ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย (กิจกรรมที่ 8 สถานประกอบการ อาคารสถานที่ (กลุ่มเสี่ยงสูง) ได้รับการตรวจ ด้านอาชีวอนามัยและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด : 08000000-7066

สำนักอนามัย : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการสนับสนุนการพัฒนา กรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมืองที่มีสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยที่ดี สะอาดและปลอดภัย เนื่องด้วยเป็นการดำเนินงานที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย ตั้งแต่การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม การป้องกันความเสี่ยงต่อสุขภาพก่อนเกิดความเจ็บป่วย การพัฒนานโยบายและมาตรการทางกฎหมายและมาตรฐานทางวิชาการบนฐานความรู้ การสื่อสารสาธารณะ รวมถึงการสนับสนุน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปอย่างมีสมดุลได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี (พ.ศ. ๒๕56 – ๒๕7๕) รวมถึงมุ่งเน้นการป้องกันลดปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพ โดยสร้างความเข้มแข็งของระบบการบริหารจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นรากฐานของการพัฒนาในระยะยาวเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างครบวงจร ทั้งบุคลากรจากหน่วยงานภาคการผลิตที่อาจเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการความสะอาดและความปลอดภัยของเส้นทางการรับสัมผัสสู่ร่างกายและส่งเสริมพฤติกรรมสุขอนามัยและบุคลากรจากหน่วยงานด้านการดูแลรักษาสุขภาพอันเนื่องมาจากปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เร่งสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ส่งเสริมความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจความมั่นคงทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสุขภาพอนามัยของประชาชน ผู้ประกอบอาชีพและนักท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครอย่างยั่งยืน

08950000/08950000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อพัฒนาสมรรถนะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ของกรุงเทพมหานคร ในการปฏิบัติงานกำกับการประกอบการโรงงานจำพวกที่ ๑ และ ๒ 2.2 พัฒนาการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานกำกับการประกอบการโรงงานจำพวกที่ ๑ และ ๒ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 2.3 เพื่อพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครให้มีความรู้และความเข้าใจด้านวิชาการสุขาภิบาล และการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน 2.4 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.5 จัดงานแสดงผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับการจัดการเหตุรำคาญ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการจัดการเหตุรำคาญ 2.6 จัดการประชุมสร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจให้กับเจ้าของสถานที่ และเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานของสำนักงานเขต ในการจัดการสถานที่ในสถานีขนส่งทางบกและทางอากาศ ให้ถูกสุขลักษณะตามหลักสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม จำนวน 150 คน 2.7 สถานีขนส่งทางบกและทางอากาศ จำนวน 28 แห่ง ได้รับการแนะนำและประเมินผลการพัฒนาสถานที่เพื่อยกระดับมาตรฐานการพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในอาคารสาธารณะ ตามเกณฑ์แนะนำที่กรุงเทพมหานครกำหนด 2.8 แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อการพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในอาคารสาธารณะ เพื่อยกระดับการให้บริการในสถานีขนส่งทางบกและทางอากาศพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2.9 เพื่อส่งเสริมสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยของสถานประกอบการ อาคารสถานที่ให้ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย

เป้าหมายของโครงการ

๑. ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล ระดับปฏิบัติการ – ชำนาญการพิเศษ และข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข ระดับปฏิบัติงาน - ชำนาญงาน สังกัดฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สำนักงานเขต และสังกัดสำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย ร้อยละ ๘๐ สามารถปฏิบัติงานตามในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ๒. มีความสำเร็จของการดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนอำนาจร้อยละ ๑๐๐ ในการกำกับการประกอบการโรงงานจำพวกที่ ๑ และ ๒ ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ๓. จัดอบรมข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ประเภทวิชาการ ตำแหน่งนักวิชาการสุขาภิบาล ระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการพิเศษ และประเภททั่วไป ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข ระดับปฏิบัติงาน-อาวุโส สังกัดฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ๕๐ สำนักงานเขต สำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และกองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย รวมจำนวน ๑๒๐ คน ๔. จัดงานแสดงผลงานทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ในการจัดการเหตุรำคาญ จำนวน 2 วัน ๆ ละ 150 คน ๕. ร้อยละ 100 ของเจ้าของสถานที่มีความตระหนัก มีความรู้ และความเข้าใจในการจัดการสถานที่ในสถานีขนส่งทางบกและทางอากาศ ให้ถูกสุขลักษณะตามหลักสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ๖. ร้อยละ 80 ของสถานีขนส่งทางบกและทางอากาศ ได้รับการพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ในอาคารสาธารณะ เพื่อยกระดับการให้บริการในสถานีขนส่งทางบกและทางอากาศ ตามเกณฑ์แนะนำ ที่กรุงเทพมหานครกำหนด ๗. จัดประชุมคณะทำงานเพื่อการพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในอาคารสาธารณะ เพื่อยกระดับการให้บริการในสถานีขนส่งทางบกและทางอากาศพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 ครั้งต่อปี ๘. ตรวจประเมินสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์ความเสี่ยงของกลุ่มสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-08)

100.00

08/09/2566 : กิจกรรมที่ 8 ส่งเสริมการพัฒนางานอาชีวอนามัยของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดโรค ปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่ (1) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่ (2) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (1) (3) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (1) (4) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใดยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (1) (6) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่ รวมทั้งหมด 4,669 แห่ง -สำนักงานเขตดำเนินการตรวจฯ ในพื้นที่ 4,288 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 91.84 -สถานประกอบการฯ เลิกกิจการ จำนวน 320 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 6.85 -สถานประกอบการฯ หยุดประกอบกิจการชั่วคราว/คงสถานะใบอนุญาต จำนวน 61 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 1.31 สถานประกอบการที่ได้รับการตรวจ จำนวน 4,288 แห่ง -ผู้ประกอบการ ผู้ดูแลอาคารสถานที่ ดำเนินการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยอย่างถูกต้องเหมาะสม จำนวน 3,961 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 92.37 -สถานประกอบการฯ ได้รับการตรวจฯ ไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด รอบที่ 1 จำนวน 4,288-3,640=648 แห่ง -สถานประกอบการฯ ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ได้รับการแนะนำ ปรับปรุง และผ่านเกณฑ์ในการตรวจ รอบที่ 2 จำนวน 648-327=321 แห่ง -สถานประกอบการฯ ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ได้รับการแนะนำ ปรับปรุง และไม่ผ่านเกณฑ์ในการตรวจ รอบที่ 2 จำนวน 648-321=327 แห่ง ได้ประสานสำนักงานเขต ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-18)

90.00

18/08/2566 : วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผู้บริหาร

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 86.00 (2023-07-20)

86.00

20/07/2566 : รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงาน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-06-28)

85.00

28/06/2566 : 1.ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ เป็นการจัดประชุมออนไลน์ ตามหนังสือ สำนักอนามัย ที่ กท 0704/511 ลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 เรื่อง ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในกิจกรรมที่ 8 ของโครงการกรุงเทพฯ เมืองแห่งสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปลอดภัย 2.จัดทำเอกสารประกอบการประชุมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ 3.จัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 66 เรื่อง การพัฒนางานอาชีวอนามัยของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข และวันที่ 22 มิถุนายน 66 เรื่อง การพัฒนางานอาชีวอนามัยเพื่อการเสริมสร้างวัฒนธรรมเชิงป้องกันด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร 4.แจ้งหน่วยงานพิจารณาแนวทาง นำแนวทางไปปฏิบัติตามหนังสือสำนักอนามัย ที่ กท 0704/5536 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2566 เรื่อง การขับเคลื่อนงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยของกรุงเทพมหานครในระดับพื้นที่เขต 5.ตรวจรับสื่อประชาสัมพันธ์ 6 รายการ จำนวนเงิน 400,200 บาท 5.1 จัดทำหนังสือ"แนวทางการส่งเสริมการพัมนางานอาชีวอนามัยของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขให้มีสภาพการทำงานที่ปลอดโรคปลอดภัย" เป็นเงิน 61,100.- บาท 5.2 จัดทำหนังสือ"แนวทางการเฝ้าระวัง การป้องกันโรค และการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม" เป็นเงิน 61,100.- บาท 5.3 จัดทำโปสเตอร์ "การประกอบอาชีพให้ปลอดโรค ปลอดภัยมีสุขภาพอนามัยที่ดี:โรคจากการประกอบอาชีพ" เป็นเงิน 60,000.- บาท 5.4 จัดทำโปสเตอร์ "การประกอบอาชีพให้ปลอดโรค ปลอดภัย มีสุขภาพโรคจากสิ่งแวดล้อม" เป็นเงิน 60,000.- บาท 5.5 จัดทำหนังสือ"แนวทางการพัฒนางานอาชีวอนามัยเพื่อการเสริมสร้างวัฒนธรรมเชิงป้องกันด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย" เป็นเงิน 79,000.- บาท 5.6 จัดทำหนังสือ"ป้องกันโรคและอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของบุคลากรกรุงเทพมหานคร" เป็นเงิน 79,000.-บาท 6. ขอคืนเงินค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม และค่าพิมพ์เอกสารและสิ่งตีพิมพ์ ในกิจกรรมที่ 8 จำนวนเงินทั้งสิ้น 16,860 บาท

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 73.00 (2023-06-12)

73.00

12/06/2566 : 1.เตรียมการจัดประชุมผู้แทนหน่วยงานเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแนวทางการดำเนินงาน ซึ่งจัดการประชุมในวันที่ 20 และ 22 มิถุนายน 2566 2.แจ้งหน่วยงานเพื่อพิจารณานำแนวทางไปประยุกต์ใช้ ตามหนังสือ ที่ กท 0704/5536 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2566 เรื่อง การขับเคลื่อนงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานครในระดับพื้นที่เขต

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 56.00 (2023-05-11)

56.00

11/05/2566 : อยู่ในขั้นตอนการจ้างเหมาจัดทำสื่อฯ และอยู่ระหว่างขอความเห็นชอบในการผลิตและเผยแพร่จากสำนักงานประชาสัมพันธ์ จัดเตรียมเอกสารประกอบการประชุม ซึ่งกำหนดประชุมวันที่ 20 มิถุนายน 2566

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-20)

50.00

20/04/2566 : พัฒนาแนวฯ จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ จัดทำเอกสารประกอบการประชุม

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 22.00 (2023-03-09)

22.00

09/03/2566 : 1.พัฒนาแนวทาง จัดทำร่างแนวทางฯ 2.ขอความเห็นชอบในหลักการในการจ้างเหมาจัดทำสื่อฯ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-14)

10.00

14/02/2566 : จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สนับสนุนการดำเนินงาน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-31)

5.00

1.ขอเงินงวดที่ 2 2.จัดเตรียมเนื้อหาเพื่อจัดทำสื่อฯ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-18)

5.00

18/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. ประสานหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. ทบทวนข้อมูล พิจารณาลงพื้นที่ ตรวจสอบ/ประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. พัฒนาแนวทางการยกระดับคุณภาพด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยของกิจการฯ กลุ่มเสี่ยงสูง
:20.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. จัดทำสื่อวิชาการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่
:10.00%
เริ่มต้น :2023-02-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-02-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. จัดทำเอกสารประกอบการประชุม
:10.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6. ประชุมผู้แทนหน่วยงานเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแนวทางการดำเนินงาน
:10.00%
เริ่มต้น :2023-05-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-05-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:7. แจ้งหน่วยงานเพื่อพิจารณานำแนวทางไปประยุกต์ใช้
:10.00%
เริ่มต้น :2023-06-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-06-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:8. วิเคราะห์ข้อมูลพิจารณาลงพื้นที่ประเมินผลการดำเนินกิจกรรม
:10.00%
เริ่มต้น :2023-07-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-07-01 00:00:00
ขั้นตอน 9
:9. สรุปผลการดำเนินงาน นำเสนอผู้บริหารและจัดทำแผนพัฒนางานในปีถัดไป
:10.00%
เริ่มต้น :2023-09-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-09-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 08000000-7066

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 08000000-7066

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0800-6722

ตัวชี้วัด : ร้อยละของสถานประกอบการ อาคารสถานที่ได้รับการตรวจ ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและ อาชีวอนามัยตามเกณฑ์ที่กำหนด

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 60

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 91.84

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
0.00

0 / 0
3
0.00

0 / 0
4
91.84

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **