ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
นางสาวชลธิชา นิวาสเวสและนางกัญญ์นลิน สุขสมบท
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กปัจจุบันบุคลากรสายวิชาชีพพยาบาลของศูนย์บริการสาธารณสุขมีความก้าวหน้าในสายวิชาชีพถึงระดับชำนาญการพิเศษทุกตำแหน่ง โดยสมรรถนะที่พึงประสงค์นั้นมีความจำเป็นต้องแสดงถึงลักษณะการให้บริการพยาบาลที่ใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะทางในการดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ยุ่งยากซับซ้อนผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ที่ถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย มีความคิด เชื่อมโยงวางแผน สร้างสรรค์รูปแบบและเทคนิควิธีการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแล โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence base) เพื่อยืนยันผลการปฏิบัติงานอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอนให้สามารถเข้าถึงผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้สะดวก รวดเร็ว และทันสมัย สอดคล้องกับความเป็นบริบทเมือง รองรับความก้าวหน้าของโลกยุคดิจิตอลด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มคุณค่าของงาน เพื่อให้เกิดแนวทางปฏิบัติการพยาบาลที่ดีที่สุด สอดคล้องกับนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครในภารกิจเร่งด่วนที่ต้องผลักดันทันใจแก้ไขทันที ในด้านการดูแลคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและผู้สูงอายุ (Bangkok Special Care) ด้วยการเพิ่มความสะดวก ความใส่ใจเป็นพิเศษในการพัฒนาบริการการแพทย์และสาธารณสุข สันทนาการ บริการที่สำนักงานเขต และการเพิ่มพูนความรู้และทักษะอาชีพให้กับผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) ซึ่งรวมถึงการเพิ่มพูนสมรรถนะของข้าราชการสายงานพยาบาล ตามแผนพัฒนาสายอาชีพ (Training Road Map) ในการสร้างผลงานวิจัยทางการพยาบาล เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนางานบริการพยาบาลเพื่อการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องให้การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน อันได้แก่ กลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ที่มีความพิการติดตัว ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยถึงไม่ได้เลย ผู้ป่วยที่มีสายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่หลากหลายติดตัวมาจากโรงพยาบาลและผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน (Palliative Home Care) ส่งผลลัพธ์ต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่สามารถทดสอบ วัด และประเมินผล การดูแลได้ โดยใช้กระบวนการวิจัยที่เป็นระเบียบแบบแผนตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความเชี่ยวชาญในงานวิจัยเป็นพี่เลี้ยง สอน สาธิต ให้คำปรึกษาแนะนำการนำงานประจำที่ได้ปฏิบัติ มาศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เกิดการสร้างสรรค์พัฒนารูปแบบระบบบริการพยาบาล และแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลที่ดี (Good Practice) มุ่งสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ (Best Service) และสามารถนำผลงานวิจัยทางการพยาบาลไปเผยแพร่เป็นที่ยอมรับแก่หน่วยงานภายในและภายนอกให้เป็นที่ประจักษ์ ด้วยตระหนักในความสำคัญดังกล่าว กองการพยาบาลสาธารณสุข เห็นควรดำเนินโครงการการสร้างงานวิจัยของข้าราชการสายงานพยาบาลเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพงานบริการพยาบาล ศูนย์บริการ-สาธารณสุข
08040000/08040000
- เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพสามารถนำงานประจำในภาคพื้นที่มาวิเคราะห์ วิจัย เพื่อสร้างงานวิจัยทางการพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ - เพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบ แนวทางปฏิบัติหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ค้นพบจากการศึกษาวิจัยทางการพยาบาล - เพื่อนำรูปแบบ แนวทางปฏิบัติ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยทางการพยาบาลไปเป็นต้นแบบให้บุคลากรของศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่ง ได้นำไปใช้ในการปฏิบัติงาน
กิจกรรมที่ 1 การจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การสร้างสรรค์งานประจำสู่งานวิจัยทางการพยาบาล โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมฯ จำนวนทั้งสิ้น 80 คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 70 คน ดังนี้ - ข้าราชการสายงานพยาบาล คือ พยาบาลวิชาชีพและนักวิชาการพยาบาลระดับ ปฏิบัติการถึงชำนาญการ จำนวน 70 คน - ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน ดังนี้ 1. เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 6 คน 2. วิทยากร จำนวน 4 คน กิจกรรมที่ 2 การจัดประชุมวิชาการ สร้างเครือข่ายการนำต้นแบบงานวิจัยทางการพยาบาลสู่การปฏิบัติงานที่ยั่งยืน จำนวนทั้งสิ้น 235 คน ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 220 คน ดังนี้ - ข้าราชการกรุงเทพมหานคร คือ พยาบาลวิชาชีพและนักวิชาการพยาบาล ระดับปฏิบัติการถึงระดับชำนาญการพิเศษ จำนวน 220 คน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 15 คน
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๒ - การบริหารแผนและประเมินผล |
๗.๒.๑ กรุงเทพมหานครมีระบบการติดตามและรายงานความก้าวหน้าผลการดำาเนินงานตามแผนพัฒนากรุงเทพ% |
๗.๒.๑.๒ หน่วยงานมีแผนยุทธศาสตร์สอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2020-08-28)
28/8/2563 : ดำเนินโครงการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้แล้ว คิดเป็นร้อยละ 100 ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผน เรียบร้อยแล้ว ดังนี้ 1. เสนอขออนุมัติโครงการและงบประมาณ 2. ประชาสัมพันธ์หลักสูตรและเชิญชวนข้าราชการผู้สนใจสมัครเข้าประชุมพร้อมเสนอหัวข้อวิจัยทางการพยาบาล 3. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน และจัดทำคำสั่งให้ข้าราชการเข้ารับการประชุม 4. ประสานวิทยากร สถานที่จัดประชุม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผน มีรายละเอียดดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การสร้างสรรค์งานประจำสู่งานวิจัยทางการพยาบาล เป็นการประชุมแบบไป-กลับ (ไม่ต่อเนื่อง) ระยะเวลาการประชุมจำนวน 4 ครั้งๆ ละ 2 วัน ให้กับกลุ่มเป้าหมาย 70 คน ตามรายละเอียดดังนี้ ครั้งที่ 1 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อฝึกทักษะการเขียนโครงร่างงานวิจัยทางการพยาบาล รูปแบบกิจกรรมเป็นการแบ่งกลุ่มฝึกภาคปฏิบัติ ในวันที่ 19-20 ธันวาคม 2562 ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์คกรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าประชุมทั้งหมด 66 คน คิดเป็นร้อยละ 94 ครั้งที่ 2 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการพยาบาล ในวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าประชุมทั้งหมด 68 คน คิดเป็นร้อยละ 97 ครั้งที่ 3 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่ถูกต้อง ในวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2563 ณ โรงแรมรามาดา บาย วินแดม แบงคอก เจ้าพระปาร์ค กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าประชุมทั้งหมด 69 คน คิดเป็นร้อยละ 99 ครั้งที่ 4 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดทำรายงานผลการวิจัยทางการพยาบาล ในวันที่ 6-7 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมรามาดา บาย วินแดม แบงคอก รามาดา บาย วินแดม แบงคอก เจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าประชุมทั้งหมด 69 คน คิดเป็นร้อยละ 99 พบว่า ผู้เข้าประชุมมีคะแนนความรู้เฉลี่ยหลังเข้าประชุมสูงกว่าก่อนเข้าประชุม เมื่อทดสอบด้วยสถิติ paired sample test พบว่า ผู้เข้าประชุมมีคะแนนความรู้เฉลี่ยก่อน (x ̅ =12.10, SD =2.114) และหลังเข้า(x ̅ =14.43, SD =2.823) ประชุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p-value < 0.05) และผู้เข้าประชุมมีความพึงพอใจในการเข้าประชุมการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยทางการพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ =4.30, SD =.670) การจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การสร้างสรรค์ผลงานวิจัยทางการพยาบาลจากงานประจำอย่างมีประสิทธิภาพ หลังเสร็จสิ้นการจัดประชุมดังกล่าว มีผลผลิตเป็นผลงานวิจัยทางการพยาบาล (ฉบับสมบูรณ์) จำนวน 5 เรื่อง ดังนี้ 1. ผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ต่อความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. ผลของโปรแกรมการพัฒนาคุณภาพการดูแลและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ในกรุงเทพมหานคร 3. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยง 4. ผลของโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูง 5. ผลของโปรแกรมการพยาบาลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษาในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2020-08-27)
27/8/2563 : ดำเนินการจัดการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการสร้างสรรค์งานประจำสู่งานวิจัยทางการพยาบาล ครั้งที่ 4 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดทำรายงานผลการวิจัยทางการพยาบาล ระหว่างวันที่ 6-7 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมรามาดา บาย วินแดม แบงคอก เจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 69 คิดเป็นร้อยละ 99
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2020-08-18)
18/8/2563 : ดำเนินการจัดการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการสร้างสรรค์งานประจำสู่งานวิจัยทางการพยาบาล ครั้งที่ 3 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ระหว่างวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2563 ณ โรงแรมรามาดา บาย วินแดม แบงคอก เจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 69 คน คิดเป็นร้อยละ 99
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2020-07-29)
29/7/2563 : จะดำเนินการจัดการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการสร้างสรรค์งานประจำสู่งานวิจัยทางการพยาบาล ครั้งที่ 4 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดทำรายงานผลการวิจัยทางการพยาบาล ระหว่างวันที่ 6-7 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมรามาดา บาย วินแดม แบงคอก เจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2020-06-25)
25/6/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอนปรับแก้ไขเครื่องมือให้เหมาะสมเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล และจะดำเนินการจัดประชุมครั้งที่ 3 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ในระหว่างวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2563 ณ โรงแรมรามาดา บาย วินแดม แบงคอก เจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :ตามหนังสือที่ กท 0707/626 ลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 เรื่อง ขอเห็นชอบและอนุมัติปรับเปลี่ยนรายละเอียดและค่าเป้าหมายตัวชี้วัด ขอปรับรายละเอียด ดังนี้ 1. ปรับเปลี่ยนตัวชี้วัดจากมีผลงานวิจัยทางการพยาบาลเป็นโครงร่างงานวิจัย 2. มีการนำระบบ IT มาเพิ่มความคล่องตัวในการสื่อสารและการประชุมร่วมกัน เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง 3. ในปีต่อไปควรสนับสนุนงบประมาณเพื่อการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2020-05-21)
21/5/2563 : ดำเนินการขอจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ผ่านการอนุมัติแล้วขณะนี้อยู่ระหว่าการดำเนินการส่งเครื่องมืองานวิจัย ทั้ง 5 เรื่อง ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและปรับแก้ไขให้เหมาะสมเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2020-04-16)
16/4/2563 : กิจกรรมที่ 1 การจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การสร้างสรรค์งานประจำสู่งานวิจัยทางการพยาบาล ครั้งที่ 3 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่ถูกต้อง ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 21-22 พฤษภาคม 2563 ขอเลื่อนการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการฯ เดือนมิถุนายน เนื่องจากช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิท 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2020-03-27)
27/3/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอนการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ จำนวน 5 เรื่อง ดังนี้ 1. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร 2. ผลของโปรแกรมการพัฒนาคุณภาพการดูแลและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ในกรุงเทพมหานคร 3. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค ต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยง 4. ผลของโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูง 5. ผลของโปรแกรมการพยาบาลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษาในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2020-03-10)
10/3/2563 : ดำเนินการจัดประชุมกิจกรรมที่ 1 การจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การสร้างสรรค์งานประจำสู่งานวิจัยทางการพยาบาล ครั้งที่ 2ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการพยาบาล ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ในวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2563 เรียบร้อยแล้ว มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 68 คน คิดเป็นร้อยละ 97
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2020-02-13)
13/2/2563 : จะดำเนินการจัดประชุมกิจกรรมที่ 1 การจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การสร้างสรรค์งานประจำสู่งานวิจัยทางการพยาบาล ครั้งที่ 2ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการพยาบาล ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ในวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2563
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2020-01-09)
9/1/2563 : จากการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การสร้างสรรค์งานประจำสู่งานวิจัยทางการพยาบาล ครั้งที่ 1 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อฝึกทักษะการเขียนโครงร่างงานวิจัยทางการพยาบาล ในวันที่ 19 - 20 ธันวาคม 2562 ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร ได้หัวข้อวิจัยจำนวน 5 เรื่องดังนี้ 1. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร 2. ผลของโปรแกรมการพัฒนาคุณภาพการดูแลและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ในกรุงเทพมหานคร 3. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค ต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยง 4. ผลของโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูง 5. ผลของโปรแกรมการพยาบาลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ดื้อต่อการรักษาในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2019-12-26)
26/12/2562 : ดำเนินการจัดกิจกรรมที่ 1 การจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การสร้างสรรค์งานประจำสู่งานวิจัยทางการพยาบาล ครั้งที่ 1 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อฝึกทักษะการเขียนโครงร่างงานวิจัยทางการพยาบาล ในวันที่ 19 - 20 ธันวาคม 2562 ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว มีผู้เข้าร่วมประชุม 66 คน คิดเป็นร้อยละ 94%
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(13) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2019-12-11)
11/12/2562 : จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน และจัดทำคำสั่งให้ข้าราชการเข้ารับการประชุมเรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการจัดกิจกรรมที่ 1 การจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การสร้างสรรค์งานประจำสู่งานวิจัยทางการพยาบาล ครั้งที่ 1 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อฝึกทักษะการเขียนโครงร่างงานวิจัยทางการพยาบาล ในวันที่ 19 - 20 ธันวาคม 2562 ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาและอุปสรรค
------------------&&&--------------------
(14) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2019-11-09)
9/11/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...อยู่ระหว่างขั้นตอนจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน และจัดทำคำสั่งให้ข้าราชการเข้ารับการประชุม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(15) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2019-10-28)
28/10/2562 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...กำลังดำเนินการเสนอขออนุมัติโครงการและงบประมาณ ประชาสัมพันธ์หลักสูตรและเชิญชวนพยาบาลวิชาชีพผู้สนใจสมัครเข้าประชุมพร้อมเสนอหัวข้อวิจัยทางการพยาบาล
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 66.67
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **