ความคืบหน้าโครงการ/กิจกรรม

Back Home
FusionCharts will render here

โครงการพัฒนาศักยภาพในการเตรียม ความพร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ทางสาธารณสุข : 08000000-7084

สำนักอนามัย : (2566)

100

ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100

กองควบคุมโรคติดต่อ

ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล

*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1 100

หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุขนับเป็นภัยที่มีความรุนแรงส่งผลกระทบต่อทั้งมนุษย์ สิ่งแวดล้อม สถานะเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติ กรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวงและศูนย์กลางของประเทศมีความเสี่ยงเป็นอย่างยิ่งที่จะประสบสถานการณ์ฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขด้านโรคติดต่อ อันมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและอาจเกิดการระบาดของโรคแพร่ออกไปในวงกว้าง ในอดีตกรุงเทพมหานครได้ประสบกับการระบาดของโรคติดต่อมาแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการระบาดของโรคประจำถิ่น เช่น โรคไข้เลือดออกและโรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคติดต่ออุบัติใหม่ เช่น โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โรคติดต่ออุบัติซ้ำ เช่น โรคคอตีบ โรคไอกรนและโรคหัด รวมไปถึงโรคติดต่ออันเป็นโรคประจำถิ่นของต่างจังหวัดหรือต่างประเทศและนำเข้ามาสู่กรุงเทพมหานครผ่านการเดินทาง เช่น โรคชิคุนกุนยา และโรคไข้กาฬหลังแอ่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ เริ่มพบการระบาดขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ที่ประเทศจีน และมีการแพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรุงเทพมหานครในปี 2564 (1 มกราคม–30 กันยายน 2564) พบว่าผู้ป่วยสะสมจำนวน 368,685 ราย (อัตราป่วย 6,597.54 ต่อประชากรแสนคน) โดยกลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยมากที่สุด ได้แก่ 21–30 ปี (10,107.41 ต่อประชากรแสนคน) รองลงมา 31-40 ปี (8,302.97 ต่อประชากรแสนคน) และ 41-50 ปี (6,799.97 ต่อประชากรแสนคน) ตามลำดับ พบผู้เสียชีวิตสะสม 6,138 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 1.66 โดยกลุ่มอายุที่มีอัตราป่วยตายมากที่สุดได้แก่ มากกว่า 90 ปี (ร้อยละ 36.47) รองลงมา 81-90 ปี (ร้อยละ 24.98) และ 71-80 ปี (ร้อยละ 12.86) กองควบคุมโรคติดต่อ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพในการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข โดยจัดอบรมพัฒนาศักยภาพข้าราชการที่ปฏิบัติงานควบคุมโรค เพื่อให้มีความรู้ด้านระบาดวิทยาสามารถดำเนินการเฝ้าระวังสอบสวนและควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเตรียมความพร้อมและบริหารจัดการในการตอบสนองรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างเหมาะสม ที่สำคัญเป็นการสนับสนุนให้ศูนย์บริการสาธารณสุขมีความพร้อมรับการประเมินทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and rapid response team: SRRT) โดยมีตัวชี้วัดในด้านการพัฒนาความรู้ของบุคลากรเพื่อปฏิบัติงานในทีมตระหนักรู้สถานการณ์(Situation Awareness Team: SAT) ซึ่งศูนย์บริการสาธารณสุขต้องผ่านการประเมินและได้รับการรับรองจากกรมควบคุมโรคเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้หลักสูตรการฝึกอบรมต้องมีเนื้อหาและระยะเวลาเป็นไปตามประกาศของกรมควบคุมโรค เพื่อให้บุคลากรมีคุณสมบัติได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร เป็นการสร้างบุคลากรที่ปฏิบัติงานควบคุมโรคทดแทนอย่างต่อเนื่อง

08080000/08080000

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อให้ข้าราชการมีความรู้ด้านระบาดวิทยาสามารถปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวังสอบสวนและควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อให้ข้าราชการมีความพร้อมและสามารถบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างเหมาะสม

เป้าหมายของโครงการ

3.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพข้าราชการที่ปฏิบัติงานควบคุมโรค จำนวนทั้งสิ้น 90 คน ได้แก่ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 75 คน ประกอบด้วย นายแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าพนักงานสาธารณสุข ประเภทอำนวยการระดับต้น ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ – เชี่ยวชาญ ประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน – ชำนาญงาน ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ประกอบด้วย วิทยากรวันละไม่เกิน 6 คน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการจำนวน 9 คน 3.2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการฝึกซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข จำนวนทั้งสิ้น 160 คน ได้แก่ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 140 คน ประกอบด้วย นายแพทย์ นายสัตวแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าพนักงานสาธารณสุข และบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้อง ประเภทอำนวยการระดับต้น ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ – เชี่ยวชาญ และประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน – อาวุโส ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน ประกอบด้วย วิทยากรวันละไม่เกิน 5 คน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการจำนวน 15 คน

สนับสนุนยุทธศาสตร์กรุงเทพมหานครฯ

ผลการดำเนินงาน

(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-07-14)

100.00

14/07/2566 : กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพข้าราชการที่ปฏิบัติงานควบคุมโรค ระยะเวลา 4 วัน ไป-กลับ วันที่ 25-28 เมษายน 2566 โรงแรมไอบิส สไตล์ กรุงเทพ รัชดา จำนวนทั้งสิ้น 90 คน ได้แก่ กลุ่มเป้าหมาย ข้าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวน 75 คน ประกอบด้วย นายแพทย์ นายสัตวแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าพนักงานสาธารณสุข บุคลากรสาธารณสุขและบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้อง ประเภทอำนวยการระดับต้น ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ – เชี่ยวชาญ และประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน – ชำนาญงาน ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน ประกอบด้วย วิทยากรวันละไม่เกิน 6 คน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการจำนวน 9 คน กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการฝึกซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ระยะเวลา 2 วัน ไป-กลับ วันที่ 21 - 22 ธันวาคม 2565 โรงแรมโรงแรมปริ๊นซ์ตัน กรุงเทพ ผู้เข้ารับการอบรมจำนวนทั้งสิ้น 160 คน ได้แก่ กลุ่มเป้าหมาย ข้าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวน 140 คน ประกอบด้วย นายแพทย์ นายสัตวแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการสุขาภิบาล เจ้าพนักงานสาธารณสุข บุคลากรสาธารณสุขและบุคลากรอื่นที่เกี่ยวข้อง ประเภทอำนวยการระดับต้น – สูง ประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการ – เชี่ยวชาญ และประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน – อาวุโส ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน ประกอบด้วย วิทยากรวันละไม่เกิน 5 คน และเจ้าหน้าที่ดำเนินการจำนวน 15 คน

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-06-15)

95.00

15/06/2566 :โครงการพัฒนาศักยภาพในการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข เป็นโครงการที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพข้าราชการที่ปฏิบัติงานควบคุมโรค และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฝึกซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ข้าราชการมีความรู้ด้านระบาดวิทยาสามารถปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวังสอบสวน และควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อให้ข้าราชการมีความพร้อมและสามารถบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งดำเนินงานโครงการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 95.00 (2023-05-19)

95.00

19/05/2566 : โครงการพัฒนาศักยภาพในการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์โครงการ 1. เพื่อให้ข้าราชการมีความรู้ด้านระบาดวิทยาสามารถปฏิบัติงานด้านการเฝ้าระวังสอบสวน และควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อให้ข้าราชการมีความพร้อมและสามารถบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขได้อย่างเหมาะสม มีจำนวนกิจกรรม 2 กิจกรรม 1.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพข้าราชการที่ปฏิบัติงานควบคุมโรค 2. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการฝึกซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ซึ่งได้ดำเนินกิจจกรรมเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว ทั้ง 2 กิจกรรม

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 85.00 (2023-04-12)

85.00

12/04/2566 : อยู่ระหว่างการจัดเตรียมเอกสารประกอบการจัดประชุมอบรม

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 80.00 (2023-03-15)

80.00

15/03/2566 :การดำเนินงานอยู่ในขั้นตอนประสานเชิญวิทยากรจากกระทรวงสาธารณสุขและรวบรวมเอกสารในการขออนุมัติวิทยากร

** ปัญหาของโครงการ :ยังไม่พบปัญหาอุปสรรค

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มีปัญหาในการดำเนินโครงการ

------------------&&&--------------------

(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-02-22)

65.00

22/02/2566 : โครงการพัฒนาศักยภาพในการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข ประจำปี 2566 ประกอบด้วย 2 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพข้าราชการที่ปฏิบัติงานควบคุมโรค จะดำเนินการเดือนเมษายน 2566 ขั้นตอนการดำเนินงานอยู่ในระหว่างการขอรับรองหลักสูตรจากกรมควบคุมโรค กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการฝึกซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วในเดือนธันวาคม 2565

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-19)

5.00

19/01/2566 : อยู้ระหว่างดำเนินการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับใช้ในการจัดอบรม

** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี

** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี

------------------&&&--------------------

แผนการดำเนินงานฯ

ขั้นตอน 1
:1.ประชุม/ปรึกษาหารือทีมงาน
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 2
:2.ขออนุมัติโครงการ
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 3
:3.ขอรับรองหลักสูตรจากกรมควบคุมโรค
:10.00%
เริ่มต้น :2022-10-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-10-01 00:00:00
ขั้นตอน 4
:4.จัดทำคำสั่งการอบรม
:15.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 5
:5.ประสาน/บันทึกเชิญวิทยากร
:15.00%
เริ่มต้น :2022-12-01 00:00:00
สิ้นสุด :2022-12-01 00:00:00
ขั้นตอน 6
:6. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
:10.00%
เริ่มต้น :2023-03-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-01 00:00:00
ขั้นตอน 7
:7.จัดทำเอกสารการประชุมสำหรับผู้เข้าอบรม
:10.00%
เริ่มต้น :2023-03-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-03-01 00:00:00
ขั้นตอน 8
:8.ดำเนินการจัดกิจกรรม ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด
:10.00%
เริ่มต้น :2023-04-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-04-01 00:00:00
ขั้นตอน 9
:9.ประเมินและสรุปผลการอบรมเสนอผู้บริหาร
:10.00%
เริ่มต้น :2023-05-01 00:00:00
สิ้นสุด :2023-05-01 00:00:00

(ทดสอบ) แสดงขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ : 08000000-7084

(คลิก) ขั้นตอนการปฏิบัติงานของโครงการ : 08000000-7084

สนับสนุนตัวชี้วัดตามแผนฯ

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัด : 0800-6736

ตัวชี้วัด : พัฒนาศักยภาพบุคลากรในการ เฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคติดต่อ ที่สำคัญให้มีความรู้เพิ่มขึ้น

ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 85

ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 93.33

ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์
ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)

ไตรมาสที่
(1 - 4)
*ผลงาน*
(ร้อยละ )
*ผลประเมินตัวชี้วัด*
(* 2.1 / 2.2 *)
1
0.00

0 / 0
2
0.00

0 / 0
3
93.33

0 / 0
4
93.33

0 / 0

** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **