ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย : 08000000-7048

สำนักอนามัย : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

ในปีงบประมาณ 2563 - 2564 สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด ได้ดำเนินโครงการการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย โดยพัฒนาศักยภาพให้บุคลากรที่มีภารกิจด้านการดูแลเด็กปฐมวัยให้มีองค์ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะสมองในเด็กปฐมวัยอย่างถูกต้อง ประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพและพี่เลี้ยงเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย จำนวน 12 แห่ง พยาบาลอนามัยชุมชนและ อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครเชี่ยวชาญยาเสพติด ที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข ๖9 แห่ง พร้อมทั้งสนับสนุนคู่มือและชุดกิจกรรมเพื่อนำไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยในการดูแล ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2566 เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยได้อย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ครอบคลุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกมิติ สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด จึงจัดทำโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัยต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นให้บุคลากรของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน เกิดทักษะในการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะสมองไปใช้สร้างแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างมีมาตรฐาน พร้อมทั้งบูรณาการความร่วมมือกับกลุ่มผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยในการดูแล ให้เข้ามามีส่วนสำคัญในการบ่มเพาะทักษะสมอง EF ให้แก่ลูกหลานของตนอย่างสม่ำเสมอ เป็นการขยายเครือข่ายการดำเนินงานให้ครอบคลุมถึงครอบครัวและชุมชนไปพร้อมกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสร้างเกราะให้เด็กสามารถรับมือกับยาและสารเสพติด รวมถึง สิ่งยั่วเย้านานาประการได้อย่างแข็งแกร่งในอนาคต

08090000/08090000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อพัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพ พี่เลี้ยงเด็กและผู้ปกครอง ให้มีความรู้ด้านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย 2. เพื่อจัดทำแผนการจัดประสบการณ์เพื่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย 3. เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัยในศูนย์บริการสาธารณสุขและในชุมชน

เป้าหมายของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย จำนวน 1 รุ่น 2 วัน แบบไป - กลับ ณ สถานที่เอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดำเนินการระหว่างเดือน เมษายน - กรกฎาคม 2566 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ๑. พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย จำนวน 12 แห่ง แห่งละ ๑ คน รวม 12 คน ๒. พี่เลี้ยงเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย จำนวน 12 แห่ง รวม 40 คน 3. ผู้ปกครองเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย จำนวน 12 แห่ง แห่งละ 3 คน รวม 36 คน 4. วิทยากร จำนวน ๑๐ คน 5. เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 1๐ คน รวมทั้งสิ้น 108 คน กิจกรรมที่ 2 จัดสรรงบประมาณให้สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย จำนวน 12 แห่ง แห่งละ 10,000 บาท เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย ดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคม - สิงหาคม 2566 กิจกรรมที่ 3 ติดตามผลการดำเนินงานของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน โดยให้มีการจัดส่งรายงานการดำเนินงานเดือนละ 1 ครั้ง ผ่านระบบสารสนเทศ (โดยไม่ใช้งบประมาณ)

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ด้านที่ ๑ – มหานครปลอดภัย : Bangkok as a Safe City
๑.๑ - ปลอดมลพิษ
๑.๑.๒ เด็กและเยาวชนไม่เสพยาเสพติด ผู้เสพผู้ติดเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีมาตรฐานแ%
๑.๑.๒.๒ สร้างความภาคภูมิใจในตนเองและความเข้มแข็งทางจิตใจแก่เด็ก เยาวชน

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-09)

100.00

09/09/2566 : สรุปผลการดำเนินโครงการการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัยประจำปีงบประมาณ 2566 1. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาพยาบาลวิชาชีพ พี่เลี้ยงเด็กและผู้ปกครอง ให้มีความรู้และทักษะด้านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย 2. เพื่อจัดทำแผนการจัดประสบการณ์เพื่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย 3. เพื่อจัดพิมพ์คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน 4. เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัยในศูนย์บริการสาธารณสุขและในชุมชน 2. กลุ่มเป้าหมาย เชิงปริมาณ กิจกรรมที่ 1 ออกแบบและจัดพิมพ์คู่มือคู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน พร้อมแบบสังเกตพฤติกรรม จำนวน 500 เล่ม กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด ในเด็กปฐมวัย จำนวน 1 รุ่นๆ ละ 2 วัน แบบไป - กลับ ณ สถานที่เอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ พี่เลี้ยงเด็ก และผู้แทนผู้ปกครองของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน จำนวนรวม 88 คน เชิงคุณภาพ กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ยาเสพติดในเด็กปฐมวัย จำนวน 12 รุ่นๆ ละ 1 วัน แบบไป - กลับ ณ สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย จำนวน 12 แห่ง กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย พยาบาลวิชาชีพ พี่เลี้ยงเด็ก ผู้ปกครองของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานด้านเด็กและผ่านการอบรมการพัฒนาทักษะสมอง EF จำนวนรวมทั้งสิ้น 564 คน กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการดำเนินงานของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน โดยให้มีการจัดส่งรายงาน การดำเนินงานเดือนละ 1 ครั้ง ผ่านระบบสารสนเทศ ร่วมกับการรับฟังปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน 3. ระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างเดือนมกราคม - กันยายน 2566 ณ สถานที่ราชการและสถานที่เอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 4. ผลการดำเนินโครงการ กิจกรรมที่ 1 คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Functions) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน พร้อมแบบสังเกตพฤติกรรม โดยดำเนินการจัดสรร ดังนี้ - บุคลากรและผู้ปกครองของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย 12 แห่ง - แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด้านเด็ก สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุขที่มีสถานรับเลี้ยง เด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย สำหรับนำไปประกอบการปฏิบัติงานและประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครองในชุมชน กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด ในเด็กปฐมวัย โดยพยาบาลวิชาชีพ พี่เลี้ยงเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน ได้รับการทบทวนองค์ความรู้ ด้าน EF และฝึกปฏิบัติการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์เพื่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย รวมทั้งผู้ปกครองที่เข้าร่วม กิจกรรมฯ ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลานที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ยาเสพติดในเด็กปฐมวัย โดยพยาบาลวิชาชีพ พี่เลี้ยงเด็ก ผู้ปกครองของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครที่ปฏิบัติงานด้านเด็กและผ่านการอบรมการพัฒนาทักษะสมอง EF ได้ร่วมแลกเปลี่ยน การดำเนินงานในระดับพื้นที่กับผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัย จากสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป ) โดยพยาบาลวิชาชีพและพี่เลี้ยงเด็ก ได้ทำการสาธิตกิจกรรม และการดูแลต่างๆ ให้แก่เด็กปฐมวัยของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน ตามแผนการจัดประสบการณ์ ที่ใช้กระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดพัฒนาทักษะสมอง EF นอกจากนั้น ผู้ปกครองได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงดูบุตรหลานที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกิจกรรม เพื่อนำไปดำเนินงานในระดับชุมชนต่อไป ทั้งนี้ จากการดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย จำนวน 12 แห่ง ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ 1) จุดแข็งที่เอื้อต่อการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย โดยใช้แนวคิดการพัฒนาทักษะสมอง EF - ความพร้อมของสถานที่ ที่มีการจัดสภาพแวดล้อมเป็นสัดส่วน สงบ สะอาด เป็นระเบียบ และปลอดภัย - บุคลากรผู้ดูแลเด็ก มีความรักในงาน พร้อมต่อการเรียนรู้พัฒนา โดยเฉพาะการใช้ แนวคิด EF กับการจัดกิจกรรม ซึ่งผู้ปฏิบัติต้องปรับ Mindset และวิธีการ กระทั่งเกิดความเข้าใจและนำไปสู่วิถีปกติของการดูแลเด็กได้สำเร็จ เช่น การจัดกิจกรรมแผนการจัดประสบการณ์ เรื่อง “โรคท้องผูก” โดยเริ่มต้นจากการเล่านิทานเรื่องผักชนิดต่างๆ ชวนคุยผักที่เด็กรู้จักและไม่รู้จัก สี ลักษณะต่างๆ ต่อยอดไปสู่ผลเสีย จากการไม่ทานผักจนทำให้เกิดโรคท้องผูก และปิดท้ายกิจกรรม ด้วยการให้เด็กได้ลงมือทำอาหารที่มีผักเป็นส่วนประกอบ โดยเปิด โอกาสให้เด็กได้เลือกชนิดของผักเอง ลองทานผักที่ตนเองเลือก จากกิจกรรมตามแผนฯ ดังกล่าว ช่วยพัฒนาทักษะสมอง EF ในด้าน ความจำเพื่อใช้งาน การวางแผน ลงมือทำ กำกับตนเอง มุ่งเป้าหมาย ควบคุมอารมณ์ที่จะอดทนรอคอยไม่แซงคิวเพื่อน หรือยับยั้งชั่งใจที่ จะไม่ทานอาหารก่อนเวลา และประเมินตนเองจากผลงานที่ทำสำเร็จแล้ว เป็นต้น - บุคลากรผู้ดูแลเด็ก สามารถสร้างความไว้วางใจให้แก่เด็ก สังเกตจากคำพูดที่ไพเราะ ภาษากายที่อบอุ่น และความพร้อมทางอารมณ์ ของเด็ก เช่น ยิ้มแย้ม แจ่มใสและตั้งใจเรียนรู้ - มีทีมสหวิชาชีพที่สามารถเสริมการดูแลเด็กได้ครบทุกมิติ ทั้งด้านร่างกาย พัฒนาการตามวัย และกรณีเด็กพิเศษ เช่น พูดช้า ไม่เข้า สังคม ก้าวร้าว จะได้รับการปรับแก้พฤติกรรม และส่งเสริมพัฒนาการอย่างถูกต้อง โดยร่วมมือกับครอบครัวของเด็ก 2) ประเด็นเพิ่มเติมสำหรับการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์/การดูแลเด็กปฐมวัย - ระบุเป้าหมายชัดเจน เพื่อให้วิธีการสอน/การสื่อสารกับเด็กตรงประเด็น และควรประเมินผลสัมฤทธิ์ในการสอนทุกครั้ง โดยวัดจากความ เข้าใจของเด็ก เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการให้สอดคล้องกับเด็กทุกคน เช่น กิจกรรมและสื่อประกอบการสอนมีความเหมาะสมกับ วัย กลุ่มของเด็ก และไม่ซับซ้อน เป็นต้น - เกริ่นนำก่อนเริ่มกิจกรรม เพื่อให้เด็กทราบเป้าหมายที่พี่เลี้ยงจะทำการสอน เช่น นิทานเรื่องนี้ มีสัตว์กี่ตัว มีตัวอะไรบ้าง ให้เด็กได้ฝึกความ จดจ่อใส่ใจ เพื่อตอบคำถามได้หลังจบนิทาน เป็นต้น นอกจากนั้น แผนการจัดประสบการณ์ควรต่อยอดจากเป้าหมายเดิม เพื่อขยายระดับ การเรียนรู้ ให้เด็กได้รู้จักเชื่อมโยงเรื่องเดิมที่เคยเรียนรู้มาแล้วในกิจกรรมอื่นๆ มาสู่กิจกรรมใหม่ และควรเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมใน การตั้งเป้าหมายเล็กๆ เพื่อท้าทายความสามารถของตนเองอย่างต่อเนื่อง - เปิดโอกาสให้เด็กได้ตัดสินใจเลือกทำ หรือแสดงออกในกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง รวมถึงการตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นความคิด สร้างสรรค์ การวิเคราะห์ และมีความสุขกับกิจกรรมเพิ่มขึ้น - ใช้เพลง/กิจกรรมเข้าจังหวะ มาช่วยฝึกวินัยเชิงบวก ลดการใช้คำสั่ง/ห้าม รวมถึงเพลงที่สื่อถึงความรัก ความอบอุ่น - กล่าวชื่นชมเด็ก โดยระบุคุณลักษณะด้านดีที่เด็กแสดงออก เพื่อสร้างแรงเสริมให้เด็กรู้ว่าสิ่งที่ทำเป็นความดี ตระหนักเห็นคุณค่าของ ตนเอง และจูงใจให้เด็กทำซ้ำ กระทั่งเกิดเป็นลักษณะนิสัยที่ติดตัว - ให้เด็กสะท้อนความรู้สึกหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม เช่น จากกิจกรรม เด็กชอบอะไรมากที่สุด เพราะอะไร เพื่อให้เด็กรู้จักประเมินตนเอง และ ทำให้พี่เลี้ยงทราบว่าต้องเพิ่มเติมสิ่งใด - ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีพื้นที่กลางแจ้ง ควรนำเด็กมาทำกิจกรรมภายนอกมากขึ้น เพื่อช่วยเสริมทักษะการสังเกต/สำรวจสิ่งรอบตัว ซึ่งเป็น ประโยชน์ต่อการฝึกทักความจำเพื่อใช้งานจากการเชื่อมโยงเรื่องราวที่เคยเรียนรู้ รวมถึงการได้เล่นอิสระ ปีนป่าย ออกกำลังกาย ยังช่วย เสริมสร้างกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การตั้งเป้าหมายและลงมือทำ ในส่วนของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันที่พื้นที่จำกัดควรมีอุปกรณ์ ออกกำลังกาย/ทรงตัวในร่มทดแทน - เพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ที่มีความสงบ เช่น การลดเครื่องดนตรีประกอบจังหวะที่เสียงดังเกินไป รวมทั้งการลดระดับเสียงในการสื่อสาร กับเด็กของผู้ดูแลเด็ก - งดสื่อจอใส (สื่อจากโทรทัศน์ โนตบุค มือถือ) โดยเปลี่ยนเป็นการเปิดเสียงเพลงให้เด็กฟังและใช้จินตนาการของตนเอง - กิจกรรมมีความยืดหยุ่น เพื่อให้เด็กได้คิดอิสระ เช่น กิจกรรมเข้าจังหวะ ควรเปิดโอกาสให้เด็กคิดท่าประกอบเอง เมื่อเด็กเคยชินกับเพลง แล้ว ให้เพิ่มเติมเพลงใหม่ต่อไป เป็นต้น 3) สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันที่การดำเนินงานโดดเด่น สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน ที่มีศักยภาพในการจัดแผนการจัดประสบการณ์และการดูแลเด็ก โดยใช้แนวคิดพัฒนาทักษะสมอง EF จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 3.1) ศูนย์บริการสาธารณสุข 5 จุฬาลงกรณ์ เขตปทุมวัน 3.2) ศูนย์บริการสาธารณสุข 16 ลุมพินี เขตปทุมวัน 3.3) ศูนย์บริการสาธารณสุข 22 วัดปากบ่อ เขตสวนหลวง 3.4) ศูนย์บริการสาธารณสุข 24 บางเขน เขตจตุจักร กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการดำเนินงานของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน โดยรายงานการดำเนินงานประจำเดือนผ่านระบบสารสนเทศ รายงานผลการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย โดยใช้แนวคิดการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive functions) ของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย จำนวน 12 แห่ง ระยะเวลา การจัดกิจกรรมพัฒนา/ส่งเสริมทักษะสมอง (EF) แก่เด็กในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน การให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา/ส่งเสริมทักษะสมอง (EF) แก่ผู้ปกครอง/ประชาชนทั่วไป การจัดนิทรรศการ/มุมให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนา/ ส่งเสริมทักษะสมอง (EF) ต.ค. 65 - ส.ค. 66 3,253 ครั้ง 1,810 ครั้ง 1,700 ครั้ง สิ่งที่สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันต้องการการสนับสนุน - การให้คำปรึกษาแนะนำในการจัดกิจกรรมจากผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลเด็ก เนื่องจากพบเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าและพฤติกรรมก้าวร้าวมีจำนวนเพิ่มขึ้น สาเหตุจากวิธีการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง เช่น การใช้จอใสเลี้ยงดูเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครองไม่มีเวลาให้อย่างเพียงพอ ซึ่งการดูแลมีความซับซ้อนกว่าเด็กปกติทั่วไป - สนับสนุนสื่อการสอน/เสริมพัฒนาการด้าน EF อย่างต่อเนื่อง - เพิ่มจำนวนบุคลากร เพื่อให้การดูแลเด็กมีคุณภาพ ทั่วถึง และปลอดภัย โดยเฉพาะ การดูแลเด็กปกติร่วมกับเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าหรือก้าวร้าว 5.ปัจจัยความสำเร็จ 1) การดำเนินงานเป็นเครือข่ายกับผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทักษะสมอง EF ในเด็กปฐมวัย ทำให้สามารถวางแผนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้ในระยะยาว เป็นผลให้การดำเนินงานของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย ดูแลเด็กร่วมกับผู้ปกครอง ได้อย่างมีมาตรฐาน รวมถึงมีกลไกการดำเนินงานในระดับชุมชนผ่านอาสาสมัครสาธารณสุข เกิดความครอบคลุมในทุกมิติ 2) การติดตาม ประสานงานกับสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน และอาสาสมัครสาธารณสุข เช่น การสร้างช่องทางติดต่อผ่านแอพลิเคชันไลน์ การสนับสนุนองค์ความรู้ คู่มือ ชุดกิจกรรม และสื่อประชาสัมพันธ์ และแบบรายงานการดำเนินงานประจำเดือน ทำให้เกิดการดำเนินงานจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง 6.ข้อจำกัดและแนวทางการแก้ไข การเข้าร่วมกิจกรรมของผู้ปกครองในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน ยังมีจำนวนไม่ครบถ้วน เนื่องจากไม่ตระหนัก ถึงการพัฒนาทักษะสมองในเด็กปฐมวัย ที่จะช่วยป้องกันปัญหาเชิงพฤติกรรมต่างๆ รวมถึงปัญหายาและสารเสพติด ได้ในอนาคต สำนักงานป้องกันและบำบัดการติดยาเสพติด จึงจัดสรรคู่มือและสื่อประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม เพื่อให้ สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันนำไปให้ความรู้กับผู้ปกครอง เช่น การประชุมผู้ปกครอง บอร์ดประชาสัมพันธ์ การมอบการบ้าน/แบบฝึกหัดให้ผู้ปกครองนำไปฝึกบุตรหลานที่บ้าน และการให้คำปรึกษาพูดคุยเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงดูที่เหมาะสมเป็นระยะ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในครอบครัวของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าหรือปัญหาด้านพฤติกรรม

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 98.00 (2023-08-29)

98.00

29/08/2566 : กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย จำนวน 12 รุ่น - ดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ไปแล้ว จำนวน 7 ศูนย์ฯ - ดำเนินการจัดกิจกรรมและเปลี่ยนเรียนรู้ฯ จำนวน 5 ศูนย์ - ส่งเอกสารให้ฝ่ายบริหารฯ เพื่อประกอบการเบิกจ่าย - อยู่ระหว่างสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-07-26)

90.00

26/07/2566 : กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย จำนวน 12 รุ่น - ประสานกับศูนย์บริการสาธารณสุข 12 แห่ง เพื่อเตรียมดำเนินการจัดกิจกรรมที่ศูนย์ฯ - รวบรวมรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมและจัดทำบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่ง - ดำเนินการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ไปแล้ว จำนวน 7 ศูนย์ฯ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-06-28)

80.00

28/06/2566 : กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย จำนวน 12 รุ่น - ประสานกับศูนย์บริการสาธารณสุข 12 แห่ง เพื่อเตรียมดำเนินการจัดกิจกรรมที่ศูนย์ฯ - รวบรวมรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมและจัดทำบัญชีรายชื่อแนบท้ายคำสั่ง

** ปัญหาของโครงการ :- ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :- ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-05-29)

70.00

29/05/2566 : กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย จำนวน 12 รุ่น 1. ทำหนังสือขอยืมเงินทดรองใช้จ่ายตามโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย 2. กำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการจัดกิจกรรม 3. ทำหนังสือถึงศูนย์บริหารสาธารณสุขทั้ง 12 แห่ง เพื่อขอใช้สถานที่และแจ้งกำหนดการจัดกิจกรรม 4. ทำหนังสือขอเชิญผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5. ประสานฝ่ายบริหารเพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในการจัดทำป้ายไวนิล

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-04-28)

60.00

28/04/2566 : กิจกรรมที่ 1 ออกแบบและจัดพิมพ์คู่มือฯ - ประสานฝ่ายแผนงานฯ เพื่อขอความเห็นชอบรูปแบบปกคู่มือฯ - ฝ่ายบริหารประสานบริษัทที่รับจัดพิมพ์คู่มือฯ กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย จำนวน 1 รุ่นๆ ละ 2 วัน แบบไป-กลับ เมื่อวันที่ 11 -12 มีนาคม 2566 ณ ห้องปริ๊นบอลรูม โรงแรมปริ๊นพาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเททพมหานคร เรียบร้อยแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-03-24)

55.00

24/03/2566 : กิจกรรมที่ 1 ออกแบบและจัดพิมพ์คู่มือฯ - ประสานฝ่ายแผนงานฯ เพื่อขอความเห็นชอบรูปแบบปกคู่มือฯ - ฝ่ายบริหารประสานบริษัทที่รับจัดพิมพ์คู่มือฯ กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย จำนวน 1 รุ่นๆ ละ 2 วัน แบบไป-กลับ เมื่อวันที่ 11 -12 มีนาคม 2566 ณ ห้องปริ๊นบอลรูม โรงแรมปริ๊นพาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเททพมหานคร เรียบร้อยแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-02-28)

15.00

28/02/2566 : รายละเอียดการดำเนินโครงการ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย กิจกรรมที่ 1 ออกแบบและจัดพิมพ์คู่มือฯ 1. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการดำเนินการรับ - ส่งเงิน และเก็บรักษาเงิน 2. ประสานฝ่ายบริหารเพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย 1. กำหนดวัน เวลาและสถานที่ในการจัดกิจกรรม และจัดทำหนังสื่อขอรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรมจากศูนย์บริการ สาธารณสุข 12 แห่ง 2. รวบรวมแบบตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรม และจัดทำบัญชีรายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3. ทำหนังสือเชิญกับผู้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4. ประสานฝ่ายบริหารเพื่อยืมเงินทดรองราชการใช้ในราชการ และจัดซื้อวัสดุที่ใช้ในการจัดกิจกรรม 5. ประสานรายละเอียดต่างๆ กับโรงแรมที่จะใช้ในการจัดกิจกรรม 6. จัดเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จะใช้สำหรับการจัดกิจกรรม

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-17)

5.00

17/01/2566 : กิจกรรมที่ 1 ออกแบบและจัดพิมพ์คู่มือฯ 1. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการดำเนินการรับ - ส่งเงิน และเก็บรักษาเงิน 2. ประสานฝ่ายบริหารเพื่อดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. กำหนดรูปแบบ และรายละเอียดการจัดกิจกรรมเพื่อจัดทำโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. ขออนุมัติโครงการและรายละเอียดการจัดกิจกรรม
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. ออกแบบและจัดพิมพ์คู่มือฯ จำนวน 500 เล่ม
:20.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย
:30.00%
เริ่มต้น :2023-02-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-02-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในเด็กปฐมวัย ณ สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน สังกัดสำนักอนามัย จำนวน 12 แห่ง
:20.00%
เริ่มต้น :2023-05-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-05-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6. ติดตามผลการดำเนินงานของสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน
:10.00%
เริ่มต้น :2023-08-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-08-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 08000000-7048

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 08000000-7048

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0800-6703

ตัวชี้วัด : ร้อยละของนักเรียนมีภูมิคุ้มกัน ยาเสพติด (ผลผลิต)

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 60

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 65.54

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
42.04

0 / 0
3
65.54

0 / 0
4
65.54

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **