ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

กิจกรรมคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย : 08000000-7058

สำนักอนามัย : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

กองสร้างเสริมสุขภาพ

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

การดูแลสุขภาพเพื่อให้ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี สิ่งสำคัญคือการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุมเป้าหมายทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็กปฐมวัย (แรกเกิด - 5 ปี) เนื่องจากช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยแห่งโอกาสทองของการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถ หากปล่อยให้ช่วงเวลาของวัยดังกล่าวล่วงเลยไป การเรียนรู้และการพัฒนาความสามารถจะทำได้ลำบาก การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยจึงเป็นการลงทุนที่ดีที่สุด เพื่อการมีประชากรที่มีคุณภาพ ลดภาระปัญหาสุขภาพกาย และสุขภาพจิต รวมถึงลดปัญหาทางสังคมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากการสำรวจของกรมอนามัยในปี พ.ศ. 2564 ยังคงพบกลุ่มเด็กปฐมวัยมีปัญหาพัฒนาการสงสัยล่าช้า ประมาณร้อยละ 27 โดยพบพัฒนาการด้านภาษาและการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญาสงสัยล่าช้ามากที่สุด ดังนั้นการดำเนินงานด้านพัฒนาการเด็กปฐมวัยจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพื่อให้เด็กได้รับการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการตามวัย เกิดการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่วัยต่อไปของชีวิต กิจกรรมคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ของสำนักอนามัย โดยดำเนินงานเฝ้าระวังและคัดกรองพัฒนาการทั้งเชิงรับในคลินิกสุขภาพเด็กดี และบริการเชิงรุกในสถานพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน โรงเรียนอนุบาล และสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน เพื่อให้เด็กได้รับการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามวัย ให้เด็กที่พบพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการโดยเร็ว และเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าเข้าสู่ระบบการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที การจัดทำกิจกรรมคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย เป็นโครงการที่สนับสนุนแผนปฏิบัติราชการกรุงเทพมหานครประจำปี พ.ศ. 2566 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 1.5 เมืองสุขภาพดี (Healthy city)

08030000/08030000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการเฝ้าระวัง คัดกรอง และส่งเสริมพัฒนาการ

เป้าหมายของโครงการ

เด็กอายุแรกเกิด – 6 ปี ที่รับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน โรงเรียนอนุบาล และสถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน ได้รับการเฝ้าระวัง/คัดกรองพัฒนาการ ด้วยเครื่องมือ DSPM และเด็กล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้วยเครื่องมือ TEDA4I

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-12)

100.00

12/09/2566 : ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ดำเนินการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามช่วงอายุ ทั้งเชิงรับในคลินิกสุขภาพเด็กดีของศูนย์บริการสาธารณสุข และเชิงรุกในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน โรงเรียนอนุบาล แนะนำให้ผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการเด็กในรายที่สงสัยล่าช้า และประเมินพัฒนาการซ้ำภายใน 1 เดือน จัดโปรแกรมสำหรับการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกณณีเด็กล่าช้า กองสร้างเสริมสุขภาพจัดทำสรุปผลการดำเนินงานพัฒนาการเด็กปฐมวัย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-16)

90.00

16/08/2566 : ดำเนินการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามช่วงอายุ ทั้งการให้บริการเชิงรับในคลินิกสุขภาพเด็กดีของศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง และการให้บริการเชิงรุกในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน โรงเรียนอนุบาล ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการเด็กในรายที่สงสัยล่าช้า ประเมินพัฒนาการซ้ำภายใน 1 เดือน และจัดโปรแกรมสำหรับการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกรณีล่าช้า

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-07-18)

85.00

18/07/2566 : ดำเนินการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามช่วงอายุ ทั้งการให้บริการเชิงรับในคลินิกสุขภาพเด็กดีของศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง และให้บริการเชิงรุกในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน โรงเรียนอนุบาล ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการเด็กในรายที่สงสัยล่าช้า และประเมินพัฒนาการซ้ำภายใน 1 เดือน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-06-19)

80.00

19/06/2566 : ดำเนินการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามช่วงอายุ ทั้งการให้บริการเชิงรับในคลินิกสุขภาพเด็กดีของศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่งและให้บริการเชิงรุกในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน โรงเรียนอนุบาลให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการเด็กในรายที่สงสัยล่าช้า และประเมินพัฒนาการซ้ำภายใน 1 เดือน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-05-15)

70.00

15/05/2566 : ดำเนินการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามช่วงอายุ ด้วยคู่มือ DSPM ให้บริการเชิงรับในคลินิกสุขภาพเด็กดีของศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง และให้บริการเชิงรุกในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน โรงเรียนอนุบาล ให้คำปรึกษาแนะนำผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการเด็กในรายที่สสัยล่าช้า และประเมินพัฒนาการซ้ำภายใน 1 เดือน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-04-19)

60.00

19/04/2566 : ดำเนินการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามช่วยอายุ ทั้งการให้บริการเชิงรับในคลินิกสุขภาพเด็กดีของศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง และให้บริการเชิงรุกในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน โรงเรียน ให้คำแนะนำผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการเด็กในรายที่สงสัยล่าช้า และประเมินพัฒนาการซ้ำภายใน 1 เดือน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-03-15)

40.00

15/03/2566 : ดำเนินการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามช่วงอายุที่กำหนด และให้การส่งเสริมพัฒนาการให้ดียิ่งขึ้นในกลุ่มเด็กพัฒนาการสมวัย ให้คำแนะนำผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการเด็กในรายที่สงสัยล่าช้าและนัดประเมินพัฒนาการซ้ำ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-02-15)

20.00

15/02/2566 : ประสานศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนแต่ละแห่งเพื่อสำรวจจำนวนและวันเดือนปีเกิดของเด็ก กำหนดช่วงอายุของเด็กที่ต้องเข้ารับการคัดกรองพัฒนาการตามคู่มือ DSPM ประสานนักจิตวิทยาของศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่เข้าดำเนินการงานพัฒนาการตามวันเวลาที่นัดหมาย

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-31)

10.00

31/01/2566 : ดำเนินการจัดส่งแนวทางการดำเนินงานพัฒนาการเด็กปฐมวัย ปีงบประมาณ 2566 ตามหนังสือที่ กท0706/1857 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2565 ถึงศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานตรวจประเมินคัดรอง เฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้งเชิงรับและเชิงรุก

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-18)

5.00

18/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. ทำหนังสือชี้แจงการดำเนินงานคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการแก่ ศบส.
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. ประสานหน่วยงานและนักจิตวิทยาของ ศบส. ในพื้นที่เพื่อดำเนินการคัดกรองพัฒนาการเชิงรุก - เชิงรับ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. ดำเนินการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามช่วงอายุ
:40.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. แนะนำให้ผู้ปกครองส่งเสริมพัฒนาการเด็กในรายที่สงสัยล่าช้า และประเมินพัฒนาการซ้ำ ภายใน 1 เดือน
:20.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. จัดโปรแกรมสำหรับการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกรณีเด็กล่าช้า
:10.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6. จัดทำรายงานสรุปผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย
:10.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 08000000-7058

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 08000000-7058

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0800-6719

ตัวชี้วัด : ร้อยละของเด็กปฐมวัย (แรกเกิด - 5 ปี) มีพัฒนาการสมวัย

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 85

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 90.38

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
91.05

0 / 0
3
91.44

0 / 0
4
90.38

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **