาบาลในสังกัด จำนวน ๑๑ โรงพยาบาล ให้บริการผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ประมาณ ๔,๐๐๐,๐๐๐ ครั้งต่อปี ทั้งสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม และผู้ป่วยสิทธิข้าราชการ โดยผู้ป่วยที่มารับบริการส่วนใหญ่มาด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ส่งผลให้โรงพยาบาลเกิดความแออัด ประชาชนต้องรอคิวนาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพ คุณภาพบริการ ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้โรงพยาบาลต้องลดความแออัดของผู้มารับบริการ เพื่อลดการสัมผัสเชื้อที่อาจมีอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งสามารถแพร่ไปยังผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ โดยการนำเทคโนโลยีการสื่อสาร เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนต์ ที่สามารถส่งข้อมูลภาพ และเสียง ระหว่างคนไข้กับแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการกันได้อย่างรวดเร็ว เป็นการลดความแออัดภายในโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยได้รับโอกาสทางการรักษา และเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างเท่าเทียมกับผู้ป่วยที่อยู่ในเขตเมือง โดยไม่ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ช่วยให้ได้รับความสะดวกมากขึ้น และยังเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสังคมสู่ความเป็นปกติรูปแบบใหม่ (New Normal) อีกด้วย
07020000/07020000
1. เพื่อเป็นการลดความแออัดของผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลโดยการรักษาพยาบาลผ่านระบบออนไลน์และการจ่ายยาด้วยการส่งไปรษณีย์ 2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรักษาผู้ป่วยและการติดตามการรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สะดวกในการเดินทางมารับบริการที่โรงพยาบาล
ให้บริการด้านการรักษาผู้ป่วย และให้คำปรึกษาด้านการรักษาผู้ป่วยผ่านระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ควบคุมได้ ได้แก่ กลุ่มโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงและโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น 2. ผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเหมาะสมกับการรักษาด้วยระบบโทรเวชกรรม ได้แก่ ผู้ป่วยโรคผิวหนังเรื้อรัง ผู้ป่วย ARV และผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง เป็นต้น 3. ผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ตามกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดและมารับบริการมากกว่า 1 ครั้ง (ผู้ป่วยเก่า) และแพทย์พิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถรับบริการทางระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) ได้
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-30)
30/09/2566 : โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์จำนวน 10 แห่งให้บริการด้านการรักษาผู้ป่วยด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) จำนวน 93,133 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :1. ผู้ป่วยบางส่วนยังคงต้องการมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลมากกว่าการรักษาพยาบาลในรูปแบบใหม่ผ่านระบบ telemedicine 2. ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุมีปัญหาในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ 3. จำนวนผู้ป่วยที่มีการ Download Application “หมอ กทม.” ยังมีจำนวนไม่มาก ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-08-27)
27/08/2566 : การให้บริการด้านการรักษาผู้ป่วยด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) สามารถให้บริการได้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคทั่วไปครอบคลุม 42 กลุ่มโรค/อาการ ตามประกาศของ สปสช. หรือที่แพทย์เห็นสมควร ผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 กรกฎาคม 2566 มีผู้รับบริการ จำนวน 84,407 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-07-23)
23/07/2566 : การให้บริการด้านการรักษาผู้ป่วยด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) สามารถให้บริการได้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคทั่วไปครอบคลุม 42 กลุ่มโรค/อาการ ตามประกาศของ สปสช. หรือที่แพทย์เห็นสมควร ผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 30 มิถุนายน 2566 มีผู้รับบริการ จำนวน 75,288 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-06-27)
27/06/2566 : การให้บริการด้านการรักษาผู้ป่วยด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) สามารถให้บริการได้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคทั่วไปครอบคลุม 42 กลุ่มโรค/อาการ ตามประกาศของ สปสช. หรือที่แพทย์เห็นสมควร ผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 พฤษภาคม 2566 มีผู้รับบริการ จำนวน 63,034 ครั้ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของการให้บริการด้านการรักษาผู้ป่วยด้วยระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) (ปี 2566)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 0
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 93133
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **