ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย (สยส.) : 08000000-3750

สำนักอนามัย : (2564)

40

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 40

นางสาวกนกพร จรรยามั่น

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

จากระบบรายงานข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ปีงบประมาณ 2563 แสดงข้อมูลให้เห็นว่า ผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดนั้นมีอายุที่น้อยลง โดยมีเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 15 ปี ร้อยละ 13.59 เด็กและเยาวชนอายุ 15 - 19 ปี ร้อยละ 47.75 นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กและเยาวชนทั้ง 2 กลุ่ม เป็นผู้ที่เริ่มใช้ ยาเสพติดครั้งแรก ร้อยละ 61.34 ซึ่งเป็นผลจากความผิดพลาดในการบริหารจัดการชีวิตที่ขาดความเหมาะสม ตลอดจนแผนยุทธศาสตร์การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด มุ่งเน้นการสร้างภูมิคุ้มกันและการป้องกันยาเสพติดที่เหมาะสมกับช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาทักษะสมอง หรือ EF (Brain Executive Functions ) ในเด็กกลุ่มปฐมวัย ช่วงอายุ 3 - 6 ปี อย่างต่อเนื่อง เพื่อวางรากฐานเป็นภูมิคุ้มกันยาเสพติดในระยะยาว ลดพฤติกรรมเบี่ยงเบนแบบองค์รวม และเพื่อเป็นพื้นฐานการเสริมสร้างวินัย คุณธรรม ความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม โดยทักษะเหล่านี้จะดำรงอยู่และถูกนำมาใช้เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ของยาเสพติดหรืออบายมุขต่างๆ เด็กจะมีทักษะในการยับยั้งชั่งใจ รู้จักหลีกเลี่ยง ปฏิเสธ และตระหนักถึงเป้าหมายของชีวิต สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ได้ดำเนินโครงการการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด ในเด็กปฐมวัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสาธารณสุขให้มีความรู้ด้านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย และสร้างเครือข่ายการดำเนินงานฯ ให้แก่พยาบาลวิชาชีพและพี่เลี้ยงเด็กในสถานรับเลี้ยง เด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 10 แห่ง เพื่อเป็นการขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุม ในเชิงพื้นที่ ในปี 2564 สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด จึงจัดโครงการการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ยาเสพติดในเด็กปฐมวัยเป็นโครงการต่อเนื่อง โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง พร้อมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะสมองในเด็กปฐมวัยอย่างถูกต้อง สามารถพัฒนาเด็กได้อย่างสอดคล้องกับศักยภาพตามธรรมชาติ อีกทั้งยังสามารถสื่อสารองค์ความรู้ให้แก่กลุ่มผู้ปกครอง ได้ใส่ใจเรียนรู้ สังเกต และบ่มเพาะฝึกฝนผ่านการดูแลในชีวิตประจำวันเพื่อร่วมกันสร้างทรัพยากรชาติที่มีความสามารถในการจัดการชีวิตให้ผ่านพ้นปัญหาอุปสรรคมีความสามารถที่จะมีความสุขและความภาคภูมิใจในตนเอง โดยห่างไกลจากอบายมุขและยาเสพติด

08090000/08090000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อพัฒนาศักยภาพพยาบาลอนามัยชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย ให้มีความรู้ด้านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย 2. เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัยในศูนย์บริการสาธารณสุขและในชุมชน

เป้าหมายของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัยพร้อมสนับสนุนชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะสมอง จำนวน ๒ รุ่นๆ ละ ๒ วัน แบบไป - กลับ ณ สถานที่เอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดำเนินการระหว่างเดือน เมษายน - กรกฎาคม ๒๕๖๔ กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ๑. พยาบาลอนามัยชุมชน สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๙ แห่ง แห่งละ ๑ คน รวม ๖๙ คน ๒. อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข ๖๙ แห่ง แห่งละ ๓ คน รวม ๒๐๗ คน ๓. วิทยากร จำนวน ๙ คน/รุ่น รวม ๑๘ คน ๔. เจ้าหน้าที่ จำนวน ๒๐ คน/รุ่น รวม ๔๐ คน รวมทั้งสิ้น ๓๓๔ คน กิจกรรมที่ 2 ติดตามผลการดำเนินงานของพยาบาลอนามัยชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน ที่ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัยจากรายงานผลการปฏิบัติงาน เดือนละ 1 ครั้ง (โดยไม่ใช้งบประมาณ)

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
๑.๒ - ปลอดอาชญากรรมและยาเสพติด
๑.๒.๒ เด็กและเยาวชนไม่เสพยาเสพติด ผู้เสพติดทุกคนเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูที่มีมา%
๑.๒.๒.๓ บำบัดรักษาฟื้นฟู ติดตามดูแลผู้เสพผู้ติดยา/สารเสพติดให้สามารถกลับไปดำเนินชีวิตได้ตามปกติในสังคม

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-09-03)

40.00

03/09/2564 : สรุปผลการดำเนินการโครงการการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย - โครงการการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย ปีงบประมาณ 2564 ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 2 วัน แบบไป - กลับ ณ สถานที่เอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1) พยาบาลอนามัยชุมชน สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง แห่งละ 1 คน รวม 69 คน 2) อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง แห่งละ 3 คน รวม 207 คน กิจกรรมที่ 2 ติดตามผลการดำเนินงานของพยาบาลอนามัยชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน ที่ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย จากการรายงานผลการปฏิบัติงาน เดือนละ 1 ครั้ง (ไม่ใช้งบประมาณ) - สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ยังไม่ได้ดำเนินการกิจกรรมที่ 1 - 2 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID - 19 ทั้งนี้ ได้ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ไปจนถึงปีงบประมาณ 2565 (30 กันยายน 2565) รายละเอียดตามหนังสือที่ กท0709/983 ลว. 19 ส.ค 64 เรื่องขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย ผอ.สนอ ลงนามอนุมัติ วันที่ 20 ส.ค.64

** ปัญหาของโครงการ :- เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิท19 จึงไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ตามกำหนดภายในปีงบประมาณ 2564

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-08-20)

40.00

20/08/2564 : อยู่ระหว่างกำหนดวัน เวลา และสถานที่สำหรับ ดำเนินกิจกรรมที่ 1

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-07-29)

40.00

29/07/2564 : อยู่ระหว่างกำหนดวัน เวลา และสถานที่สำหรับดำเนินกิจกรรมที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย

** ปัญหาของโครงการ :- เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) ทำให้ไม่สามารถกำหนด วัน เวลา และสถานที่ในการจัดประชุมได้

** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2021-06-24)

40.00

24/06/2564 : อยู่ระหว่างการกำหนดวัน เวลา สถานที่จัดกิจกรรม

** ปัญหาของโครงการ :- ยังไม่สามารถกำหนด วัน เวลา และสถานที่จัดกิจกรรมได้เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดโรคติดเชื้อ COVID - 19

** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-05-31)

30.00

31/05/2564 : อยู่ระหว่างขออนุมัติงบประมาณ โครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2021-04-29)

20.00

29/04/2564 : อยู่ระหว่างการจัดทำโครงการ และขอเห็นชอบโครงการ เพื่อเสนอของบประมาณ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2021-03-12)

20.00

12/03/2564 : อยู่ระหว่างการจัดทำโครงการ และขอเห็นชอบโครงการ เพื่อเสนอของบประมาณ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-02-26)

10.00

26/02/2564 :อยู่ระหว่างการจัดทำโครงการ และขอเห็นชอบโครงการ เพื่อเสนอของบประมาณ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2021-01-29)

10.00

29/01/2564 : - อยู่ระหว่างการจัดทำโครงการ และขอเห็นชอบโครงการ เพื่อเสนอของบประมาณ

** ปัญหาของโครงการ :- ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-12-07)

10.00

7/12/2563 : อยู่ระหว่างขอเห็นชอบ จัดทำโครงการ ฯ เพื่อเสนอของบประมาณ

** ปัญหาของโครงการ :- ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี

------------------&&&--------------------

(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-11-13)

10.00

13/11/2563 : จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย (สยส.)

** ปัญหาของโครงการ :- ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี

------------------&&&--------------------

(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-31)

5.00

31/10/2563 : กำหนดรายละเอียดโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย (สยส.)

** ปัญหาของโครงการ : - ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:กำหนดรายละเอียดกิจกรรมโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2020-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ
:10.00%
เริ่มต้น :2020-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:ขออนุมัติงบประมาณ
:10.00%
เริ่มต้น :2020-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:กำหนดวัน เวลา และสถานที่จัดกิจกรรม
:5.00%
เริ่มต้น :2020-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:ประสานขอรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมฯ เพื่อจัดทำคำสั่ง
:15.00%
เริ่มต้น :2020-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2020-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:จัดทำกิจกรรมที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัยฯ
:25.00%
เริ่มต้น :2021-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:จัดกิจกรรมที่ 2 ติดตามผลการดำเนินงานของพยาบาลอนามัยชุมชนและอาสามสมัครฯ
:10.00%
เริ่มต้น :2021-05-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-05-01 00:00:00
ขั้นตอน 9
:ประเมินและสรุปผลโครงการ จัดทำรายงานเสนอผู้บริหาร
:5.00%
เริ่มต้น :2021-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2021-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 08000000-3750

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 08000000-3750

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0800-6598

ตัวชี้วัด : ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีภูมิคุ้มกันในระดับปกติ (ผลลัพธ์)

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 55

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 55.2

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

100 / 100
2
53.09

0 / 0
3
55.20

0 / 0
4
55.20

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **