ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
จากสถานการณ์ปัจจุบันโรคเอดส์ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศชาติ และเป็นปัญหาที่ต้องการมาตรการในการแก้ไข โดยอาศัยข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและทันเหตุการณ์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อรายใหม่และควบคุมความรุนแรงของโรคเอดส์ ซึ่งเป็นโรคที่มีอัตราป่วยตายสูง และยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ในประเทศไทย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อบุคลากรสุขภาพใช้เป็นแนวทางในการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแนวทางที่ยึดหลักการปฏิบัติที่เป็นสากล โดยประเทศไทย มีแนวทางในการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ เป็นฉบับแรกในปี 2535 และในปี2545 เกิดฉบับที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระบบสาธารณสุขด้านเอชไอวีของประเทศไทยมากที่สุดและนับเป็นจุดเริ่มต้นของ “ยุคยาต้านไวรัส” เป็นยุคที่ประเทศไทยสามารถผลิตยาต้านไวรัสเอชไอวี3ชนิดในเม็ดเดียวได้เองและมีราคาถูกลง ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทยสามารถเข้าสู่ระบบบริการได้มากขึ้น ต่อมาในปี 2557 เกิดแนวทางฯฉบับสำคัญที่มุ่งสู่เป้าหมายการยุติเอดส์ของประเทศไทย มีความสำคัญคือการกำหนดให้เริ่มยาต้านไวรัสเอสอวีที่ทุกระดับของเม็ดเลือดขาว CD4 หรือหมายถึงการรักษาทันทีเมื่อตรวจพบการติดเชื้อ โดยปัจจุบัน กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ร่วมกับสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทยพัฒนาแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีฉบับปี 2563/2564 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด เป็นการผสมผสานการรักษาและการป้องกันเพื่อประโยชน์ต่อการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้มีความครอบคลุมและพัฒนาระบบการดำเนินงานด้านเอดส์ให้มีความต่อเนื่องและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนทุกคน ทั้งนี้ จากข้อมูลการคาดประมาณสถานการณ์การแพร่ระบาดของการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ในกรุงเทพมหานคร ในปี 2564 ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า มีจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีสะสมที่มีชีวิตอยู่ จำนวน 82,045 คน และผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ จำนวน 1,165 คน ซึ่งมีผู้ที่รับบริการการดูแลรักษาด้วยยาต้านไวรัส จำนวน 40,966 คน กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักอนามัย ได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาระบบบริการด้านการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์อย่างต่อเนื่อง และจัดให้มีการอบรมพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านเอดส์มาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านเอดส์ ตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีฉบับล่าสุด (2563/2564) ซึ่งในปัจจุบันวิทยาการด้านการดูแลรักษาด้านเอชไอวี/เอดส์มีความก้าวหน้าและพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาระบบการดำเนินงานด้านการติดตามการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ให้มีมาตรฐานมีความสำคัญและจำเป็นต่อการกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนารูปแบบระบบการติดตามการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องสำหรับสถานพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้งความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการติดตามและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์มีความสำคัญต่อบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในการให้บริการด้านการดูแลรักษา ซึ่งความรู้ ความเข้าใจหลังจากการเข้าร่วมโครงการนี้จะสามารถใช้เป็นแนวทางการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานด้านเอดส์ของหน่วยบริการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่เข้ารับบริการ อันจะนำไปสู่การดำเนินงานควบคุม ป้องกัน และดูแลรักษาด้านเอชไอวี/เอดส์อย่างเป็นมาตรฐานต่อไป
08100000/08100000
เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมีแนวทางในการดำเนินงานด้านการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ และสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างสูงสุด
จัดฝึกอบรมเพื่อความรู้ในการดูแลรักษาให้กับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ โดยใช้การให้ความรู้ และอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนเกิดความเข้าใจ กิจกรรมที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี รุ่นที่ 1 ประกอบด้วย 1) ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ จำนวนรุ่นละ 70 คน แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค นักวิชาการสาธารณสุข นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา ระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการ 2) บุคลากรจากโรงพยาบาลนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวนรุ่นละ 20 คน 3) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 8 คน 4) วิทยากร จำนวน 4 คน รวมจำนวน 102 คน รุ่นที่ 2 ประกอบด้วย 1) ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ จำนวนรุ่นละ 70 คน แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค นักวิชาการสาธารณสุข นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา ระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการ 2) บุคลากรจากโรงพยาบาลนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวนรุ่นละ 20 คน 3) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 8 คน 4) วิทยากร จำนวน 4 คน รวมจำนวน 102 คน รุ่นที่ 3 ประกอบด้วย 1) ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ จำนวนรุ่นละ 70 คน แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิค นักวิชาการสาธารณสุข นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา ระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการ 2) บุคลากรจากโรงพยาบาลนอกสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวนรุ่นละ 20 คน 3) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 8 คน 4) วิทยากร จำนวน 4 คน รวมจำนวน 102 คน
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-31)
31/08/2566: ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง มีผู้รับบริการที่ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่ที่เข้าเกณฑ์การเริ่มยาต้านไวรัส และสมัครใจรักษาด้วยยาต้านไวรัสที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566 ทั้งสิ้นจำนวน 18 ราย และได้รับบริการเริิ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ทั้งสิ้น 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการดำเนินงาน ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง มีผู้รับบริการที่ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ที่เข้าเกณฑ์การเริ่มรักษาด้วยยาต้านไวรัส และสมัครใจรักษาด้วยยาต้าน ไวรัสที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566 ทั้งสิ้นจำนวน 374 ราย และได้รับบริการเริิ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ทั้งสิ้น 374 ราย คิดเป็นร้อยละ 100
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-16)
16/08/2566 : ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง มีผู้รับบริการที่ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่ที่เข้าเกณฑ์การเริ่มยาต้านไวรัส และสมัครใจรักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2566 - 15 สิงหาคม 2566 ทั้งสิ้นจำนวน 39 ราย และได้รับบริการเริิ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ทั้งสิ้น 39 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 และเนื่องจากไม่ได้รับงบประมาณ จึงยกเลิกจัดฝึกอบรมเพื่อความรู้ในการดูแลรักษาให้กับบุคลากร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-07-17)
17/07/2566 : ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง มีผู้รับบริการที่ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่ที่เข้าเกณฑ์การเริ่มยาต้านไวรัส และสมัครใจรักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2566 - 14 กรกฎาคม 2566 ทั้งสิ้นจำนวน 32 ราย และได้รับบริการเริิ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ทั้งสิ้น 32 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 และเนื่องจากไม่ได้รับงบประมาณ จึงยกเลิกจัดฝึกอบรมเพื่อความรู้ในการดูแลรักษาให้กับบุคลากร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-16)
15/06/2566 : ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง มีผู้รับบริการที่ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่ที่เข้าเกณฑ์การเริ่มยาต้านไวรัส และสมัครใจรักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 - 15 มิถุนายน 2566 ทั้งสิ้นจำนวน 41 ราย และได้รับบริการเริิ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ทั้งสิ้น 41 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 และเนื่องจากไม่ได้รับงบประมาณ จึงยกเลิกจัดฝึกอบรมเพื่อความรู้ในการดูแลรักษาให้กับบุคลากรฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-05-16)
15/05/2566 : ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง มีผู้รับบริการที่ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่ที่เข้าเกณฑ์การเริ่มยาต้านไวรัส และสมัครใจรักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 19 เมษายน 2566 - 15 พฤษภาคม 2566 ทั้งสิ้นจำนวน 29 ราย และได้รับบริการเริิ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ทั้งสิ้น 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 100
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-19)
15/04/2566 : ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง มีผู้รับบริการที่ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่ที่เข้าเกณฑ์การเริ่มยาต้านไวรัส และสมัครใจรักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2566 - 15 เมษายน 2566 ทั้งสิ้นจำนวน 40 ราย และได้รับบริการเริิ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ทั้งสิ้น 40 ราย คิดเป็นร้อยละ 100
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2023-03-16)
16/03/2566 : ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง มีผู้รับบริการที่ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่ที่เข้าเกณฑ์การเริ่มยาต้านไวรัส และสมัครใจรักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2566 - 15 มีนาคม 2566 ทั้งสิ้นจำนวน 70 ราย และได้รับบริการเริิ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ทั้งสิ้น 70 ราย คิดเป็นร้อยละ 100
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 25.00 (2023-02-15)
15/02/2566 : ศูนย์บริการสาธารณสุข 7 แห่ง มีผู้รับบริการที่ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่ที่เข้าเกณฑ์การเริ่มยาต้านไวรัส และสมัครใจรักษาด้วยยาต้านไวรัส ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 10 กุมภาพันธ์ 2566 ทั้งสิ้นจำนวน 106 ราย และได้รับบริการเริิ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ทั้งสิ้น 106 ราย คิดเป็นร้อยละ 100
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-18)
18/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ ประสานภาคีเครือข่ายทั้ง ภาครัฐ และเอกชนในการดำเนินงาน และชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รู้สถานะ การติดเชื้อได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 90
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **