ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร : 08000000-7067

สำนักอนามัย : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

กองควบคุมโรคติดต่อ

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1

หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็น ๑ ใน ๕ ของโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจากรายงานสถานการณ์โดยรวมของประเทศจำแนกตามเขตสุขภาพ 13 เขต โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าสถานการณ์โรคไข้เลือดออกย้อนหลังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีอัตราป่วยสะสมสูง ๑ ใน ๕ อันดับแรกของประเทศจำแนกตามเขตสุขภาพเกือบทุกปี คือ ปี ๒๕๕๙ อยู่ในลำดับที่ ๓ อัตราป่วยสะสม เท่ากับ 129.39 ต่อแสนประชากร ปี 2560 เป็นอันดับ ๑ อัตราป่วยสะสมเท่ากับ 158.76 ต่อแสนประชากร ปี 2561 เป็นอันดับ ๕ อัตราป่วยสะสมเท่ากับ 154.47 ปี 2562 อันดับ ๔ อัตราป่วยสะสมเท่ากับ 219.77 ต่อแสนประชากร ปี 2563 อันดับที่ ๖ อัตราป่วยสะสมเท่ากับ 102.47 ต่อแสนประชากร และในปี ๒๕๖๔ กรุงเทพมหานคร อยู่ในอันดับ ๒ อัตราป่วยสะสมเท่ากับ ๒๒.๕๕ ต่อแสนประชากร ทั้งนี้ปัจจัยการแพร่ระบาดที่สำคัญของโรคไข้เลือดออก มาจากความหนาแน่นและ การเคลื่อนย้ายของประชากร การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัย ความร่วมมือและการขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน ขณะเดียวกันการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายในพื้นที่ นับว่ามีความสำคัญมากในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๖๗๕) มีเป้าหมายการพัฒนากรุงเทพมหานครสู่การเป็นมหานครปลอดภัย ปลอดโรคคนเมือง จึงกำหนดให้โรคไข้เลือดออกเป็นหนึ่งในเป้าหมายการดำเนินงานด้านการควบคุมโรคติดต่อ และในแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๖๖๕) เป็นต้นมา ได้กำหนดมาตรการด้านการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่สำคัญ และพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคติดต่อไว้ กองควบคุมโรคติดต่อ ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จ จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพ การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานครขึ้น โดยขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมและส่งเสริม พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย ให้มีการดำเนินการด้านควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ตามมาตรการอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตามนโยบายของผู้บริหารกรุงเทพมหานครต่อไป

08080000/08080000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถในการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มีประสิทธิภาพ 2.2 เพื่อให้พื้นที่เป้าหมายในกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ปลอดลูกน้ำยุงลายตามเกณฑ์ที่กำหนด

เป้าหมายของโครงการ

3.1 เชิงคุณภาพ 3.1.1 ผู้ที่เข้ารับการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และการซ้อมแผน การดำเนินงานในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อที่นำโดยแมลง สามารถนำแนวคิด หลักการ องค์ความรู้ทางวิชาการและประสบการณ์ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาปรับปรุงงานด้านการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อที่นำโดยยุงลาย โดยการประยุกต์ปรับปรุงพัฒนางานในพื้นที่รับผิดชอบ การสร้างนวัตกรรม ส่งเสริมการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสานในชุมชนของกรุงเทพมหานคร การสื่อสารความเสี่ยง ถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อป้องกัน ควบคุมโรคแก่ประชาชน รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหา ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.2 สถานที่เป้าหมายมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด 3.2 เชิงปริมาณ 3.2.1 จัดสัมมนาความร่วมมือการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อที่นำโดยแมลงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3.2.2 จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การบริหารจัดการแก้ไขปัญหา โรคไข้เลือดออกในชุมชนพื้นที่กรุงเทพมหานคร 3.2.3 จัดการซ้อมแผนการดำเนินงานในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อที่นำโดยแมลง โดยมีกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ กิจกรรมที่ ๑ เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการ กิจกรรมที่ ๒ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อ ที่นำโดยแมลงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (การจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน) กิจกรรมที่ ๑ เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการ ๑.๑ จัดสัมมนาความร่วมมือการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อ ที่นำโดยแมลงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน ๑ ครั้ง ๑ วัน จำนวน 1๔๙ คน กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ - ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร ประเภททั่วไปและประเภทวิชาการ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าพนักงานสาธารณสุข (ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักงานเขต และกองควบคุมโรคติดต่อ) จำนวน ๑๒8 คน - ผู้เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ดำเนินการและวิทยากร จำนวน 21 คน ๑.๒ จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การบริหารจัดการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชนพื้นที่กรุงเทพมหานคร แก่เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก และผู้แทนชุมชน ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก จำนวน ๒ ครั้ง ครั้งละ ๑ วัน จำนวน ๒๗๒ คน ประกอบด้วย ครั้งที่ ๑ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑๓๕ คน ดังนี้ - ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร ประเภททั่วไปและประเภทวิชาการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าพนักงานสาธารณสุข (ศูนย์บริการสาธารณสุข กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานเขตกลุ่มกรุงเทพกลาง กรุงเทพเหนือ กรุงเทพตะวันออก) จำนวน ๖๑ คน - ผู้แทนชุมชนและบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๕๐ คน - ผู้เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ดำเนินการและวิทยากร จำนวน ๒๔ คน ครั้งที่ ๒ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๑๓๗ คน ดังนี้ - ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร ประเภททั่วไปและประเภทวิชาการ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าพนักงานสาธารณสุข (ศูนย์บริการสาธารณสุข กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานเขตกลุ่มกรุงเทพใต้ กรุงธนเหนือ กรุงเทพธนใต้) จำนวน ๖๓ คน - ผู้แทนชุมชน และบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๕๐ คน - ผู้เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ดำเนินการและวิทยากร จำนวน ๒๔ คน ๑.๓ จัดการซ้อมแผนการดำเนินงานในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน ๑ ครั้ง ๒ วัน จำนวน ๗๔ คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๗๔ คน ดังนี้ - ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร ประเภททั่วไปและประเภทวิชาการ ตำแหน่งนายแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าพนักงานสาธารณสุข (ศูนย์บริการสาธารณสุข กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานเขต) จำนวน ๕๙ คน - ผู้เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ดำเนินการและวิทยากร จำนวน 1๕ คน กิจกรรมที่ ๒ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานคร (การจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน) ประสานงานเครือข่ายการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานคร สร้างความเข้าใจในเรื่องการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง ให้กรุงเทพมหานครปลอดลูกน้ำยุงลาย กลุ่มเป้าหมาย อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำ/ผู้แทนชุมชน จากชุมชนเป้าหมายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 2,016 ชุมชน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-08)

100.00

08/08/2566 : สรุปและรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชา

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 98.00 (2023-07-17)

98.00

17/07/2566 : - ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ - สรุปและรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชา

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-06-20)

95.00

20/06/2566 : -ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเครือข่ายการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก -ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-05-10)

90.00

10/05/2566 : - ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเครือข่ายการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก - ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 87.00 (2023-04-29)

87.00

29/04/2566 :

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 87.00 (2023-03-30)

87.00

30/03/2566 : - จัดการซ้อมแผนการดำเนินงานในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก ระยะเวลา 2 วัน ระหว่างวันที่ 7- 8 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ตำแหน่ง นายแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสุขาภิบาล และเจ้าพนักงานสาธารณสุข (ศูนย์บริการสาธารณสุข กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานเขต) จำนวน 70 คน ผู้เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ดำเนินการและวิทยากร จำนวน 14 คน รวมทั้งสิ้น 84 คน - เบิก-จ่าย งบประมาณโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-03-16)

60.00

16/03/2566 : จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การบริหารจัดการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกพื้นที่รอยต่อกรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่เป็นพื้นที่รอยต่อกรุงเทพมหานคร กำหนดจัดการสัมมนาจำนวน 2 รุ่น ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ดังนี้ รุ่นที่ 1 จัดสัมมนาในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 กลุ่มเป้าหมาย 126 คน ประกอบด้วย - ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ประเภททั่วไปและประเภทวิชาการ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าพนักงานสาธารณสุข (ศูนย์บริการสาธารณสุข กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานเขต) จำนวน 76 คน - บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่เป็นพื้นที่รอยต่อ ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร และผู้นำชุมชน จำนวน 36 คน - เจ้าหน้าที่ดำเนินการและวิทยากร จำนวน 14 คน รุ่นที่ 2 จัดสัมมนาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 กลุ่มเป้าหมาย 109 คน ประกอบด้วย - ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ประเภททั่วไปและประเภทวิชาการ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าพนักงานสาธารณสุข (ศูนย์บริการสาธารณสุข กองควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานเขต) จำนวน 63 คน - บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่เป็นพื้นที่รอยต่อ ได้แก่ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และผู้นำชุมชน จำนวน 32 คน - เจ้าหน้าที่ดำเนินการและวิทยากร จำนวน 14 คน 2. การดำเนินเบิก-จ่ายงบประมาณตามโครงการ

** ปัญหาของโครงการ :-

** อุปสรรคของโครงการ :-

------------------&&&--------------------

(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2023-02-20)

35.00

20/02/2566 : 1. ประสานขอรายชื่อผู้เข้าร่วมสัมมนา จากศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง และสำนักงานเขต 50 แห่ง เพื่อจัดทำคำสั่งให้ข้าราชการกรุงเทพมหานครเข้ารับการฝึกอบรมโครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รายละเอียดตามคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ กรุงเทพมหานคร ที่ 18 /2566 ลงวันที่ 4 มกราคม 2566 โครงการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานครกิจกรรมที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการ 1.1 จัดสัมมนาความร่วมมือการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1.2 ประสานวิทยากรและจัดทำหนังสือเชิญวิทยากร 1.3 จัดสัมมนาความร่วมมือดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ครั้ง 1 วัน ในวันที่ 12 มกราคม 2566 ณ ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร จำนวนผู้เข้าสัมมนา 124 คน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-18)

5.00

18/01/2566 : จัดซืัอวัสดุอุปกรณ์ สำหรับใช้ในกิจกรรมของโครงการฯ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:กิจกรรมที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการ 1.1 จัดสัมมนาความร่วมมือการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
:20.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:1.2 จัดการซ้อมแผนการดำเนินงานในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
:20.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:1.3 จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การบริหารจัดการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกพื้นที่รอยต่อกรุงเทพมหานคร แก่เจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก และบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง
:30.00%
เริ่มต้น :2023-01-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในกรุงเทพมหานคร (การจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน) 2.1 จัดการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเครือข่ายการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
:20.00%
เริ่มต้น :2022-11-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-11-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:การประเมินผลการดำเนินโครงการ
:5.00%
เริ่มต้น :2023-08-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-08-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:รายงานผลต่อผู้บังคับบัญชา
:5.00%
เริ่มต้น :2023-08-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-08-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 08000000-7067

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 08000000-7067

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0800-6728

ตัวชี้วัด : อัตราป่วยโรคไข้เลือดออก

ค่าเป้าหมาย ไม่เกินค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 80 ของ 5 ปีย้อนหลัง : 80

ผลงานที่ทำได้ ไม่เกินค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 80 ของ 5 ปีย้อนหลัง : 103.77

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ไม่เกินค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 80 ของ 5 ปีย้อนหลัง )
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
32.78

0 / 0
3
53.63

0 / 0
4
103.77

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **