ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุข
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกรวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งในแต่ละปีประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถึงร้อยละ 75 หรือประมาณ 320,000 คนต่อปีเฉลี่ยชั่วโมงละ 37 คน (กระทรวงสาธารณสุข 2561) โดยเฉพาะโรคเบาหวานซึ่งสมาพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ คาดการณ์ว่า ในปีพ.ศ. 2588 จะมีผู้ป่วยทั่วโลก จำนวน 629 ล้านคน โดยพบอัตราในผู้สูงอายุมากที่สุด อย่างไรก็ตามปัจจุบันประเทศไทย พบผู้ป่วยโรคเบาหวาน อยู่ในวัยผู้ใหญ่จำนวน 4.8 ล้านคน และคาดการณ์ว่า ในปี 2583 จะมีความชุกของโรคเพิ่มขึ้น จำนวน 5.3 ล้านคน ทั้งนี้เมื่ออายุมากขึ้นจะทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคไต และการถูกตัดเท้า หรือขา เป็นต้น (สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ปี 2562) ประเด็นสำคัญจากสถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานและ โรคความดันโลหิตสูงในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มารับบริการ ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย พบว่า ในช่วงปี 2560 – 2562 ที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ดังนี้ โรคเบาหวาน จำนวน 13,603 คน , 13,872 คน และ 14,212 คน ตามลำดับ ส่วนโรคความดัน โลหิตสูง จำนวน 17,663 คน , 18,545 คน , 19,621 คน ตามลำดับ นอกจากนี้จากการรวบรวมสถิติในงานวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างน้อย 1 ใน 3 จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย โดยมีสาเหตุปัจจัยเสี่ยงที่เหมือนกัน คือ การมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน พฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และการใช้ชีวิตแบบ ที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย ส่งผลให้การทำงานของอินซูลินเกิดความผิดปกติ ไม่สามารถควบคุมกลูโคส เข้าเซลล์ของร่างกายได้ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคและสูญเสียชีวิตได้ง่าย สำนักอนามัยเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการดูแล ส่งเสริม สุขภาพประชาชน ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพ ที่สมบูรณ์แข็งแรง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ด้วยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เพื่อป้องกันโรคเรื้อรังและลดภาวะแทรกซ้อนของโรค (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงวัย เนื่องจากเมื่ออายุเพิ่มขึ้น สภาพร่างกายที่เสื่อมลงตามวัยประกอบกับการมีพฤติกรรมสุขภาพ ที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลให้มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าที่ผ่านมาการดำเนินงานด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อป้องกันโรคเรื้อรังและ ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคภายใต้ภารกิจดังกล่าวข้างต้น จะบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ แต่จากการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการยังพบปัญหาอุปสรรคสำคัญในการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ส่งผลให้การดำเนินงานไม่บรรลุผลสัมฤทธิ์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนเท่าที่ควร เนื่องจากบุคลากรสาธารณสุขยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการใช้กลวิธีต่างๆ ในการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่มุ่งเน้นการสร้างความรอบรู้ให้แก่ประชาชน ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของศูนย์บริการสาธารณสุขเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สำนักงานพัฒนาระบบสาธารณสุขเห็นสมควร สร้างบุคลากรสาธารณสุขให้เป็นนักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่มีความรู้ ความตระหนักเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ นำทักษะในการวิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพ ไปใช้ในการวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ออกแบบกลยุทธ์ สร้างกระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาพ ตลอดจนประเมินผลทางพฤติกรรมได้ถูกต้องแม่นยำ รวมทั้งจัดทำสื่อส่งเสริมการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพสนับสนุนการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของศูนย์บริการสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ และสามารถตัดสินใจ ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลือกใช้บริการและผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสมด้วยตนเอง ซึ่งถือเป็นประเด็นที่มีความท้าทายและต้องเร่งดำเนินการโดยเร่งด่วน
08940000/08940000
2.1 ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น 2.2 ศูนย์บริการสาธารณสุขที่เข้ารับการอบรม มีการนำความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ ไปใช้ใน ดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ของตน 2.3 ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเข้าถึงความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีความรู้ ตระหนัก และตัดสินใจเลือกแนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างเป็นเหตุเป็นผลเพิ่มขึ้น 2.4 จัดทำสื่อส่งเสริมการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพสนับสนุนการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของศูนย์บริการสาธารณสุข
3.1 กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างนักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของสำนักอนามัย.โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 261 คน 3.1.1 กลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 207 คน เป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ สังกัดสำนักอนามัยโดยดำรงตำแหน่ง ประเภทอำนวยการระดับต้น และประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 รุ่นๆละ 69 คน 3.1.2 ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 54 คน ดังนี้ 1) คณะกรรมการฯ โครงการ รุ่นที่ 1 จำนวน 13 คน วิทยากร จำนวน 5 คน 2) คณะกรรมการฯ โครงการ รุ่นที่ 2 จำนวน 13 คน วิทยากร จำนวน 5 คน 3) คณะกรรมการฯ โครงการรุ่นที่ 3 จำนวน 13 คนวิทยากร จำนวน 5 คน 3.2 กิจกรรมที่ 2 จัดทำสื่อส่งเสริมการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพสนับสนุนการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของศูนย์บริการสาธารณสุข 3.3 กิจกรรมที่ 3 ผู้เข้าร่วมโครงการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระยะเวลา 3 เดือน ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข 3.4 กิจกรรมที่ 4 นิเทศติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของศูนย์บริการสาธารณสุข 1 - 69 โดยบุคลากรผู้รับผิดชอบหรือคณะกรรมการนิเทศฯ
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-11)
11/09/2566 : - สรุป และรายงานโครงการกิจกรรมฯ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-08-11)
11/08/2566 : - ดำเนินการเผยแพร่สื่อฯ ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 ผ่าน Facebook Group ให้แก่ประชาชนกลุ่มวัยต่างๆ - เตรียมสรุปผลการดำเนินงาน
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-07-10)
10/07/2566 : ดำเนินการเผยแพร่สื่อฯ ในช่วงเดือนมิถุนายน 2566 ผ่าน Facebook Group ให้แก่ประชาชนกลุ่มวัยต่างๆ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 70.00 (2023-06-08)
08/06/2566 : - ดำเนินการเผยแพร่สื่อฯ ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 ผ่าน Facebook Group ให้แก่ประชาชนกลุ่มวัยต่างๆ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 60.00 (2023-05-12)
12/05/2566 : - ดำเนินการเผยแพร่สื่อฯ ตามแผนที่กำหนด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 50.00 (2023-04-12)
12/04/2566 : ดำเนินการเผยแพร่สื่อฯ ตามแผนที่กำหนด
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-03-24)
24/03/2566 : - ดำเนินการเผยแพร่สื่อฯ ตามแผนที่กำหนด
** ปัญหาของโครงการ :
** อุปสรรคของโครงการ :
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-02-15)
15/02/2566 : - ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานตามโครงการฯ ให้แก่ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง - จัดตั้งและเผยแพร่สื่อสุขภาพ/สื่อประชาสัมพันธ์ ผ่าน Facebook Group ให้แก่ประชาชนกลุ่มวัยต่างๆ
** ปัญหาของโครงการ : ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-19)
19/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และบริการด้านสุขภาพ 1) ช่วงอายุระหว่าง 0-18 ปี 2) ช่วงอายุระหว่าง 19-59 ปี 3) อายุ 60 ปีขึ้นไป 4) การส่งเสริมความรู้ผ่าน Bangkok Health Application
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 40
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 52.44
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **