ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กองสร้างเสริมสุขภาพ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กและเยาวชนในประเทศไทยมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในด้านที่ส่งผลต่อสภาวะการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ เนื่องจากการขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและความเคยชินที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรง “โรคอ้วน” เป็นโรคที่ไม่ติดต่อ แต่ “อันตราย” มากกว่าโรคติดต่อ “ปัญหาโรคอ้วน” และ “สุขภาพเด็ก” เป็นปัญหาใหญ่ที่หลายองค์กร ให้ความสำคัญ เด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือที่รู้จักกันดีว่า “โรคอ้วน” เด็กเหล่านี้กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ ตั้งแต่โรคข้อและกระดูก โรคเบาหวาน ไขมันในเลือด และโรคมะเร็ง ซึ่งส่งผลต่อการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหัวใจมากกว่าคนทั่วไป 2-4 เท่า และโรคดังกล่าวกำลังเป็นปัญหาสุขภาพของคนไทย จากการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียนในปี พ.ศ. 2553 2563 พบว่าสถานการณ์ภาวะ-โภชนาการเกิน (เริ่มอ้วนและอ้วน) ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัดคิดเป็นร้อยละ 12.62, 13.47, 13.50, 14.74, 13.97, 14.71, 14.06, 14.76 ,15.31, 15.86 และ 15.07 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเกินค่าเป้าหมายที่องค์การอนามัยโลกกำหนด การส่งเสริมสุขภาพและสนับสนุนพฤติกรรมที่ดีจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพด้านการเจริญเติบโต สมอง และจิตใจ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลป้องกันและดำเนินงานแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายและทุกหน่วยงาน เพื่อลดปัญหาโรคอ้วนและภาวะทุพโภชนาการในสถานศึกษาต่
08030000/08030000
1. เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กเเละเยาวชนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัด 2. เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนกำหนดแนวทางการพัฒนาสุขภาพของเด็กนักเรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
เด็กและเยาวชนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและนอกสังกัดได้รับการเฝ้าระวังโภชนาการ และมีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-07)
07/09/2566 : -จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานนำเสนอผู้บริหารฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 82.00 (2023-08-14)
14/08/2566 : -รวบรวม และตรวจสอบข้อมูลรายงานจากศูนย์บริการสาธารณสุข ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 -วิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 -จัดทำหนังสือขอแจ้งรายงานผลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เเก่ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 เเห่ง -จัดทำหนังสือเเจ้งผลการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนฯ ประจำปี พ.ศ. 2566 และขอความร่วมมือไปยัง สพฐ. เอกชน และสำนักงานเขต เพื่อประสานความร่วมมือโรงเรียนในความรับผิดชอบเข้าร่วมกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนฯ ประจำปี พ.ศ. 2567
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 68.00 (2023-07-17)
17/07/2566 : -ประสานศูนย์บริการสาธารณสุข ติดตามข้อมูลผลการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนเเละภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 -รวบรวม และตรวจสอบข้อมูลรายงานจากศูนย์บริการสาธารณสุข ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 -วิเคราะห์และสรุปผลข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 -จัดทำหนังสือขอแจ้งรายงานผลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เเก่ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 เเห่ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 62.00 (2023-06-17)
-ตรวจสอบ เเละวิเคราะห์ผลข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 -วิเคราะห์ผลข้อมูลผลการดำเนินมาตรการป้องกันโรคอ้วนฯ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 -ประสานศูนย์บริการสาธารณสุข ติดตามข้อมูลผลการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนเเละภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 -รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนเเละภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 -จัดทำหนังสือขอเเจ้งปรับเเบบรายงานเเละเเนวทางการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนฯ ในโรงเรียน เเก่พยาบาลอนามัยโรงเรียน ของศูนย์บริการสาธารณสุข 69 เเห่ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-05-17)
17/05/2566 : -ตรวจสอบ เเละวิเคราะห์ผลข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 -วิเคราะห์ผลข้อมูลผลการดำเนินมาตรการป้องกันโรคอ้วนฯ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 -ประสานศูนย์บริการสาธารณสุข ติดตามข้อมูลผลการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนเเละภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 -รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนเเละภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 -เเจ้งเเนวทางฯ เเละส่งเครื่องมือ/เอกสารการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนฯ ปีการศึกษา 2566 เเก่พยาบาลอนามัยโรงเรียน ของศูนย์บริการสาธารณสุข 69 เเห่ง
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2023-04-19)
19/04/2566 : -ตรวจสอบ เเละวิเคราะห์ผลข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 -ประสานศูนย์บริการสาธารณสุข ติดตามข้อมูลผลการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนเเละภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 -รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนเเละภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-03-15)
15/03/2566 : -ประสานศูนย์บริการสาธารณสุข ติดตามข้อมูลผลการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนเเละภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 -ตรวจสอบ เเละวิเคราะห์ผลข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 -รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนเเละภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 36.00 (2023-02-18)
18/02/2566 : -ประสานศูนย์บริการสาธารณสุข ติดตามข้อมูลกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนเเละภาวะทุพโภชนาการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 -รวบรวมข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 32.00 (2023-01-31)
31/01/2566 : -วิเคราะห์ และสรุปผลข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ -จัดทำแผนการดำเนินงาน เครื่องมือ และเอกสารการดำเนินงาน -จัดทำหนังสือขอส่งผลการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนฯ ประจำปี พ.ศ. 2565 และขอความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนฯ ประจำปี พ.ศ. 2566 (ปีการศึกษา 2565) ถึงเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) -จัดทำหนังสือขอส่งแผ่นพับการประเมินการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 6-19 ปี ถึงประธานกลุ่มศูนย์บริการสาธารณสุข 1-6 -รวบรวม และตรวจสอบข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 -จัดทำหนังสือขอความร่วมมือประสาน ติดตาม และดำเนินการจัดส่งข้อมูลผลการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนฯ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ถึงผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 1-69 -จัดทำหนังสือขอแจ้งรายงานสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียน ปีการศึกษา 2564 และขอส่งเอกสารการดำเนินงานกิจกรรมป้องกัน โรคอ้วนฯ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ถึงผู้อำนวยการศูนย์บริการสาธารณสุข 1-69 -ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมป้องกันโรคอ้วนฯ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 กับพยาบาลอนามัยโรงเรียนของ ศูนย์บริการสาธารณสุข 1-69 ร่วมกับสำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข -รวบรวมข้อมูลการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-18)
18/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของเด็กวัยเรียน (อายุ 6-18 ปี) สูงดีสมส่วน
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 65
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 60.47
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **