ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุม วัณโรคในกรุงเทพมหานคร (การรณรงค์สัปดาห์วัณโรคสากล) : 08000000-7079

สำนักอนามัย : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นโรคติดต่อสำคัญที่เป็นปัญหาสาธารณสุขและเป็นสาเหตุสำคัญของการตายในหลายๆประเทศทั่วโลก องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 30 ประเทศ มีปัญหาวัณโรคจำนวนมาก วัณโรคในผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีทั้งนี้อัตราการติดเชื้อโรคเอดส์ยังอยู่ในสถานการณ์ที่มีปัญหา (UNAIDS Report on the Global AIDS Epidemic 2014)การเคลื่อนย้ายของแรงงานพลัดถิ่น แรงงานต่างชาติ การย้ายสถานพยาบาล ที่รักษาเป็นอุปสรรคต่อการติดตามมารักษาให้หายขาดได้ ทำให้พบว่ากรุงเทพมหานครมีผู้ป่วยวัณโรคขาดยามากถึงร้อยละ 10.25,9.37 และ9.44 ในปี 2561, 2562, 2563 ตามลำดับ จึงมีผลกระทบต่ออัตราดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) อัตราดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (XDR-TB) ที่อาจมีแนวโน้มสูงขึ้น สำหรับในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ที่มีประชากรมากเป็นลำดับหนึ่งของประเทศ ประมาณการว่ามีประชากรที่พักอาศัยอยู่ประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งน่าจะมีผู้ป่วยวัณโรคอยู่มากกว่า 13,000 คน ในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทุกประเภทที่ขึ้นทะเบียนรักษาประมาณ 12,000 ราย ในขณะที่ผู้ป่วยที่มารับการรักษาจนหาย ประมาณร้อยละ 80 ซึ่งองค์การอนามัยโลกเสนอแนะว่าจะต้องรักษาให้หายมากกว่า ร้อยละ 85 และอัตราความครอบคลุมการค้นหาผู้ป่วยให้มากที่สุด จึงจะลดปัญหาการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในสังคมได้ ตามที่องค์การอนามัยโลกให้นิยามแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ไว้ว่า “Health Literacy เป็นทักษะทางปัญญาและทักษะทางสังคมของบุคคล ที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจและสมรรถนะที่จะเข้าถึง เข้าใจและใช้ข้อมูลข่าวสารและบริการสุขภาพเพื่อส่งเสริมและคงดำรงรักษาสุขภาพตนเองให้ดี”และHealth Literacy ยังได้ถูกกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDG)สำหรับประเทศไทย ความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นทั้งเครื่องมือ และกลไกการปฏิรูปสุขภาพคนไทยในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยใช้แนวทางการสาธารณสุข(Public HealthApproach) ที่มุ่งเน้นสมรรถนะของประชาชน และ Clinical Approach ที่มุ่งเน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพจะประกอบด้วยรูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ กลุ่มเด็กและเยาวชน เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่มีทักษะทางปัญญาเพียงพอในการจัดการสุขภาพตนเองและสถานศึกษาเป็นแหล่งสมาคมที่จะทำให้การแพร่ระบาดของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว เด็กและเยาวชน จึงเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องเร่งพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อสร้างให้มีความรอบรู้และมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันวัณโรคกิจกรรมหลักประกอบด้วยรูปแบบ กิจกรรม การพัฒนาความรอบรู้และการสื่อสารสุขภาพในสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ และเครื่องมือวัดประเมินผลลัพธ์ของความรอบรู้ด้านสุขภาพในประเด็นการเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันและควบคุมวัณโรค เพื่อนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการควบคุมวัณโรคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักอนามัย มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบการควบคุมวัณโรคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมวัณโรคในกรุงเทพมหานครโดยการพัฒนาความรอบรู้สุขภาพขึ้น

08100000/08100000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

2.1 เพื่อพัฒนาความรอบรู้ในการเสริมสร้างสุขภาพการป้องกันและควบคุมวัณโรคของนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไป 2.2เพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญาและทักษะทางสังคมเพื่อการจัดการสุขภาพตนเองของประชาชนทั่วไปกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย

เป้าหมายของโครงการ

3.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ กิจกรรมที่ 1การรณรงค์สัปดาห์วันวัณโรคสากล เป้าหมาย ได้แก่ 1. ศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง 2. โรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนในกรุงเทพมหานคร97 แห่ง 3. สำนักงานเขต 50 แห่ง 4. โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 438 แห่ง กิจกรรมที่ 2การพัฒนาศักยภาพและสร้างการรับรู้เรื่องวัณโรคที่ถูกต้องสู่สาธารณะ ผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ เป้าหมาย ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร 3.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ 1. นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปมีความรอบรู้ด้านสุขภาพประเด็นการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันและควบคุมวัณโรค 2.นักเรียนแกนนำมีทักษะและสามารถสร้างสรรค์การสื่อสารรณรงค์เรื่องโรควัณโรค 3.รูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับกลุ่มนักเรียนนักศึกษาและประชาชน ทั่วไป

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-04-19)

100.00

15/04/2566 : จัดกิจกรรม "วันวัณโรคโลก World TB DAY2023" ในวันที่ 24 มีนาคม 2566 ณ อาคารสินสาธรทาวเวอร์ ชั้น 1 โดยมีนิทรรศการ ให้ความรู้เกี่ยวกับวัณโรค และเล่นเกมส์รับของรางวัล และมีกิจกรรมการตรวจคัดกรองสุขภาพตามกลุ่มวัย โดย ศบส. 28 ซึ่งมีพนักงาน เจ้าหน้าที่ในตึกสินสาธร รวมถึงประชาชนทั่วไป มาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 180 คน รวบรวมรายงานการจัดกิจกรรมวันวัณโรคสากลของ ศบส. ในช่วงระหว่างวันที่ 21-25 มีนาคม 2565 มีผลการดำเนินงานดังนี้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ประชาชนทั่วไป ผู้ขับขี่รถรับจ้างสาธารณะ สถานประกอบการ ศาสนสถาน โรงเรียน ชุมชน และอื่นๆ ได้รับการให้ศึกษา จำนวน 12791 ราย ได้รับการคัดกรองวัณโรค จำนวน 4730 ราย ได้รับการตรวจเสมหะ จำนวน 40 ราย ได้รับการรักษา/ส่งต่อ จำนวน 37 ราย เอกสารตามแนบ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-03-16)

85.00

16/03/2566 : - ประชุมร่วมกับเครือข่ายภาครัฐ และ NGO ในแนวทางจัดกิจกรรม รณรงค์สัปดาห์วัณโรค - ทำหนังสือแจ้งศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการให้สุขศึกษา : X-ray ปอดฟรี ฉีด vaccine BCG รวมถึงนำกลุ่มเสี่ยงวัณโรคเข้าสู่ระบบการวินิจฉัยรักษา - จัดเตรียมสื่อ และอุปกรณ์ สำหรับ การจัดงาน World TB Day และจัดกิจกรรมในวันที่ 31 มีนาคม

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 30.00 (2023-02-15)

30.00

15/02/2566 : - ประชุมทีมงานในกลุ่มงานวัณโรค กอพ. - จัดเตรียมสื่อเกี่ยวกับวัณโรค เพื่อแจกจ่ายให้ ศูนย์บริการสาธารณสุข เขต โรงพยาบาลต่างๆ - ทำหนังสือแจ้งรายละเอียดการจัดกิจกรรมรณรงค์ สัปดาห์วัณโรค - แจกจ่ายสื่อให้กับศูนย์บริการสาธารณสุข เขต โรงพยาบาลต่างๆ

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-19)

5.00

19/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ จัดทำและขออนุมัติโครงการ พร้อมทั้งจัดเตรียมประชุมทีมงานในกลุ่มงานวัณโรค กอพ.

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1. จัดทำ และขออนุมัติโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2. จัดเตรียมสื่อเกี่ยวกับวัณโรค เพื่อแจกจ่ายให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
:15.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3. ทำหนังสือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงรายละเอียดการจัดกิจกรรมรณรงค์สัปดาห์วันวัณโรคสากล พร้อมแจกจ่ายสื่อเกี่ยวกับวัณโรค
:30.00%
เริ่มต้น :2023-01-15 00:00:00
สิ้นสุด :2023-01-15 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4. จัดกิจกรรมรณรงค์สัปดาห์วันวัณโรคสากล
:30.00%
เริ่มต้น :2023-03-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5. รวบรวมและสรุปรายงานผลการดำเนินงาน
:15.00%
เริ่มต้น :2023-04-10 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-10 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 08000000-7079

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 08000000-7079

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0800-6733

ตัวชี้วัด : ค้นหาผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกใน 7 กลุ่มเสี่ยงวัณโรค

ค่าเป้าหมาย คน : 28560

ผลงานที่ทำได้ คน : 42033

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(คน)
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
10,790.00

0 / 0
2
22,089.00

0 / 0
3
33,531.00

0 / 0
4
42,033.00

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **