ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

กิจกรรมการพัฒนาข้าราชการและบุคลากรด้านโภชนาการที่ปฏิบัติงานในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน และศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร : 08000000-7063

สำนักอนามัย : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

กองสร้างเสริมสุขภาพ

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กแรกเกิด (รวมถึงทารกในครรภ์มารดา) จนถึงก่อนเข้าประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการไม่สมวัยเป็นจำนวนมาก นับเป็นวิกฤตร้ายแรงต่อการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากชีวิตในช่วงปฐมวัยนับเป็นวัยเริ่มต้นของพัฒนาการในช่วงวัยต่อๆไป เด็กปฐมวัยที่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมตามช่วงวัยจะสามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพและจะเป็นทรัพยากรบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป ดังนั้น การพัฒนาเด็กปฐมวัยจึงเป็นรากฐานที่มีผลต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของคนตลอดชีวิตและเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งการพัฒนาเด็กปฐมวัยนี้ได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 54 วรรค 1 และ วรรค 2 ในการดำเนินงานดังกล่าวรัฐบาลได้จัดให้มีการดำเนินงานหลายประการที่มุ่งผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ในกรอบเวลาที่เร่งด่วน โดยมีคณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ (ก.พ.ป.) เป็นผู้ดำเนินการ และมีหลายหน่วยงานที่มีภารกิจในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งในกรุงเทพมหานคร คือ สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน (สำนักอนามัย) ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน (สำนักพัฒนาสังคม) และโรงเรียนอนุบาล (สำนักการศึกษา) ในการนี้กองสร้างเสริมสุขภาพ โดยกลุ่มงานโภชนาการ สำนักอนามัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาเด็กปฐมวัยซึ่งถือเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยระบุตัวบ่งชี้เกี่ยวกับโภชนาการและการประเมินการเจริญเติบโต ประกอบด้วย ด้านที่ 1 มาตรฐานการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 การจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและการเรียนรู้ ข้อ 1.4.1 มีการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็ก โดยจัดให้มีอาหารที่เหมาะสม และเพียงพอตามวัยทุกวัน จัดให้มีเครื่องชั่งน้ำหนักและเครื่องวัดความยาว/ส่วนสูงที่ได้มาตรฐาน และมีการฝึกใช้งานอย่างถูกวิธี ประเมินการเจริญเติบโตเป็นรายบุคคล โดยมีการบันทึกข้อมูลน้ำหนักส่วนสูงลงในกราฟการเจริญเติบโตเป็นรายบุคคลอย่างต่อเนื่องทุกเดือน ด้านที่ 2 มาตรฐานด้านครู/ผู้ดูแลเด็กที่ให้การดูแล ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายและดูแลสุขภาพ ข้อ 2.2.1 ให้เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป รับประทานอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอและส่งเสริมพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม มาตรฐานด้านที่ 3 คุณภาพของเด็กปฐมวัย ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 เด็กมีการเจริญเติบโตสมวัยและมีสุขนิสัยที่เหมาะสม ข้อ 3.1.1 เด็กมีน้ำหนักตัวเหมาะสมกับวัยและสูงดีสมส่วน ซึ่งมีบันทึกเป็นรายบุคคล จากมาตรฐานทั้ง 3 ด้าน ดังกล่าว กองสร้างเสริมสุขภาพจึงได้จัดทำโครงการพัฒนางานด้านโภชนาการของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน และศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจและพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงาน ด้านโภชนาการอันจะนำไปสู่เป้าหมายภาวะโภชนาการที่ดีของเด็กปฐมวัย และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

08030000/08030000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะด้านโภชนาการและการดูแลเด็กปฐมวัยให้กับพยาบาลวิชาชีพ พี่เลี้ยงเด็ก แม่ครัว ผู้ปฏิบัติงานในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวันของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย และอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สำนักพัฒนาสังคม

เป้าหมายของโครงการ

ข้าราชการกรุงเทพมหานครตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการ-ชำนาญการพิเศษ บุคลากร กรุงเทพมหานคร ตำแหน่ง พี่เลี้ยง แม่ครัว ผู้ปฏิบัติงานในสถานรับเลี่ยงเด็กกลางวันของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย 12 แห่ง และบุคคลภายนอก ที่เป็นอาสาสมัคร ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สำนักพัฒนาสังคม แห่งละ 1 คน จำนวน 278 คน โดย จัดอบรมด้วยระบบออนไลน์ แบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 1 วัน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-11)

100.00

11/09/2566 : -จัดทำหนังสือ ขอส่งสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้านโภชนาการสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน เรียน ผู้อำนวยการเขต -สรุปผลการดำเนินงาน จัดทำรายงานเสนอผู้บังคับปัญชาตามลำดับ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-14)

90.00

14/08/2566 : -จัดทำหนังสือเชิญเข้าร่วมกิจกรรมและแบบตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรม -จัดอบรมฯ ตามกำหนดการ (หมายเหตุ ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมเเละเเผนปฏิบัติงานมีการปรับเปลี่ยนตามข้อเสนอเเนะของผู้บริหารสำนักอนามัย)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-07-20)

50.00

20/07/2566 : -จัดทำคำสั่งคณะกรรมการดำเนินการฯ -วางแผน จัดทำหลักสูตรรูปแบบการให้ความรู้ผ่านระบบออนไลน์ -จัดทำหนังสือเชิญเข้าร่วมกิจกรรมและแบบตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรม (หมายเหตุ ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมเเละเเผนปฏิบัติงานมีการปรับเปลี่ยนตามข้อเสนอเเนะของผู้บริหารสำนักอนามัย)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2023-06-27)

35.00

27/06/2566 : -จัดทำหนังสือเชิญอบรมเเละเเบบตอบรับ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 28.00 (2023-05-22)

28.00

22/05/2566 : -วางแผน จัดทำหลักสูตรรูปแบบการอบรมระบบออนไลน์ -ประสานวิทยากร (หน่วยงานภายใน)

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-04-20)

20.00

20/04/2566 : - จัดทำคำสั่งคณะกรรมการดำเนินการฯ - วางแผน จัดทำหลักสูตรรูปแบบการอบรมระบบออนไลน์

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-03-30)

15.00

30/03/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการปรับเปลี่ยนรูปเเบบโครงการ/กิจกรรม

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-02-28)

15.00

28/02/2566 : อยู่ระหว่างหารือแนวทางดำเนินโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-01-31)

15.00

31/01/2566 : -จัดทำหนังสือขออนุมัติโครงการ และหนังสือขออนุมัติการใช้เงิน -วางแผน จัดทำหลักสูตร และรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ -ประสานวิทยากร กำหนดการ และสถานที่จัดอบรมฯ สถานที่ศึกษาดูงาน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-18)

5.00

18/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. จัดทำหนังสือขออนุมัติ/เห็นชอบการโครงการ
:5.00%
เริ่มต้น :2023-03-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. จัดทำคำสั่งคณะกรรมการดำเนินการโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. วางแผน จัดทำหลักสูตร และรูปแบบการอบรมระบบออนไลน์
:30.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. ประสานวิทยากร กำหนดการ
:35.00%
เริ่มต้น :2023-05-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-05-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. จัดทำหนังสือเชิญอบรมและแบบตอบรับ
:45.00%
เริ่มต้น :2023-05-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-05-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6. จัดทำคำสั่งผู้เข้าร่วมอบรมฯ
:65.00%
เริ่มต้น :2023-06-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-06-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:7. จัดอบรมฯ ตามกำหนดการ
:85.00%
เริ่มต้น :2023-08-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-08-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:8. สรุปผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับ
:100.00%
เริ่มต้น :2023-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 08000000-7063

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 08000000-7063

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0800-6720

ตัวชี้วัด : ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดี สมส่วน และส่วนสูงเฉลี่ยที่อายุ 5 ปี

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 68

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 62.73

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
0.00

0 / 0
3
60.92

0 / 0
4
62.73

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **