ความคืบหน้าโครงการ ร้อยละ 100
กองการพยาบาลสาธารณสุข
ดูโครงการแผนปีฯ : พิมพ์ข้อมูล
*** สยป. ประเมินโครงการ : ไตรมาสที่ 1
ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม กลุ่มประชากรผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากการสำรวจข้อมูลจำนวนผู้สูงอายุในพื้นที่ให้บริการของกรมกิจการผู้สูงอายุ จะพบว่ากรุงเทพมหานคร มีจำนวนผู้สูงอายุมากที่สุด (สถิติผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ, 2563) เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่นๆ และข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติยังพบว่าผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิง มีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัวตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน (สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2564) และจากสภาพร่างกายที่มีความเสื่อมถอย ทำให้การดูแลตนเองของผู้สูงอายุลดลง ต้องได้รับการดูแลที่ต่อเนื่องและการดูแลจากครอบครัวมากขึ้น การใช้เครื่องมือที่ทันสมัยหรือนวัตกรรมใหม่ๆในการดูแลนับว่ามีความสำคัญ รวมถึงความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลประชาชนในพื้นที่ สำหรับบริบทของกรุงเทพมหานครนั้น ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย เป็นองค์กรที่ให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนอย่างใกล้ชิด ตอบสนองทั้งในด้านการป้องกันโรค การส่งเสริม การรักษาและการฟื้นฟูสุขภาพ ที่มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ได้มาตรฐานส่งเสริมคุณภาพชีวิตและภาวะสุขภาพที่ดีของประชาชน พยาบาลนับว่ามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพของศูนย์บริการสาธารณสุข การปฏิบัติการพยาบาลให้มีคุณภาพนั้นจำเป็นต้องมีการแสวงหาข้อมูลเชิงประจักษ์ ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งพื้นฐานการสร้างแนวคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking) ให้กับบุคลากรจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการพยาบาล เพื่อนำผลงานหรือนวัตกรรมที่ได้มาปรับปรุงเพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ดีที่สุด (Best Practice) หรือนวัตกรรมใหม่ๆเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม สามารถต่อยอดเป็นนวัตกรรมทางการพยาบาล ปัญหาจากการปฏิบัติงานได้รับการแก้ไข เกิดการให้บริการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานยิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถนำความรู้หรือผลงานที่ได้ไปพัฒนาคน พัฒนางาน สนับสนุนการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุในพื้นที่ กองการพยาบาลสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานครเห็นถึงความสำคัญในพัฒนาแนวคิด เชิงนวัตกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาองค์กรให้เติบโต พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณภาพและสามารถต่อยอดผลงานนวัตกรรมทางการพยาบาลที่ได้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุในพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและผู้รับบริการ ด้วยตระหนักในความสำคัญดังกล่าว กองการพยาบาลสาธารณสุข เห็นควรดำเนินโครงการการสร้างงานวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการพยาบาลเพื่อพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลศูนย์บริการสาธารณสุข
08040000/08040000
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่มาพัฒนาและสร้างสรรค์งานวิจัยจากงานประจำ 2 เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ 3 เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยที่ได้ไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
การจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การสร้างสรรค์งานวิจัยจากงานประจำเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนทั้งสิ้น 88 คน ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 74 คน ได้แก่ ข้าราชการกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา นักวิชาการพยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข และพยาบาลวิชาชีพ ระดับปฏิบัติการถึงระดับชำนาญการพิเศษ ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 14 คน ดังนี้ 1. เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำนวน 10 คน 2. วิทยากร จำนวน 4 คน
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ –การสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ |
๑.๕ - เมืองสุขภาพดี (Healthy City) |
๑.๕.๑ ความครอบคลุมในการจัดให้มีระบบสุขภาพปฐมภูมิ% |
๑.๕.๑.๓ พัฒนาคุณภาพศูนย์บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุข (PHCA) |
(1) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-14)
14/09/2566 :
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(2) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 0.00 (2023-09-13)
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(3) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 100.00 (2023-09-11)
11/09/2566 : โครงการ การสร้างสรรค์งานวิจัยจากงานประจำเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย ได้ดำเนินการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 4 เพื่อจัดทำรายงานผลการวิจัยและการนำเสนอผลงาน ในวันที่ 10-11 สิงหาคม 2566 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(4) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 75.00 (2023-08-04)
04/08/2566 : กำลังเตรียมจัดกิจกรรมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 4 เพื่อจัดทำรายงานผลการวิจัยและการนำเสนอผลงาน ในวันที่ 10-11 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(5) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 65.00 (2023-07-19)
19/07/2566 : กำลังจะดำเนินการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งที่ 3 เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที่ถูกต้อง วันที่ 26-27 กรกฎาคม 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(6) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 55.00 (2023-06-13)
13/06/2566 : โครงการการสร้างสรรค์งานวิจัยฯ ได้ดำเนินการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 เพื่อฝึกทักษะการเขียนโครงร่างงานวิจัยโดยใช้ข้อมูลเชิงพื้นที่ เมื่อวันที่ 1-2 มิถุนายน 2566 ห้องราขา 2 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ระดับปฏิบัติการ-ชำนาญการพิเศษ ประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา นักวิชาการพยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข และพยาบาลวิชาชีพ โดยใช้งบประมาณในครั้งที่ 1 จำนวนทั้งสิ้น 116,800 บาท และจะดำเนินการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 เพื่อสร้างเครื่องมือการวิจัยจากงานประจำ วันที่ 29-30 มิถุนายน 2566 นี้
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(7) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-05-23)
23/05/2566 : การดำเนินโครงการตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการเวียนหนังสือคำสั่งรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมไปยังหน่วยงานต่างๆ เตรียมสถานที่ ประสานวิทยากร และรายละเอียดต่างๆก่อนการเริ่มจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการฯ วันที่ 1 มิถุนายน 2566
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(8) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 40.00 (2023-04-27)
27/04/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(9) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 15.00 (2023-03-09)
09/03/2566 : โครงการฯได้รับความเห็นชอบจากผู้อำนวยการสำนักอนามัยเรียบร้อย กำลังดำเนินการขออนุมัติโครงการและงบประมาณ พร้อมทั้งดำเนินการขอรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมโครงการฯ 31/03/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ เป็นไปตามกำหนดการที่วางไว้
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(10) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-02-28)
28/02/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ เนื่องจากมีการขยายกลุ่มเป้าหมายเป็นสหวิชาชีพ บุคลากรสาธารณสุขของสำนักอนามัย ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนชื่อโครงการและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการขอเห็นชอบในหลักการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
(11) ความคืบหน้าโครงการฯ ร้อยละ 10.00 (2023-01-31)
31/01/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ 23/02/2566 : อยู่ระหว่างดำเนินการ เนื่องจากมีการขยายกลุ่มเป้าหมายเป็นสหวิชาชีพ บุคลากรสาธารณสุขของสำนักอนามัย ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนชื่อโครงการและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการขอเห็นชอบในหลักการ
** ปัญหาของโครงการ :ไม่มี
** อุปสรรคของโครงการ :ไม่มี
------------------&&&--------------------
ตัวชี้วัด : ร้อยละผลงานวิจัย/Innovation /R2R ที่นำไปใช้ในการปฏิบัติงาน (ผลลัพธ์)
ค่าเป้าหมาย ร้อยละ : 50
ผลงานที่ทำได้ ร้อยละ : 100
ประเภทตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดระดับผลลัพธ์ (outcome)
** ผลการประเมินโครงการ (รายไตรมาส) **