ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กองควบคุมโรคติดต่อ
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นงานสาธารณสุขที่มีความสำคัญมากซึ่งมีผลต่อสุขภาพที่ดีของประชาชน โรคติดต่อหลายโรคลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากการให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคอย่างครอบคลุมทั่วถึงและต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามผลจากการที่มีการเคลื่อนย้ายของแรงงานข้ามชาติ ทำให้พบการกลับมาระบาดของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มาตรการด้านการให้บริการวัคซีนจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการป้องกันโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ดังนั้นบุคลากรด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ กองควบคุมโรคติดต่อ ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 -2563 รวมจำนวน 13 รุ่น มีผู้ผ่านการอบรมทั้งสิ้น จำนวน 590 คน โดยใช้หลักสูตรที่สถาบันวัคซีนแห่งชาติได้พัฒนาและจัดทำขึ้นมาสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคทั่วประเทศที่จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามการให้บริการวัคซีนในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เช่น การเปลี่ยนชนิดของวัคซีนที่ใช้ การเพิ่มวัคซีนชนิดใหม่เข้าสู่แผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การเปิดให้บริการคลินิกวัคซีนผู้ใหญ่ การออกหน่วยให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นต้น ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคต้องได้รับการอบรมฟื้นฟูความรู้ ตลอดจนได้รับทราบข่าวสารใหม่ๆ ในแวดวงวัคซีน กองควบคุมโรคติดต่อ จึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูศักยภาพผู้ปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ฟื้นฟูทักษะในงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น อันจะนำไปสู่การให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่โครงการดังกล่าว ได้เข้าสู่แผนพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และได้ส่งการพิจารณาจากสถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครเรียบร้อยแล้ว
08080000/08080000
1. เพื่อให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญในบทบาทผู้ให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 2. เพื่อฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจในหลักการ พัฒนาทักษะ และรับทราบข้อมูลข่าวสารที่สำคัญ ต่อการให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 3. เพื่อให้สามารถบริหารจัดการและให้บริการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแก่ประชาชนได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน
เพื่อจัดอบรมฟื้นฟูศักยภาพผู้ปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยดำเนินการอบรมจำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 75 คน รวมจำนวน 150 คน และมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 190 คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 150 คน ดังนี้ 1) ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ระดับปฏิบัติการถึงชำนาญการพิเศษ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพหรือนักวิชาการสาธารณสุขที่ผ่านการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค หรือโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยระบบออนไลน์ ของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน ดังนี้ 1) เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 14 คน 2) วิทยากร จำนวน 6 คน
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-12)
12/09/2566 : โครงการดำเนินการแล้วเสร็จ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-08-13)
13/08/2566 : โครงการเสร็จสิ้น
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-07-17)
14/07/2566 : โครงการเสร็จสิ้นแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-06-12)
12/06/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-05-22)
22/05/2566 : สรุปผลการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูศักยภาพผู้ปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนโครงการฟื้นฟูศักยภาพผู้ปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ร้อยละ100 การอบรมฯ ในครั้งนี้มีจำนวนผู้เข้าอบรมรวมทั้งสิ้น จำนวน 146 คน (ร้อยละ 97.33) แบ่งเป็นเพศหญิง 135 คน (ร้อยละ 92.45) เพศชาย 11 คน (ร้อยละ 7.54) ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ 136 คน (ร้อยละ 93.15) นักวิชาการสาธารณสุข 10 คน (ร้อยละ 6.85) ส่วนใหญ่รับผิดชอบงานห้องปฏิบัติการพยาบาล (ร้อยละ 39.04) รองลงมาคือรับผิดชอบงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในศูนย์บริการสาธารณสุขสาขา (ร้อยละ 24.66) มีผู้เข้ารับการอบรมครบตามเวลาที่กำหนด จำนวน 144 คน (ร้อยละ 98.63) ผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนความรู้หลังการอบรมมากกว่าคะแนนความรู้ก่อนการอบรมจำนวน 116 คน (ร้อยละ 80.55)
** ปัญหาของโครงการ :ผู้เข้าอบรมมีข้อเสนอแนะให้กองควบคุมโรคติดต่อ จัดการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นประจำทุกปี และควรมีระยะเวลาการอบรมมากกว่านี้ เนื่องจากมีเนื้อหาการอบรมมาก
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 90.00 (2023-05-16)
16/05/2566 : ดำเนินการจัดอบรมโดยกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยบุคลากรสำนักอนามัยตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพและนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จำนวน 150 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 75 คน จัดอบรมแบบไป - กลับ รุ่นละ 2 วัน ณ โรงแรมกบางกอกชฎา เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รุ่นที่ 1 วันที่ 18 - 19 เมษายน 2566 และรุ่นที่ 2 วันที่ 20-21 เมษายน 2566 อยู่ในระหว่างสรุปผลโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 45.00 (2023-04-12)
12/04/2566 : ประสานวิทยากร เตรียมความพร้อมของสถานที่จัดอบรม ประชุมย่อยแบ่งงานคณะดำเนินงาน และจัดส่งคำสั่งผู้เข้าร่วมประชุม
** ปัญหาของโครงการ :ยังไม่พบปัญหา
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 20.00 (2023-03-15)
15/03/2566 : สำรวจกลุ่มเป้าหมายและจัดทำคำสั่งเข้าร่วมประชุม
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 7.00 (2023-02-21)
21/02/2566 : เสนอขอความเห็นชอบและอนุมัติโครงการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 5.00 (2023-01-19)
19/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนโครงการฟื้นฟูศักยภาพผู้ปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (ผลผลิต)
ค่าเป้าหมาย ไม่ต่ำกว่าร้อยละ : 90
ผลงานที่ทำได้ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลผลิต (output)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **