ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 9
กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์มาอย่างต่อเนื่อง โดยแผนยุทธศาสตร์ยุติปัญหาเอดส์ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2560 – 2573 โดยมุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ ดังนี้ 1) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่ไม่มีการตายเนื่องจากเอดส์ 3) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่ไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติ โดยผลการดำเนินงานที่ผ่านมาประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง กล่าวคือมีกิจกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีสูง แต่ก็ยังพบว่ามีการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในกลุ่มประชากรดังกล่าวสูงอยู่ ปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้ทำการคาดประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีชีวิตอยู่ในปี 2562จำนวน 77,558 คน เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ จำนวน 1,190 คน ในจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ เป็นกลุ่มเยาวชนที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี จำนวน 628 คน (คิดเป็นร้อยละ 52.8) และมีผู้เสียชีวิตภาย ในปี 2562 จำนวน 1,877 คน (ที่มา: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (NAP Program)) จากสถานการณ์และสภาพปัญหาของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของกรุงเทพมหานคร พบว่าสูงที่สุดของประเทศและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าปี 2560 อัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 90.02 ต่อประชากรแสนคน เพิ่มเป็น 92.08 ต่อประชากรแสนคนในปี 2561 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบอัตราการติดเชื้อสูงที่สุด คือ โรคซิฟิลิส ในปี 2560 มีอัตราการติดเชื้อ 17.98 ต่อประชากรแสนคนในปี 2560 และเพิ่มเป็น 23.08 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2561 จากผลการเฝ้าระวังความชุกการติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2561 ในกลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย พบว่ากลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM-Hot Spot) ติดเชื้อเอชไอวีร้อยละ 13.5 กลุ่มชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย (MSM – สถานศึกษา) ร้อยละ 7 กลุ่มชายขายบริการ (MSW) ร้อยละ 4.7 และกลุ่มสาวประเภทสอง (TG) ร้อยละ 17.3 กลุ่มพนักงานบริการหญิงในสถานบริการ (FSW - Venue) ติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 0.2 กลุ่มชายที่มาตรวจรักษากามโรค (MSTD) ร้อยละ 6 และกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด (PWID) ร้อยละ 16.6 ในขณะที่การติดเชิ้อเอชไอว กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ (ANC) ตัวแทนของกลุ่มประชากรทั่วไปมีความชุกการติดเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 0.8 การดำเนินงานด้านการป้องกันและควบคุมเพื่อลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ที่สำคัญประการหนึ่งคือ การออกให้บริการสุขภาพเคลื่อนที่เชิงรุก ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งกลุ่มงานโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้มีแผนการดำเนินงานออกหน่วยให้บริการสุขภาพเคลื่อนที่เชิงรุก มีการประสานงานร่วมกับภาคประชาสังคม และภาครัฐนอกหน่วยงาน เพื่อส่งเสริมความรู้ และตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์แก่กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
08100000/08100000
1. บริการสุขภาพได้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ขาดโอกาสและไม่เข้าถึงบริการสุขภาพ ได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์?? 2. เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและองค์กรในพื้นที่ร่วมกันดำเนินป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน ****% |
**** ภารกิจงานประจำของหน่วยงาน **** |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 9.00 (2021-02-16)
16/02/2564 : ดำเนินการตามแผนที่วางไว้
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 8.00 (2021-01-27)
27/01/2564 : ดำเนินการตามแผนที่วางไว้
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 7.00 (2020-12-31)
12/31/2020 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...
** ปัญหาของโครงการ ://
** อุปสรรคของโครงการ ://
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 6.00 (2020-11-06)
6/11/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...ขออนุมัติโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2020-10-31)
31/10/2563 : อยู่ระหว่างขั้นตอน...
** ปัญหาของโครงการ ://
** อุปสรรคของโครงการ ://
------------------&&&--------------------
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **