ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สถานการณ์ยาเสพติดของกรุงเทพมหานคร พบว่ายังเป็นพื้นที่แพร่ระบาดยาเสพติดที่สำคัญตลอดจนเป็นแหล่งพักเก็บยาเสพติดก่อนกระจายไปสู่ผู้เสพอย่างต่อเนื่อง การลดระดับความรุนแรงของสถานการณ์ดังกล่าว จำเป็นต้องสร้างการรับรู้เพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการป้องกันและการเสริมสร้างพื้นที่ปลอดภัย สามารถป้องกันประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่ให้เข้าสู่วงจรการใช้ยาเสพติดได้ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งนี้ แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี กำหนดให้เพิ่มระดับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ของตนเองได้อย่างเหมาะสมและ มีความยั่งยืน ซึ่งในปี 2575 มีเป้าหมายไปสู่การเพิ่มจำนวนเครือข่ายของอาสาสมัครกรุงเทพมหานคร ไม่ต่ำกว่า 65,728 คน สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ได้ทำการสร้างและพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครเพื่อขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย อาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา โดยนักศึกษาที่มีจิตอาสาได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษาและชุมชนใกล้เคียงสถานศึกษา จำนวน 1,450 คน อาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด จำนวน 11,153 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด จำนวน 816 คน ปฏิบัติงานครอบคลุมทั้งด้านการป้องกัน การนำผู้เสพ ผู้ติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาและช่วยเหลือดูแลภายหลังผู้ผ่านการบำบัดฯ กลับคืนสู่ชุมชน ตลอดจนการเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคาดว่าศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่งจะสามารถพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครในการดูแล ให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพตามหลักสูตรครู ก ด้านการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดครอบคุลมจำนวนทั้งหมด 10,614 คน ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนอาสาสมัครกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น รวมจำนวนทั้งสิ้น 23,217 คน
08090000/08090000
1. เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด 2. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานคร ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด
กิจกรรมที่ 1 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของ อาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด กิจกรรมที่ 1.1 จัดพิมพ์คู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและ ยาเสพติด จำนวน 500 เล่ม (ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม – สิงหาคม 2566) กิจกรรมที่ 1.2 ติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์เฝ้าระวังภัยและยาเสพติดในชุมชน โดยให้มีการจัดส่งรายงาน เดือนละ 1 ครั้ง (โดยไม่ใช้งบประมาณ) (ดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 - เดือนกันยายน 2566) กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด ของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด กิจกรรมที่ 2.1 ประกวดนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด กิจกรรมที่.2.1.1 จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การประกวดนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด จำนวน 1 วัน คณะกรรมการประกอบด้วย ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 คน ข้าราชการนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน บุคคลภายนอก จำนวน 1 คน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 8 คน รวมทั้งสิ้น 15 คน โดยใช้สถานที่ราชการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 - กุมภาพันธ์ 2566 กิจกรรมที่ 2.1.2 ประกวดและตัดสินผลงานรอบแรกและรอบชนะเลิศ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย คณะกรรมการเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ฯ และผู้เกี่ยวข้อง โดยใช้สถานที่ราชการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม - สิงหาคม 2566 กิจกรรมที่ 2.1.3 จัดงานมอบรางวัลแก่ผู้ที่ชนะการประกวด กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักอนามัย ผู้แทนหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภาคีเครือข่าย และเจ้าหน้าที่ดำเนินการและผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 183 คน โดยใช้สถานที่ราชการ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม 2566 กิจกรรมที่ 2.1.4 เผยแพร่ผลงานนวัตกรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด ที่ส่งเข้าประกวดผ่านช่องทางสื่อสารสนเทศ ดำเนินการระหว่าง เดือนสิงหาคม - กันยายน 2566 กิจกรรมที่ 2.2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการถอดบทเรียนเพื่อการเรียนรู้และเสริมพลังการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขต้นแบบ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 1 รุ่น 2 วัน แบบไป - กลับ ใช้สถานที่เอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม - สิงหาคม 2566 กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1. เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง แห่งละ 1 คน จำนวน 69 คน 2. อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาเสพติดในสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง แห่งละ 2 คน รวม 138 คน 3. ผู้ดำเนินการอภิปราย ภาคราชการ จำนวน 2 คน 4. ผู้ดำเนินการอภิปราย ภาคเอกชน จำนวน 2 คน 5. ผู้ดำเนินการอภิปราย ภาคเอกชน จำนวน 14 คน 6. เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 245 คน กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา กิจกรรมที่ 3.1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1. นักศึกษาสถาบันละ 4 คน x 42 สถาบัน จำนวน 168 คน 2. อาจารย์สถาบันละ 1 คน จำนวน 42 คน 3. ผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 7 คน 4. เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 237 คน กิจกรรมที่ 3.2 จัดกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษา ใช้ระยะเวลา 3 วัน ต่อ 1 แห่ง กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1. นักศึกษาสถาบันละ 21 คน x 42 สถาบัน จำนวน 882 คน 2. อาจารย์สถาบันละ 2 คน x 42 สถาบัน จำนวน 84 คน 3. เจ้าหน้าที่เขต 1 คน x 42 สถาบัน จำนวน 42 คน 4. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 1 คน x 42 สถาบัน จำนวน 42 คน รวมทั้งสิ้น 1,050 คน
ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City |
๑.๑ - ปลอดมลพิษ |
๑.๑.๑ ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปราศจากยาเสพติดและการก่อการร้าย1% |
๑.๑.๑.๔ ลดการขยายตัวและลดระดับความรุนแรงของปัญหายาเสพติด |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-08)
08/09/2566 : สรุปผลการดำเนินโครงการอาสาสมัครกรุงเทพมหานครด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 1.วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด 2. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานคร ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด 2. กลุ่มเป้าหมาย เชิงปริมาณ กิจกรรมที่ 1 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดกรุงเทพมหานคร กิจกรรมที่ 1.1 จัดพิมพ์คู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดกรุงเทพมหานคร จำนวน 500 เล่ม กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด กิจกรรมที่ 2.1 ประกวดนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด กิจกรรมที่ 2.1.1 จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การประกวดนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด ณ สถานที่ราชการ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กิจกรรมที่ 2.1.2 จัดประกวดและตัดสินผลงานรอบแรกและรอบชนะเลิศ ณ สถานที่ราชการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กิจกรรมที่ 2.1.3 จัดงานมอบรางวัลแก่ผู้ที่ชนะการประกวด ณ สถานที่ราชการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 6 รางวัล ได้แก่ - รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร - รางวัลชมเชย 3 รางวัล ได้รับเงินรางวัล รางวัลละ 5,000 บาท พร้อมโล่และเกียรติบัตร ผู้ร่วมงาน ประกอบด้วย ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสำนักอนามัย ผู้แทนหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภาคีเครือข่าย และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ และผู้เกี่ยวข้อง กิจกรรมที่ 2.1.4 เผยแพร่ผลงานนวัตกรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด ที่ส่งเข้าประกวดผ่านช่องทางสื่อสารสนเทศ กิจกรรมที่ 2.2 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเสริมพลังการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขต้นแบบ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 1 รุ่น 2 วัน แบบไป - กลับ ณ สถานที่เอกชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1) เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง แห่งละ 1 คน จำนวน 69 คน 2) อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง แห่งละ 2 คน รวม 138 คน 3) ผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ราชการ จำนวน 2 คน 4) ผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เอกชน จำนวน 11 คน 5) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 240 คน กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา กิจกรรมที่ 3.1 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1) นักศึกษาสถาบันละ 4 คน x 42 สถาบัน จำนวน 168 คน 2) อาจารย์สถาบันละ 1 คน จำนวน 42 คน 3) ผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 7 คน 4) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 237 คน กิจกรรมที่ 3.2 จัดกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 1) นักศึกษาสถาบันละ 21 คน x 42 สถาบัน จำนวน 882 คน 2) อาจารย์สถาบันละ 2 คน x 42 สถาบัน จำนวน 84 คน 3) เจ้าหน้าที่เขต 1 คน x 42 สถาบัน จำนวน 42 คน 4) เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 1 คน x 42 สถาบัน จำนวน 42 คน รวมทั้งสิ้น 1,050 คน เชิงคุณภาพ 1. อาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดกรุงเทพมหานครมีคู่มือใช้ประกอบการปฏิบัติงาน 2. อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด มีนวัตกรรมในการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด 3. อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด มีแรงจูงใจ และทัศนคติที่ดีในการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด 4. มีอาสาสมัครสาธารณสุขต้นแบบ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ที่สามารถเป็นแกนนำในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในชุมชน 5. มีเครือข่ายอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษาที่ร่วมดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด 6. อาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษาจัดกิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด 3.ผลการดำเนินโครงการ กิจกรรมที่ 1 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดกรุงเทพมหานคร กิจกรรมที่ 1.1 จัดพิมพ์คู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดกรุงเทพมหานคร จัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาเนื้อหา และจัดทำคู่มืออาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด เป็นประธาน และบุคลากรของสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติดเป็นคณะทำงาน ซึ่งจัดประชุม จำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่ 1 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ครั้งที่ 2 วันที่ 12 เมษายน 2566 และครั้งที่ 3 วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 และจัดพิมพ์คู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติดกรุงเทพมหานคร จำนวน 500 เล่ม กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด กิจกรรมที่ 2.1 ประกวดนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด กิจกรรมที่ 2.1.1 จัดประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การประกวดนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ชั้น 7 สำนักงานเขตราชเทวี โดยคณะกรรมการประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งใน และนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 7 คน ดังนี้ 1) นายธนัช พจน์พิสุทธิพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด 2) นางวนิดา ปาวรีย์ สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข 3) นายบุญส่ง ไตรขันธ์ สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกรุงเทพมหานคร 4) นายจักราธร สิงหาทอ สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด 5) นางสาวสกุลลัคน์ ปั้นเปล่ง กองสร้างเสริมสุขภาพ 6) นางปาจรีย์ สุจริตพงศ์ สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด 7) นายบุญเพ็ชร์ สมประสงค์ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด ศูนย์บริการสาธารณสุข 48 หนองแขม กิจกรรมที่ 2.1.2 จัดประกวดและตัดสินผลงานรอบแรกและรอบชนะเลิศ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 9 อาคารสำนักงานเขตราชเทวี โดยคณะกรรมการพิจารณาตัดสินจากการบรรยายแนวคิด และผลงาน พร้อมวิธีการดำเนินการ และแนวทางการพัฒนาต่อยอดต่อคณะกรรมการ โดยมีชิ้นงาน แบบจำลอง โปสเตอร์ ฟิวเจอร์บอร์ด พาวเวอร์พ๊อยต์ (Power Point) หรือวีดีโอคลิป (VDO Clip) ประกอบการนำเสนอ รวมเวลาการนำเสนอต่อทีมไม่เกิน 15 นาที ทั้งนี้ มีศูนย์บริการสาธารณสุขนำเสนอผลงานนวัตกรรม จำนวน 6 ทีม ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 บุญมี ปุรุราชรังสรรค์ ศูนย์บริการสาธารณสุข 9 ประชาธิปไตย ศูนย์บริการสาธารณสุข 34 โพธิ์ศรี ศูนย์บริการสาธารณสุข 40 บางแค และศูนย์บริการสาธารณสุข 60 รสสุคนธ์ มโนชญากร ผลการตัดสิน มีดังนี้ 1) รางวัลชนะเลิศ ศูนย์บริการสาธารณสุข 34 โพธิ์ศรี ผลงาน “ส้มจี๊ดไทยช่วยเลิกบุหรี่ได้ใน 14 วัน” ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมโล่ และเกียรติบัตร 2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ศูนย์บริการสาธารณสุข 60 รสสุคนธ์ มโนชญากร ผลงาน “Zello ค้นหาผู้เสพ ไม่ยุ่งกับผู้ค้า” ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่ และเกียรติบัตร 3) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 บุญมี ปุรุราชรังสรรค์ ผลงาน “TikTok ติ๊กใจ ป้องกันภัยยาเสพติด” ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมโล่ และเกียรติบัตร 4) รางวัลชมเชย ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง ผลงาน ธรรมะ สร้าง“แสนสุข” ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่ และเกียรติบัตร 5) รางวัลชมเชย ศูนย์บริการสาธารณสุข 9 ประชาธิปไตย ผลงาน “อสส. Buddy คู่หู สู้ยาเสพติด” ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่ และเกียรติบัตร 6) รางวัลชมเชย ศูนย์บริการสาธารณสุข 40 บางแค ผลงาน “กองทุนก้าวใหม่ ณ ชุมชนเลียบคลองบางแค” ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่ และเกียรติบัตร กิจกรรมที่ 2.1.3 จัดงานมอบรางวัลแก่ผู้ที่ชนะการประกวด เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารอำนวยการ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น) ดินแดง โดยปลัดกรุงเทพมหานคร นายขจิต ชัชวานิชย์ เป็นประธานในการมอบรางวัล ผู้ร่วมงานประกอบด้วยผู้บริหารสำนักอนามัย ผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักสังคมสงเคราะห์ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานภาคีเครือข่าย จำนวน 183 คน กิจกรรมที่ 2.1.4 เผยแพร่ผลงานนวัตกรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด ที่ส่งเข้าประกวดผ่านเพจเฟสบุค (Page Facebook) ของสำนักงานป้องกันและบำบัด การติดยาเสพติด กิจกรรมที่ 2.2 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเสริมพลังการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขต้นแบบ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด ให้สามารถเป็น Facilitator ที่กระตุ้นให้เกิดการทำงาน อย่างมีส่วนร่วมระหว่างอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการจัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 27 - 28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง จำนวน 69 คน อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร ที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 138 คน ผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 13 คน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 240 คน กิจกรรมประกอบด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาท แนวทาง และปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่กรุงเทพมหานครของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติด การเสริมพลัง พัฒนาทักษะการเป็น Facilitator และการทำงานเป็นทีม รวมถึงการให้ความรู้เรื่องการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (CBTx) และการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (Harm Reduction) โดยใช้กระบวนการเสวนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และกิจกรรมกลุ่ม ซึ่งอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร เชี่ยวชาญยาเสพติดที่ร่วมกิจกรรมสามารถปฏิบัติงานภายใต้บทบาทของ Facilitator ที่ส่งเสริม ผลักดัน ตลอดจนประสานความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดระหว่างอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครในพื้นที่ ที่สำคัญยังเป็นต้นแบบ การดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของอาสาสมัครสาธณสุขกรุงเทพมหานคร โดยผล การวัดระดับความรู้ความเข้าใจหลังการจัดกิจกรรม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา กิจกรรมที่ 3.1 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด ให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างกรุงเทพมหานคร กับสถาบันอุดมศึกษาในการจัดตั้งอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา ดำเนินการจัดกิจกรรมเมื่อวันที่ 19 - 20 มกราคม 2566 ณ ห้องปริ๊นบอลลูม 3 ชั้น 11 อาคาร 1 โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย นักศึกษาที่มีจิตอาสา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่จากสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 42 แห่ง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 237 คน ซึ่งกิจกรรมได้ดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโทษ พิษภัย ผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้า การใช้กัญชาทางการแพทย์ การทำงานเป็นทีม รวมถึงมีการถอดบทเรียนการทำงานจิตอาสาเพื่อนช่วยเพื่อน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) และการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษาและชุมชนรอบสถานศึกษา ผลการวัดระดับความรู้ความเข้าใจหลังการจัดกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมที่ 3.2 จัดกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษา โดยใช้ระยะเวลา 3 วัน ต่อ 1 แห่ง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของนักศึกษาที่มีจิตอาสาได้ร่วมเป็นอาสาสมัครในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดทั้งในและรอบสถานศึกษา และร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัยรอบสถานศึกษาให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชน ดำเนินการโดย นักศึกษาที่มีจิตอาสาในแต่ละสถาบันการศึกษา 21 คน อาจารย์/เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติด 2 คน จากสถาบันการศึกษา 41 แห่ง รวมทั้งสิ้น 943 คน และมีเจ้าหน้าที่กลุ่มป้องกันการติดยาเสพติด สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต จำนวน 25 เขต ร่วมดำเนินกิจกรรม รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,025 คน ผลการดำเนินการจัดกิจกรรม พบว่า การจัดกิจกรรมได้รับความสนใจ และได้รับความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี จากนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของสถาบันการศึกษา นักศึกษาได้แนวคิด และหลักการในการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย ห่างไกลจากยาเสพติด มีความกล้าที่จะปฏิเสธการใช้และการทดลองสารเสพติด ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและสังคม สร้างสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษา พัฒนาทักษะการทำงาน การแก้ปัญหา และการวางแผนงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีเครือข่ายความร่วมมือในการหาแนวทางในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษา
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 98.00 (2023-08-29)
29/08/2566 :- ดำเนินการจัดงานมอบรางวัล.ในกิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครสาธารณสุขฯวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว และส่งเอกสารให้ฝ่ายบริหารฯ เพื่อประกอบการเบิกจ่าย - อยู่ระหว่างการสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-26)
26/07/2566 : กิจกรรมที่ 1 จัดพิมพ์คู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด - จัดประชุมคณะทำงานจัดทำคู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด ครั้งที่ 4/2566 วันพฤหัสบดี 10 กรกฎาคม 2566 และรวบรวมข้อมูลจากการประชุมเพื่อจัดทำเนื้อหาในเล่ม คู่มือตามคำแนะนำของคณะทำงาน - จัดประชุมคณะทำงานจัดทำคู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด ครั้งที่ 5/2566 วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2566 เพื่อนำเสนอเนื้อหาและรูปแบบปกของคู่มือฯ - ประสานฝ่ายบริหารงานทั่วไป ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อจัดพิมพ์เล่มคู่มือฯ จำนวน 500 เล่ม กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครสาธารณสุขฯ กิจกรรมที่ 2.1.3 จัดงานมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด - ทำหนังสือเชิญปลัดกรุงเทพมหานครเป็นประธานในการมอบรางวัล และกำหนดวันจัดงาน ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.00 – 15.30 น. ณ ห้องรัตนโกสินทร์ กทม. เสาชิงช้า - ประสานฝ่ายบริหารงานทั่วไปเพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเกียรติบัตรและโล่รางวัล - ประสานฝ่ายบริหารเพื่อช่วยจัดสถานที่ในวันงาน - จัดทำหนังสือเลื่อนการจัดงานมอบรางวัลฯ เป็นวันที่ 8 สิงหาคม 2566 เวลา 08.00 – 12.00 น. ณ ห้องรัตนโกสินทร์ กทม. เสาชิงช้า - จัดทำหนังสือเชิญผู้บริหาร หน่วยงานภาคีเครือข่าย และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมงาน - ประสานฝ่ายบริหารงานทั่วไป ดำเนินการยืม กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา กิจกรรมที่ 3.2 จัดกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษา - ดำเนินการส่งมอบวัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษาที่มีจิตอาสา - รวบรวมเอกสารการเบิกจ่ายของสถานศึกษา จำนวน 42 แห่ง เพื่อส่งเบิกเงินตามโครงการ - ประสานฝ่ายบริหารฯ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง จัดทำเกียรติบัตร ให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา อาจารย์และเจ้าหน้าที่ จากสถาบันการศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 942 ใบ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-06-28)
28/06/2566 : รายละเอียดการดำเนินโครงการ อาสาสมัครกรุงเทพมหานคร ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและติด กิจกรรมที่ 1 จัดพิมพ์คู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด - จัดประชุมคณะทำงานจัดทำคู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด ครั้งที่ 4/2566 วันพฤหัสบดี 10 กรกฎาคม 2566 และรวบรวมข้อมูลจากการประชุมเพื่อจัดทำเนื้อหาในเล่ม คู่มือตามคำแนะนำของคณะทำงาน กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครสาธารณสุขฯ กิจกรรมที่ 2.1.1 - ทำหนังสือเชิญปลัดกรุงเทพมหานครเป็นประธานในการมอบรางวัล และกำหนดวันจัดงาน ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.00 – 15.30 น. ณ ห้องรัตนโกสินทร์ กทม. 1 เสาชิงช้า - ประสานฝ่ายบริหารงานทั่วไปเพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเกียรติบัตรและโล่รางวัล - ประสานฝ่ายบริหารเพื่อช่วยจัดสถานที่ในวันงาน กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา กิจกรรมที่ 3.2 จัดกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษา อยู่ระหว่างดำเนินการ จัดทำหนังสือเรียนผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา เพื่อร่วมจัดกิจกรรม และจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุกรณ์ เพื่อสนับสนุนกิจกรรม ดังกล่าว -รวบรวมเอกสารการเบิกจ่ายของสถานศึกษา จำนวน 42 แห่ง เพื่อส่งเบิกเงินตามโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-05-29)
29/05/2566 : จัดกิจกรรมที่ 1 จัดพิมพ์คู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด . - ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงานจัดทำคู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันพฤหัสบดี 18 พฤษภาคม 2566 และรวบรวมข้อมูลจากการประชุมเพื่อจัดทำเนื้อหาในเล่ม คู่มือตามคำแนะนำของคณะ ทำงาน กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครสาธารณสุขฯ กิจกรรมที่ 2.1.2 ประกวดและตัดสินผลงานรอบแรกแลรอบรองชนะเลิศ - ดำเนินการ 1. ทำบันทึกขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการจัดกิจกรรม 2.1.2 2. ทำหนังสือขอยืมเงินทดรองใช้จ่ายตามโครงการอาสาสมัครกรุงเทพมหานครฯ 3. กำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการนำเสนอผลงานนวัตกรรม 4. ทำหนังสือขอใช้ห้องประชุม ชั้น 9 ของสำนักงานเขตราชเทวี เพื่อสำหรับนำเสนอผลงานนวัตกรรม 5. ทำหนังสือเชิญกรรมการตัดสินการประกวดนวัตกรรม 6. ทำหนังสือเชิญศูนย์บริหารสาธารณสุขที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดมานำเสนอผลงานนวัตกรรม กิจกรรมที่ 2.1.3 จัดงานมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวด - ดำเนินการ 1. ทำหนังสือขอยืมเงินทดรองใช้จ่ายตามโครงการอาสาสมัครกรุงเทพมหานครฯ 2. กำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการจัดงานมอบรางวัล 3. ทำหนังสือขอใช้ห้องรัตนโกสินทร์ 4. ทำหนังสือถึงสำนักต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 5. ทำหนังสือเชิญกรรมการตัดสินการประกวดนวัตกรรม 6. ทำหนังสือเชิญศูนย์บริหารสาธารณสุขที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดมานำเสนอผลงานนวัตกรรม กิจกรรมที่ 3.2 จัดกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษา - ดำเนินการส่งมอบวัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษาที่มีจิตอาสา
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-04-28)
28/04/2566 : กิจกรรมที่ 1 จัดพิมพ์คู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด - จัดประชุมคณะทำงานจัดทำคู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันพุธ 12 เมษายน 2566 และรวบรวมข้อมูลจากการประชุมเพื่อจัดทำเนื้อหาในเล่มคู่มือตาม คำแนะนำของคณะทำงาน กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครสาธารณสุขฯ กิจกรรมที่ 2.1.1 - ทำหนังสือขอขยายระยะเวลากส่งผลงานเข้าประกวด กิจกรรมที่ 3.2 จัดกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษา อยู่ระหว่างดำเนินการ จัดทำหนังสือเรียนผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา เพื่อร่วมจัดกิจกรรม และจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุกรณ์ - ประสานภายในขอเปลี่ยนแปลงการยืมเงินทดรองราชการเพื่อจัดกิจกรรมที่ 3.2 จัดกิจกรรมด้านการป้องกันและ แก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษา จากครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 – 15 พฤษภาคม 2566 เป็น วันที่ 16 - 31 พ.ค. เนื่องจากมีการเลือกตั้ง - ประสานภายในขอยืมเงินทดรองราชการเพื่อจัดกิจกรรมที่ 3.2 จัดกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ยาและสารเสพติดในสถานศึกษา ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1-16 มิ.ย.2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-03-24)
24/03/2566 : กิจกรรมที่ 1 จัดพิมพ์คู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด - จัดประชุมคณะทำงานจัดทำคู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 - รวบรวมข้อมูลจากการประชุมเพื่อจัดทำเนื้อหาในเล่มคู่มือตามคำแนะนำของคณะทำงาน กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครสาธารณสุขฯ กิจกรรมที่ 2.1.1 ใช้งบประมาณแล้ว 1,200 บาท -อยู่ระหว่างรวบรวมทีมที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดนวัตกรรม กิจกรรมที่ 2.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ -ประสานแจ้งให้ประธานในพิธี/ผู้กล่าวรายงาน และผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทราบวัน เวลา และสถานที่ในการจัดกิจกรรม -เตรียมเอกสารประกอบการจัดกิจกรรม - ดำเนินการจัดกิจกรรม เมื่อวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ 2566 ระยะเวลา 2 วัน ณ ห้องราชาบอลรูม โรงแรมปริ๊นพาเลส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว (ใช้งบประมาณแล้ว 428,470 บาท) กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา กิจกรรมที่ 3.2 จัดกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษา - จัดทำหนังสือขอความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษา เรียน ผู้อำนวยการเขต ในพื้นที่ที่สถาบันการศึกษาตั้งอยู่ - ประสานภายในขอยืมเงินทดรองราชการเพื่อจัดกิจกรรมที่ 3.2 จัดกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและ สารเสพติดในสถานศึกษา ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 – 15 พฤษภาคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : กิจกรรมที่ 1 จัดพิมพ์คู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด 1. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการดำเนินการรับ - ส่งเงิน และเก็บรักษาเงิน 2. ขอรายชื่อเจ้าหน้าที่เพื่อจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำคู่มือ 3. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำคู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด 4. จัดประชุมคณะทำงานจัดทำคู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครสาธารณสุขฯ กิจกรรมที่ 2.1.1 ใช้งบประมาณแล้ว 1,200 บาท 1. ขอรายชื่อเพื่อจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การประกวดนวัตกรรม 2. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ กำหนดหลักเกณฑ์การประกวดนวัตกรรม 3. จัดประชุมคณะกรรมการฯ กำหนดหลักเกณฑ์การประกวดนวัตกรรม กิจกรรมที่ 2.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ใช้งบประมาณแล้ว 417,500บาท 1. กำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการจัดกิจกรรม และจัดทำหนังสื่อขอรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรมจากศูนย์บริการ สาธารณสุข 69 แห่ง 2. รวบรวมแบบตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรม 3. ทำหนังสือเชิญกับผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4. ประสานฝ่ายบริหารเพื่อยืมเงินทดรองราชการใช้ในราชการ 5. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องราชาบอลรูม โรงแรมปริ๊นพาเลส กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา กิจกรรมที่ 3.1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา จากสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 42 แห่ง เพื่อพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา เมื่อวันที่ 19 - 20 มกราคม 2566 ระยะเวลา 2 วัน ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว (ใช้งบประมาณแล้ว 309,720 บาท) กิจกรรมที่ 3.2 จัดกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษา อยู่ระหว่างดำเนินการ จัดทำหนังสือเรียนผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา เพื่อร่วมจัดกิจกรรม และจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุกรณ์ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าว อยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2023-01-17)
17/01/2566 : กิจกรรมที่ 1 จัดพิมพ์คู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด 1. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการดำเนินการรับ - ส่งเงิน และเก็บรักษาเงิน 2. ขอรายชื่อเจ้าหน้าที่เพื่อจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำคู่มือ 3. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำคู่มือการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครเฝ้าระวังภัยและยาเสพติด กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครสาธารณสุขฯ กิจกรรมที่ 2.1.1 ใช้งบประมาณแล้ว 1,200 บาท 1. ขอรายชื่อเพื่อจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การประกวดนวัตกรรม 2. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ กำหนดหลักเกณฑ์การประกวดนวัตกรรม 3. จัดประชุมคณะกรรมการฯ กำหนดหลักเกณฑ์การประกวดนวัตกรรม กิจกรรมที่ 2.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ 1. กำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการจัดกิจกรรม และจัดทำหนังสื่อขอรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรมจากศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง 2. ราบรวมแบบตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรม 3. ทำหนังสือเชิญกับผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4. ประสานฝ่ายบริหารเพื่อยืมเงินทดรองราชการใช้ในราชการ กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา กิจกรรมที่ 3.1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา จากสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 42 แห่ง เพื่อพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครกรุงเทพมหานครในสถานศึกษา เมื่อวันที่ 19 - 20 มกราคม 2566 ระยะเวลา 2 วัน ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว (ใช้งบประมาณแล้ว 309,720 บาท) กิจกรรมที่ 3.2 จัดกิจกรรมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาและสารเสพติดในสถานศึกษา อยู่ระหว่างดำเนินการ จัดทำหนังสือเรียนผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา เพื่อร่วมจัดกิจกรรม และจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุกรณ์ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของชุมชนที่มีอาสาสมัครดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (ผลผลิต)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 65
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 93.06
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **