ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
--
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
--
08940000/08940000
--1. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการหรือหน่วยงานสาธารณสุขแก่บุคคลในพื้นที่ ให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตขององค์กรหรือกลุ่มประชาชนหรือหน่วยงานอื่นของรัฐแก่บุคคลในพื้นที่ กรณีมีความจำเป็นต้องจัดซื้อครุภัณฑ์ให้สนับสนุนได้ในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาทต่อโครงการ 3. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ 4. เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ ทั้งนี้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร 5. กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ให้จ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ได้ตามความจำเป็นเหมาะสม
--สมทบเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครมากกว่าร้อยละ 60
ด้านที่ ๗ – การบริหารจัดการเมืองมหานคร : Management Strategy |
๗.๒ - การบริหารแผนและประเมินผล |
๗.๒.๑ กรุงเทพมหานครมีระบบการติดตามและรายงานความก้าวหน้าผลการดำาเนินงานตามแผนพัฒนากรุงเทพ% |
๗.๒.๑.๒ หน่วยงานมีแผนยุทธศาสตร์สอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2021-09-15)
15/09/2564 : 1. ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับ ติดตามและประเมินผลแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเงินค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร จากการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับ ติดตามและประเมินผลแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเงินค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 09.00 -12.00 น.ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Zoom Conference มติที่ประชุม 1. เห็นชอบแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การกำกับ ติดตาม และประเมินผล โดยกำหนดประชุมคณะอนุกรรมการฯ เดือนละ 1 ครั้ง และแต่งตั้งทีม กำกับ ติดตาม และประเมินผลระดับ โซนพื้นที่เขต จำนวน 3 ชุด 2. เห็นชอบให้ทดลองใช้แบบฟอร์มการกำกับ ติดตาม และประเมินผลกับสำนักงานเขตเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมและสะดวกต่อการใช้งาน 3. เห็นชอบการกำกับ ติดตามแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมของสำนักงานเขต โดยเร่งรัดติดตามทำความเข้าใจให้กับคณะอนุกรรมการกองทุน หลักประกันสุขภาพเขตทั้ง 50 และการติดตามแบบเสริมพลัง 2. ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่7/2564 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564 วันที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 09.00 -12.00 น.ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบ Zoom Conference สรุปความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต โครงการที่เสนอจากองค์กรหรือกลุ่มประชาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข - การเปลี่ยนแปลงหรือขยายระยะเวลาดำเนินการและการยกเลิกแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรม -พิจารณาโครงการที่ขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการจัดบริการเจาะเลือดผู้ป่วยถึงบ้าน (Mobile Lab) ของ โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จำนวนเงิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) -ขอขยายเวลาการดำเนินงานตามโครงการที่ได้การสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ประเภท 6(2) จำนวน 3 โครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2021-09-09)
รายงานผลเดือนสิงหาคม 2564 1. การจัดประชุมคณะกรรมการกองทุนจัดประชุมไปแล้วทั้งหมด จำนวน 6 ครั้ง โดยประชุมครั้งล่าสุดครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เวลา 09.00 – 13.30 น. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดจะจัดการประชุมครั้งที่ 7/2564 ในวันที่ 14 กันยายน 2564 2. โครงการที่ได้รับการอนุมัติ จากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ 2564 (เดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2564) จำนวน 10 โครงการ ดังนี้ 1. โครงการจัดระบบรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อสำหรับ Home Isolation Community Isolation และโรงพยาบาลสนาม ป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยสำนักสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 28,256,800.- บาท 2.โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดยสำนักการแพทย์ งบประมาณ 43,861,440.- บาท 3. โครงการจัดประชุมคณะอนุกรรมการด้านกฎหมายกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร งบประมาณ 256,950.- บาท 4. โครงการจัดประชุมคณะอนุกรรมการด้านการเงินคลังและทรัพย์กองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร งบประมาณ 353,400.- บาท 5. โครงการจัดประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกรุงเทพมหานคร งบประมาณ 354,150.- บาท 6. โครงการจัดประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครและคณะอนุกรรมการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบประมาณ 1,830,300.- บาท 7. โครงการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายสำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร (สำนักงาน-เลขานุการ) งบประมาณ 4,839,890.- บาท 8. โครงการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายสำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร (กองการพยาบาล-สาธารณสุข) งบประมาณ 5,610,550.- บาท 9. โครงการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายสำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร (สำนักงาน-พัฒนาระบบสาธารณสุข) งบประมาณ 5,853,740.- บาท 10. แผนงานสนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร สำหรับสำนักงานเขต งบประมาณ 60,872,500.- บาท 3. สรุปงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครในระดับเขต ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 (ข้อมูล ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2564) 3.1 โครงการที่ได้รับการอนุมัติเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครในระดับเขตทั้ง 50 เขต จำนวน 1,021 โครงการ งบประมาณที่อนุมัติ 74,339,215.- บาท 3.2 การอนุมัติโครงการที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั้ง 50 เขต จำนวน 194 โครงการ งบประมาณที่อนุมัติ 36,384,442.- บาท 4. ระยะเวลาในการเสนอแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สามารถเสนอแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565 5. การจัดสรรกรอบวงเงินให้สำนักงานเขต คณะกรรมการกองทุน ฯ มีมติเห็นชอบการจัดสรรกรอบวงเงินในอัตรา 45 บาทต่อหัวประชากรของแต่ละสำนักงานเขต ตามข้อมูลจำนวนประชากรจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๓ กรุงเทพมหานคร ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563 6. คณะกรรมการกองทุน ฯ มีมติเห็นชอบยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครว่าด้วยการดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุน พ.ศ. ๒๕๖๒ และการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน กรณีแผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติจาคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขตภายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ แต่ไม่สามารถจ่ายเงินให้แก่ผู้เสนอแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมได้ทันสิ้นปีงบประมาณ รายละเอียดตามเอกสารแนบ 7. คณะกรรมการกองทุน ฯ มีมติขอยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๖๒ และการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน กรณีที่ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ แต่ไม่สามารถเบิกเงินไปชำระหนี้ได้ทันสิ้นปีงบประมาณรายละเอียดตามเอกสารแนบ
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2021-07-29)
29/07/2021 : - แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับ ติดตามและประเมินผลแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเงินค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน 2564 ซึ่งมีอนุกรรมการจำนวนทั้งสิ้น 19 คน โดยมีนายณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา เป็นประธานอนุกรรมการ นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล และรองผู้อำนวยการสำนักอนามัยที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสำนักอนามัยเป็นรองประธานอนุกรรมการ ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ - จัดประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 6/2564 แบบออนไลน์ผ่านระบบ ทางไกล (Zoom Conference) ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00 – 12.00 น. มีโครงการที่นำเข้าวาระการประชุม จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครช่วยเลิกบุหรี่ ด้วยวิธีการนวดกดจุดสะท้อนเท้า โดยสำนักอนามัย งบประมาณ 157,400 บาท 2. โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดย สำนักการแพทย์ งบประมาณ 6,000,000 บาท 3. โครงการบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มพนักงานบริการ โดย สมาคมส่งเสริมพัฒนาการสังคม งบประมาณ ๖๐๗,๓๒๐ บาท 4. โครงการการพัฒนาทักษะชีวิตและการส่งเสริมสุขลักษณะด้านอนามัยเจริญพันธุ์ สำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (โครงการนำร่อง) โดย สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน งบประมาณ 980,375 บาท 5. โครงการสูงวัยทันสมัย โลกปัจจุบัน โดย สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน งบประมาณ 733,710 บาท มติที่ประชุม มอบฝ่ายเลขานุการประสานผู้เสนอโครงการปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองฯ และนำเข้าสู่วาระการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาต่อไป - ประชุมหารือแนวทางการใช้เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครในระดับเขต เพื่อแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ผ่านการประชุมทางไกล (Zoom Conference)เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ๒๕๖4 เวลา 14.00 – 15.30 น. สรุปสาระสำคัญดังนี้ ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความรุนแรงมากขึ้น พบผู้ติดเชื้อจำนวนมากและพบว่าผู้ติดเชื้อหลายรายเป็นผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียว ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย สืบเนื่องจากนโยบายการจัดตั้งศูนย์พักคอยให้ครอบคลุมครบถ้วน 50 เขต ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 เพื่อรองรับนโยบายดังกล่าวจึงทำให้ต้องมีการเฝ้าระวังและติดตามเพื่อควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไม่ให้กระจายไปในวงกว้าง 1. ค่าใช้จ่ายที่สามารถขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19 ได้ในกรณีดังต่อไปนี้ 1.1 ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุง เตรียมสถานที่เพื่อปรับเป็นศูนย์พักคอย community isolation ในชุมชน อาทิเช่น กรณีทำฉากกั้น ในลักษณะของการจ้างเหมา (ไม่จัดรวมอยู่ในหมวดของครุภัณฑ์) โดยสามารถดำเนินการได้ไม่เกิน 5 แสนบาท (ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง) ตามระเบียบกำหนดไว้ 1.2 ค่าวัสดุ อุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยโควิด อาทิเช่น ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ถุงขยะใส่ขยะติดเชื้อ (หากได้รับการสนับสนุน บริจาค หรือจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งแล้วไม่สามารถของบประมาณส่วนนี้ได้) ยกเว้นแต่วัสดุ อุปกรณ์ที่ได้รับมาไม่เพียงพอเท่านั้น 1.3 ค่าอุปกรณ์ป้องกันตนเองในการดำเนินงานให้จิตอาสา อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้ปฏิบัติงานทั้งเจ้าหน้าที่และจากประชาชนทั่วไป ในการลงปฏิบัติงานในศูนย์พักคอย หรือในการควบคุมและเฝ้าระวังในเขตพื้นที่ได้แก่ หน้ากากอนามัย faceshield Isolation grown. ถุงมือ รองเท้ายาง เป็นต้น 1.4 ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นเกี่ยวกับ การบันทึกข้อมูล สรุปผลการปฏิบัติงาน 1.5 ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ สามารถเบิกได้ตามระเบียบที่ทางราชการกำหนด (ของแต่ละหน่วยงานอาจมีความแตกต่างตามหน้าที่) 1.6 ค่าป้ายไวนิล ค่าสื่อ อุปกรณ์ขยายเสียงประชาสัมพันธ์ในชุมชน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและจำเป็น 2. อุปกรณ์การแพทย์ที่ช่วยสนับสนุนอื่นๆ สำนักอนามัยจัดหาแยกต่างหาก เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดอัตโนมัติ เครื่องผลิต Oxygen 3. ค่าอาหารของผู้ป่วยโควิด ให้เบิกตามแนวทางการขอรับค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุข ของสปสช (ไม่เบิกจากงบประมาณของกองทุน) 4. สำนักอนามัยเร่งดำเนินการประสานสปสช. และจัดทำโครงการตัวอย่าง เพื่อใช้เงินกองทุน ในการสนับสนุนการตั้งศูนย์พักคอย โดยให้เวียนให้ภาคส่วนต่างไป โดยเฉพาะสำนักงานเขตนำไปดำเนินการ และพิจารณาโครงการในระดับคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต (อำนาจไม่เกิน 1 ล้านบาท/โครงการ) โดยการขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงบประมาณแหล่งอื่น 5. เตรียมจัดอบรมภาคีเครือข่ายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (สำนักอนามัยโดยกองสร้างเสริมสุขภาพ และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) ประสานความร่วมมือร่วมกัน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2021-06-23)
1. สรุปงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 1.1 งบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต ทางสำนักงานเขตเบิกเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเบิกจ่ายให้แก่ผู้เสนอแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมแล้ว รวมทั้งสิ้น 564 โครงการ รวมทั้งสิ้น 29,397,890.88 บาท (ยี่สิบเก้าล้านสามแสนเก้าหมื่นเจ็ดพันแปดร้อยเก้าสิบบาทแปดสิบแปดสตางค์) (ข้อมูล ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2564) 1.2 งบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร อนุมัติโครงการแล้ว 24 โครงการ รวมงบประมาณที่อนุมัติ 159,574,374.-บาท (หนึ่งร้อยห้าสิบเก้าล้านห้าแสนเจ็ดหมื่นสี่พันสามร้อยเจ็ดสิบสี่บาทถ้วน) คงเหลืองบประมาณกองทุนฯ ณ ปัจจุบัน 1,439,883,875.62 บาท (หนึ่งพันสี่ร้อยสามสิบเก้าล้านแปดแสนแปดหมื่นสามพันแปดร้อย เจ็ดสิบห้าบาทหกสิบสองสตางค์) 2. การขยายระยะเวลาในการเสนอแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะกรรมการกองทุนฯ มีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาในการเสนอและการพิจารณาแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรม ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ทั้งในระดับเขตพื้นที่และระดับกรุงเทพมหานคร จากเดิม เสนอได้ถึงเดือน พฤษภาคม เปลี่ยนเลื่อนออกไปจนถึงเดือน กันยายน 2564 ทั้งนี้ โครงการใดที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการล่วงเลยปีงบประมาณ พ.ศ.2564 (เกินกว่าวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔) ให้ผู้เสนอแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมรายงานผลการดำเนินการที่ได้ดำเนินการไปแล้วในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ภายในสามสิบวันนับถัดจากวันสิ้นปีงบประมาณ และรายงานผลการดำเนินการทั้งหมดอีกครั้งหนึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ 3.ความคืบหน้าการจัดทำคู่มือต่าง ๆ ดังนี้ 1. คู่มือการขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร สำหรับประชาชน 2. คู่มือการขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ภาคประชาชน 3. เอกสารวิธีปฎิบัติงาน (Work instruction :WI) การติดตามประเมินผลแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ขณะนี้ได้เผยแพร่ทางเว็บไซต์ http://www.bangkok.go.th/bangkokfund เรียบร้อยแล้ว สำหรับคู่มือการขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร สำหรับประชาชน ได้ดำเนินการจัดพิมพ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จำนวน 5,000 เล่ม และทางสำนักงานกองทุนฯได้มีหนังสือเรียนผู้อำนวยการเขตเพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่มารับคู่มือดังกล่าวฯ ได้ที่สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร อาคารธานีนพรัตน์ ชั้น 11 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เพื่อนำเผยแพร่ให้ประชาชนในพื้นที่ใช้เป็นแนวทางต่อไป
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2021-05-31)
31/05/2564 : 1.ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติจำนวน 1 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการประเภทการสนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติในพื้นที่ คือ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดย สำนักสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 36,878,495.- บาท 2. ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติจำนวน 2 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการประเภทการสนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติในพื้นที่ ได้แก่ 1.1 โครงการบูรณาการดำเนินงานควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดย สำนักอนามัย งบประมาณ 8,713,119.- บาท 1.2 โครงการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดย สำนักอนามัย งบประมาณ 18,175,000.- บาท 3. การขยายระยะเวลาในการเสนอแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะกรรมการกองทุนจึงมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาในการเสนอและการพิจารณาแผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรม ทั้งในระดับเขตพื้นที่และระดับกรุงเทพมหานคร ดังนี้ 1. การเสนอแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมจากเดิมถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นเดือนพฤษภาคม 2564 2. การพิจารณากลั่นกรองและอนุมัติแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมจากเดิมถึงเดือนมีนาคม เป็นเดือนมิถุนายน 2564 3. การทำบันทึกข้อตกลงและการเบิกจ่ายเงินจากเดิมถึงเดือนพฤษภาคม เป็นเดือนสิงหาคม 2564 ทั้งนี้ ในการอนุมัติตามแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรม ให้กำหนดระยะเวลาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ กรณีที่แผนงานฯ ใดมีความจำเป็นต้องดำเนินการข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้สามารถดำเนินการได้ แต่ต้องกำหนดให้ผู้เสนอแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมรายงานผลการดำเนินการที่ได้ดำเนินการไปแล้วในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ภายในสามสิบวันนับถัดจากวันสิ้นปีงบประมาณ และรายงานผลการดำเนินการทั้งหมดอีกครั้งหนึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ 4. การจัดสรรกรอบวงเงินให้สำนักงานเขต คณะกรรมการกองทุน ฯ มีมติเห็นชอบการจัดสรรกรอบวงเงินในอัตรา ๙๐ บาทต่อหัวประชากรของแต่ละสำนักงานเขต ตามข้อมูลจำนวนประชากรจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๑๓ กรุงเทพมหานคร ณ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๒ 5. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร 5.1 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามในประกาศคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2564 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 5.2 ร่างประกาศคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับ ติดตาม และประเมินผลแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเงินค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... อยู่ระหว่างการดำเนินการเสนอให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนาม 6. การมอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการลงนามในบันทึกข้อตกลง การดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ตามคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 316/2564 สั่ง ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 ดังนี้ 1. ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรณีแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร 2. ผู้อำนวยการเขต กรณีแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขตนั้น 7. ความคืบหน้าการจัดทำคู่มือต่าง ๆ ดังนี้ 1. คู่มือการขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร สำหรับประชาชน 2. คู่มือการขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ภาคประชาชน 3. เอกสารวิธีปฎิบัติงาน (Work instruction :WI) การติดตามประเมินผลแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ขณะนี้ได้เผยแพร่ทางเว็บไซต์ http://www.bangkok.go.th/bangkokfund เรียบร้อยแล้ว 4. ทั้งนี้สำนักอนามัยได้เสนอการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ (คู่มือการขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร สำหรับประชาชน) เพื่อให้คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานครเห็นชอบ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2564 เวลา 13.30 น. ณ ห้องเอราวัณ ชั้น 2 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2021-04-23)
23/04/2564 : 1.จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 9 เมษายน ๒๕๖4 เวลา 09.00 – 14.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง โดยมีเนื้อหาการประชุม ดังนี้ - เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 1. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนามในประกาศคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร จำนวน 4 ฉบับ ดังนี้ 1.1 ประกาศคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับ ติดตาม และประเมินผลแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเงินค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2564 ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน 2564 1.2 ประกาศคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร เรื่อง คณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน 2564 1.3 ประกาศคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร เรื่อง คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน 2564 1.4 ประกาศคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ๒๕๖4 ประกาศ ณ วันที่ 7 เมษายน 2564 2. คณะอนุกรรมการด้านกฎหมายกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครเตรียมการจัดประชุมเพื่อหารือเรื่องหลักเกณฑ์การเบิกจ่าย ค่าพาหนะ ค่าประสานงาน ภายในเดือนเมษายน 2564 - เรื่องเพื่อทราบ 1. ความคืบหน้าของการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต 1.1 กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบไปด้วย 7 เขต ได้แก่ เขตลาดพร้าว เขตบางซื่อ เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง เขตสายไหม เขตจตุจักร เขตบางเขน โดยเขตที่มีการอนุมัติโครงการมากที่สุดคือ เขตดอนเมือง จำนวน 11 โครงการ อนุมัติเงินไปมากกว่า 300,000.- บาท รองลงมาคือเขตบางซื่อ จำนวน 10 โครงการ อนุมัติเงินไปมากกว่า 600,000.-บาท โดยทุกเขตของกลุ่มกรุงเทพเหนือมีการพิจารณาโครงการแล้วทั้งสิ้น 1.2 กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบไปด้วย 10 เขต ได้แก่ เขตปทุมวัน เขตวัฒนา เขตบางคอแหลม เขตพระโขนง เขตคลองเตย เขตยานนาวา เขตสวนหลวง เขตสาทร เขตบางนา เขตบางรัก โดยเขตที่มีการอนุมัติโครงการมากที่สุดคือเขตพระโขนง จำนวน 45 โครงการ อนุมัติเงินไปมากกว่า 2,000,000.- บาท รองลงมาคือเขตบางนา จำนวน 22 โครงการ อนุมัติเงินไปเกือบ 1,000,000.-บาท ส่วนเขตที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการคือ เขตยานนาวา 1.3 กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบไปด้วย 9 เขต ได้แก่ เขตพญาไท เขตดินแดง เขตดุสิต เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตราชเทวี โดยเขตที่มีการอนุมัติโครงการมากที่สุดคือ เขตพญาไท จำนวน 23 โครงการอนุมัติเงินไปมากกว่า 1,200,000.- บาท รองลงมาคือ เขตห้วยขวาง อนุมัติโครงการไปจำนวน 20 โครงการ จำนวนเงินมากกว่า 1,200,000.- บาท 1.4 กลุ่มกรุงเทพตะวันออก ประกอบไปด้วย 9 เขต ได้แก่ เขตหนองจอก เขตบางกะปิ เขตมีนบุรี เขตสะพานสูง เขตประเวศ เขตลาดกระบัง เขตบึงกุ่ม เขตคลองสามวา เขตคันนายาว โดยเขตที่มีการอนุมัติโครงการมากที่สุดคือเขตคันนายาวจำนวน 50 โครงการ อนุมัติเงินไปเกือบ 3,500,000.- บาท รองลงมาคือ เขตหนองจอกอนุมัติโครงการไปจำนวน 32 โครงการ จำนวนเงินมากกว่า 2,000,000.- บาท 1.5 กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบไปด้วย 8 เขต ได้แก่ เขตธนบุรี เขตบางพลัด เขตทวีวัฒนา เขตคลองสาน เขตบางกอกใหญ่ เขตบางกอกน้อย เขตจอมทอง เขตตลิ่งชัน โดยเขตที่มีการอนุมัติโครงการมากที่สุดคือ เขตคลองสาน จำนวน 18 โครงการ อนุมัติ เงินไปมากกว่า 1,000,000.- บาท รองลงมาคือ เขตบางกอกน้อย อนุมัติโครงการไป จำนวน 7 โครงการ จำนวนเงินมากกว่า 600,000.- บาท 1.6 กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบไปด้วย 7 เขต ได้แก่ เขตบางบอน เขตหนองแขม เขตทุ่งครุ บางแค เขตราษฎร์บูรณะ เขตภาษีเจริญ เขตบางขุนเทียน โดยเขตที่มีการอนุมัติโครงการมากที่สุดคือ เขตทุ่งครุ จำนวน 33 โครงการ อนุมัติเงินไปมากกว่า 1,500,000.- บาท รองลงมาคือเขตบางแคอนุมัติโครงการไป จำนวน 15 โครงการ จำนวนเงินมากกว่า 1,000,000.- บาท และเขตบางขุนเทียนอยู่ในระหว่างการพิจารณาโครงการ - เรื่องสืบเนื่อง 1. โครงการตรวจวัดสายตา พัฒนาครู ต่อสู้ตาขี้เกียจในเด็ก โดย ราษฎร์พัฒนาคลินิกเวชกรรม (ขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณค่าแว่นตาสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางสายตา 1,000.- บาท/อัน เปลี่ยนเป็น 800.- บาท/อัน) มติที่ประชุม เห็นชอบ อนุมัติโครงการตรวจวัดสายตา พัฒนาครู ต่อสู้ตาขี้เกียจในเด็ก โดย ราษฎร์พัฒนาคลินิกเวชกรรม (ขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณค่าแว่นตาสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางสายตา 1,000.- บาท/อัน เปลี่ยนเป็น 800.- บาท/อัน) จำนวนเงิน 949,940.- บาท (เก้าแสนสี่หมื่นเก้าพันเก้าร้อยสี่สิบบาทถ้วน) 2. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดย สำนักอนามัย (ปรับตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกองทุนฯตามมติที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 ) มติที่ประชุม เห็นชอบอนุมัติโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดย สำนักอนามัย จำนวนเงิน 6,145,040.- บาท (หกล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นห้าพันสี่สิบบาทถ้วน) - เรื่องเพื่อพิจารณา 1. โครงการเยาวชนพลังดี สร้างสรรค์สื่อป้องกันนักสูบ นักดื่ม นักเสพหน้าใหม่ โดย กลุ่มพลังดี งบประมาณ 361,460.- บาท มติที่ประชุม เห็นชอบ อนุมัติโครงการเยาวชนพลังดี สร้างสรรค์สื่อป้องกันนักสูบ นักดื่ม นักเสพหน้าใหม่ โดย กลุ่มพลังดี จำนวนเงิน 361,460.- (สามแสนหกหมื่นหนึ่งพัน-สี่ร้อยหกสิบบาทถ้วน) 2. โครงการ ๓ ส.(สนับสนุน ส่งเสริม สานต่อ) สุขภาวะต้านภัยเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดย สมาคมแนวร่วมภาคธุรกิจไทยต้านภัยเอดส์ (TBCA) งบประมาณ ๘๐๙,๘๕๐.- บาท มติที่ประชุม 1. เห็นชอบปรับแก้ไขชื่อโครงการ ๓ ส.(สนับสนุน ส่งเสริม สานต่อ) สุขภาวะต้านภัยเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เปลี่ยนเป็น โครงการ ๓ ส. (สนับสนุน ส่งเสริม สานต่อ)เพื่อจัดการปัญหาด้านเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตามที่เสนอ 2. เห็นชอบอนุมัติโครงการ ๓ ส. (สนับสนุน ส่งเสริม สานต่อ) เพื่อจัดการปัญหาด้านเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดย สมาคมแนวร่วมภาคธุรกิจไทยต้านภัยเอดส์ (TBCA) จำนวนเงิน ๘๐๙,๘๕๐.- บาท (แปดแสนเก้าพันแปดร้อยห้าสิบบาทถ้วน) โดยดำเนินการปรับแก้ไขโครงการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร และเปลี่ยนระยะเวลาดำเนินการเป็น 8 เดือนหลังจากได้รับเงิน หากไม่สามารถดำเนินการได้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด Covid-19 ให้ผู้เสนอโครงการเสนอแจ้งขอเลื่อนการดำเนินงานต่อฝ่ายเลขานุการฯ และดำเนินการแจ้งให้ที่ประชุมทราบต่อไป 2. จัดประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 09.00-14.00น. ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 23 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง โดยมีเนื้อหา ดังนี้ - เรื่องสืบเนื่อง 1. แจ้งความคืบหน้าของโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการออกปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉินของระบบบริการแพทย์ฉุกเฉิน กรุงเทพมหานคร โดยสำนักการแพทย์ จำนวนเงิน 9,667,800.- บาท มติที่ประชุม รับทราบ - ขอยกเลิกการเสนอโครงการ จำนวน 1 โครงการ 1. โครงการให้บริการเสริมสร้างพัฒนาการ Early Intervention ให้แก่นักเรียนปฐมวัยในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยศูนย์จิตวิทยาพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างวัย คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวนเงิน 1,500,000.- บาท - เรื่องเพื่อพิจารณา 1. โครงการเยาวชนพลังดี สร้างสรรค์สื่อป้องกันนักสูบ นักดื่ม นักเสพหน้าใหม่ โดยกลุ่ม พลังดี จำนวนเงิน 345,620.- บาท มติที่ประชุม มอบฝ่ายเลขาประสานผู้เสนอโครงการปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองฯ และนำเข้าสู่วาระการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครต่อไป 2. โครงการ 3 ส. (สนับสนุน ส่งเสริม สานต่อ) สุขภาวะต้านภัยเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยสมาคมแนวร่วมภาคธุรกิจไทยต้านภัยเอดส์ (TBCA) จำนวนเงิน 748,500.-บาท มติที่ประชุม มติที่ประชุม มอบฝ่ายเลขาประสานผู้เสนอโครงการปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองฯ เมื่อปรับแก้ไขแล้วมอบให้ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และนายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ตรวจสอบ และนำเข้าสู่วาระการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครต่อไป
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2021-03-31)
31/03/2564 : 1. การประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2564 สรุปสาระสำคัญจากการประชุมดังนี้ 1.1 ความคืบหน้าการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต 1.2 การกำหนดเลขรหัสแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติ จากคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต 1.3 รายงานการรับ – จ่ายเงิน และเงินคงเหลือ ประจำเดือนตุลาคม –ธันวาคม 2563 (ไตรมาส 1/2564 ) 1.4 การสรรหาผู้แทนหน่วยบริการปฐมภูมิภาคเอกชนในคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกรุงเทพมหานคร 1.5 ความคืบหน้าการจัดทำคู่มือการขอรับการสนับสนุนกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครสำหรับประชาชน และเอกสารวิธีการปฏิบัติงาน (Work Instruction:WI) 1.6 การจัดสรรกรอบวงเงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 90 บาท/หัวประชากร 1.7 ขอขยายระยะเวลาในการเสนอแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรม ระยะเวลาการพิจารณาแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรม และระยะเวลาในการเบิกจ่ายเงินกองทุน (ขยายเปิดรับโครงการ ถึงเดือน พค 64) 1.8 พิจารณาร่างประกาศคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับ ติดตาม และประเมินผล แผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนเงินค่าใช้จ่ายจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... 1.9 ร่างประกาศคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร เรื่อง คณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 1.10 ร่างประกาศคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร เรื่อง คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 1.11 ยกเลิกองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขตยานนาวา ตำแหน่งผู้แทนโรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในเขตพื้นที่ 1.12 ขอทบทวนประกาศคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้กรุงเทพมหานครดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 2. การประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 สรุปสาระสำคัญจากการประชุมดังนี้ คณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวนทั้งสิ้นจำนวน 7 โครงการ (ผ่านการอนุมัติ 6 โครงการ ไม่ผ่านการอนุมัติ 1 โครงการ) ดังนี้ 1. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดย สำนักอนามัย จำนวนเงิน 8,089,840.00 บาท 2. โครงการคัดกรองวัณโรคในผู้ขับขี่รถสาธารณะ (แท็กซี่) พื้นที่กรุงเทพมหานคร โดย สำนักอนามัย งบประมาณ 550,680.00 บาท 3. โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาวะทางเพศและป้องกันเอดส์ในโรงเรียน โดย สำนักอนามัย งบประมาณ 227,000.00 บาท 4. โครงการ New Normal Run ชีวิตวิถีใหม่กับการออกกำลังกายเครือข่ายความสุขชุมชนยุคใหม่ด้วย smart phone โดย กลุ่มเครือข่ายความสุขชุมชน งบประมาณ 214,600.00 บาท 5. โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาวะทางเพศในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดย สำนักการศึกษา งบประมาณ 330,220.00 บาท 6. โครงการประชาสัมพันธ์เผยแพร่และจัดพิมพ์สื่อสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร งบประมาณ 2,700,000.00 บาท โครงการที่คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครได้พิจารณาในการประชุมคณะกรรมการกองทุน ฯ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 มติที่ประชุมยังไม่ผ่านการอนุมัติ จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มพนักงานบริการ โดย สมาคมส่งเสริมพัฒนาการสังคม งบประมาณ 664,160.00 บาท 3. เตรียมการประชุมคณะกรรมการกองทุนในครั้งถัดไป ครั้งที่ 3/2564 ในวันที่ 9 เมษายน 2564 4. การประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนงานฯ จำนวน 4 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 14 โครงการ เพื่อให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้เสนอโครงการไปปรับปรุงแก้ไขก่อนนำเข้าสู่วาระการประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2021-02-16)
16/02/2564 : - จัดประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2564 เวลา 09.00 - 15.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง โดยมีโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ดังนี้ 1 ประเภท 6(1) จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการเพิ่มศักยภาพการออกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร โดย สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร วงเงิน 17,100,000 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 2 ผ่านการพิจารณา แต่ต้องปรับแก้ไขในรายละเอียด และให้ฝ่ายเลขานุการฯเวียนแจ้งให้คณะอนุกรรมการฯรับทราบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา 2. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดย สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร วงเงิน 2,044,200 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 2 ผ่านการพิจารณา แต่ต้องปรับแก้ไขในรายละเอียด และให้ฝ่ายเลขานุการฯเวียนแจ้งให้คณะอนุกรรมการฯรับทราบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา 3. โครงการคัดกรองวัณโรคในผู้ขับขี่รถสาธารณะ (แท็กซี่) พื้นที่กรุงเทพมหานคร โดย สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร วงเงิน 551,400 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 2 ผ่านการพิจารณา แต่ต้องปรับแก้ไขในรายละเอียด และให้ฝ่ายเลขานุการฯเวียนแจ้งให้คณะอนุกรรมการฯรับทราบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา 2 ประเภท 6(2) จำนวน 12 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการ New Normal Run ชีวิตวิถีใหม่กับการออกกำลังกายเครือข่ายความสุขชุมชนยุคใหม่ด้วย smart phone โดย กลุ่มเครือข่ายความสุขชุมชน วงเงิน 208,300 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 2 ผ่านการพิจารณา แต่ต้องปรับแก้ไขในรายละเอียด และให้ฝ่ายเลขานุการฯเวียนแจ้งให้คณะอนุกรรมการฯรับทราบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา 2. โครงการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ 4 มิติ โดยองค์กรชุมชน วงเงิน1,371,750 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 3 ผ่านการพิจารณา โดยผู้เสนอโครงการนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการฯไปปรับแก้ไข และนำโครงการที่ปรับแล้วเข้าเสนอต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการฯพิจารณาอีกครั้ง รับทราบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา 3. โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาวะทางเพศและป้องกันเอดส์ในโรงเรียน โดยกองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สำนักอนามัย วงเงิน 227,000 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 3 ผ่านการพิจารณา โดยผู้เสนอโครงการนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการฯไปปรับแก้ไข และนำโครงการที่ปรับแล้วเข้าเสนอต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการฯพิจารณาอีกครั้ง รับทราบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา 4. โครงการให้ความรู้และฝึกทักษะการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการคนพิการสติปัญญาแก่ครอบครัวคนพิการ โดย ชมรมเพื่อคนพิการสติปัญญา กรุงเทพมหานคร วงเงิน 764,400 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 3 ผ่านการพิจารณา โดยผู้เสนอโครงการนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการฯไปปรับแก้ไข และนำโครงการที่ปรับแล้วเข้าเสนอต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการฯพิจารณาอีกครั้ง รับทราบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา 5. โครงการเสริมสร้างสุขภาพและส่งเสริมพัฒนาการคนพิการสติปัญญาในชุมชน โดย ชมรมเพื่อคนพิการสติปัญญากรุงเทพมหานคร วงเงิน 1,397,400 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 3 ผ่านการพิจารณา โดยผู้เสนอโครงการนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการฯไปปรับแก้ไข และนำโครงการที่ปรับแล้วเข้าเสนอต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการฯพิจารณาอีกครั้ง รับทราบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา 6. โครงการประเมินภาวะสุขภาพและผลกระทบจากความพิการเพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูด้านสุขภาพของเด็กพิการแรกเกิด-วัยเรียนในเขตพื้นที่ชุมชนกรุงเทพมหานคร 10 เขต วงเงิน 2,079,700 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 3 ผ่านการพิจารณา โดยผู้เสนอโครงการนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการฯไปปรับแก้ไข และนำโครงการที่ปรับแล้วเข้าเสนอต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการฯพิจารณาอีกครั้ง รับทราบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา 7. โครงการมหกรรมคน กทม. สุขภาพดีถ้วนหน้า 2564 โดย คณะบุคคลรณรงค์ให้ความรู้คน กทม. สุขภาพดีถ้วนหน้า วงเงิน 129,898,820 บาท 8. ตรวจวัดสายตา พัฒนาครู ต่อสู้ตาขี้เกียจในเด็ก โดย ราษฎร์พัฒนาคลินิกเวชกรรม วงเงิน 4,118,000 บาท 9.การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาวะทางเพศในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดย สำนักการศึกษา หน่วยศึกษานิเทศก์ กรุงเทพมหานคร วงเงิน 313,300 บาท 10.บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มพนักงานบริการ โดย สมาคมส่งเสริมพัฒนาการสังคม วงเงิน 1,202,000 บาท 11. โครงการ Family Empowerment เพื่อสร้างเสริมสุขภาพจิตฟื้นฟูความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แก่เด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครผ่านเครือข่ายครูและผู้ปกครอง โดย กลุ่มFamily Empower วงเงิน 3,717,500 บาท 12. โครงการการศึกษาวิจัยการดูแลป้องกัน และบำบัดสุขภาพด้วยสมุนไพรไทยโดยภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน โดยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วงเงิน 19,862,857 บาท - จัดประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 เวลา 09.00 - 14.00 น. ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 23 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง โดยมีโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ดังนี้ ประเภท 6(2) จำนวน 6 โครงการ ได้แก่ (นำผลการเสนอโครงมาประชุมต่อจากการประชุมครั้งที่ 1/2564) 1. โครงการมหกรรมคน กทม. สุขภาพดีถ้วนหน้า 2564 โดย คณะบุคคลรณรงค์ให้ความรู้คน กทม. สุขภาพดีถ้วนหน้า วงเงิน 129,898,820 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 4 ไม่ผ่านการพิจารณา แจ้งผู้เสนอโครงการพร้อมคำแนะนำ และนำผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา 2. ตรวจวัดสายตา พัฒนาครู ต่อสู้ตาขี้เกียจในเด็ก โดย ราษฎร์พัฒนาคลินิกเวชกรรม วงเงิน 4,118,000 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 2 ผ่านการพิจารณา แต่ต้องปรับแก้ไขในรายละเอียด และให้ฝ่ายเลขานุการฯเวียนแจ้งให้คณะอนุกรรมการฯรับทราบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา 3 .การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาวะทางเพศในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดย สำนักการศึกษา หน่วยศึกษานิเทศก์ กรุงเทพมหานคร วงเงิน 313,300 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 2 ผ่านการพิจารณา แต่ต้องปรับแก้ไขในรายละเอียด และให้ฝ่ายเลขานุการฯเวียนแจ้งให้คณะอนุกรรมการฯรับทราบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา 4.บริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มพนักงานบริการ โดย สมาคมส่งเสริมพัฒนาการสังคม วงเงิน 1,202,000 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 2 ผ่านการพิจารณา แต่ต้องปรับแก้ไขในรายละเอียด และให้ฝ่ายเลขานุการฯเวียนแจ้งให้คณะอนุกรรมการฯรับทราบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา 5. โครงการ Family Empowerment เพื่อสร้างเสริมสุขภาพจิตฟื้นฟูความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แก่เด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครผ่านเครือข่ายครูและผู้ปกครอง โดย กลุ่มFamily Empower วงเงิน 3,717,500 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 4 ไม่ผ่านการพิจารณา แจ้งผู้เสนอโครงการพร้อมคำแนะนำ และนำผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการฯเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา 6. โครงการการศึกษาวิจัยการดูแลป้องกัน และบำบัดสุขภาพด้วยสมุนไพรไทยโดยภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน โดยศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วงเงิน 19,862,857 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 3 ผ่านการพิจารณา โดยผู้เสนอโครงการนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการฯไปปรับแก้ไข และนำโครงการที่ปรับแล้วเข้าเสนอต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการฯพิจารณาอีกครั้ง รับทราบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา - จัดประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00 - 14.00 น. ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 23 อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง โดยมีโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ดังนี้ ประเภท 6(1) จำนวน 1โครงการ ได้แก่ โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาวะทางเพศและป้องกันเอดส์ในโรงเรียน โดยกองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักอนามัย วงเงิน 277,000 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 3 ผ่านการพิจารณา โดยผู้เสนอโครงการนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการฯไปปรับแก้ไข และนำโครงการที่ปรับแล้วเข้าเสนอต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการฯพิจารณาอีกครั้ง รับทราบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา ประเภท 6(2) จำนวน 2โครงการ ได้แก่ 1. โครงการรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนและผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคไตวายเรื้อรัง โดย สมาคมเพื่อโรคไตแห่งประเทศไทย วงเงิน 984,975 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 3 ผ่านการพิจารณา โดยผู้เสนอโครงการนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการฯไปปรับแก้ไข และนำโครงการที่ปรับแล้วเข้าเสนอต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการฯพิจารณาอีกครั้ง รับทราบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา 2. โครงการ “เยาวชนพลังดี สร้างสรรค์สื่อป้องกันนักสูบ นักดื่ม นักเสพหน้าใหม่” โดย กลุ่มพลังดี วงเงิน 308,300 บาท ผลการพิจารณาโครงการ แบบที่ 3 ผ่านการพิจารณา โดยผู้เสนอโครงการนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการฯไปปรับแก้ไข และนำโครงการที่ปรับแล้วเข้าเสนอต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการฯพิจารณาอีกครั้ง รับทราบก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯพิจารณา - คู่มือการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร WI ลงในเว็ปไซต์กองทุนฯ เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 - สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งได้มีหนังสือที่ สปสช. 5.42/27604 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 เรื่อง การจัดสรรงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแหงชาติ แจ้งว่า 1. ในปีงบประมาณ 2564 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะงดการจัดสรรเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามข้อ 4(1) ให้กรุงเทพมหานคร เนื่องจากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร มีคงเหลือมากกว่าสองเท่าของรายรับของกองทุนฯในปีงบประมาณ 2563 2. เมื่อ สปสช. งดการจัดสรรเงิน ตามข้อ 1 กรณีค่าใช้จ่ายเพื่อการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ตามข้อ 6() ให้กองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร สนับสนุนค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินวงเงินของปีงบประมาณ 2563
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2021-01-29)
29/01/2564 : 1. ตัวแทนของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครได้ไปเข้าร่วมอบรมหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (รุ่นที่ 3) ในวันที่ 16 - 19 ธันวาคม 2563 ณ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน เรียบร้อยแล้ว และในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนทำรายงานสรุปผลการอบรมฯเพื่อเสนอผู้ว่ารสชการต่อไป 2. ประชุมคณะกรรมการวิสามัญศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาในการดูแลประชาชนจากกรณีการยกเลิกสัญญาหน่วยบริการสาธารณสุขและการเร่งรัดการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 9/2563 ในวันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม 6 ชั้น 2 (ฝั่งทิศเหนือ) อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ดังนี้ - การจัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขตในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดำเนินการจัดประชุมแล้ว 30 เขต และยังไม่ดำเนินการจัดประชุมอีก 20 เขต - การประกาศเปิดรับการเสนอโครงการและการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครในระดับเขต ดังนี้ - ยังไม่ได้ดำเนินการเปิดรับโครงการ 4 เขต - ดำเนินการเปิดรับโครงการแล้ว 46 เขต - ยังไม่มีผู้เสนอโครงการเข้ามา 8 เขต - มีผู้เสนอโครงการเข้ามาแล้ว 38 เขต - ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ 5 เขต - อยู่ระหว่างกลั่นกรองโครงการ 23 เขต - ดำเนินการพิจารณาแล้ว 10 เขต - อนุมัตแล้ว 11 โครงการ 3. ประชุมคณะกรรมการวิสามัญศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาในการดูแลประชาชนจากกรณีการยกเลิกสัญญาหน่วยบริการสาธารณสุขและการเร่งรัดการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 12/2563 ในวันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม 2563 เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม 6 ชั้น 2 (ฝั่งทิศเหนือ) อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง เพื่อพิจารณาปัญหาและอุปสรรคกรณีสำนักงานเขตยังมิได้ดำเนินการจัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 10 เขต ได้แก่ วัฒนา พระโขนง พระนคร บางเขน สัมพันธวงศ์ หนองแขม วังทองหลาง บางพลัด ยานนาวา และหนองจอก
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2020-12-25)
25/12/2563 : 1. ตัวแทนของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครได้ไปเข้าร่วมอบรมหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (รุ่นที่ 3) ในวันที่ 16 - 19 ธันวาคม 2563 ณ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน เรียบร้อยแล้ว และในขณะนี้อยู่ในขั้นตอนทำรายงานสรุปผลการอบรมฯเพื่อเสนอผู้ว่ารสชการต่อไป 2. ประชุมคณะกรรมการวิสามัญศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาในการดูแลประชาชนจากกรณีการยกเลิกสัญญาหน่วยบริการสาธารณสุขและการเร่งรัดการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 9/2563 ในวันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม 6 ชั้น 2 (ฝั่งทิศเหนือ) อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ดังนี้ - การจัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขตในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดำเนินการจัดประชุมแล้ว 30 เขต และยังไม่ดำเนินการจัดประชุมอีก 20 เขต - การประกาศเปิดรับการเสนอโครงการและการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครในระดับเขต ดังนี้ - ยังไม่ได้ดำเนินการเปิดรับโครงการ 4 เขต - ดำเนินการเปิดรับโครงการแล้ว 46 เขต - ยังไม่มีผู้เสนอโครงการเข้ามา 8 เขต - มีผู้เสนอโครงการเข้ามาแล้ว 38 เขต - ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ 5 เขต - อยู่ระหว่างกลั่นกรองโครงการ 23 เขต - ดำเนินการพิจารณาแล้ว 10 เขต - อนุมัตแล้ว 11 โครงการ 3. ประชุมคณะกรรมการวิสามัญศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาในการดูแลประชาชนจากกรณีการยกเลิกสัญญาหน่วยบริการสาธารณสุขและการเร่งรัดการใช้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 12/2563 ในวันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม 2563 เวลา 10.30 น. ณ ห้องประชุม 6 ชั้น 2 (ฝั่งทิศเหนือ) อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง เพื่อพิจารณาปัญหาและอุปสรรคกรณีสำนักงานเขตยังมิได้ดำเนินการจัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 10 เขต ได้แก่ วัฒนา พระโขนง พระนคร บางเขน สัมพันธวงศ์ หนองแขม วังทองหลาง บางพลัด ยานนาวา และหนองจอก
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2020-11-25)
25/11/2563 : 1. การดำเนินการจัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต สำนักงานเขตเริ่มขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนฯ และได้ดำเนินการจัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขตแล้ว รวมทั้งสิ้น 50 เขต 2. จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 โดยได้มีการพิจารณาอนุมัติโครงการ จำนวน 3 โครงการ 3. สำนักอนามัยได้มีหนังสือ ที่ กท 0702/9190 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 เรื่องการจัดสรรงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ถึง เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสอบถามประเด็น ดังนี้ 3.1 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะจัดสรรงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่ดำเนินการในชุมชน ตามกรอบการบริหารงบกองทุนสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้กรุงเทพมหานครหรือไม่ 3.2 หากสำนักงานฯ ไม่ได้จัดสรรงบประมาณตามข้อ 3.1 กรุงเทพมหานครจะคำนวณค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ตามข้อ 6(4) แห่งประกาศฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 อย่างไร 4. สำนักอนามัยได้รับอนุมัติโครงการพัฒนาสมรรถนะคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 6/25631 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563 โดยอนุมัติให้คณะกรรมการ จำนวน 6 คน เข้าร่วมอบรมหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ รุ่นที่ 3 ระหว่างวันที่ 16 - 19 ธันวาคม 2563 ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติให้ข้าราชการเข้ารับการอบรมหลักสูตรดังกล่าว
** ปัญหาของโครงการ :-
** อุปสรรคของโครงการ :-
------------------&&&--------------------
(12) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2020-10-31)
31/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ดำเนินการตามขั้นตอน 1. เสนอแผนงานค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานครและคณะอนุกรรมการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อเตรียมจัดประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทมหานครและคณะอนุกรรมการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 2. จัดประชุมพิจารณากลั่นกรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 23 อาคารธานีนพรัตน์ กรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง โดยมีการพิจารณากลั่นกรองโครงการจำนวน 2 โครงการ 3. ขณะนี้รอสปสช.พิจารณาเงินงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงานที่ดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมาย
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 100
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 80.64
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดงานประจำ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **