ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับโลกและระดับประเทศ องค์การอนามัยโลกยังคงจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 30 ประเทศที่มีผู้ป่วยวัณโรคมาก อีกทั้งมีปัญหาวัณโรคที่มีการติดเชื้อเอชไอวีค่อนข้างสูง แม้ว่าประเทศไทยจะนำกลยุทธ์ยุติวัณโรค (Ending TB) มาใช้ในการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแต่ยังคงเป็นปัญหาอยู่ จึงยังเป็นเรื่องที่ท้าทายงานควบคุมวัณโรคที่จะต้องดำเนินการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง เพื่อทำให้วัณโรคไม่เป็นปัญหาสาธารณสุขต่อไป สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร รับผิดชอบในการควบคุมวัณโรคในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีการดำเนินงานควบคุมวัณโรค โดยดำเนินการตามแผนงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ (National Tuberculosis Program: NTP) แต่ผลการดำเนินงานควบคุมวัณโรคในภาพรวมที่ผ่านมายังไม่บรรลุเป้าหมาย โดยอัตราผลสำเร็จของการรักษาของทุกสถานพยาบาลในกรุงเทพมหานคร ในปี 2562 ร้อยละ 82.66 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้คือผลสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภท มากกว่าร้อยละ 85 ซึ่งการรักษาวัณโรคให้หายถือว่าเป็นการควบคุมวัณโรคที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด การแก้ปัญหาวัณโรค เป็นกระบวนการที่จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน (Public -Public,Public-Private Mixed) โดยมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม และการพัฒนาระบบข้อมูลโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ การพัฒนาระบบการรายงานรวมถึงระบบการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งต้องมีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนแบบยั่งยืน กองควบคุมโรคเอดส์ วันโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการควบคุมวัณโรคในกรุงเทพมหานครขึ้น
08100000/08100000
1. เพื่อพัฒนาแนวทาง ระบบและกลไกในการควบคุมวัณโรคในกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามแนวทาง การดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ 2. เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานด้านวัณโรคของภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน 3. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานและองค์กรในการดำเนินงานด้านวัณโรค 4. เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคีเครือข่ายการดำเนินงานด้านวัณโรคทั้งภาครัฐและเอกชน
กิจกรรมที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาประสิทธิภาพงานควบคุมป้องกันวัณโรคสถานพยาบาลภาครัฐและเอกชน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนทั้งสิ้น 116 คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คน ดังนี้ 1. ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการพิเศษ ตำแหน่ง แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 32 คน 2. ผู้ประสานงานวัณโรคของโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน จำนวน 68 คน ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 16 คน ดังนี้ 1. วิทยากร จำนวน 6 คน 2. เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 10 คน กิจกรรมที่ 2 จัดพิมพ์รายงานผลการดำเนินงานโรควัณโรคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 250 เล่ม กิจกรรมที่ 3 การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับวัณโรค
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-01)
01/09/2566 : ผู้ป่วยวัณโรคที่ส่งต่อ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566 จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อทั้งสิ้น จำนวน 590 ราย 1. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อถึงปลายทาง จำนวน 567 ราย 2. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 20 ราย (ยังไม่ถึงวันนัด) 3. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 3 ราย (ติดต่อไม่ได้/เสียชีวิต/ย้ายที่อยู่)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-16)
16/08/2566 : ผู้ป่วยวัณโรคที่ส่งต่อ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 - 10 สิงหาคม 2566 จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อทั้งสิ้น จำนวน 551 ราย 1. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อถึงปลายทาง จำนวน 538 ราย 2. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 10 ราย (ยังไม่ถึงวันนัด) 3. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 3 ราย (ติดต่อไม่ได้/เสียชีวิต/ย้ายที่อยู่)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-07-18)
18/07/2566 : ผู้ป่วยวัณโรคที่ส่งต่อ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 - 14 กรกฎาคม 2566 จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อทั้งสิ้น จำนวน 515 ราย 1. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อถึงปลายทาง จำนวน 500 ราย 2. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 12 ราย (ยังไม่ถึงวันนัด) 3. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 3 ราย (ติดต่อไม่ได้/เสียชีวิต/ย้ายที่อยู่)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-16)
16/06/2566 : ผู้ป่วยวัณโรคที่ส่งต่อ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 - 13 มิถุนายน 2566 จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อทั้งสิ้น จำนวน 470 ราย 1. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อถึงปลายทาง จำนวน 458 ราย 2. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 9 ราย (ยังไม่ถึงวันนัด) 3. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 3 ราย (ติดต่อไม่ได้/เสียชีวิต/ย้ายที่อยู่) กิจกรรมที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมที่ 2 จัดพิมพ์รายงานผล 250 เล่ม กิจกรรมที่ 3 การผลิตสื่อ ภายใต้โครงการฯ ไม่ได้รับงบประมาณ และไม่ได้ดำเนินงาน แต่กิจกรรมดังกล่าวเป็นงานประจำ ดำเนินการโดยไม่ใช้งบประมาณ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-05-16)
15/05/2566 : ผู้ป่วยวัณโรคที่ส่งต่อ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 - 11 พฤษภาคม 2566 จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อทั้งสิ้น จำนวน 425 ราย 1. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อถึงปลายทาง จำนวน 406 ราย 2. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 16 ราย (ยังไม่ถึงวันนัด) 3. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 3 ราย (ติดต่อไม่ได้/เสียชีวิต/ย้ายที่อยู่)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-20)
15/04/2566 : ผู้ป่วยวัณโรคที่ส่งต่อ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 - 10 เมษายน 2566 จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อทั้งสิ้น จำนวน 385 ราย 1. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อถึงปลายทาง จำนวน 366 ราย 2. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 17 ราย (ยังไม่ถึงวันนัด) 3. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 2 ราย (ติดต่อไม่ได้/เสียชีวิต/ย้ายที่อยู่)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-03-16)
16/03/2566 : ผู้ป่วยวัณโรคที่ส่งต่อ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 - 10 มีนาคม 2566 จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อทั้งสิ้น จำนวน 319 ราย 1. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อถึงปลายทาง จำนวน 302 ราย 2. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 16 ราย (ยังไม่ถึงวันนัด) 3. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 1 ราย (ติดต่อไม่ได้/เสียชีวิต/ย้ายที่อยู่)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 35.00 (2023-02-15)
15/02/2566 : ผู้ป่วยวัณโรคที่ส่งต่อ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 - 11 กุมภาพันธ์ 2566 จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อทั้งสิ้น จำนวน 260 ราย 1. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อถึงปลายทาง จำนวน 236 ราย 2. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 1 ราย (ยังไม่ถึงวันนัด) 3. จำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อไม่ถึงปลายทาง จำนวน 23 ราย (ติดต่อไม่ได้/เสียชีวิต/ย้ายที่อยู่)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-18)
18/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ ประสานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน โดยบูรณาการร่วมกับภารกิจประจำ และประสานชี้แจงแนวทางการส่งต่อผู้ป่วย
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : อัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภท (ผลลัพธ์)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 89
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 91.43
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **